เมื่อลูกช็อกหมดสติ เป็น DKA และเป็นเบาหวานชนิดที่ 1
กระทู้นี้เป็นกระทู้แรก ไม่ใช่กระทู้คำถามแต่เนื่องจากไม่ใช่สมาชิกก็เลยตั้งกระทู้สนทนาไม่ได้ หากผิดพลาดประการใดขออภัยและขอคำแนะนำด้วย
ดิฉันและครอบครัวอยู่ญี่ปุ่น อยากจะมาเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะตอนนั้นดิฉันพยายามหาข้อมูลจากทางเน็ต ซึ่งตอนนั้นอยากได้ประสบการณ์จริงๆ อ่านเพื่อหวังว่าลูกจะดีขึ้น. ตอนนี้ลูกออกมาใช้ชีวิตได้ปรกติก็เลยอยากแชร์ประสบการณ์ รวมถึงอาการ การใช้ชีวิตและหวังว่าจะมีประโยชน์
ที่ญี่ปุ่นมีคนเป็นโรคนี้ปีละ 1,000 คน ส่วนใหญ่เกิดกับเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็ไม่น้อยอย่างนายกฯหญิงอังกฤษคนปัจจุบัน เทเรซ่า เมย์ ก็เพิ่งตรวจว่าเป็นเมื่อปี 2012
เบาหวานชนิดที่ 1 จะไม่เหมือนเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นเพราะกินหวานเยอะ แต่จะเป็นเหมือนภูมิคุ้มกันบกพร่อง วิธีแก้ก็คือ ฉีดภูมิชื่อ อินซูลีน เข้าไปช่วยเพราะร่างกายสร้างเองไม่ได้หรือได้น้อย
จุดเริ่มและอาการ
ช่วงปีใหม่ลูกสาวเริ่มเพลียๆ ไม่ร่าเริง(ปรกติก็ไม่ร่าเริงอยู่แล้ว) มีไข้อ่อนๆ กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย ไม่อยากอาหาร อาเจียน
ในตอนแรกดิฉันคิดว่าเป็นหวัดลงกระเพาะที่กำลังระบาด และปรกติเวลาลูกไม่สบาย ดิฉันก็ดูอาการ และพยาบาลที่บ้านเอง มีไข้ก็พยายามให้ไข้ลด
ไม่ค่อยได้ถึงมือหมอ
แต่ครั้งนี้เป็นมา 2-3 วัน ไข้ไม่เยอะแต่ไม่อยากอาหาร อยากกินแต่ผลไม้และน้ำ จนปัสสาวะราดรดที่นอน เดินไปห้องน้ำไม่ได้ ไม่รู้สึกตัว
คิดว่าไม่ได้การแล้ว ก็เลยพาไปโรงพยาบาล ตอนแรกสามีจะให้เรียกรถพยาบาล แต่ดิฉันคิดว่ายังพออุ้มไปได้ก็เลยพาไปเองโดยให้สามีไปจองคิวและบอกอาการกับทางโรงพยาบาล
ถึงโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลเห็นท่าอุ้มทุลักทุเล รู้ว่า หนักแน่ๆ เข็นเข้าไอซียู ตรวจนู้นนี่ เจาะเลือด น้ำตาลในเลือด 700กว่าๆมก./ดล. (คนปรกติ 70-100)
โรงพยาบาลให้ย้ายโรงพยาบาลไปอำเภอข้างๆ ที่มีหมอเฉพาะทาง ทางพยาบาลเรียกรถพยาบาลและคุณหมอกรุณานั่งมาในรถพยาบาลด้วย(หลังจากอาการดีขึ้นและออกจากโรงพยาบาลแล้ว ก็พาลูกสาวเข้าไปขอบคุณคุณหมอ คุณหมอก็จำได้ )
หลังจากย้ายโรงพยาบาล คืนแรกลูกนอนไอซียูปรกติ โดยมีคุณหมอเวรเด็กมาดูให้ด้วย คุณหมอขอเจาะให้ยาทางต้นขา เพราะให้ทางแขนแล้ว น้ำตาลในเลือดไม่ลดลงเลย เพิ่มไป 800กว่าๆ
วันรุ่งขึ้น คุณหมอขอย้ายให้ไปอยู่ไอซียูเด็ก เพราะจะทำงานสะดวกกว่า คุณหมอเฉพาะทางกรุณามาดูให้เป็นพิเศษ เพราะวันนั้นเป็นวันอาทิตย์ ปรกติหมอจะหยุด และช่วงนั้นหยุดยาวด้วย หมอกรุณาจริงๆ
ช่วงอยู่ไอซียู สายระโยงระยางตามแขนขาเต็มไปหมด หมอเช็คสมองด้วย คลื่นสมองต่ำ และมีเครื่องติดเช็คคลื่นสมองตลอดเวลา ในตอนนั้นหมอยังไม่ระบุแน่ๆว่าเป็นเบาหวาน ขอเช็คส่วนอื่นๆ ด้วย
และมีภาวะคีโตน(เลือดเป็นกรด) หมอก็ให้ยาลดกรด
พอน้ำตาลลด 200 กว่าๆ เริ่มทรง หมอขอให้อาหารสายยางทางจมูก
ช่วงนี้คือ ช่วงที่ลูกหมดสติ คงไม่ต้องบรรยายความรู้สึกว่าเป็นยังไง "ใจจะขาด" จนถึงตอนนี้ยังจำความรู้สึกนั้นได้ และแปล่บที่หัวใจทุกครั้งที่นึกถึง หมอไม่มั่นใจว่าจะหายหรือไม่ หรือหายแล้วจะเป็นอาการแบบไหน หมอตอบอะไรไม่ได้
3 วันที่ลูกไม่รู้สึกตัว เหมือน 3 ปีในความรู้สึกแม่
ทุกครั้งที่เข้าไปเยี่ยมลูก ดิฉันพยายามคุยนู่นคุยนี่ จับตัว หอมแก้ม ทำทุกวินาทีที่เขาให้เยี่ยมให้ดีและคุ้มค่าที่สุด ดิฉันเห็นเด็กเตียงอื่นร้องไห้งอแง แต่ลูกดิฉันนอนนิ่งเฉยๆ อยากให้ลุกขึ้นมาร้องขึ้นมาต่อปากต่อคำกับแม่จริงๆ มาร้องว่า "เจ็บจัง" ก็ยังดี
ก่อนวันเปิดเรียน 1 วัน ลูกลืมตาขึ้นมองได้ แต่ยังเบลอๆ อยู่ พูดไม่ค่อยได้ แค่นี้ดิฉันก็ดีใจเหนือสิ่งอื่นใด หมอบอกว่า คลื่นสมองยังต่ำอยู่
หลังจากนั้นอาการดีขึ้น ออกจากไอซียูและเรียนรู้ที่จะอยู่กับเจ้าโรคเบาหวาน เริ่มให้จิบน้ำ ให้กินโยเกิร์ต กินข้าวต้ม ถอดสายยาง กินอาหารปรกติ วัดระดับน้ำตาลในเลือดเอง ฉีดอินซูลีนเอง เริ่มให้เข้าห้องน้ำเอง จากนั่งรถเข็น ค่อยๆ ขยับแข้งขยับขา คำนวนปริมาณคาร์โบฯ เอง สายต่างๆ ที่ระโยงระยางซ้ายขวา หายไปทีละเส้นทีละเส้น
ทางโรงพยาบาลจะมีนักจิตวิทยา มาพูดคุยเป็นระยะๆ ตั้งแต่ตอนอยู่ไอซียู คุยทั้งพ่อแม่และลูกด้วย
มีนักกายภาพบำบัดมาฝึกทุกวัน จากยกแขนยกขาที่เตียงเอง จนนั่งรถเข็นและเดิน พาขึ้นห้องทำกายภาพฝึกเดิน ฝึกขึ้นสะพาน ขึ้นบันได
หลังจากอาการดีขึ้น หมอจะให้ลองกลับบ้านไปใช้ชีวิตปรกติสัก 1-2 วัน แล้วจะกำหนดวันออกจากโรงพยาบาลอีกที
ช่วงที่อยู่โรงพยาบาล หากคุณหมอว่างหรือตรวจคนไข้นอกเสร็จ ก็จะแวะมาสอนแม่ลูกเรื่องเบาหวาน เอาเอกสารมาอธิบายตั้งแต่ตับอ่อนผลิตอินซูลีนได้น้อยลงหรือไม่ผลิตอินซูลีน เรื่องอินซูลีน เรื่องคาร์โบฯ ฯลฯ สอนอยู่หลายวัน วันละหน่อยเพราะหมอไม่ค่อยว่าง จนวันสุดท้ายสอนดิฉันถึงวิธีฉีดกลูคากอน หากลูกหมดสติเพราะน้ำตาลในเลือดต่ำ
สรุปว่า อยู่โรงพยาบาล 1 เดือนพอดี หมอบอกว่าเร็วกว่าที่คาด คิดว่าจะใช้เวลานานกว่านี้ จากสภาพที่มาตอนแรก
วันที่ออกมาสูดอากาศภายนอกครั้งแรก ลูกสาวตื่นเต้นมาก ตาเป็นประกายวิบๆ พูดใหญ่เลย "ข้างนอก ข้างนอกจริงๆ ด้วย" อยู่ในโรงพยาบาลไม่ได้มีโอกาสออกมาสัมผัสอากาศภายนอกเลย
นอนโรงพยาบาลที่ญี่ปุ่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หลังจากลูกดีขึ้นได้ออกจากไอซียู ตอนแรกหมอให้อยู่ห้องเดี่ยว เพราะยังมีอุปกรณ์รอบตัวเยอะ ผู้ปกครองต้องพักอยู่ด้วย คนเฝ้าไข้นอนเตียงผ้าใบแคบๆ มีหมอนและผ้าห่มให้ ห้องเดี่ยวที่นี่คือห้องนอนคนเดียวมีอ่างล้างหน้าในห้อง ส่วนห้องน้ำและห้องอาบน้ำอยู่ด้านนอกใช้รวมกันปรกติ พอสายต่างๆ เริ่มหายไปจนหมด ก็ย้ายไปอยู่ห้องรวม 6 คน มีผ้าม่านกั้นปิดแต่ละเตียง จริงๆ จะจ่ายเงินเพิ่มสำหรับห้องพิเศษก็ได้ แต่พอออกมาเดินไปมาบ่อยๆ ห้องพิเศษควรเหมาะกับเด็กที่ต้องดูแลเป็นพิเศษมากกว่า สายเยอะๆ บางครั้งไอซียูเด็กไม่พอ เห็นเด็กมานอนที่ห้องพยาบาลก็มี
คนเฝ้า นอนเตียงเดียวกัน คืนแรกนอนไม่หลับเลย เพราะเด็ก 5-6 เดือนเตียงข้างๆ ร้องตลอดคืน แอบให้กำลังใจคุณแม่อยู่ข้างๆ แม่เขาคงนอนไม่หลับมากกว่าเรา หลังจากคืนนั้น หลับสนิท ชินค่ะ พอไม่ได้ยินเสียง กลัวว่าลูกเขาจะเป็นอะไรหรือเปล่า
ชีวิตในโรงพยาบาล
ตื่น 6 โมงครึ่งจะมีเสียงโฟน เรียกปลุก ให้วัดไข้เอง และพยาบาลก็เดินตรวจทุกเตียง พูดคุย เช็คชีพจร ฟังเสียง ถามอุณหภูมิ(วัดเช้า บ่าย เย็น) ถามเรื่องขับถ่าย
7โมงครึ่ง อาหารเช้ามาส่งเป็นถาดๆ กินเสร็จเดินไปเก็บที่ตู้อาหารที่วางไว้ที่ทางเดิน
ที่ถาดอาหารจะมีรายชื่ออาหาร(ดิฉันและลูกต้องนับคาร์โบไปให้พยาบาลดูทุกครั้ง หลังจากเรียนรู้และเข้าใจเรื่องคาร์โบฯแล้ว)
ก่อนกินทุกมื้อ เดินไปห้องพยาบาล เช็คน้ำตาล คำนวนคาร์โบฯและฉีดเอง (สรุปว่าดิฉันเช็คน้ำตาลและฉีดให้อยู่2-3วัน หลังจากนั้นลูกทำเองหมด คือ. ดิฉันกลัวเข็มค่ะ)
9โมง คุณครูมารับนักเรียนไปเรียนที่ห้องชั้นล่าง
12:00 เรียนเสร็จ อาหารเที่ยงมา กิน
บ่ายโมงครึ่ง ไปเรียนต่อ ถึงบ่ายสาม
ประมาณสี่โมงนักกายภาพบำบัดจะมารับไปฝึก
ห้าโมงกว่าๆ คุณหมอเดินตรวจ (คุณหมอเด็กจะมีเป็นกลุ่ม น่าจะแยกตามโรคเฉพาะทาง กลุ่มละ 4-5คน ) เดินตรวจวันละ 2 ครั้ง เช้า 8-9 โมง เย็น 4-5 โมง พูดคุยถามอาการและบอกว่าวันนี้ต้องทำอะไรบ้าง เช่น เช็คสมอง เช็คฟัน เช็คตา และก่อนออกจากโรงพยาบาล มีเช็คความรู้ความสามารถด้วย
18:30 อาหารเย็น
21:00 ปิดไฟนอน เปิดไฟที่หัวเตียงได้
บริเวณเตียงจะมีตู้ข้างเตียง มีตู้เย็น ทีวี(ตู้เย็น ทีวีต้องซื้อบัตรพรีเพดมาใช้) ทีวีต้องเสียบหูฟัง ตู้ใส่ของเสื้อผ้า ใต้เตียงมีลิ้นชักใส่เสื้อผ้าได้ 2 อัน มีเก้าอี้ 1 ตัว ถังขยะ(ต้องเอาไปทิ้งแยกขยะเองข้างนอกห้อง)
ส่วนรวม มีห้องน้ำ 3 ห้องแยกชายหญิง 1 ห้องสำหรับคนเป็นโรคติดต่อ
ห้องอาบน้ำ มี 1 ห้องเท่านั้น (มีเตียงประมาณ 40 เตียง)ประมาณ 8 โมง จะไปลงชื่อจองเวลาอาบน้ำ อาบได้คนละ 15 นาที (2 คนแม่ลูก 30 นาที) บางวันจองไม่ได้ก็อดอาบ
มีอ่างล้างหน้า แปรงฟัน 3 อ่าง มีไดร์เป่าผม 1 เครื่อง
มีเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ 2 เครื่อง (ใช้บัตรพรีเพด)
มีห้องครัว อ่างล้างจาน ไมโครเวฟ อุปกรณ์เกี่ยวกับนมชง มีตู้นม ตู้ผ้าเช็ดตัวอุ่น
ในโรงพยาบาลอากาศค่อนข้างอุ่น ทั้งๆ ที่หน้าหนาว ในห้องไม่ต้องเปิดแอร์อุ่นก็ได้ พยาบาลใส่แขนสั้น
เสื้อผ้า ใส่ของโรงพยาบาลก็ได้ ช่วงแรกๆ ลูกสาวต้องเปิดนู่นนี่เช็คบ่อยๆ ใช้ของโรงพยาบาล ค่าเช่าวันละ 70 เยน ใส่อยู่ประมาณอาทิตย์นึง หลังจากนั้นก็ใส่ชุดธรรมดาเอามาจากที่บ้าน
ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาล
เนื่องจากเข้าประกันสังคมประกันสุขภาพ จ่ายจริงๆ ไม่มาก แต่ดูจากใบเสร็จที่แจกแจงรายละเอียดทั้งหมด
1 เดือน ประมาณ 2,400,000 เยน ประมาณ 800,000บาท เป็นโรงพยาบาลรัฐของอำเภอ (เคยได้ยินว่า โรงพยาบาลรัฐกับเอกชน ค่าใช้จ่ายไม่ต่างกัน) ถ้าเป็นคนที่อยู่ในอำเภอ บางอย่างจะถูกกว่าคนนอกอำเภอ เช่น ค่าห้องพิเศษ
ห้องเรียนในโรงพยาบาล
ในโรงพยาบาลจะมีห้องเรียนอยู่ในโรงพยาบาล เป็นห้องเรียนประถมและมัธยมต้น มีครูอย่างละ 1 คน สำหรับเด็กที่ต้องอยู่โรงพยาบาลนานๆ โดยครูจะติดต่อกับครูที่โรงเรียน ให้เอาชีทหรือข้อสอบมาให้ ถ้าเข้าเรียนที่นี่ ก็จะเช็คชื่อเข้าเรียนเหมือนปรกติ สรุปหลังจากลูกสาวเดินได้ก็พาไปเรียนเลย เท่ากับขาดเรียนจริงๆ 7 วัน และนี่เป็นครั้งแรกที่ขาดเรียนตั้งแต่เรียนอนุบาลจนถึง ป .5 ขาดยาวเลยค่ะ
ตอนเรียนก็มีเด็กประถมเรียนด้วยกันรวม 5 คน ป.2- ป.5 ลูกสาวเป็นน้องใหม่สุด และได้ออกจากโรงพยาบาลเร็วที่สุด
โรงเรียน
หลังจากออกจากโรงพยาบาล ดิฉันก็พาลูกสาวไปโรงเรียน พาไปแนะนำเจ้าโรคนี้กับคุณครู จริงๆ คุณหมอจะให้คุณครูมาที่โรงพยาบาล คุณหมอจะอธิบายให้ฟังเอง แต่ดิฉันเกรงใจเลยให้คุณหมอทำเอกสารให้ ดิฉันอธิบายเอง
ได้คุยกับคุณครูห้องพยาบาล วิธีรับมือหากน้ำตาลในเลือดต่ำ เอาขนมวางไว้ในห้องพยาบาล ห้องเรียน และในกระเป๋านักเรียน
หลังจากนั้นคุณครูก็โทรมาที่บ้านบอกว่า อยากคุยกับคนที่เป็นเบาหวานเหมือนกันไหม ดิฉันรีบบอกตกลง คืนนั้นก็มีคุณแม่ของคนที่เป็นเบาหวานโทรมาและได้นัดคุยกัน ดิฉันได้ความรู้และประสบการณ์จากคุณแม่ท่านนั้นเยอะแยะ
ปรกติที่โรงเรียนจะมีอาหารกลางวันทุกวัน มีรายชื่ออาหารและปริมาณสารอาหารให้ทุกเดือน สำหรับเด็กที่แพ้อาหารหรือไม่กินอะไรก็แจ้งกับที่โรงเรียนได้ สำหรับเด็กอินซูลีน ก็จะได้รายละเอียดสารอาหารมาต่างหากอีกเดือนละ 1 ปึก ใส่ซองเอกสารมา ดิฉันก็จะมาแยกเอาคาร์โบฯ มาทำเอกสารให้ลูกไปคำนวนฉีดอินซูลีนเอง ซึ่งตอนนี้ลูกสาวก็เป็นคนทำเอง ดิฉันเช็คอีกที
การฉีดอินซูลีน
1. แลนตัส (อินซูลีนออกฤทธิ์ยาว)ฉีดก่อนอาหารเย็น เมื่อก่อน 17 หน่วย เพิ่มเป็น20 และตอนนี้เป็น 23 หน่วย
2. ฮิวมาล็อก(อินซูลีนออกฤทธิ์เร็ว)ฉีดก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น (และอาหารว่าง บางวันเวลาใกล้มื้อเย็นมาก ก็ไม่ฉีด) โดยคำนวนจากคาร์โบที่จะกิน (คาร์โบฯ 10 กรัม เท่ากับ 1 คาร์โบ. 1 คาร์โบ ตอนนี้ฉีด 1 หน่วย เมื่อก่อนน้อยกว่านี้) บวกลบกับเลือดที่อยากให้ได้ ตอนนี้หมออยากให้ได้ 130 สูงไม่ดีแต่ต่ำมากก็ไม่ดี หน้ามืดเป็นลม หมดสติได้
เช่น ข้าวสวย 150 กรัม(คาร์โบฯ 56 กรัม) กับข้าว ถ้าไม่มีพวกแป้ง หรือน้ำตาลเยอะ ก็ประมาณ 10-20 กรัม สมมุติกับข้าว 15 กรัม 56+15 =71 ใช้อิน ฯ 7 หน่วย
สมมุติตอนนี้น้ำตาลในเลือด210 (210-130=80) น้ำตาลในเลือด 40 จะต้องใช้อินฯ 1 หน่วย เท่ากับต้องใช้ 2 หน่วย + คาร์โบฯ 7 หน่วย เท่ากับต้องฉีด 9 หน่วย
แต่ถ้าตอนนี้น้ำตาลฯ 90 (90-130= -40) ไม่ต้องใช้อินฯ ฆ่าน้ำตาล แต่อยากให้น้ำตาลฯ เพิ่ม กินคาร์โบฯ เพิ่ม 1 หน่วยเพื่อให้น้ำตาลฯ เป็น 130 คาร์โบฯ 7-1 =6 หน่วย เท่ากับฉีด 6 หน่วย
สำหรับการคำนวนคาร์โบ มีหนังสือพร้อมรูปอ่านง่ายหรือเสริทจากเนตฯ แป็บเดียวก็ขึ้นมา
ร้านอาหารต่างๆ ก็มีบอกคาร์โบฯ เยอะแยะ ถ้าไม่มีบอกก็คำนวนคร่าวๆ
เมื่อก่อนฉีดที่พุงตลอด แต่ตอนนี้ฉีดแขนและต้นขาสลับกัน เวลาไปร้านอาหาร ลูกก็เปิดพุงฉีด แม่พยายามปิดพยายามบังให้ ลูกบอกไม่เป็นไร หนูต้องอยู่กับมัน ไม่ใช่เรื่องน่าปิดบัง เออ แต่หนูเป็นสาวแล้วนะคะ จะมาเปิดพุงข้างนอกมันก็ไม่ควร
หมอแนะนำให้ใช้อินซูลีนแบบปั๊ม แต่ลูกยังไม่อยากใช้ บอกว่าดูน่าเกะกะ บอกให้ติดเครื่องเช็คเลือด ก็บอกว่าเกะกะอีก เลยใช้แบบนี้ไปก่อน
เมื่อลูกช็อคหมดสติ เป็น DKA และเป็นเบาหวานชนิดที่ 1
กระทู้นี้เป็นกระทู้แรก ไม่ใช่กระทู้คำถามแต่เนื่องจากไม่ใช่สมาชิกก็เลยตั้งกระทู้สนทนาไม่ได้ หากผิดพลาดประการใดขออภัยและขอคำแนะนำด้วย
ดิฉันและครอบครัวอยู่ญี่ปุ่น อยากจะมาเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะตอนนั้นดิฉันพยายามหาข้อมูลจากทางเน็ต ซึ่งตอนนั้นอยากได้ประสบการณ์จริงๆ อ่านเพื่อหวังว่าลูกจะดีขึ้น. ตอนนี้ลูกออกมาใช้ชีวิตได้ปรกติก็เลยอยากแชร์ประสบการณ์ รวมถึงอาการ การใช้ชีวิตและหวังว่าจะมีประโยชน์
ที่ญี่ปุ่นมีคนเป็นโรคนี้ปีละ 1,000 คน ส่วนใหญ่เกิดกับเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็ไม่น้อยอย่างนายกฯหญิงอังกฤษคนปัจจุบัน เทเรซ่า เมย์ ก็เพิ่งตรวจว่าเป็นเมื่อปี 2012
เบาหวานชนิดที่ 1 จะไม่เหมือนเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นเพราะกินหวานเยอะ แต่จะเป็นเหมือนภูมิคุ้มกันบกพร่อง วิธีแก้ก็คือ ฉีดภูมิชื่อ อินซูลีน เข้าไปช่วยเพราะร่างกายสร้างเองไม่ได้หรือได้น้อย
จุดเริ่มและอาการ
ช่วงปีใหม่ลูกสาวเริ่มเพลียๆ ไม่ร่าเริง(ปรกติก็ไม่ร่าเริงอยู่แล้ว) มีไข้อ่อนๆ กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย ไม่อยากอาหาร อาเจียน
ในตอนแรกดิฉันคิดว่าเป็นหวัดลงกระเพาะที่กำลังระบาด และปรกติเวลาลูกไม่สบาย ดิฉันก็ดูอาการ และพยาบาลที่บ้านเอง มีไข้ก็พยายามให้ไข้ลด
ไม่ค่อยได้ถึงมือหมอ
แต่ครั้งนี้เป็นมา 2-3 วัน ไข้ไม่เยอะแต่ไม่อยากอาหาร อยากกินแต่ผลไม้และน้ำ จนปัสสาวะราดรดที่นอน เดินไปห้องน้ำไม่ได้ ไม่รู้สึกตัว
คิดว่าไม่ได้การแล้ว ก็เลยพาไปโรงพยาบาล ตอนแรกสามีจะให้เรียกรถพยาบาล แต่ดิฉันคิดว่ายังพออุ้มไปได้ก็เลยพาไปเองโดยให้สามีไปจองคิวและบอกอาการกับทางโรงพยาบาล
ถึงโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลเห็นท่าอุ้มทุลักทุเล รู้ว่า หนักแน่ๆ เข็นเข้าไอซียู ตรวจนู้นนี่ เจาะเลือด น้ำตาลในเลือด 700กว่าๆมก./ดล. (คนปรกติ 70-100)
โรงพยาบาลให้ย้ายโรงพยาบาลไปอำเภอข้างๆ ที่มีหมอเฉพาะทาง ทางพยาบาลเรียกรถพยาบาลและคุณหมอกรุณานั่งมาในรถพยาบาลด้วย(หลังจากอาการดีขึ้นและออกจากโรงพยาบาลแล้ว ก็พาลูกสาวเข้าไปขอบคุณคุณหมอ คุณหมอก็จำได้ )
หลังจากย้ายโรงพยาบาล คืนแรกลูกนอนไอซียูปรกติ โดยมีคุณหมอเวรเด็กมาดูให้ด้วย คุณหมอขอเจาะให้ยาทางต้นขา เพราะให้ทางแขนแล้ว น้ำตาลในเลือดไม่ลดลงเลย เพิ่มไป 800กว่าๆ
วันรุ่งขึ้น คุณหมอขอย้ายให้ไปอยู่ไอซียูเด็ก เพราะจะทำงานสะดวกกว่า คุณหมอเฉพาะทางกรุณามาดูให้เป็นพิเศษ เพราะวันนั้นเป็นวันอาทิตย์ ปรกติหมอจะหยุด และช่วงนั้นหยุดยาวด้วย หมอกรุณาจริงๆ
ช่วงอยู่ไอซียู สายระโยงระยางตามแขนขาเต็มไปหมด หมอเช็คสมองด้วย คลื่นสมองต่ำ และมีเครื่องติดเช็คคลื่นสมองตลอดเวลา ในตอนนั้นหมอยังไม่ระบุแน่ๆว่าเป็นเบาหวาน ขอเช็คส่วนอื่นๆ ด้วย
และมีภาวะคีโตน(เลือดเป็นกรด) หมอก็ให้ยาลดกรด
พอน้ำตาลลด 200 กว่าๆ เริ่มทรง หมอขอให้อาหารสายยางทางจมูก
ช่วงนี้คือ ช่วงที่ลูกหมดสติ คงไม่ต้องบรรยายความรู้สึกว่าเป็นยังไง "ใจจะขาด" จนถึงตอนนี้ยังจำความรู้สึกนั้นได้ และแปล่บที่หัวใจทุกครั้งที่นึกถึง หมอไม่มั่นใจว่าจะหายหรือไม่ หรือหายแล้วจะเป็นอาการแบบไหน หมอตอบอะไรไม่ได้
3 วันที่ลูกไม่รู้สึกตัว เหมือน 3 ปีในความรู้สึกแม่
ทุกครั้งที่เข้าไปเยี่ยมลูก ดิฉันพยายามคุยนู่นคุยนี่ จับตัว หอมแก้ม ทำทุกวินาทีที่เขาให้เยี่ยมให้ดีและคุ้มค่าที่สุด ดิฉันเห็นเด็กเตียงอื่นร้องไห้งอแง แต่ลูกดิฉันนอนนิ่งเฉยๆ อยากให้ลุกขึ้นมาร้องขึ้นมาต่อปากต่อคำกับแม่จริงๆ มาร้องว่า "เจ็บจัง" ก็ยังดี
ก่อนวันเปิดเรียน 1 วัน ลูกลืมตาขึ้นมองได้ แต่ยังเบลอๆ อยู่ พูดไม่ค่อยได้ แค่นี้ดิฉันก็ดีใจเหนือสิ่งอื่นใด หมอบอกว่า คลื่นสมองยังต่ำอยู่
หลังจากนั้นอาการดีขึ้น ออกจากไอซียูและเรียนรู้ที่จะอยู่กับเจ้าโรคเบาหวาน เริ่มให้จิบน้ำ ให้กินโยเกิร์ต กินข้าวต้ม ถอดสายยาง กินอาหารปรกติ วัดระดับน้ำตาลในเลือดเอง ฉีดอินซูลีนเอง เริ่มให้เข้าห้องน้ำเอง จากนั่งรถเข็น ค่อยๆ ขยับแข้งขยับขา คำนวนปริมาณคาร์โบฯ เอง สายต่างๆ ที่ระโยงระยางซ้ายขวา หายไปทีละเส้นทีละเส้น
ทางโรงพยาบาลจะมีนักจิตวิทยา มาพูดคุยเป็นระยะๆ ตั้งแต่ตอนอยู่ไอซียู คุยทั้งพ่อแม่และลูกด้วย
มีนักกายภาพบำบัดมาฝึกทุกวัน จากยกแขนยกขาที่เตียงเอง จนนั่งรถเข็นและเดิน พาขึ้นห้องทำกายภาพฝึกเดิน ฝึกขึ้นสะพาน ขึ้นบันได
หลังจากอาการดีขึ้น หมอจะให้ลองกลับบ้านไปใช้ชีวิตปรกติสัก 1-2 วัน แล้วจะกำหนดวันออกจากโรงพยาบาลอีกที
ช่วงที่อยู่โรงพยาบาล หากคุณหมอว่างหรือตรวจคนไข้นอกเสร็จ ก็จะแวะมาสอนแม่ลูกเรื่องเบาหวาน เอาเอกสารมาอธิบายตั้งแต่ตับอ่อนผลิตอินซูลีนได้น้อยลงหรือไม่ผลิตอินซูลีน เรื่องอินซูลีน เรื่องคาร์โบฯ ฯลฯ สอนอยู่หลายวัน วันละหน่อยเพราะหมอไม่ค่อยว่าง จนวันสุดท้ายสอนดิฉันถึงวิธีฉีดกลูคากอน หากลูกหมดสติเพราะน้ำตาลในเลือดต่ำ
สรุปว่า อยู่โรงพยาบาล 1 เดือนพอดี หมอบอกว่าเร็วกว่าที่คาด คิดว่าจะใช้เวลานานกว่านี้ จากสภาพที่มาตอนแรก
วันที่ออกมาสูดอากาศภายนอกครั้งแรก ลูกสาวตื่นเต้นมาก ตาเป็นประกายวิบๆ พูดใหญ่เลย "ข้างนอก ข้างนอกจริงๆ ด้วย" อยู่ในโรงพยาบาลไม่ได้มีโอกาสออกมาสัมผัสอากาศภายนอกเลย
นอนโรงพยาบาลที่ญี่ปุ่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
โรงเรียน
หลังจากออกจากโรงพยาบาล ดิฉันก็พาลูกสาวไปโรงเรียน พาไปแนะนำเจ้าโรคนี้กับคุณครู จริงๆ คุณหมอจะให้คุณครูมาที่โรงพยาบาล คุณหมอจะอธิบายให้ฟังเอง แต่ดิฉันเกรงใจเลยให้คุณหมอทำเอกสารให้ ดิฉันอธิบายเอง
ได้คุยกับคุณครูห้องพยาบาล วิธีรับมือหากน้ำตาลในเลือดต่ำ เอาขนมวางไว้ในห้องพยาบาล ห้องเรียน และในกระเป๋านักเรียน
หลังจากนั้นคุณครูก็โทรมาที่บ้านบอกว่า อยากคุยกับคนที่เป็นเบาหวานเหมือนกันไหม ดิฉันรีบบอกตกลง คืนนั้นก็มีคุณแม่ของคนที่เป็นเบาหวานโทรมาและได้นัดคุยกัน ดิฉันได้ความรู้และประสบการณ์จากคุณแม่ท่านนั้นเยอะแยะ
ปรกติที่โรงเรียนจะมีอาหารกลางวันทุกวัน มีรายชื่ออาหารและปริมาณสารอาหารให้ทุกเดือน สำหรับเด็กที่แพ้อาหารหรือไม่กินอะไรก็แจ้งกับที่โรงเรียนได้ สำหรับเด็กอินซูลีน ก็จะได้รายละเอียดสารอาหารมาต่างหากอีกเดือนละ 1 ปึก ใส่ซองเอกสารมา ดิฉันก็จะมาแยกเอาคาร์โบฯ มาทำเอกสารให้ลูกไปคำนวนฉีดอินซูลีนเอง ซึ่งตอนนี้ลูกสาวก็เป็นคนทำเอง ดิฉันเช็คอีกที
การฉีดอินซูลีน
1. แลนตัส (อินซูลีนออกฤทธิ์ยาว)ฉีดก่อนอาหารเย็น เมื่อก่อน 17 หน่วย เพิ่มเป็น20 และตอนนี้เป็น 23 หน่วย
2. ฮิวมาล็อก(อินซูลีนออกฤทธิ์เร็ว)ฉีดก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น (และอาหารว่าง บางวันเวลาใกล้มื้อเย็นมาก ก็ไม่ฉีด) โดยคำนวนจากคาร์โบที่จะกิน (คาร์โบฯ 10 กรัม เท่ากับ 1 คาร์โบ. 1 คาร์โบ ตอนนี้ฉีด 1 หน่วย เมื่อก่อนน้อยกว่านี้) บวกลบกับเลือดที่อยากให้ได้ ตอนนี้หมออยากให้ได้ 130 สูงไม่ดีแต่ต่ำมากก็ไม่ดี หน้ามืดเป็นลม หมดสติได้
เช่น ข้าวสวย 150 กรัม(คาร์โบฯ 56 กรัม) กับข้าว ถ้าไม่มีพวกแป้ง หรือน้ำตาลเยอะ ก็ประมาณ 10-20 กรัม สมมุติกับข้าว 15 กรัม 56+15 =71 ใช้อิน ฯ 7 หน่วย
สมมุติตอนนี้น้ำตาลในเลือด210 (210-130=80) น้ำตาลในเลือด 40 จะต้องใช้อินฯ 1 หน่วย เท่ากับต้องใช้ 2 หน่วย + คาร์โบฯ 7 หน่วย เท่ากับต้องฉีด 9 หน่วย
แต่ถ้าตอนนี้น้ำตาลฯ 90 (90-130= -40) ไม่ต้องใช้อินฯ ฆ่าน้ำตาล แต่อยากให้น้ำตาลฯ เพิ่ม กินคาร์โบฯ เพิ่ม 1 หน่วยเพื่อให้น้ำตาลฯ เป็น 130 คาร์โบฯ 7-1 =6 หน่วย เท่ากับฉีด 6 หน่วย
สำหรับการคำนวนคาร์โบ มีหนังสือพร้อมรูปอ่านง่ายหรือเสริทจากเนตฯ แป็บเดียวก็ขึ้นมา
ร้านอาหารต่างๆ ก็มีบอกคาร์โบฯ เยอะแยะ ถ้าไม่มีบอกก็คำนวนคร่าวๆ
เมื่อก่อนฉีดที่พุงตลอด แต่ตอนนี้ฉีดแขนและต้นขาสลับกัน เวลาไปร้านอาหาร ลูกก็เปิดพุงฉีด แม่พยายามปิดพยายามบังให้ ลูกบอกไม่เป็นไร หนูต้องอยู่กับมัน ไม่ใช่เรื่องน่าปิดบัง เออ แต่หนูเป็นสาวแล้วนะคะ จะมาเปิดพุงข้างนอกมันก็ไม่ควร
หมอแนะนำให้ใช้อินซูลีนแบบปั๊ม แต่ลูกยังไม่อยากใช้ บอกว่าดูน่าเกะกะ บอกให้ติดเครื่องเช็คเลือด ก็บอกว่าเกะกะอีก เลยใช้แบบนี้ไปก่อน