เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า "ภาษีความหวาน" ที่ภาครัฐมีนโยบายจัดเก็บจากสินค้ากลุ่มเครื่องดื่มเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีขึ้น จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 กันยายน 2560 ตามกฎหมาย พ.ร.บ.สรรพสามิตฉบับใหม่นี้
โดยแนวทางของการจัดเก็บ "ณัฐกร อุเทนสุต" ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้อธิบายภายในงานเสวนา "ภาษีความหวานกับการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรม" ว่า ปกติแล้วเครื่องดื่มมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตอยู่แล้ว แต่เป็นการจัดเก็บในขาของมูลค่า อยู่ที่ 20% ของราคาหน้าโรงงาน หรือราคานำเข้าเพียงขาเดียว
แต่ พ.ร.บ.ฉบับใหม่ จะนำภาษีในขาปริมาณ ซึ่งก็คือปริมาณน้ำตาลเข้ามาคิดด้วย โดยมีหลักเกณฑ์คือ เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10% ต่อ 100 มล. จะถูกจัดเก็บตามอัตราที่วางเอาไว้ ซึ่งเป็นอัตราก้าวหน้า คือยิ่งมีน้ำตาลมาก ก็ยิ่งเสียภาษีในอัตราที่สูง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ระยะเวลาภาคเอกชนได้ปรับตัว ได้วางกรอบระยะเวลาให้ภายใน 2 ปีแรก หลังจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ให้สินค้าที่เข้าข่ายมีน้ำตาลเกินที่กำหนด ยังไม่ต้องเสียภาษีในขานี้ แต่ยังคงเสียในด้านของขามูลค่าเช่นเคย
สำหรับสินค้าที่มีน้ำตาลน้อยกว่าที่กำหนด จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี (Incentive) เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาออกสินค้า หรือปรับสูตรกันมากขึ้น
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ
เคาะแล้ว ภาษีความหวาน เครื่องดื่ม 2.5 แสน ล.ระทม!!
โดยแนวทางของการจัดเก็บ "ณัฐกร อุเทนสุต" ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้อธิบายภายในงานเสวนา "ภาษีความหวานกับการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรม" ว่า ปกติแล้วเครื่องดื่มมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตอยู่แล้ว แต่เป็นการจัดเก็บในขาของมูลค่า อยู่ที่ 20% ของราคาหน้าโรงงาน หรือราคานำเข้าเพียงขาเดียว
แต่ พ.ร.บ.ฉบับใหม่ จะนำภาษีในขาปริมาณ ซึ่งก็คือปริมาณน้ำตาลเข้ามาคิดด้วย โดยมีหลักเกณฑ์คือ เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10% ต่อ 100 มล. จะถูกจัดเก็บตามอัตราที่วางเอาไว้ ซึ่งเป็นอัตราก้าวหน้า คือยิ่งมีน้ำตาลมาก ก็ยิ่งเสียภาษีในอัตราที่สูง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ระยะเวลาภาคเอกชนได้ปรับตัว ได้วางกรอบระยะเวลาให้ภายใน 2 ปีแรก หลังจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ให้สินค้าที่เข้าข่ายมีน้ำตาลเกินที่กำหนด ยังไม่ต้องเสียภาษีในขานี้ แต่ยังคงเสียในด้านของขามูลค่าเช่นเคย
สำหรับสินค้าที่มีน้ำตาลน้อยกว่าที่กำหนด จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี (Incentive) เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาออกสินค้า หรือปรับสูตรกันมากขึ้น
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ