การลดทุนบริษัทจำกัด

ปพพ.
มาตรา 1143 ห้ามมิให้บริษัทจำกัดเป็นเจ้าของถือหุ้นของตนเอง หรือรับจำนำหุ้นของตนเอง
มาตรา 1224 บริษัทจำกัดจะลดทุนของบริษัทลงด้วยลดมูลค่าแต่ละหุ้นให้ต่ำลงหรือลดจำนวนหุ้นให้น้อยลงโดยมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้นก็ได้

จากที่หาอ่านมา เข้าใจว่า การลดมูลค่าหุ้น ย่อมต้องทำกับผู้ถือหุ้นทุกคน เพราะหุ้นต้องมีราคาเท่ากันทุกตัว

สงสัยในเรื่องการลดจำนวนหุ้น สามารถลดเฉพาะผู้ถือหุ้นบางคนได้ไหม? หรือว่าต้องทำแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายเท่าๆกันเท่านั้น?
บริษัทจำกัดธรรมดาครับ บริษัทไม่มีเจ้าหนี้เงินกู้ใดๆ (มีเฉพาะเจ้าหนี้หมุนเวียนประจำเดือน)
เนื่องจาก มีผู้ถือหุ้นรายหนึ่งต้องการเลิกบริษัท ขัดขวางการดำเนินการโดยออกเสียง(26%)ค้านมติตลอดเวลา เพื่อบีบให้ต้องเลิกกิจการตามที่ตนต้องการหรือขายหุ้นของตนออก
ผู้ถือหุ้นคนอื่นต้องการให้บริษัทดำเนินการต่อโดยสะดวก แต่ไม่มีเงินพอจะรับซื้อหุ้นเอาไว้
(ถ้าเป็นบริษัทมหาชนอาจทำการซื้อหุ้นคืนได้ไม่เกินวงเงินกำไรสะสม ตามกฏหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน)

ปัจจุบัน บริษัทมีเงินสดในมือจำนวนมากพอราคาหุ้นของเขา
ถ้าให้ผู้ถือหุ้นที่เป็นกรรมการ กู้ยืมเงินจากบริษัทเพื่อนำมาซื้อหุ้นนี้เป็นของตนเอง ลงบันทึกยอดเงินกู้ยืมกรรมการเอาไว้
แล้วค่อยประชุมลดทุน โดยลดเฉพาะจำนวนหุ้นในส่วนที่ซื้อมา หักกลบยอดเงินที่ต้องรับคืนจากหุ้น-ยอดเงินกู้ยืมกรรมการ

เช่น
สภาพเริ่มต้น
นาย        A    B    C    D
หุ้น(ล้าน)    5    5    5    5

นายBกู้เงิน&รับซื้อ
นาย        A    B    C    D
หุ้น(ล้าน)    0    10    5    5

ลดทุนเฉพาะนายB
นาย            B    C    D
หุ้น(ล้าน)        5    5    5



สามารถทำได้ตามกฎหมายไหมครับ
ถ้าทำได้ มีต้นทุนเกิดภาระทางภาษีอย่างไรครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่