ทูลกระหม่อมบริพัตร หรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ
ทรงเป็นพระราชโอรสของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ที่ประสูติแต่ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
ทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกชั้นทูลกระหม่อม เพราะพระมารดาเป็นพระมเหสีระดับลูกหลวง
มีสิทธิ์ขึ้นครองราชย์ได้ตามขนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณี ในการสืบราชสันตติวงศ์
พระองค์ท่านจบการศึกษาด้านการทหารการปกครอง จากประเทศเยอรมัน
หลังจากนั้นได้เสด็จกลับสู่มาตุภูมิ รับใช้ราชการแผ่นดิน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
เป็นที่โปรดปรานและได้รับความไว้วางใจจากสมเด็จพ่อ และได้รับตำแหน่งสำคัญๆหลายตำแหน่ง
รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเรียกทูลหม่อมบริพัตรว่า เจ้าชายนัมเบอร์ทู
เพราะตอนนั้น สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (ทูลกระหม่อมโต) ทรงดำรงตำแหน่งเป็นรัชทายาท
ส่วนทูลหม่อมบริพัตร มีอายุน้อยกว่ารัชทายาทเพียง 1 ปีเท่านั้น ส่วนเจ้าฟ้าชั้นเอกพระองค์อื่นๆ มีอายุน้อยกว่าทูลหม่อมบริพัตรทั้งสิ้น
ถ้าจะพูดกันตามหลักความจริงแล้ว ในการสืบราชสันตติวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น
พระราชโอรสที่ประสูติแต่พระภรรยาเจ้าระดับลูกหลวง มีฐานะ พระอิสริยยศ เท่าเทียมกัน
มีสิทธิ์ขึ้นครองราชย์ โดยการนับตามลำดับโปเจียม ให้อิงตามอายุของพระราชโอรส ไม่ว่าจะประสูติจากพระมเหสีองค์ไหนก็ตาม
รูปทูลกระหม่อมบริพัตรยังทรงพระเยาวน์
พระบรมราชชนก และพระชนนี
พระชนนีของทูลกระหม่อมบริพัตรเป็น "พระมเหสีพระองค์แรก"
ที่มีการเฉลิมพระนามและพระอิสริยยศอย่างเป็นทางการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เทิดพระเกียรติทูลกระหม่อมบริพัตร ผู้สำเร็จราชการในรัชกาลที่ 7
ทรงเป็นพระราชโอรสของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ที่ประสูติแต่ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
ทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกชั้นทูลกระหม่อม เพราะพระมารดาเป็นพระมเหสีระดับลูกหลวง
มีสิทธิ์ขึ้นครองราชย์ได้ตามขนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณี ในการสืบราชสันตติวงศ์
พระองค์ท่านจบการศึกษาด้านการทหารการปกครอง จากประเทศเยอรมัน
หลังจากนั้นได้เสด็จกลับสู่มาตุภูมิ รับใช้ราชการแผ่นดิน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
เป็นที่โปรดปรานและได้รับความไว้วางใจจากสมเด็จพ่อ และได้รับตำแหน่งสำคัญๆหลายตำแหน่ง
รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเรียกทูลหม่อมบริพัตรว่า เจ้าชายนัมเบอร์ทู
เพราะตอนนั้น สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (ทูลกระหม่อมโต) ทรงดำรงตำแหน่งเป็นรัชทายาท
ส่วนทูลหม่อมบริพัตร มีอายุน้อยกว่ารัชทายาทเพียง 1 ปีเท่านั้น ส่วนเจ้าฟ้าชั้นเอกพระองค์อื่นๆ มีอายุน้อยกว่าทูลหม่อมบริพัตรทั้งสิ้น
ถ้าจะพูดกันตามหลักความจริงแล้ว ในการสืบราชสันตติวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น
พระราชโอรสที่ประสูติแต่พระภรรยาเจ้าระดับลูกหลวง มีฐานะ พระอิสริยยศ เท่าเทียมกัน
มีสิทธิ์ขึ้นครองราชย์ โดยการนับตามลำดับโปเจียม ให้อิงตามอายุของพระราชโอรส ไม่ว่าจะประสูติจากพระมเหสีองค์ไหนก็ตาม
รูปทูลกระหม่อมบริพัตรยังทรงพระเยาวน์
พระบรมราชชนก และพระชนนี
พระชนนีของทูลกระหม่อมบริพัตรเป็น "พระมเหสีพระองค์แรก"
ที่มีการเฉลิมพระนามและพระอิสริยยศอย่างเป็นทางการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว