คิดยังไงกับประโยคนี้ "ถ้าคิดค่าจ้างตามกฎหมาย แบบนี้ก็เป็นลูกจ้าง ไม่ใช่ครอบครัวสิ"

รูปแบบกิจการ เป็นร้านขายของในตลาดเช้า ทำกันเป็นครอบครัวใหญ่
คือมี พ่อ แม่ เป็นเจ้าของร้าน และมีน้า ป้า และลูกของน้าและป้า เป็นลูกจ้าง
เวลาทำงาน(เฉพาะลูกจ้าง) 04:00-17:00 (13 ชั่วโมง -1 พักกลางวัน เหลือ 12 ชั่วโมง)
เจ้าของร้าน มาร้านตี5 กลับบ่าย2 บางวันไม่มาเลย
การจ่ายค่าจ้าง รายปี ปีละ 50,000 40,000 30,000 และถูกสุด 14,000
ถ้าคิดเป็นรายวันก็ได้วันละ 136 109 82 และ 38 บาท/วัน
บางครั้งขายของชิ้นใหญ่ได้ ก็จะแบ่งให้บ้าง 1000 2000 แต่นานๆที
คิดเรทนี้มากว่า 20 ปี จนมาวันนี้ ป้า น้า และลูกหลาน ต่างมีครอบครัว มีภาระ มีค่าใช้จ่าย
อยากขอขึ้นค่าแรง ให้เป็นไปตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำ(แต่ชั่วโมงทำงานเกิน)
แต่กลับโดนประโยคที่ว่า "ถ้าคิดค่าจ้างตามกฎหมาย คิดเต็มอัตรา แบบนี้ก็ไม่ใช่พี่น้อง ไม่ใช่ลูกหลานกันสิ"
เจอคำพูดแบบนี้เข้าไป ต้องทำยังไงดี
เป็นพี่น้อง เป็นลูกหลาน ต้องจ้างถูกๆ
แล้วพูดว่า กรูพี่ยิ้มนะ ยิ้มหลานกรูนะ
จะมาคิดค่าแรงเหมือนคนอื่นได้ยังไง ???
แบบนี้ก็ได้หรอ ????

เจ้าของร้านรวยเอาๆ พร้อมเกษียณ
แต่ลูกจ้างยังต้องดิ้นรนกันต่อไป
ทั้งๆที่บางคน อายุก็ใกล้เกษียณเต็มทีแล้ว

เพิ่มเติม
การกินอยู่
สำหรับหลาน กิน 2 มื้อค่ะ เช้า กลางวัน
มื้อเย็น แยกบ้านใครบ้านมันค่ะ
แต่คนเป็นป้าและน้า กิน 3 มื้อ และนอนเฝ้าร้าน น้ำไฟไม่ได้จ่าย

ป้ามีรายได้เสริมคือขายเบอร์ทองและลอตเตอรี่ค่ะ

และด้วยความที่ป้ามีครอบครัว
เลยมีการขอเก็บค่ากับข้าว
เพราะกินข้าวบ้านเดียวกัน รวม 3 คน (ป้า แฟนป้า และลูกป้า)

ค่าแรงวันละ 136 เก็บค่ากับข้าววันละ 100 บางวัน 200
จะไปเหลืออะไรล่ะคะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่