ผมเริ่มหัดเขียนหนังสือมาได้สองสัปดาห์แล้วครับ โดยที่ก่อนหน้านี้ผมมีความคิดฝังในหัวว่า.. หากจะขีดๆ เขียนๆ อะไรก็ตาม ต้องได้เงิน! หากไม่ได้เงินจะมาเสียเวลานั่งคิดนั่งเขียนอะไรไปทำไม ? ซึ่งเป็นความคิดที่คับแคบมาก จนได้อ่านหนังสือ “เดินไปให้สุดฝัน” ของ ‘อาจารย์ วินทร์ เลียววาริณ’ อาจารย์ที่เป็นครูพักลักจำทางด้านงานเขียนของผม
อาจารย์บอกในทำนองที่ว่า.. ถ้ารักงานเขียนก็ให้เขียนไปเรื่อยๆ จะมีใครอ่านหรือไม่มีก็ไม่ต้องไปสนใจ หากเขียนแล้วต้องเก็บไว้อ่านคนเดียวในลิ้นชัก! ก็ควรทำเพื่อพัฒนางานเขียนของตัวเอง พร้อมทั้งย้ำอีกว่า.. การเขียนเป็นทักษะ (Skill) ที่ต้องอาศัยการฝึกฝน ไม่มีทางลัดใดๆ ทั้งสิ้น นอกจาก..
“ต้องเขียน ต้องเขียน และต้องเขียน!” แล้วมันจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
คำสอนนี้ทำให้ผมประทับใจมากเพราะสำหรับผมแล้ว การเขียนหนังสือเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุด จนทำให้ผมไม่กล้าที่จะทำ! (เพราะกลัวออกมาไม่ดี) เพราะผมเห็นนักเขียนทุกคนเป็นนักปราชญ์ที่ฉลาดเกินมนุษย์มนาทั่วๆ ไป เหมือนคนในยุค 90’s ไม่เข้าใจว่าทำไมพี่ ‘บอย-โกสิยพงษ์’ ถึงเขียนเพลงรักสุดโรแมนติคออกมาได้ไพเราะ ลึกซึ้ง กินใจ อย่างน่าอัศจรรย์ ?
( เปิดฟังเพลงประกอบได้ที่นี่
https://www.youtube.com/watch?v=C95twEF7MlY )
--------------------------------------------------------
นอกเหนือจากเหตุผลข้างต้นที่ทำให้ผมเริ่มจะรักงานเขียนแล้ว ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมาก นั่นคือการเข้าสู่ภาวะ ‘ความลื่นไหล’ (Flow) ซึ่งเป็นภาวะที่คนเรามีความสุขจากการได้ทำงาน (และได้ศึกษา) มีความสำคัญถึงขนาดต้องมีการเปิดสอนกันในมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง ‘ฮาร์วาร์ด’ เลยทีเดียว (เป็นส่วนหนึ่งของ ‘วิชาความสุข’ โดย ดร.ทาล เบน ชาฮาร์)
ภาวะลื่นไหลที่ว่านี้ คือการเข้าสู่สมาธิระดับอุปจารสมาธิ (หรือขนิกสมาธิที่มีคุณภาพสูง) จิตในภาวะนี้จะจดจ่อกับงานที่ทำอยู่ตรงหน้า ไม่สนใจสิ่งอื่นรอบๆ ตัว (บางครั้งถึงขั้นที่ว่าไม่ได้ยินเสียงใดๆ เลยด้วยซ้ำ) กิเลสที่มากวนใจในยามปกติหายไปจนหมดสิ้น เช่น เรื่องรัก เรื่องชัง ความขี้เกียจ ความฟุ้งซ่าน และความสับสนในใจ (นิวรณ์ ๕)
“การทำงาน.. คือการปฏิบัติธรรม!”
คำสอนของ ‘ท่านพุทธทาส’ ที่บอกสอนพุทธศาสนิกชนลอยเข้ามาในหัวผม (ซึ่งถูกนำมาอธิบายความอีกครั้ง ในเรื่องสมาธิที่ได้จากการทำงาน โดยอาจารย์ ราช รามัญ)
“อืม.. เข้าใจแล้ว เพราะอย่างนี้นี่เอง นักเขียนบางคนที่เขาว่าไส้แห้ง ถึงไม่ยอมเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นที่ได้เงินมากกว่า เพราะการเขียนมันได้ความสุขจากสมาธินี่เอง”
ความสุขจากสมาธิ ???
ความสุขจากสมาธิเป็นความสุขอันประณีตที่ไม่ต้องพึ่งสิ่งเสพบริโภคอย่างอื่นภายนอกตัวครับ กล่าวคือ.. ไม่ต้องออกจากบ้านไปเข้าผับเข้าบาร์ หรือดูคอนเสิร์ต ไม่ต้องซื้อหาวัตถุมาครอบครอง ไม่ต้องอาศัยบุคคลอื่น เพราะตัวเองนี่ละ ได้กลายเป็นโรงงานผลิตความสุขไปแล้ว
--------------------------------------------------------
ผมเคยมีโอกาสเข้าไปกราบครูบาอาจารย์ที่ผมเคารพมากที่สุด (พระอาจารย์ ภาสกร ภาวิไล) ถึงกุฏิของท่านอยู่สอง-สามครั้ง ได้เห็นความเป็นอยู่ของท่านแล้วก็ประทับใจ
ท่านเก็บตัวอยู่ในห้องคนเดียวเงียบๆ เปิดโคมไฟนั่งทำงานหนังสือ-ทำงานสื่อธรรมะไปเรื่อยๆ เหมือนนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ซ่อนตัวอยู่บนยอดเขาโงลังกั๋ง (卧龙岗) ประดุจมังกรซ่อนกาย ที่ไม่ติดต่อสื่อสารกับใครมากมายนัก แต่ทว่า! กลับผลิตผลงานออกมาสั่นสะเทือนวงการพระพุทธศาสนาครั้งแล้วครั้งเล่า นี่เป็นเส้นทางของพระสงฆ์นักปราชญ์ เช่น ท่านพุทธทาส , สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) , พระอาจารย์ภาสกร ภาวิไล , พระไพศาล วิสาโล ฯลฯ (และอีกหลายท่านที่กล่าวถึงในที่นี่ไม่หมดแน่ๆ)
ครูบาอาจารย์เหล่านี้ แม้นจะฉันอาหารเพียงแค่วันละหนึ่งถึงสองมื้อ แต่ก็มีจิตใจผ่องใสที่เกิดจากสมาธิในการทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นงานหนังสือธรรมะ ให้พวกเราได้เรียน ได้ศึกษากันนี่ละครับ
---------------------------
หลังจากผมได้ค้นพบความจริงในข้อนี้แล้ว ไลฟ์สไตล์ผมก็เปลี่ยนไป โดยตลอดช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา (หากจิตใจไม่ต้องการสมาธิมากนัก) ผมจะยกมือไหว้พระรัตนตรัย สมาทานศีลห้า แล้วเริ่มลงมือขีดๆ เขียนๆ อะไรบางอย่างที่นึกได้ตอนนั่งทำสมาธิ (ชั่วครู่) อยู่หน้าโปรแกรม Microsoft Office Word จากนั้นก็ลืมตา แล้วเริ่มบรรเลงเขียนเล่าเรื่องที่นึกได้อย่างลื่นไหลไปเรื่อยๆ เหมือนนักเปียโนที่บรรเลงนิ้วลงบนลิ่มคีย์บอร์ด จนกว่าจะอิ่มหนำสำราญใจ แล้วค่อยเผยแพร่ในโลกออนไลน์ อย่างที่ท่านได้อ่านถึงบรรทัดนี่ละครับ
ถึงตอนนี้ ผมเชื่อว่าหลายคนคงหมดข้อสงสัยแล้วว่า.. ทำไมนักเขียนส่วนใหญ่ ถึงชอบเขียนหนังสือในช่วงเช้าตรู่กันนัก ? เพราะมันเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการปฏิบัติธรรมครับ!
-----------------------------------------------
ขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจ และอ่านจนจบนะครับ
การเขียน.. คือการปฎิบัติธรรม
ผมเริ่มหัดเขียนหนังสือมาได้สองสัปดาห์แล้วครับ โดยที่ก่อนหน้านี้ผมมีความคิดฝังในหัวว่า.. หากจะขีดๆ เขียนๆ อะไรก็ตาม ต้องได้เงิน! หากไม่ได้เงินจะมาเสียเวลานั่งคิดนั่งเขียนอะไรไปทำไม ? ซึ่งเป็นความคิดที่คับแคบมาก จนได้อ่านหนังสือ “เดินไปให้สุดฝัน” ของ ‘อาจารย์ วินทร์ เลียววาริณ’ อาจารย์ที่เป็นครูพักลักจำทางด้านงานเขียนของผม
อาจารย์บอกในทำนองที่ว่า.. ถ้ารักงานเขียนก็ให้เขียนไปเรื่อยๆ จะมีใครอ่านหรือไม่มีก็ไม่ต้องไปสนใจ หากเขียนแล้วต้องเก็บไว้อ่านคนเดียวในลิ้นชัก! ก็ควรทำเพื่อพัฒนางานเขียนของตัวเอง พร้อมทั้งย้ำอีกว่า.. การเขียนเป็นทักษะ (Skill) ที่ต้องอาศัยการฝึกฝน ไม่มีทางลัดใดๆ ทั้งสิ้น นอกจาก..
“ต้องเขียน ต้องเขียน และต้องเขียน!” แล้วมันจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
คำสอนนี้ทำให้ผมประทับใจมากเพราะสำหรับผมแล้ว การเขียนหนังสือเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุด จนทำให้ผมไม่กล้าที่จะทำ! (เพราะกลัวออกมาไม่ดี) เพราะผมเห็นนักเขียนทุกคนเป็นนักปราชญ์ที่ฉลาดเกินมนุษย์มนาทั่วๆ ไป เหมือนคนในยุค 90’s ไม่เข้าใจว่าทำไมพี่ ‘บอย-โกสิยพงษ์’ ถึงเขียนเพลงรักสุดโรแมนติคออกมาได้ไพเราะ ลึกซึ้ง กินใจ อย่างน่าอัศจรรย์ ?
( เปิดฟังเพลงประกอบได้ที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=C95twEF7MlY )
--------------------------------------------------------
นอกเหนือจากเหตุผลข้างต้นที่ทำให้ผมเริ่มจะรักงานเขียนแล้ว ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมาก นั่นคือการเข้าสู่ภาวะ ‘ความลื่นไหล’ (Flow) ซึ่งเป็นภาวะที่คนเรามีความสุขจากการได้ทำงาน (และได้ศึกษา) มีความสำคัญถึงขนาดต้องมีการเปิดสอนกันในมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง ‘ฮาร์วาร์ด’ เลยทีเดียว (เป็นส่วนหนึ่งของ ‘วิชาความสุข’ โดย ดร.ทาล เบน ชาฮาร์)
ภาวะลื่นไหลที่ว่านี้ คือการเข้าสู่สมาธิระดับอุปจารสมาธิ (หรือขนิกสมาธิที่มีคุณภาพสูง) จิตในภาวะนี้จะจดจ่อกับงานที่ทำอยู่ตรงหน้า ไม่สนใจสิ่งอื่นรอบๆ ตัว (บางครั้งถึงขั้นที่ว่าไม่ได้ยินเสียงใดๆ เลยด้วยซ้ำ) กิเลสที่มากวนใจในยามปกติหายไปจนหมดสิ้น เช่น เรื่องรัก เรื่องชัง ความขี้เกียจ ความฟุ้งซ่าน และความสับสนในใจ (นิวรณ์ ๕)
“การทำงาน.. คือการปฏิบัติธรรม!”
คำสอนของ ‘ท่านพุทธทาส’ ที่บอกสอนพุทธศาสนิกชนลอยเข้ามาในหัวผม (ซึ่งถูกนำมาอธิบายความอีกครั้ง ในเรื่องสมาธิที่ได้จากการทำงาน โดยอาจารย์ ราช รามัญ)
“อืม.. เข้าใจแล้ว เพราะอย่างนี้นี่เอง นักเขียนบางคนที่เขาว่าไส้แห้ง ถึงไม่ยอมเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นที่ได้เงินมากกว่า เพราะการเขียนมันได้ความสุขจากสมาธินี่เอง”
ความสุขจากสมาธิ ???
ความสุขจากสมาธิเป็นความสุขอันประณีตที่ไม่ต้องพึ่งสิ่งเสพบริโภคอย่างอื่นภายนอกตัวครับ กล่าวคือ.. ไม่ต้องออกจากบ้านไปเข้าผับเข้าบาร์ หรือดูคอนเสิร์ต ไม่ต้องซื้อหาวัตถุมาครอบครอง ไม่ต้องอาศัยบุคคลอื่น เพราะตัวเองนี่ละ ได้กลายเป็นโรงงานผลิตความสุขไปแล้ว
--------------------------------------------------------
ผมเคยมีโอกาสเข้าไปกราบครูบาอาจารย์ที่ผมเคารพมากที่สุด (พระอาจารย์ ภาสกร ภาวิไล) ถึงกุฏิของท่านอยู่สอง-สามครั้ง ได้เห็นความเป็นอยู่ของท่านแล้วก็ประทับใจ
ท่านเก็บตัวอยู่ในห้องคนเดียวเงียบๆ เปิดโคมไฟนั่งทำงานหนังสือ-ทำงานสื่อธรรมะไปเรื่อยๆ เหมือนนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ซ่อนตัวอยู่บนยอดเขาโงลังกั๋ง (卧龙岗) ประดุจมังกรซ่อนกาย ที่ไม่ติดต่อสื่อสารกับใครมากมายนัก แต่ทว่า! กลับผลิตผลงานออกมาสั่นสะเทือนวงการพระพุทธศาสนาครั้งแล้วครั้งเล่า นี่เป็นเส้นทางของพระสงฆ์นักปราชญ์ เช่น ท่านพุทธทาส , สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) , พระอาจารย์ภาสกร ภาวิไล , พระไพศาล วิสาโล ฯลฯ (และอีกหลายท่านที่กล่าวถึงในที่นี่ไม่หมดแน่ๆ)
ครูบาอาจารย์เหล่านี้ แม้นจะฉันอาหารเพียงแค่วันละหนึ่งถึงสองมื้อ แต่ก็มีจิตใจผ่องใสที่เกิดจากสมาธิในการทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นงานหนังสือธรรมะ ให้พวกเราได้เรียน ได้ศึกษากันนี่ละครับ
---------------------------
หลังจากผมได้ค้นพบความจริงในข้อนี้แล้ว ไลฟ์สไตล์ผมก็เปลี่ยนไป โดยตลอดช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา (หากจิตใจไม่ต้องการสมาธิมากนัก) ผมจะยกมือไหว้พระรัตนตรัย สมาทานศีลห้า แล้วเริ่มลงมือขีดๆ เขียนๆ อะไรบางอย่างที่นึกได้ตอนนั่งทำสมาธิ (ชั่วครู่) อยู่หน้าโปรแกรม Microsoft Office Word จากนั้นก็ลืมตา แล้วเริ่มบรรเลงเขียนเล่าเรื่องที่นึกได้อย่างลื่นไหลไปเรื่อยๆ เหมือนนักเปียโนที่บรรเลงนิ้วลงบนลิ่มคีย์บอร์ด จนกว่าจะอิ่มหนำสำราญใจ แล้วค่อยเผยแพร่ในโลกออนไลน์ อย่างที่ท่านได้อ่านถึงบรรทัดนี่ละครับ
ถึงตอนนี้ ผมเชื่อว่าหลายคนคงหมดข้อสงสัยแล้วว่า.. ทำไมนักเขียนส่วนใหญ่ ถึงชอบเขียนหนังสือในช่วงเช้าตรู่กันนัก ? เพราะมันเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการปฏิบัติธรรมครับ!
-----------------------------------------------
ขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจ และอ่านจนจบนะครับ