การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีคุมกำเนิด เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ทุกชนิดรวม ทั้งการติดเชื้อเอดส์ การศึกษาวิจัยทางการแพทย์สรุปไว้อย่างชัดเจนว่า การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการป้องกันการ ตั้งครรภ์และการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นจะเป็นจากการใช้ที่ไม่ถูกต้อง เช่น ถุงยางแตกหรือถุงยางหลุด เป็นต้น
การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นแม้ว่ามีการใช้ถุงยางอนามัยเกิด จากการที่ไม่ใช้ทุกครั้ง หรือใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่พบว่าเกิดจากปัญหาของถุงยางอนามัยโดยตรงเลย สำนักงานอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาเคยทำการวิจัยครั้งใหญ่ พบว่าถุงยางอนามัยที่ได้ผลิตมาจากโรงงานที่ได้มาตราฐานจะไม่มีปัญหาที่น้ำ อสุจิหลุดลอดออกมาเลยแม้แต่น้อย
หัวใจสำคัญในเรื่องการใช้ถุงยางอนามัยจึงมีสองประการ คือ ต้องใช้ทุกครั้งและใช้อย่างถูกต้อง
ถุงยางอนามัยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เรียก ว่า latex condom หรือ latex rubber condom ย้อนไปเมื่อประมาณปี 1980-1985 พบว่าการใช้ถุงยางอนามัยไม่เป็นที่นิยม ส่วนใหญ่เป็นการใช้เพื่อคุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์ แม้ว่าจะทราบกันมาตั้งแต่สมัยโรมันแล้วว่าการใช้ถุงยางอนามัยสามารถป้องกัน โรคดิดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แต่แนวความคิดนี้ยังไม่แพร่หลายจนกระทั่งเมื่อเริ่มมีการระบาดของโรคเอดส์ ถึงมีการรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัยกันอย่างกว้างขวางและถือเป็นมาตราการที่ ได้รับการยอมรับมากที่สุดอย่างหนึ่ง
ถุงยางอนามัยยุคแรกสุดเท่า ที่มีการบันทึกไว้ทำมาจากผ้าทอ ซึ่งไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้และไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ ต่อมาได้พัฒนาการผลิตหันมาใช้ไส้แกะ ซึ่งก็ดีขึ้นบ้างแต่ประสิทธิภาพยังต่ำอยู่จนถึงยุคสมัยที่นำยางมาใช้ในแวดวง อุตสาหกรรมเมื่อประมาณปี 1930 ถุงยางอนามัยจึงเริ่มเป็นอุปกรณ์ลักษณะแผ่นยางที่ทำจากสารสังเคราะห์ของยาง และพลาสติก ปัจจุบันมีการผลิตถุงยางอนามัยจากสารโปลียูรีเธนมากขึ้น
หลักการใช้ถุงยางอนามัย
ถุง ยางอนามัยใช้สวมใส่อวัยวะเพศชายเมื่อแข็งตัวเต็มที่ ทำหน้าที่เป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้ตัวเชื้ออสุจิเข้าสู่ช่องคลอด ที่ปลายถุงยางอนามัยจะมีกระเปราะเล็กๆสำหรับรองรับน้ำอสุจิ
วิธีใช้ถุงยางอนามัย
1. ผู้ที่ใช้ต้องใส่และถอดให้ถูกวิธี โดยให้ใส่เมื่ออวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่เท่านั้น
2. บีบปลายกะเปาะไล่ลมแล้วสวมลงบนอวัยวะเพศรูดลงมาจนสุด
3. เมื่อเสร็จการร่วมเพศ ต้องรีบดึงอวัยวะเพศออกขณะยังแข็งตัวอยู่ มิฉะนั้นถุงยางอาจจะหลุดอยู่ในช่องคลอดได้
4. ต้องดึงออกโดยมิให้น้ำอสุจิไหลออกมาอยู่บริเวณอวัยวะเพศหญิง
5. มีถุงยางอนามัยสำรองเตรียมพร้อมไว้เสมอ
ปัญหาที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยที่ไม่ถูกต้อง
1. ใช้สารหล่อลื่นไม่ถูกต้อง ทำให้ถุงยางแตกหรือลื่นหลุด
2. ไม่ใช้ถุงยางอนามัยใหม่แกะกล่อง
3. ใช้ถุงยางเพียงครั้งแรกเท่านั้น เมื่อมีเพศสัมพันธ์ต่อไปไม่ได้ใช้ถุงยาง
4. ใช้ถุงยางอนามัยที่เสื่อมสภาพอย่างเห็นได้ชัด
5. มึนเมาสุราหรือสารเสพติด จึงตัดสินใจถอดถุงยางทิ้งกลางคัน
6. แกะถุงยางอนามัยออกมาเล่นก่อนมีเพศสัมพันธ์
7. ใส่ถุงยางผิดด้านแล้วนำกลับมาใช้ใหม่
8. สำหรับผู้ที่ไม่ได้ขลิบปลายอวัยวะเพศ ต้องดึงหนังหุ้มรูดให้สุดเสียก่อน
การเก็บรักษา
ถุงยางอนามัยควรเก็บรักษาไว้ในที่ไม่ถูกแสงแดดหรือที่มีอุณหภูมิสูง
ความสามารถในการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยสามารถกีดขวางไม่ให้ตัวเชื้ออสุจิและเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ เข้าสู่ช่องคลอดได้ดังต่อไปนี้
1. ตัวเชื้ออสุจิ (spermatozoa) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.003 มิลลิเมตร หรือ 3000 นาโนเมตร
2. เชื้อก่อโรคซิฟิลิส (Treponema pallidum) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 600 นาโนเมตร
3. เชื้อก่อโรคหนองใน (Neisseria gonorrhoeae) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 800 นาโนเมตร
4. เชื้อก่อโรคหนองในเทียม (C. trachomatis) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 200 นาโนเมตร
5. เชื้อไวรัสเอดส์ (HIV) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 125 นาโนเมตร
6. เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี (hepatitis B virus) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 นาโนเมตร
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มกำลังใจ
Report : LIV APCO
ข้อควรระวังในการใช้ถุงยางอนามัย
การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นแม้ว่ามีการใช้ถุงยางอนามัยเกิด จากการที่ไม่ใช้ทุกครั้ง หรือใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่พบว่าเกิดจากปัญหาของถุงยางอนามัยโดยตรงเลย สำนักงานอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาเคยทำการวิจัยครั้งใหญ่ พบว่าถุงยางอนามัยที่ได้ผลิตมาจากโรงงานที่ได้มาตราฐานจะไม่มีปัญหาที่น้ำ อสุจิหลุดลอดออกมาเลยแม้แต่น้อย
หัวใจสำคัญในเรื่องการใช้ถุงยางอนามัยจึงมีสองประการ คือ ต้องใช้ทุกครั้งและใช้อย่างถูกต้อง
ถุงยางอนามัยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เรียก ว่า latex condom หรือ latex rubber condom ย้อนไปเมื่อประมาณปี 1980-1985 พบว่าการใช้ถุงยางอนามัยไม่เป็นที่นิยม ส่วนใหญ่เป็นการใช้เพื่อคุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์ แม้ว่าจะทราบกันมาตั้งแต่สมัยโรมันแล้วว่าการใช้ถุงยางอนามัยสามารถป้องกัน โรคดิดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แต่แนวความคิดนี้ยังไม่แพร่หลายจนกระทั่งเมื่อเริ่มมีการระบาดของโรคเอดส์ ถึงมีการรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัยกันอย่างกว้างขวางและถือเป็นมาตราการที่ ได้รับการยอมรับมากที่สุดอย่างหนึ่ง
ถุงยางอนามัยยุคแรกสุดเท่า ที่มีการบันทึกไว้ทำมาจากผ้าทอ ซึ่งไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้และไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ ต่อมาได้พัฒนาการผลิตหันมาใช้ไส้แกะ ซึ่งก็ดีขึ้นบ้างแต่ประสิทธิภาพยังต่ำอยู่จนถึงยุคสมัยที่นำยางมาใช้ในแวดวง อุตสาหกรรมเมื่อประมาณปี 1930 ถุงยางอนามัยจึงเริ่มเป็นอุปกรณ์ลักษณะแผ่นยางที่ทำจากสารสังเคราะห์ของยาง และพลาสติก ปัจจุบันมีการผลิตถุงยางอนามัยจากสารโปลียูรีเธนมากขึ้น
หลักการใช้ถุงยางอนามัย
ถุง ยางอนามัยใช้สวมใส่อวัยวะเพศชายเมื่อแข็งตัวเต็มที่ ทำหน้าที่เป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้ตัวเชื้ออสุจิเข้าสู่ช่องคลอด ที่ปลายถุงยางอนามัยจะมีกระเปราะเล็กๆสำหรับรองรับน้ำอสุจิ
วิธีใช้ถุงยางอนามัย
1. ผู้ที่ใช้ต้องใส่และถอดให้ถูกวิธี โดยให้ใส่เมื่ออวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่เท่านั้น
2. บีบปลายกะเปาะไล่ลมแล้วสวมลงบนอวัยวะเพศรูดลงมาจนสุด
3. เมื่อเสร็จการร่วมเพศ ต้องรีบดึงอวัยวะเพศออกขณะยังแข็งตัวอยู่ มิฉะนั้นถุงยางอาจจะหลุดอยู่ในช่องคลอดได้
4. ต้องดึงออกโดยมิให้น้ำอสุจิไหลออกมาอยู่บริเวณอวัยวะเพศหญิง
5. มีถุงยางอนามัยสำรองเตรียมพร้อมไว้เสมอ
ปัญหาที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยที่ไม่ถูกต้อง
1. ใช้สารหล่อลื่นไม่ถูกต้อง ทำให้ถุงยางแตกหรือลื่นหลุด
2. ไม่ใช้ถุงยางอนามัยใหม่แกะกล่อง
3. ใช้ถุงยางเพียงครั้งแรกเท่านั้น เมื่อมีเพศสัมพันธ์ต่อไปไม่ได้ใช้ถุงยาง
4. ใช้ถุงยางอนามัยที่เสื่อมสภาพอย่างเห็นได้ชัด
5. มึนเมาสุราหรือสารเสพติด จึงตัดสินใจถอดถุงยางทิ้งกลางคัน
6. แกะถุงยางอนามัยออกมาเล่นก่อนมีเพศสัมพันธ์
7. ใส่ถุงยางผิดด้านแล้วนำกลับมาใช้ใหม่
8. สำหรับผู้ที่ไม่ได้ขลิบปลายอวัยวะเพศ ต้องดึงหนังหุ้มรูดให้สุดเสียก่อน
การเก็บรักษา
ถุงยางอนามัยควรเก็บรักษาไว้ในที่ไม่ถูกแสงแดดหรือที่มีอุณหภูมิสูง
ความสามารถในการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยสามารถกีดขวางไม่ให้ตัวเชื้ออสุจิและเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ เข้าสู่ช่องคลอดได้ดังต่อไปนี้
1. ตัวเชื้ออสุจิ (spermatozoa) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.003 มิลลิเมตร หรือ 3000 นาโนเมตร
2. เชื้อก่อโรคซิฟิลิส (Treponema pallidum) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 600 นาโนเมตร
3. เชื้อก่อโรคหนองใน (Neisseria gonorrhoeae) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 800 นาโนเมตร
4. เชื้อก่อโรคหนองในเทียม (C. trachomatis) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 200 นาโนเมตร
5. เชื้อไวรัสเอดส์ (HIV) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 125 นาโนเมตร
6. เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี (hepatitis B virus) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 นาโนเมตร
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มกำลังใจ
Report : LIV APCO