เราอยู่ในยุคสมัยแห่ง ‘ความมั่นใจในตัวเอง’ สำเร็จได้เพราะมั่นใจจริงไหม
มีข้อสังเกตว่าช่วงนี้เราอยู่ในยุคสมัยแห่ง ‘ความเคารพตัวเอง (self-esteem)’ หรือความมั่นใจในตัวเอง คือโอเคเราต่างหลงทางกันอยู่ในโลกสมัยใหม่และมีไลฟ์โค้ชจำนวนหนึ่งที่มักจะออกมาบอกว่า ทำแบบนี้สิ ปลุกเร้าความเคารพในตัวเอง เราทำได้ ชูมือขึ้นฟ้าแล้วตะโกนบอกให้โลกรู้ว่าเราทำได้ มั่นใจในตัวเองแล้วโลกจะอยู่ในกำมือของเรา
เรามักจะได้ยินคำแนะนำให้มั่นใจในตัวเองจากพวกหนังสือหรือเพจแบบ self-help เป็นข้อคิดความช่วยเหลือในยามที่เรารู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง เป็นกระแสที่บอกว่าปัญหาหรือการหลงทางทั้งหลายอาจจะแก้ได้จากตัวเอง แก้ด้วยการเปลี่ยนทัศนคติ การเปลี่ยนมุมมองต่อตนเอง เสริมสร้างความมั่นใจ เท่านี้ก็จะเป็นเข็มทิศที่พาเราไปอย่างถูกทาง
กระแสเรื่องปลุกความมั่นใจเป็นกระแสที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตก เป็นกระแสความคิดสำคัญหนึ่งในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานี้ วงการจิตวิทยาเองก็เชื่อว่าการมีความเคารพตัวเองต่ำเป็นรากเหง้าของปัญหาสังคมและปัญหาส่วนบุคคลต่างๆ เช่น การท้องในวัยรุ่น การฆ่าตัวตาย ไปจนถึงความล้มเหลวทางการศึกษา จากความคิดนี้เองจึงได้เกิดกระแสปลุกเร้าความเคารพและความมั่นใจตัวเองที่พัดพามาถึงวงการไลฟ์โค้ชบ้านเรา
ในแง่ของงานวิจัย นักจิตวิทยาหลายก็สงสัยว่า เอ๊ะ มันไม่น่าจะมีคำตอบสำเร็จรูปอะไรแบบที่ว่าปัญหาทั้งหลายเกิดจากนี่ไง การขาดความเคารพตัวเอง ถ้าเคารพตัวเองแล้วทุกอย่างก็จะดีเอง สังคมมั่นคงประชาชนก้าวหน้า Nicholas Emler ลงไปทบทวนว่าการเป็น
คนที่เคารพตัวเองต่ำสัมพันธ์กับปัญหาสังคมขนาดนั้นเชียวรึ ผลคือไม่ได้มีความเชื่อมโยงระหว่างการมีความเคารพตัวเองต่ำกับปัญหาสังคมทั้งหลายอย่างมีนัยสำคัญ
แถมผู้วิจัยยังบอกว่าคนที่มีความมั่นใจในตัวเองน้อยก็ไม่ได้แย่เพราะในขณะเดียวกันคนที่มีความมั่นใจในตัวเองสูงๆ มีแนวโน้มนำไปสู่ความยะโสโอหัง สนใจแต่ตัวเอง ซึ่งก็เป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้มีผลดีกับตัวเองเท่าไหร่
ปัญหาคือความเคารพตัวเองอาจจะไม่ใช่ยาวิเศษที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ นักสังคมวิทยาเองก็สนใจว่าอะไรคือหนทางที่เราจะประสบความสำเร็จได้นะ และผลคือเจ้า
‘ความเคารพตัวเอง’ ที่สำนักคิดต่างๆ พยายามปลุกเร้านั้น
ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของแต่ละคน
Angela Duckworth แห่ง University of Pennsylvania นำการศึกษาเรื่องลักษณะนิสัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จบอกว่า ปัจจัยทางบุคลิกภาพหรือทัศนคติที่มีผลกับการประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องการมีบุคลิก มีสุขภาพที่ดี หรือการมีความเฉลียวฉลาดรวมถึงความมั่นใจในตัวเอง แต่คือ ‘ความถึก (grit)’
ความถึก ที่ว่าเป็นลักษณะนิสัยเชิงบวกอย่างหนึ่ง คือ
การเป็นคนที่มีความแน่วแน่และความหลงใหลกับเป้าหมายหรือปลายทางบางอย่าง พอมีเป้าหมายแล้วก็จะมีความอดทนอดกลั้นฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ไปสู่จุดหมายที่ตัวเองตั้งไว้ ความถึกทนนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่นักวิจัยบอกว่าพบเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของแต่ละบุคคล
** ถ้ามองในมุมของศาสนาแล้ว "ความถึก" หรือปัจจัยแห่งความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยหลัก "อิทธิบาท 4 " นั่นเอง **
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับ"ความมั่นใจในตัวเอง" จริงหรือ????
มีข้อสังเกตว่าช่วงนี้เราอยู่ในยุคสมัยแห่ง ‘ความเคารพตัวเอง (self-esteem)’ หรือความมั่นใจในตัวเอง คือโอเคเราต่างหลงทางกันอยู่ในโลกสมัยใหม่และมีไลฟ์โค้ชจำนวนหนึ่งที่มักจะออกมาบอกว่า ทำแบบนี้สิ ปลุกเร้าความเคารพในตัวเอง เราทำได้ ชูมือขึ้นฟ้าแล้วตะโกนบอกให้โลกรู้ว่าเราทำได้ มั่นใจในตัวเองแล้วโลกจะอยู่ในกำมือของเรา
เรามักจะได้ยินคำแนะนำให้มั่นใจในตัวเองจากพวกหนังสือหรือเพจแบบ self-help เป็นข้อคิดความช่วยเหลือในยามที่เรารู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง เป็นกระแสที่บอกว่าปัญหาหรือการหลงทางทั้งหลายอาจจะแก้ได้จากตัวเอง แก้ด้วยการเปลี่ยนทัศนคติ การเปลี่ยนมุมมองต่อตนเอง เสริมสร้างความมั่นใจ เท่านี้ก็จะเป็นเข็มทิศที่พาเราไปอย่างถูกทาง
กระแสเรื่องปลุกความมั่นใจเป็นกระแสที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตก เป็นกระแสความคิดสำคัญหนึ่งในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานี้ วงการจิตวิทยาเองก็เชื่อว่าการมีความเคารพตัวเองต่ำเป็นรากเหง้าของปัญหาสังคมและปัญหาส่วนบุคคลต่างๆ เช่น การท้องในวัยรุ่น การฆ่าตัวตาย ไปจนถึงความล้มเหลวทางการศึกษา จากความคิดนี้เองจึงได้เกิดกระแสปลุกเร้าความเคารพและความมั่นใจตัวเองที่พัดพามาถึงวงการไลฟ์โค้ชบ้านเรา
ในแง่ของงานวิจัย นักจิตวิทยาหลายก็สงสัยว่า เอ๊ะ มันไม่น่าจะมีคำตอบสำเร็จรูปอะไรแบบที่ว่าปัญหาทั้งหลายเกิดจากนี่ไง การขาดความเคารพตัวเอง ถ้าเคารพตัวเองแล้วทุกอย่างก็จะดีเอง สังคมมั่นคงประชาชนก้าวหน้า Nicholas Emler ลงไปทบทวนว่าการเป็นคนที่เคารพตัวเองต่ำสัมพันธ์กับปัญหาสังคมขนาดนั้นเชียวรึ ผลคือไม่ได้มีความเชื่อมโยงระหว่างการมีความเคารพตัวเองต่ำกับปัญหาสังคมทั้งหลายอย่างมีนัยสำคัญ
แถมผู้วิจัยยังบอกว่าคนที่มีความมั่นใจในตัวเองน้อยก็ไม่ได้แย่เพราะในขณะเดียวกันคนที่มีความมั่นใจในตัวเองสูงๆ มีแนวโน้มนำไปสู่ความยะโสโอหัง สนใจแต่ตัวเอง ซึ่งก็เป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้มีผลดีกับตัวเองเท่าไหร่
ปัญหาคือความเคารพตัวเองอาจจะไม่ใช่ยาวิเศษที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ นักสังคมวิทยาเองก็สนใจว่าอะไรคือหนทางที่เราจะประสบความสำเร็จได้นะ และผลคือเจ้า ‘ความเคารพตัวเอง’ ที่สำนักคิดต่างๆ พยายามปลุกเร้านั้น ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของแต่ละคน
Angela Duckworth แห่ง University of Pennsylvania นำการศึกษาเรื่องลักษณะนิสัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จบอกว่า ปัจจัยทางบุคลิกภาพหรือทัศนคติที่มีผลกับการประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องการมีบุคลิก มีสุขภาพที่ดี หรือการมีความเฉลียวฉลาดรวมถึงความมั่นใจในตัวเอง แต่คือ ‘ความถึก (grit)’
ความถึก ที่ว่าเป็นลักษณะนิสัยเชิงบวกอย่างหนึ่ง คือ การเป็นคนที่มีความแน่วแน่และความหลงใหลกับเป้าหมายหรือปลายทางบางอย่าง พอมีเป้าหมายแล้วก็จะมีความอดทนอดกลั้นฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ไปสู่จุดหมายที่ตัวเองตั้งไว้ ความถึกทนนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่นักวิจัยบอกว่าพบเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของแต่ละบุคคล
** ถ้ามองในมุมของศาสนาแล้ว "ความถึก" หรือปัจจัยแห่งความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยหลัก "อิทธิบาท 4 " นั่นเอง **