ภิกษุทั้งหลาย ! กิจของคหบดีชาวนา ที่เขาจะต้อง
รีบทำ มีสามอย่างเหล่านี้. สามอย่างอะไรบ้างเล่า ?
สามอย่างคือ คหบดีชาวนา รีบๆ ไถคราดพื้นที่นา
ให้ดีเสียก่อน, ครั้นแล้ว ก็รีบๆ ปลูกพืช, ครั้นแล้วก็รีบๆ
ไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้าง.
ภิกษุทั้งหลาย ! กิจของคหบดีชาวนา ที่เขาจะต้อง
รีบทำ มีสามอย่างเหล่านี้แล; แต่ว่า คหบดีชาวนานั้น ไม่มี
ฤทธิ์หรืออานุภาพ ที่จะบันดาลว่า “ข้าวของเรา จงงอกใน
วันนี้, ตั้งท้องพรุ่งนี้, สุกมะรืนนี้” ดังนี้ได้เลย, ที่แท้ ย่อมมี
เวลาที่ข้าวนั้น เปลี่ยนแปรสภาพไปตามฤดูกาล ย่อมจะ
งอกบ้าง ตั้งท้องบ้าง สุกบ้าง;
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : กิจของภิกษุ ที่เธอ
จะต้องรีบทำ มีสามอย่างเหล่านี้.
สามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สามอย่างคือ :-
การสมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง,
การสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง,
และการสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ! กิจของภิกษุ ที่เธอจะต้องรีบทำ
มีสามอย่างเหล่านี้แล;
แต่ว่าภิกษุนั้น ก็ไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพ ที่จะ
บันดาลว่า “จิตของเรา จงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่มีอุปาทานในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้”
ดังนี้ได้เลย, ที่แท้ ย่อมมีเวลาที่เหมาะสม เมื่อภิกษุนั้น
ปฏิบัติไปแม้ในศีลอันยิ่ง, ปฏิบัติไปแม้ในจิตอันยิ่ง,
และปฏิบัติไปแม้ในปัญญาอันยิ่ง จิตก็จะหลุดพ้นจาก
อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีอุปาทานได้เอง.
ติก. อํ. ๒๐/๓๐๙/๕๓๒.
ตั้งหน้าทำก็แล้วกัน (พระสูตร)
รีบทำ มีสามอย่างเหล่านี้. สามอย่างอะไรบ้างเล่า ?
สามอย่างคือ คหบดีชาวนา รีบๆ ไถคราดพื้นที่นา
ให้ดีเสียก่อน, ครั้นแล้ว ก็รีบๆ ปลูกพืช, ครั้นแล้วก็รีบๆ
ไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้าง.
ภิกษุทั้งหลาย ! กิจของคหบดีชาวนา ที่เขาจะต้อง
รีบทำ มีสามอย่างเหล่านี้แล; แต่ว่า คหบดีชาวนานั้น ไม่มี
ฤทธิ์หรืออานุภาพ ที่จะบันดาลว่า “ข้าวของเรา จงงอกใน
วันนี้, ตั้งท้องพรุ่งนี้, สุกมะรืนนี้” ดังนี้ได้เลย, ที่แท้ ย่อมมี
เวลาที่ข้าวนั้น เปลี่ยนแปรสภาพไปตามฤดูกาล ย่อมจะ
งอกบ้าง ตั้งท้องบ้าง สุกบ้าง;
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : กิจของภิกษุ ที่เธอ
จะต้องรีบทำ มีสามอย่างเหล่านี้.
สามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สามอย่างคือ :-
การสมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง,
การสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง,
และการสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ! กิจของภิกษุ ที่เธอจะต้องรีบทำ
มีสามอย่างเหล่านี้แล;
แต่ว่าภิกษุนั้น ก็ไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพ ที่จะ
บันดาลว่า “จิตของเรา จงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่มีอุปาทานในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้”
ดังนี้ได้เลย, ที่แท้ ย่อมมีเวลาที่เหมาะสม เมื่อภิกษุนั้น
ปฏิบัติไปแม้ในศีลอันยิ่ง, ปฏิบัติไปแม้ในจิตอันยิ่ง,
และปฏิบัติไปแม้ในปัญญาอันยิ่ง จิตก็จะหลุดพ้นจาก
อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีอุปาทานได้เอง.
ติก. อํ. ๒๐/๓๐๙/๕๓๒.