ผู้ไม่เป็นทั้งฝ่ายรับและฝ่ายค้าน(พระสูตร)

(ดับกิเลสและทุกข์เพราะออกเสียได้จากทิฏฐิบวก - ทิฏฐิลบ)
ภิกษุ ท. ! ทิฏฐิสองอย่างเหล่านี้ มีอยู่ ; คือ ภวทิฏฐิ (ว่ามี). วิภวทิฏฐิ
(ว่าไม่มี).
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด แอบอิงภวทิฏฐิ (ซึ่งมี
ลักษณะเป็นบวก) เข้าถึงภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่ภวทิฏฐิ ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมคัดค้านต่อวิภวทิฏฐิ. ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดแอบอิง
วิภวทิฏฐิ (ซึ่งมีลักษณะเป็นลบ) เข้าถึงวิภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่วิภวทิฏฐิ ; สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อภวทิฏฐิ. ...
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งความ
เกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษอันต่ำทราม และอุบายเครื่องออก
แห่งทิฏฐิสองอย่างนี้, สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ
ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ปราศจากตัณหา ไม่มีอุปาทาน เป็นผู้เห็นแจ้ง
ไม่เป็นฝ่ายยอมรับ ไม่เป็นฝ่ายคัดค้าน ; เขาเหล่านั้น เป็นผู้มีธรรมอันไม่ทำความ
เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี มีความยินดีในธรรมอันไม่ทำความเนิ่นช้า ย่อมพ้นจากชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย, เรากล่าวว่า เขาย่อม
พ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้.
- มู ม. ๑๒/๑๓๑/๑๕๕.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่