นักวิจัยได้หักล้างความคิดที่ว่า ความเครียดมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของพันธุกรรม



การวิจัยใหม่ๆบ่อยครั้งก็มีการรวบรวมข้อมูลต่างๆที่ได้รับในอดีต แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคนกลับประสบความล้มเหลวในการต่อยอดหรือทำวิจัยซ้ำหรือไม่? ก็คงไม่เชิง

ความจริงแล้วจากการวิจัยที่ได้มีการตีพิมพ์ใน PLOS One ก็แสดงให้เห็นว่า วิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งก็มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการทำซ้ำและการทดสอบในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้นบางทีเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจว่า การวิจัยใหม่ที่นำโดยมหาวิทยาลัยวอชิงตันในคณะแพทย์ใน St.Louis ก็เผยให้เห็นว่า งานวิจัยที่มีอิทธิพลในปี 2003 เกี่ยวกับปฎิกิริยาของยีน สภาพแวดล้อมและภาวะซึมเศร้าก็อาจจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น

เนื่องจากงานวิจัยมีการตีพิมพ์ในทางหลักวิทยาศาสตร์โดยมีการอ้างอิงถึงนักวิจัยคนอื่นๆมากกว่า 4 พันครั้ง และงานวิจัย 100 ชิ้นก็มีการตีพิมพ์เกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างเซโรโทนินกับยีน ความเครียดที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันและความเสี่ยงที่จะเจอกับแรงกดดัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนที่มีการถ่ายโอนเซโรโทนินไปยังยีนนั้น ก็ไม่พบว่าจะพบกับความเครียดที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันและเมื่อประสบความเครียด ก็มีแนวโน้มที่พัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าขึ้นมาได้

ข้อสรุปต่างๆก็เป็นที่ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้าง หลักๆแล้วก็เพราะว่ามียารักษาอาการซึมเศร้าที่มีการใส่สารที่ชื่อว่า (SSRIs) ที่ช่วยยับยั้งอาการซึมเศร้า ดังนั้นนักวิจัยหลายคนก็ได้คิดด้วยหลักเหตุผลว่า ความแตกต่างในยีนที่ได้รับสารเซโลโทนินนั้นก็อาจจะนำไปสู่ความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าขึ้นได้

แต่จากการวิจัยใหม่นี้ ทางด้านนักวิจัยหลายคนในมหาวิทยาลัยวอชิงตันก็ได้ย้อนกลับไปดูข้อมูลต่างๆจากงานวิจัยจำนวนมากที่ได้ค้นหาข้อมูลงานวิจัยที่ได้มีการตีพิมพ์ในปี 2003 โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้คนมากกว่า 4 หมื่นคนและพบว่ารายงานก่อนหน้านี้เกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างเซโลโทนินกับยีน ความหดหู่ซึมเศร้ากับความเครียดไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้มากเพียงพอ ผลลัพธ์ที่ออกมาใหม่นี้ก็ได้มีการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 4 เมษายนในนิตยสาร Molecular Psychiatry

“เป้าหมายของพวกเราก็คือ ต้องการให้ทุกๆคนที่ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้มากองรวมเข้าด้วยกันและก็มองหาข้อมูลใหม่ๆ ทีมวิจัยแต่ละทีมก็มีการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลไปในทางเดียวกัน” กล่าวโดยดร. Robert C.Culverhouse เป็นผู้ช่วยอาจารย์ทางด้านการแพทย์และชีวสถิติ “พวกเราทุกคนก็ดำเนินการวิเคราะห์สถิติไปในทางเดียวกันและหลังจากนั้นก็นำผลลัพธ์ต่างๆที่ได้มารวมกัน พวกเราพบว่าไม่มีหลักฐานบ่งบอกเลยว่า ยีนนี้จะส่งผลต่อความเครียดที่จะนำไปสู่ความหดหู่ซึมเศร้า

เป็นเวลาหลายปีที่กลุ่มนักวิจัยหลายกลุ่มได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับดีเอ็นเอกับประสบการณ์ชีวิตที่เจอกับภาวะความเครียดกับภาวะซึมเศร้าจากผู้คนมากกว่า 4 หมื่นคนที่ได้เข้าร่วมงานวิจัยนี้ งานวิจัยบางชิ้นก่อนหน้านี้ก็เผยให้เห็นว่า ความแตกต่างของยีนก็ดูเหมือนจะพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าเมื่อประสบกับความเครียด ในขณะที่ข้อมูลอื่นๆก็ไม่เห็นถึงความเชื่อมโยงกัน เป็นเวลาเกือบ 20 ปีที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้โต้แย้งประเด็นนี้ และใช้เวลาพันกว่าชั่วโมงในการทำงานวิจัย โดยทีมวิจัยทุกๆคนก็ทำการวิเคราะห์ข้อมูลใหม่ซ้ำ ซึ่งงานวิจัยนี้ก็มีคำถามต่างๆมากมายตามมาซึ่งก็เป็นไปตามคาดสำหรับนักวิจัยหลายคน

“แนวคิดก็คือว่า ความแตกต่างในเซโลโทนินในยีนจะทำให้ผู้คนเจอกับภาวะซึมเศร้ามากขึ้นเมื่อเจอกับความเครียด ซึ่งเป็นข้อสมมุติฐานที่มีเหตุผลที่สุด” กล่าวโดยนักวิเคราะห์อาวุโส Laura Jean Bierut ซึ่งเป็นอาจารย์ทางด้านจิตเวชที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน “แต่เมื่อทีมวิจัยทุกๆกลุ่มได้รวมตัวกันและใช้ข้อมูลไปในทางเดียวกัน พวกเราก็มีความเห็นที่ตรงกัน พวกเรารู้ดีว่าความเครียดมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและพวกเราก็รู้ว่าพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า แต่ตอนนี้พวกเรารู้ว่ายีนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

Culverhouse ก็ได้บันทึกเอาไว้ว่า สุดท้ายเมื่อมียีนกับประเด็นที่เชื่อมโยงกับความเครียดกับภาวะซึมเศร้า ก็จะมีการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการทำวิจัย

“ผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็ได้โต้แย้งเรื่องนี้มาเป็นเวลาหลายปี” เขากล่าว “แต่สุดท้ายคำถามก็คือมันไม่ได้อยู่ที่ว่าผู้เชี่ยวชาญจะคิดยังไง แต่หลักฐานต่างหากที่เป็นตัวบอกพวกเรา พวกเราได้ใช้หลักฐานจนสุดท้ายก็ได้คำตอบว่า เซโลโทนินกับยีนไม่ได้ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้า ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือมีการปรับเปลี่ยนความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดกับซึมเศร้า

ความผันแปรของเซโลโทนินกับยีนก็ได้ถูกตัดออกจากความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ทั้ง Culverhouse กับ Bierut ก็ได้กล่าวว่า ตอนนี้นักวิจัยหลายคนก็ได้โฟกัสไปยังปฎิกิริยาของยีนที่มีต่อสภาวะแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในเบื้องต้น

Culverhouse กับคณะได้ทำการวิเคราะห์อภิมานพบว่า ไม่มีหลักฐานที่ยืนยันได้หนักแน่นมากพอเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดกับจีโนไทป์ 5-HTTLPR ที่พัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าจากการตีพิมพ์ในนิตยสาร Molecular Psychiatry เมื่อวันที่ 4 เมษายน ปี 2017

ผู้แปล : Mr.lawrence10

ที่มา : sciencedaily.com
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่