ผลการวิจัยของยูนิเซฟเผยว่า แม้สถานศึกษาไทยแทบทุกแห่งจะมีการสอนเรื่องเพศศึกษาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่ต้องเพิ่มเวลาการสอนเพศวิถีศึกษาและให้ครูทุกคนได้รับการอบรมที่แบบมีมาตรฐาน เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อชีวิตทางเพศของตนเองได้
“รายงานผลการวิจัยเพื่อทบทวนการสอนเพศวิถีในสถานศึกษาไทย” ชี้ให้เห็นว่า การสอนเพศศึกษาในโรงเรียนไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับประเด็นที่สำคัญต่างๆ เช่น สิทธิทางเพศ ความเสมอภาคทางเพศ ความหลากหลายทางเพศ และการเคารพสิทธิของผู้อื่น ซึ่งส่งผลให้นักเรียนจำนวนมากมีทัศนคติเชิงลบ
โดยนักเรียนยังคงไม่เห็นด้วยกับความเท่าเทียมกันทางเพศและสิทธิทางเพศ และกลับยอมรับความรุนแรงในครอบครัวในบางกรณี ผลวิจัยยังพบว่าวิธีการสอนเพศวิถีศึกษาในสถานศึกษาไทยมักเน้นไปที่การบรรยาย ซึ่งไม่เอื้อให้นักเรียนได้สามารถพัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ การสื่อสารและต่อรอง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพวกเขาในการจัดการเรื่องเพศวิถีและชีวิตทางเพศของตน
ผลวิจัยครั้งนี้พบว่า นักเรียนชายอาชีวศึกษาร้อยละ 41 มีทัศนคติที่เป็นปัญหาในเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี โดยเชื่อว่าสามีมีสิทธิ์ทุบตีภรรยาได้หากพบว่าภรรยาไม่ซื่อสัตย์ และนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ประมาณครึ่งหนึ่งเชื่อว่าการมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ที่มีเพศเดียวกันเป็นสิ่งผิด นอกจากนี้ ยังพบว่า มีนักเรียนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ตอบคำถามเกี่ยวกับการมีประจำเดือนและรอบเดือนได้อย่างถูกต้อง ในขณะที่นักเรียนหญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วหลายคนบอกว่ายาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีหลักในการคุมกำเนิด ในส่วนของการใช้ถุงยางอนามัย นักเรียนชายจำนวนมากไม่ต้องการใช้ถุงยางอนามัย ในขณะที่มีนักเรียนมัธยมศึกษาหญิงเพียงร้อยละ 54 เท่านั้นที่บอกว่าพวกเขามั่นใจว่าจะสามารถยืนกรานและต่อรองที่จะใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
ผลวิจัยยังอ้างถึงการศึกษาในต่างประเทศ (Haberland 2015) ซึ่งพบว่า การสอนเรื่องเพศภาวะและอำนาจมีผลสำคัญต่อชีวิตของนักเรียน กล่าวคือ ร้อยละ 80 ของแผนงานที่สอนเกี่ยวกับเพศภาวะและอำนาจสามารถลดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์และลดจำนวนการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อเทียบกับแผนงานสอนที่ไม่ครอบคลุมประเด็นดังกล่าว ซึ่งสามารถลดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์และลดการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เพียงแค่ร้อยละ 17
ผลวิจัยระบุต่อไปว่า สถานศึกษาไทยแทบทุกแห่งมีการสอนเพศวิถีศึกษาที่ยังไม่รอบด้าน โดยมักเน้นย้ำเพียงหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสรีระ พัฒนาการทางเพศ การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน และการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้ ยังพบว่าครูเกินครึ่งหนึ่งไม่ได้รับการอบรมในการสอนเพศวิถีศึกษา ทำให้การสอนมักใช้การบรรยายแทนการจัดกิจกรรมที่จะเอื้อให้เด็กได้คิด วิเคราะห์และตั้งคำถามเชิงลึก
การวิจัยครั้งนี้เสนอให้สถานศึกษาต่างๆ มีการสอนเพศวิถีศึกษาที่รอบด้านอย่างแท้จริง โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ ตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็น และเสนอให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาในการสอนวิชานี้เพิ่มขึ้น และจัดการอบรมครูในการสอนประเด็นเหล่านี้ในชั้นเรียน
การตั้งครรภ์ไม่พร้อมและและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงการติดเชื้อเอชไอวียังเป็นปัญหาสำคัญสำหรับวัยรุ่นในประเทศไทย โดยการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2559 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีในประเทศไทยให้กำเนิดบุตร 51 คนต่อวัยรุ่น 1,000 คน ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงในลำดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่รายงานเรื่อง “การวิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มเยาวชนในประเทศไทย” ซึ่งสนับสนุนโดยยูนิเซฟและเผยแพร่เมื่อปี 2557 ระบุว่าร้อยละ 70 ของผู้ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รายใหม่อยู่ในกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี
ขอขอบคุณ
ข้อมูล : unicef
ภาพ : istockphoto
ข่าวจาก : สนุกดอทคอม
http://campus.sanook.com/1385185/
ยูนิเซฟชี้ "วัยรุ่นไทย" ยังขาดทักษะจัดการเรื่องเพศ
ผลการวิจัยของยูนิเซฟเผยว่า แม้สถานศึกษาไทยแทบทุกแห่งจะมีการสอนเรื่องเพศศึกษาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่ต้องเพิ่มเวลาการสอนเพศวิถีศึกษาและให้ครูทุกคนได้รับการอบรมที่แบบมีมาตรฐาน เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อชีวิตทางเพศของตนเองได้
“รายงานผลการวิจัยเพื่อทบทวนการสอนเพศวิถีในสถานศึกษาไทย” ชี้ให้เห็นว่า การสอนเพศศึกษาในโรงเรียนไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับประเด็นที่สำคัญต่างๆ เช่น สิทธิทางเพศ ความเสมอภาคทางเพศ ความหลากหลายทางเพศ และการเคารพสิทธิของผู้อื่น ซึ่งส่งผลให้นักเรียนจำนวนมากมีทัศนคติเชิงลบ
โดยนักเรียนยังคงไม่เห็นด้วยกับความเท่าเทียมกันทางเพศและสิทธิทางเพศ และกลับยอมรับความรุนแรงในครอบครัวในบางกรณี ผลวิจัยยังพบว่าวิธีการสอนเพศวิถีศึกษาในสถานศึกษาไทยมักเน้นไปที่การบรรยาย ซึ่งไม่เอื้อให้นักเรียนได้สามารถพัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ การสื่อสารและต่อรอง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพวกเขาในการจัดการเรื่องเพศวิถีและชีวิตทางเพศของตน
ผลวิจัยครั้งนี้พบว่า นักเรียนชายอาชีวศึกษาร้อยละ 41 มีทัศนคติที่เป็นปัญหาในเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี โดยเชื่อว่าสามีมีสิทธิ์ทุบตีภรรยาได้หากพบว่าภรรยาไม่ซื่อสัตย์ และนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ประมาณครึ่งหนึ่งเชื่อว่าการมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ที่มีเพศเดียวกันเป็นสิ่งผิด นอกจากนี้ ยังพบว่า มีนักเรียนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ตอบคำถามเกี่ยวกับการมีประจำเดือนและรอบเดือนได้อย่างถูกต้อง ในขณะที่นักเรียนหญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วหลายคนบอกว่ายาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีหลักในการคุมกำเนิด ในส่วนของการใช้ถุงยางอนามัย นักเรียนชายจำนวนมากไม่ต้องการใช้ถุงยางอนามัย ในขณะที่มีนักเรียนมัธยมศึกษาหญิงเพียงร้อยละ 54 เท่านั้นที่บอกว่าพวกเขามั่นใจว่าจะสามารถยืนกรานและต่อรองที่จะใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
ผลวิจัยยังอ้างถึงการศึกษาในต่างประเทศ (Haberland 2015) ซึ่งพบว่า การสอนเรื่องเพศภาวะและอำนาจมีผลสำคัญต่อชีวิตของนักเรียน กล่าวคือ ร้อยละ 80 ของแผนงานที่สอนเกี่ยวกับเพศภาวะและอำนาจสามารถลดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์และลดจำนวนการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อเทียบกับแผนงานสอนที่ไม่ครอบคลุมประเด็นดังกล่าว ซึ่งสามารถลดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์และลดการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เพียงแค่ร้อยละ 17
ผลวิจัยระบุต่อไปว่า สถานศึกษาไทยแทบทุกแห่งมีการสอนเพศวิถีศึกษาที่ยังไม่รอบด้าน โดยมักเน้นย้ำเพียงหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสรีระ พัฒนาการทางเพศ การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน และการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้ ยังพบว่าครูเกินครึ่งหนึ่งไม่ได้รับการอบรมในการสอนเพศวิถีศึกษา ทำให้การสอนมักใช้การบรรยายแทนการจัดกิจกรรมที่จะเอื้อให้เด็กได้คิด วิเคราะห์และตั้งคำถามเชิงลึก
การวิจัยครั้งนี้เสนอให้สถานศึกษาต่างๆ มีการสอนเพศวิถีศึกษาที่รอบด้านอย่างแท้จริง โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ ตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็น และเสนอให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาในการสอนวิชานี้เพิ่มขึ้น และจัดการอบรมครูในการสอนประเด็นเหล่านี้ในชั้นเรียน
การตั้งครรภ์ไม่พร้อมและและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงการติดเชื้อเอชไอวียังเป็นปัญหาสำคัญสำหรับวัยรุ่นในประเทศไทย โดยการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2559 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีในประเทศไทยให้กำเนิดบุตร 51 คนต่อวัยรุ่น 1,000 คน ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงในลำดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่รายงานเรื่อง “การวิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มเยาวชนในประเทศไทย” ซึ่งสนับสนุนโดยยูนิเซฟและเผยแพร่เมื่อปี 2557 ระบุว่าร้อยละ 70 ของผู้ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รายใหม่อยู่ในกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี
ขอขอบคุณ
ข้อมูล : unicef
ภาพ : istockphoto
ข่าวจาก : สนุกดอทคอม
http://campus.sanook.com/1385185/