เจ้าครองนครเชียงใหม่องค์ต่อไป

ปัจจุบัน ผู้สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ คือ เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่
แต่พระองค์ไม่มีพระโอรสที่ยังมีชีวิตอยู่เลย แบบนี้ ตำแหน่งผู้สืบราชสกุลองค์ต่อไปจะเป็นของใครคะ จะยังมีอยู่ หรือว่ายกเลิกคะ?
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
การสืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่[แก้]
เมื่อเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2532 เจ้าวงศ์สักก์ ในฐานะบุตรจึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) สืบต่อมา[3] นับเป็นการสืบราชสกุล ณ เชียงใหม่ อย่างเป็นทางการ[4]

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ได้ร่วมกิจกรรมกับภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป ในการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างสม่ำเสมอ และกิจกรรมถวายพระเกียรติพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ[5] และเจ้านายฝ่ายเหนือ[6] ในฐานะที่เป็นผู้สืบราชสกุล ณ เชียงใหม่[7] นอกจากนั้นยังมีบทบาทในการสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะ อาทิ สนับสนุน "โครงการรณรงค์ น้อมนำพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท พระราชดำริ แนวทางทรงงานและพระราชปรัชญา ประพฤติเป็นวัตรปฏิบัติ ในโครงการบัณฑิตอุดมคติไทย" ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[8]

ในปัจจุบันเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ดำรงสถานะเป็นผู้แทนเจ้านายฝ่ายเหนือ สายสกุล ณ เชียงใหม่ โดยเฉพาะการเป็นผู้นำในพิธีดำหัวกู่เจ้าหลวง ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
พ.ศ. 2536 - Order of Chula Chom Klao - 3rd Class lower (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) สืบราชสกุล เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่[10]

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B9%8C_%E0%B8%93_%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้านั้น แตกต่างจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลอื่นตรงที่สามารถมีการสืบตระกูลเครื่องราชอิริยาภรณ์ได้ โดยถ้าเป็นบุตรสืบตระกูลบิดา จะได้รับพระราชทาน "ตติยจุลจอมเกล้า" แต่ถ้าเป็นหลานสืบตระกูลปู่ จะได้รับพระราชทาน "ตติยานุจุลจอมเกล้า" ลักษณะการสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีดังต่อไปนี้[8]

เมื่อบิดาได้รับพระราชทาน "เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ" บุตรชายได้รับสืบตระกูลตั้งแต่บิดายังมีชีวิตอยู่ และให้รับสืบตลอดไป จนหาตัวผู้สืบสายโลหิตเป็นชายมิได้
เมื่อบิดาได้รับพระราชทาน "เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า" บุตรชายได้รับสืบตระกูลตั้งแต่บิดายังมีชีวิตอยู่ แต่การสืบตระกูลจะสิ้นสุดลงเพียงชั้นนี้เท่านั้น
เมื่อบิดาได้รับพระราชทาน "ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ" หรือ "ทุติยจุลจอมเกล้า" บุตรชายได้รับสืบตระกูลเมื่อบิดาล่วงลับไปแล้ว และจะสิ้นสุดลงเพียงชั้นนี้เท่านั้น
ผู้สืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น จะเป็นบุตรชายคนโตที่มีชีวิตอยู่ในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม หากบุตรชายคนโตไม่สมควรจะได้รับการพระราชทาน บิดาสามารถขอพระราชทานให้บุตรชายคนรองลงมาก็ได้ แต่การสืบตระกูลจะสิ้นสุดลงเพียงชั้นนี้เท่านั้น นอกจากนี้ ถ้าบุตรชายคนโตวิกลจริตหรือเสียชีวิตลงก่อนได้รับพระราชทาน ก็จะพระราชทานแก่หลานซึ่งเป็นบุตรของบุตรชายคนโตก่อน แต่ถ้าไม่มีหลานซึ่งเป็นบุตรของบุตรชายคนโตก่อนแล้ว ก็จะพระราชทานแก่บุตรชายคนต่อไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่