อ้างถึง
http://www.motortrivia.com/section-safety-zone/007-3-point-seat-belt/3-point-seat-belt.html
วิศวกรวอลโว่ Nils Bohlin เป็นผู้คิดค้นเข็มขัดนิรภัยทรง V-Shape ที่เรียกกันว่าแบบ 3 จุด หรือ 3-Point Seat Belt ที่มีรูปแบบเฉพาะออกมาและนำมาใช้กับรถยนต์ในสายการผลิตเป็นครั้งแรกของโลกนปี 1959 จนกลายเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐานที่รถยนต์ทุกคันในโลกจะต้องมี
‘click-clack front-and-back’ คือ นิยามที่แสดงให้เห็นถึงความสะดวกและง่ายของการใช้งานของเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด สามารถคาดเข็มขัดได้โดยใช้มือเพียงข้างเดียวเท่านั้น โดยตัวเข็มขัดจะมีสาย 1 เส้น ซึ่งเมื่อดึงออกมาจะพาดบริเวณหัวไหล่และช่วงสะโพก มีลักษณะคล้ายกับตัว V ตะแคง ซึ่งเข็มขัดนิรภัยจะทำหน้าที่ยึดรั้งสรีระ หรือ Safety Harness ของคนที่คาดไม่ห้พุ่งไปตามแรงที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เกิดการชน รวมถึงยังป้องกันไม่ให้เกิดสภาพที่เรียกว่า แรงกระแทกตามมา หรือ Second Impact สำหรับคนนั่งด้านหน้า อันเป็นผลมาจากคนนั่งด้านหลัง ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย แล้วพุ่งมากระแทกเข้ากับด้านหลังของเบาะนั่งด้านหน้า จนทำให้คนนั่งด้านหน้าเสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บ
แม้จะมีการคิดค้นในปี 1959 และ Bohlin จะนำมาติดตั้งในรถยนต์ของวอลโว่เพื่อเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน แต่ทว่ากว่าที่เข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดจะแพร่หลาย และถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับเบาะหน้าของรถยนต์ทุกรุ่นที่อยู่ในตลาดก็ต้องรอจนถึงปี 1980 ส่วนที่เบาะหลังของรถยนต์ส่วนใหญ่ยังเป็นแบบ 2 จุด (Lap Belt) หรือไม่ก็ไม่มีมาให้เลย
ตลอด 50 ปีที่มีการคิดค้น และนำมาใช้ในรถยนต์นั่ง เข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด สามารถช่วยลดจำนวนตัวเลขของผู้เสียชีวิต และการบาดเจ็บที่ร้ายแรงจากอุบัติเหตุได้ปีละหลายหมื่นคน อีกทั้งในช่วงปี 1985 เข็มขัดนิรภัยยังได้รับการยอมรับว่าเป็น 1 ใน 8 สิ่งประดิษฐ์ สำหรับชีวิตมนุษย์ในตลอดช่วง 100 ปีที่ผ่านมา (1885-1985)
จากงานวิจัยพบว่า 63% ของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์พบว่าเกิดจากการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และผู้ที่คาดเข็มขัดนิรภัย จะมีโอกาสรอดตายจากอุบัติเหตุได้มากกว่าคนที่ไม่คาดถึง 50% อีกทั้งยังมีการเปิดเผยอีกว่า ระดับของการศึกษาไม่ได้มีส่วนต่อการคาดเข็มขัดนิรภัย โดยเฉพาะในกลุ่มของวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 16-25 ปี ซึ่งในสหรัฐอเมริกาพบว่าส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่คาดเข็มขัดนิรภัยในขณะที่กำลังขับรถ
นอกจากนั้น ในรถยนต์ที่มีการติดตั้งถุงลมนิรภัยคู่หน้า การที่คนขับและคนนั่งด้านหน้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัยจะกลายเป็นโทษมากกว่า เพราะถุงลมนิรภัยจะทำงานควบคู่กับเข็มขัดนิรภัยในการปกป้องผู้ขับขี่ในการชนทางด้านหน้า
การมีถุงลมนิรภัยด้านหน้าเพิ่มเข้ามา จะช่วยทำให้เข็มขัดนิรภัยมีประสิทธิภาพในการลดโอกาสการเสียชีวิตได้ถึง 40% ในทางกลับกัน ถ้ามีแล้วไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ความเสี่ยงในการที่จะเสียชีวิตหรือได้รับการบาดเจ็บอย่างรุนแรงมีสูงมาก
‘Belt up. For life.”
บ้านเรา พรบ.จราจรทางบก 2522 ได้มีการประกาศและบังคับใช้ให้ติดตั้งและคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับคนขับและผู้โดยสารตอนหน้า ตั้งแต่ พ.ศ. 2538....
แม้จะมีแรงต้านในระยะแรก แต่ก็ได้รับความร่วมมือจนถือเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำนวนของผู้ใช้รถยนต์ ข้อมูลสำรวจล่าสุด (2557) โดยมูลนิธิไทยโรดส์ พบอัตราการคาดเข็มขัดตอนหน้า เฉลี่ย 2 ใน 3 หรือร้อยละ 60 กว่าๆ เข็มขัดนิรภัยสามารถลดความรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ถึง 34-40 % เทียบกับการไม่คาดเข็มขัด
เมื่อปีกว่าๆ เรื่องเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารตอนหลัง ถูกพูดถึงกันมากในอเมริกา จากการสูญเสีย
John Nash เจ้าของรางวัลโนเบิลไพรส์ ที่จบชีวิตบนรถแท๊กซี่เพราะไม่คาดเข็มขัดนิรภัย โดยสื่อมวลชนและประชาชนหันมารณรงค์ให้เพิ่มการเข้มงวดและใช้เข็มขัดนิรภัยกับผู้โดยสารตอนหลัง
เพื่อนบ้านอย่าง
“มาเลเชีย” ก็มีการบังคับใช้เข็มขัดตอนหลังเมื่อ 2 ปีก่อน แต่ที่น่าสนใจคือ ผลประเมินจาก MIROS (Malaysia Institute of Road Safety) พบว่าสามารถช่วยลดการตายของผู้โดยสารตอนหลังได้ถึง 70%
ล่าสุดที่เป็นข่าวดัง เรื่อง
ม.44 ฉบับที่ 14/2560 เรื่องมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ประเภทรถและการคาดเข็มขัดนิรภัย และฉบับที่ 15/2560 เรื่องมาตรเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ
ดูตามรูปจะเข้าใจง่ายขึ้นครับ
ลองหาข้อมูลในพพันทิปดูว่า มีใครรอดเพราะคาดเข็มขัดนิรภัยมาบ้าง
เจอกระทู้นี้เลยครับ
https://ppantip.com/topic/31279925 โดยคุณ oatsutee เป็นคนโพส
ถ้าดูจากสภาพรถ ผมว่าไม่น่ารอด แต่สุดท้ายก็รอดเพราะ เข็มขัดนิรภัยจริงๆ
ส่วนตัวผม คาดทุกครั้งที่นั่งรถ ไม่ว่าจะนั่งหน้าหรือหลังครับ(ถ้าด้านหลังมีให้คาด)
"safety first"
กว่าครึ่งศตวรรษ กับ เข็มขัดนิรภัย
วิศวกรวอลโว่ Nils Bohlin เป็นผู้คิดค้นเข็มขัดนิรภัยทรง V-Shape ที่เรียกกันว่าแบบ 3 จุด หรือ 3-Point Seat Belt ที่มีรูปแบบเฉพาะออกมาและนำมาใช้กับรถยนต์ในสายการผลิตเป็นครั้งแรกของโลกนปี 1959 จนกลายเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐานที่รถยนต์ทุกคันในโลกจะต้องมี
‘click-clack front-and-back’ คือ นิยามที่แสดงให้เห็นถึงความสะดวกและง่ายของการใช้งานของเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด สามารถคาดเข็มขัดได้โดยใช้มือเพียงข้างเดียวเท่านั้น โดยตัวเข็มขัดจะมีสาย 1 เส้น ซึ่งเมื่อดึงออกมาจะพาดบริเวณหัวไหล่และช่วงสะโพก มีลักษณะคล้ายกับตัว V ตะแคง ซึ่งเข็มขัดนิรภัยจะทำหน้าที่ยึดรั้งสรีระ หรือ Safety Harness ของคนที่คาดไม่ห้พุ่งไปตามแรงที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เกิดการชน รวมถึงยังป้องกันไม่ให้เกิดสภาพที่เรียกว่า แรงกระแทกตามมา หรือ Second Impact สำหรับคนนั่งด้านหน้า อันเป็นผลมาจากคนนั่งด้านหลัง ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย แล้วพุ่งมากระแทกเข้ากับด้านหลังของเบาะนั่งด้านหน้า จนทำให้คนนั่งด้านหน้าเสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บ
แม้จะมีการคิดค้นในปี 1959 และ Bohlin จะนำมาติดตั้งในรถยนต์ของวอลโว่เพื่อเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน แต่ทว่ากว่าที่เข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดจะแพร่หลาย และถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับเบาะหน้าของรถยนต์ทุกรุ่นที่อยู่ในตลาดก็ต้องรอจนถึงปี 1980 ส่วนที่เบาะหลังของรถยนต์ส่วนใหญ่ยังเป็นแบบ 2 จุด (Lap Belt) หรือไม่ก็ไม่มีมาให้เลย
ตลอด 50 ปีที่มีการคิดค้น และนำมาใช้ในรถยนต์นั่ง เข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด สามารถช่วยลดจำนวนตัวเลขของผู้เสียชีวิต และการบาดเจ็บที่ร้ายแรงจากอุบัติเหตุได้ปีละหลายหมื่นคน อีกทั้งในช่วงปี 1985 เข็มขัดนิรภัยยังได้รับการยอมรับว่าเป็น 1 ใน 8 สิ่งประดิษฐ์ สำหรับชีวิตมนุษย์ในตลอดช่วง 100 ปีที่ผ่านมา (1885-1985)
จากงานวิจัยพบว่า 63% ของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์พบว่าเกิดจากการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และผู้ที่คาดเข็มขัดนิรภัย จะมีโอกาสรอดตายจากอุบัติเหตุได้มากกว่าคนที่ไม่คาดถึง 50% อีกทั้งยังมีการเปิดเผยอีกว่า ระดับของการศึกษาไม่ได้มีส่วนต่อการคาดเข็มขัดนิรภัย โดยเฉพาะในกลุ่มของวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 16-25 ปี ซึ่งในสหรัฐอเมริกาพบว่าส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่คาดเข็มขัดนิรภัยในขณะที่กำลังขับรถ
นอกจากนั้น ในรถยนต์ที่มีการติดตั้งถุงลมนิรภัยคู่หน้า การที่คนขับและคนนั่งด้านหน้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัยจะกลายเป็นโทษมากกว่า เพราะถุงลมนิรภัยจะทำงานควบคู่กับเข็มขัดนิรภัยในการปกป้องผู้ขับขี่ในการชนทางด้านหน้า
การมีถุงลมนิรภัยด้านหน้าเพิ่มเข้ามา จะช่วยทำให้เข็มขัดนิรภัยมีประสิทธิภาพในการลดโอกาสการเสียชีวิตได้ถึง 40% ในทางกลับกัน ถ้ามีแล้วไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ความเสี่ยงในการที่จะเสียชีวิตหรือได้รับการบาดเจ็บอย่างรุนแรงมีสูงมาก
‘Belt up. For life.”
บ้านเรา พรบ.จราจรทางบก 2522 ได้มีการประกาศและบังคับใช้ให้ติดตั้งและคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับคนขับและผู้โดยสารตอนหน้า ตั้งแต่ พ.ศ. 2538....
แม้จะมีแรงต้านในระยะแรก แต่ก็ได้รับความร่วมมือจนถือเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำนวนของผู้ใช้รถยนต์ ข้อมูลสำรวจล่าสุด (2557) โดยมูลนิธิไทยโรดส์ พบอัตราการคาดเข็มขัดตอนหน้า เฉลี่ย 2 ใน 3 หรือร้อยละ 60 กว่าๆ เข็มขัดนิรภัยสามารถลดความรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ถึง 34-40 % เทียบกับการไม่คาดเข็มขัด
เมื่อปีกว่าๆ เรื่องเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารตอนหลัง ถูกพูดถึงกันมากในอเมริกา จากการสูญเสีย John Nash เจ้าของรางวัลโนเบิลไพรส์ ที่จบชีวิตบนรถแท๊กซี่เพราะไม่คาดเข็มขัดนิรภัย โดยสื่อมวลชนและประชาชนหันมารณรงค์ให้เพิ่มการเข้มงวดและใช้เข็มขัดนิรภัยกับผู้โดยสารตอนหลัง
เพื่อนบ้านอย่าง “มาเลเชีย” ก็มีการบังคับใช้เข็มขัดตอนหลังเมื่อ 2 ปีก่อน แต่ที่น่าสนใจคือ ผลประเมินจาก MIROS (Malaysia Institute of Road Safety) พบว่าสามารถช่วยลดการตายของผู้โดยสารตอนหลังได้ถึง 70%
ล่าสุดที่เป็นข่าวดัง เรื่อง ม.44 ฉบับที่ 14/2560 เรื่องมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ประเภทรถและการคาดเข็มขัดนิรภัย และฉบับที่ 15/2560 เรื่องมาตรเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ
ดูตามรูปจะเข้าใจง่ายขึ้นครับ
ลองหาข้อมูลในพพันทิปดูว่า มีใครรอดเพราะคาดเข็มขัดนิรภัยมาบ้าง
เจอกระทู้นี้เลยครับ https://ppantip.com/topic/31279925 โดยคุณ oatsutee เป็นคนโพส
ถ้าดูจากสภาพรถ ผมว่าไม่น่ารอด แต่สุดท้ายก็รอดเพราะ เข็มขัดนิรภัยจริงๆ
ส่วนตัวผม คาดทุกครั้งที่นั่งรถ ไม่ว่าจะนั่งหน้าหรือหลังครับ(ถ้าด้านหลังมีให้คาด)
"safety first"