พระพุทธองค์ได้ทรงห่วงใยตรัสสั่งเสียไว้ในวันที่ปรินิพพาน อันเป็นอนุสาสนีย์ครั้งสุดท้าย ที่มีสาระสำคัญอย่างยิ่ง ได้ให้ไว้กับ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เพื่อนำไปสมาทานปฏิบัติตน ตรงตามธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรงให้ไว้ เพื่อบรรลุผลแห่งการปฏิบัติธรรม ดังปัจฉิมโอวาทานุสาสนีย์ว่า
"หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว
วะยะธัมมา สังขารา
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายว่า
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
นี้เป็นวาจาครั้งสุดท้ายของตถาคต ฯ"
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั่วไปที่สักๆ แต่ว่าฟังพระปัจฉิมโอวาท แล้วไม่นำมาตริตรองใคร่ครวญให้รอบคอบถี่ถ้วนแล้ว มักมองเป็นเพียงว่า พระพุทธองค์ทรงต้องการแค่ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก แค่อย่าเลินเล่อ เผอเรอขาดสติ มีความรอบคอบก็เพียงพอแล้ว โดยไม่เฉลียวใจเลยสักนิดว่า ธรรมะที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสสั่งสอนมาตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์นั้น มีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกันหมดในทางปฏิบัติ เพียงแต่ในบางครั้งบางคราวได้ละไว้ในฐานที่เข้าใจ
สำหรับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบปฏิบัติ ตรงตามพระธรรมคำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ดีแล้ว ย่อมมองเห็นความเชื่อมโยงต่อเนื่องกันตามความเป็นจริง
คำว่า "อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ" หมายความว่า ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมนั้น ไม่ใช่เพียงแค่สักๆ แต่คิดว่าคอยระมัดระวังอินทรีย์ไม่ให้เลินเล่อ เผลอเรอ ขาดสติ เพียงแค่นี้ก็ได้ชื่อว่า "ไม่ประมาท" แล้ว นั่นเป็นเพียงแค่สัญญาอารมณ์ที่เราได้สมาทานตั้งเจตนาจดจำเอาไว้ นำมารองรับ แต่จะให้ถึงพร้อมโดยไม่ประมาทได้นั้น เป็นธรรมที่จะให้เป็นไปได้ไม่ง่ายนัก ด้วยเพียงแค่ตรึกนึกคิดจนความคิดตกผลึก เป็นไปได้ยาก เนื่องจากยังเป็นปุถุชนคนหนาด้วยกิเลสที่ยังไม่ได้อบรมจิตด้วยความเพียรเพ่ง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เหล่านั้น ได้ชื่อว่าเป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม (พระพุทธพจน์)
ส่วนพระอริยบุคคลที่ยังไม่หลุดพ้นโดยสิ้นเชิง ย่อมยังมีการเผลอเรอขาดสติมากบ้างน้อยบ้างตามโอกาสแตกต่างกันไปในแต่ละขั้นของพระอริยะ ส่วนบุคคลที่จะยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมได้นั้น มีเฉพาะพระอริยบุคคลชั้นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์เท่านั้น
เราลองนำพระพุทธพจน์มาตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียงดูกับพระสูตรอื่นจะได้เห็นชัดว่า ทำอย่างไรถึงจะยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมได้ จากพระสูตร
"เรา (พระตถาคต) ไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น"
"เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ฯ"
พระองค์ทรงเพียรเผากิเลสด้วยสติปัฏฐาน คือการมีสติอย่างต่อเนื่องเนืองๆ ที่ฐาน จนจิตมีสติ สงบตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เราเรียกว่า ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม มีพระพุทธพจน์ตรัสรับรองไว้ว่า
"ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้
คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ
คือ ความไม่ประมาท"
"ตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์ผู้ประพฤติประมาท" (พระพุทธพจน์)
เมื่อเป็นเช่นนี้เราควรปฏิบัติธรรมเพื่อยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมได้อย่างไร ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสเตือนไว้
"ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์
อาศัยความอนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย
กิจนั้นเราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ
ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ"
ซี่งสอดคล้องกับพระพุทธพจน์ที่ว่า "ประกอบชาคริยานุโยค ไม่เกียจคร้าน ปรารภความเพียร เพ่งฌาน มีสติ" จากพระสูตรที่นำมาเสนอนั้นพอสรุปได้ว่า ต้องประกอบชาคริยานุโยค ไม่เกียจคร้าน ปรารภความเพียร (ไม่ประมาท) จงเพ่งฌาน (สัมมาสมาธิ) อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง"
หลายคนที่ยังมีความข้องใจอยู่ว่า เกี่ยวอะไรกับ "สัมมาสมาธิ" บอกได้ว่า ฌานที่พระพุทธองค์ตรัสรับรองไว้นั้น ต้องเป็นฌาน คือความเพ่งในสัมมาสมาธิ อันมีความเพ่งที่ ๑-๔ ส่วนฌานที่นอกเหนือไปจากนี้ เป็นพวกฌานสมาบัติ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงปฏิเสธไปแล้วว่า ความเพ่ง(ฌาน)เหล่านั้น ไม่อาจนำไปสู่หนทางแห่งความหลุดพ้นจากทุกข์ได้ อย่างมากช่วยให้กิเลสเบาบางลงได้เท่านั้น มีพระพุทธพจน์ตรัสรับรองไว้ในพระสูตร
คำว่า "เพ่งฌาน" ฌานก็คือ "ความเพ่ง" ส่วนคำว่า "เพ่ง" ในที่นี้ คือการรู้เห็นอะไรอย่างต่อเนื่องเนืองๆ ไม่ขาดสาย การรู้เห็นที่ว่ามานั้น ไม่จำเป็นต้องจ้องดู มองด้วยตาแบบเขม็งเกร็ง แต่เป็นการรู้เห็นอย่างวิเศษทางใจ เป็นนามธรรม ให้เพียรระลึกรู้ (เพ่ง) อยู่ที่องค์ฌาน (ความเพ่งที่ ๑-๔) แบบต่อเนื่องเนืองๆ ไม่ต้องมีอาการเพ่งจ้องแบบตาเนื้อก็รู้เห็นได้ตามความเป็นจริง เพราะอารมณ์กรรมฐานในสติปัฏฐาน ๔ นั้น เป็นอารมณ์ ณ ภายในตน ทำให้จิตรู้เห็นพระไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงได้อย่างชัดเจน
หลายคนอ่านแล้วอาจเกิดความรู้สึกสงสัยข้องใจเนื่องจากตนเองยังเข้าไม่ถึงความเพ่งว่า แล้ว "ฌานในสัมมาสมาธิ" แตกต่างจาก "ฌานสมาบัติ" ที่เรียกว่า รูปฌาน อรูปฌาน อย่างไรเล่า?
มารู้จักคำว่า "สะมาบัด" น. "ภาวะที่จิตสงบประณีต คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิตเพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการเข้าสมาธิ" เป็นฌานที่เกิดจากการเพ่งอารมณ์ภายนอกกายเป็นอารมณ์กรรมฐานและยึดอารมณ์นั้นเอาไว้อย่างเหนียวแน่นจนแน่วแน่ เป็นสมาธิละเอียดขึ้นไปตามขั้นตอนของการเพ่งเป็นสุขที่เกิดจากอามีส ขึ้นชื่อว่าอารมณ์ล้วนตกอยู่ในไตรลักษณ์ จึงต้องยึดเอาไว้อย่างเหนียวแน่นเพราะเกรงไปว่าอารมณ์ที่ยึดเอาไว้นั้นจะจืดจางลงไปได้ จึงจำเป็นที่จะต้องคอยจดจำอารมณ์จิตอันปราณีตนั้นอย่างต่อเนื่องเนืองๆจนชำนาญเป็นวสี ขณะเดียวกันในส่วนลึกๆ ของจิตนั้นยังเป็นทุกข์ด้วยเกรงไปว่าอารมณ์อันปราณีตที่ประคองอยู่นั้นจะจืดจางลงไป จึงเพียรเพ่งรักษาอารมณ์อันประณีตนั้นไว้ด้วยความยึดมั่นถือมั่นอย่างเหนียวแน่น ปล่อยวางอารมณ์ไม่เป็น
เมื่อเปรียบเทียบกับฌานความเพ่งที่ ๑-๔ ใน "สัมมาสมาธิ" แล้ว มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในผลที่ได้รับ ฌานในสัมมาสมาธินั้น เป็นฌานที่เพียรเพ่งเพื่อปล่อยวางอารมณ์ออกไปจากจิตตามความเพ่งที่ ๑-๔ จิตมีสติบริสุทธิ์กุมวางเฉยอยู่ (อุเบกขาสติปาริสุทธิง) เป็น "สมาธิ" ที่เรียกว่า "สัมมาสมาธิ" พระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องตีความใดๆ เลย ต้องเป็นอารมณ์ในมหาสติปัฏฐาน ๔ อันมี กาย เวทนา จิต และธรรม เป็น "เอกายาโน" ทางสายเอก คือทางสายเดียวเท่านั้น ที่ยังสัตว์ (จิตที่ติดข้องอารมณ์อยู่) ให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง ไม่ใช่ทางแบบที่พยายามตีความกันเอาเองตามมติที่ชอบของตนอย่างทุกวันนี้ นั่นเป็นไปเพื่อความมักง่ายของตนเองเท่านั้น
ฌานนอกพระพุทธศาสนานั้น ที่ใช้คำนี้ "นอกพระพุทธศาสนา" เหตุด้วย พระพุทธองค์ได้เคยทรงปฏิเสธไปแล้วว่าไม่ใช่หนทางแห่งความพ้นทุกข์ในขณะที่พระองค์ยังดำรงตนเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ต่อเมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้เล็งเห็นว่า ฌานสมาบัติที่มีอยู่ก่อนพระพุทธองค์จะทรงอุบัติขี้นมานั้น ถึงไม่ใช่หนทางแห่งความพ้นทุกข์ก็จริง แต่ทำให้กิเลสของผู้ที่ปฏิบัติฌานสมาบัติจนชำนิชำนาญเป็นวสีแล้วเบาบางลงได้ ยิ่งเป็นวสีมากยิ่งเบาบางลงมาก บุคคลเหล่านี้เมื่อได้ฟังธรรมจากพระองค์ก็รู้จักทั่วถึงธรรมนี้โดยฉับพลัน
ทางสายเอกที่มีทางเดียวและถูกต้องตามหลักที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้ ให้เริ่มต้นที่ กายในกายเป็นภายใน คือ "อานาปานสติ" เป็นการภาวนามยปัญญา อันอยู่ในบรรพะแรกของมหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อกระทำให้มาก เจริญให้มาก ย่อมยังให้เกิดผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ย่อมยังให้สติปัฏฐาน ๔ นี้บริบูรณ์ (พระพุทธพจน์) ย่อมหมายถึงการเข้าใจ เข้าถึง กาย เวทนา จิต และ ธรรม อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง จึงเรียกว่าบริบูรณ์ได้
หลายคนอาจสงสัยข้องใจ เนื่องจากปัจจุบันได้มีการสอนกันจนเกิดความสับสนวุ่นวายแปลกแยกออกไป ตามมติที่ชอบของตนเองโดยพละการ มักอ้างว่าคนเรานั้น มีจริตนิสัยที่แตกต่างกันออกไป บ้างเป็นพวกตัณหาจริต บ้างเป็นพวกทิฏฐิจริต อ้างว่าการเริ่มต้นปฏิบัติธรรมจึงต้องแตกต่างกันบ้าง มีเรื่องเวลาและปัญญา (สัญญา) ที่ไม่เท่าเทียมกัน เป็นการอ้างแบบมักง่าย เอาที่สบายๆ ลัดสั้น ด้วยความเกียจคร้าน (ประมาท) โดยอ้างว่าไม่มีเวลาแต่มีปัญญา (สัญญา) มาก ให้เริ่มที่ หมวดจิต และหมวดธรรมได้เลย โดยลืมพิจารณาตริตรองตามความเป็นจริงว่า ในคนทุกคนนั้นล้วนต้องมีทั้งตัณหาจริตและทิฏฐิจริตอยู่ในตนเองทุกคน เทียบเคียงได้จากพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสรับรองไว้ชัดเจนว่า
"วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง
บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว"
เมื่อไม่มีตัณหา ก็ไม่มีการปรุงแต่ง (สังขาร) เมื่อไม่มีการปรุงแต่ง (สังขาร) ทิฏฐิจริตจะมีมาจากไหน สิ่งที่ต้องเชื่อมโยงต่อเนื่องกันนั้น เราไม่อาจแยกออกจากกันโดยพละการตามชอบใจได้ เป็นการสอนชนิดที่เอาใจกันแบบสุดๆ ด้วยกลัวความยากลำบากที่ต้องอาศัยความเพียรเพ่งฌานเป็นอย่างมาก ถึงกับมีอัตโนมัติอาจารย์บางท่าน บอกว่า "การเพียรเพ่งภาวนา เป็นอัตตกิลมถานุโยค" ไปเลยก็มี
การเพียรเพ่งฌานนั้น เป็นหนึ่งในองค์อริยมรรค ๘ คือ "สัมมาสมาธิ" ที่เรียกว่า "อธิจิตตสิกขา" การอบรมจิตอย่างยิ่ง คืออบรมจิตให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เป็นปัจจัยเกื้อหนุน เป็นกำลังของ "ศีล" ทำให้จิตของตนมีสติ สงบ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว มีกำลังที่จะวิรัติให้ศีลบริสุทธิ์ ศีลจะบริสุทธิ์ได้ก็มีแต่เฉพาะพระอริยบุคคลชั้นต้น (โสดาบัน) เท่านั้น เป็นธรรมที่งามในเบื้องต้นสำหรับผู้พบเห็น เป็นศีลของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เป็นศีล สมาธิ (อธิจิตตสิกขา) ปัญญา อันประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นเครื่องขจัดขัดเกลากิเลสที่เป็นเหตุแห่งความชั่วต่างๆออกไปจากจิตของตนได้
มีพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสรับรองเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา (อริยมรรคมีองค์ ๘) ไว้ดังนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง
ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง
ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
พวกเธอจงเที่ยวจาริก
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
ความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์
พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป
จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น (ศีล)
งามในท่ามกลาง (สมาธิ)
งามในที่สุด (ปัญญา)
จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์
สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย มีอยู่
เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม"
ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ดังนี้ สาธุ
เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน
ธรรมภูต
ปัจฉิมโอวาท พระพุทธองค์ทรงต้องการให้เราทำอย่างไร?
"หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว
วะยะธัมมา สังขารา
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายว่า
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
นี้เป็นวาจาครั้งสุดท้ายของตถาคต ฯ"
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั่วไปที่สักๆ แต่ว่าฟังพระปัจฉิมโอวาท แล้วไม่นำมาตริตรองใคร่ครวญให้รอบคอบถี่ถ้วนแล้ว มักมองเป็นเพียงว่า พระพุทธองค์ทรงต้องการแค่ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก แค่อย่าเลินเล่อ เผอเรอขาดสติ มีความรอบคอบก็เพียงพอแล้ว โดยไม่เฉลียวใจเลยสักนิดว่า ธรรมะที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสสั่งสอนมาตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์นั้น มีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกันหมดในทางปฏิบัติ เพียงแต่ในบางครั้งบางคราวได้ละไว้ในฐานที่เข้าใจ
สำหรับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบปฏิบัติ ตรงตามพระธรรมคำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ดีแล้ว ย่อมมองเห็นความเชื่อมโยงต่อเนื่องกันตามความเป็นจริง
คำว่า "อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ" หมายความว่า ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมนั้น ไม่ใช่เพียงแค่สักๆ แต่คิดว่าคอยระมัดระวังอินทรีย์ไม่ให้เลินเล่อ เผลอเรอ ขาดสติ เพียงแค่นี้ก็ได้ชื่อว่า "ไม่ประมาท" แล้ว นั่นเป็นเพียงแค่สัญญาอารมณ์ที่เราได้สมาทานตั้งเจตนาจดจำเอาไว้ นำมารองรับ แต่จะให้ถึงพร้อมโดยไม่ประมาทได้นั้น เป็นธรรมที่จะให้เป็นไปได้ไม่ง่ายนัก ด้วยเพียงแค่ตรึกนึกคิดจนความคิดตกผลึก เป็นไปได้ยาก เนื่องจากยังเป็นปุถุชนคนหนาด้วยกิเลสที่ยังไม่ได้อบรมจิตด้วยความเพียรเพ่ง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เหล่านั้น ได้ชื่อว่าเป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม (พระพุทธพจน์)
ส่วนพระอริยบุคคลที่ยังไม่หลุดพ้นโดยสิ้นเชิง ย่อมยังมีการเผลอเรอขาดสติมากบ้างน้อยบ้างตามโอกาสแตกต่างกันไปในแต่ละขั้นของพระอริยะ ส่วนบุคคลที่จะยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมได้นั้น มีเฉพาะพระอริยบุคคลชั้นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์เท่านั้น
เราลองนำพระพุทธพจน์มาตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียงดูกับพระสูตรอื่นจะได้เห็นชัดว่า ทำอย่างไรถึงจะยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมได้ จากพระสูตร
"เรา (พระตถาคต) ไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น"
"เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ฯ"
พระองค์ทรงเพียรเผากิเลสด้วยสติปัฏฐาน คือการมีสติอย่างต่อเนื่องเนืองๆ ที่ฐาน จนจิตมีสติ สงบตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เราเรียกว่า ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม มีพระพุทธพจน์ตรัสรับรองไว้ว่า
"ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้
คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ
คือ ความไม่ประมาท"
"ตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์ผู้ประพฤติประมาท" (พระพุทธพจน์)
เมื่อเป็นเช่นนี้เราควรปฏิบัติธรรมเพื่อยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมได้อย่างไร ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสเตือนไว้
"ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์
อาศัยความอนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย
กิจนั้นเราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ
ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ"
ซี่งสอดคล้องกับพระพุทธพจน์ที่ว่า "ประกอบชาคริยานุโยค ไม่เกียจคร้าน ปรารภความเพียร เพ่งฌาน มีสติ" จากพระสูตรที่นำมาเสนอนั้นพอสรุปได้ว่า ต้องประกอบชาคริยานุโยค ไม่เกียจคร้าน ปรารภความเพียร (ไม่ประมาท) จงเพ่งฌาน (สัมมาสมาธิ) อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง"
หลายคนที่ยังมีความข้องใจอยู่ว่า เกี่ยวอะไรกับ "สัมมาสมาธิ" บอกได้ว่า ฌานที่พระพุทธองค์ตรัสรับรองไว้นั้น ต้องเป็นฌาน คือความเพ่งในสัมมาสมาธิ อันมีความเพ่งที่ ๑-๔ ส่วนฌานที่นอกเหนือไปจากนี้ เป็นพวกฌานสมาบัติ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงปฏิเสธไปแล้วว่า ความเพ่ง(ฌาน)เหล่านั้น ไม่อาจนำไปสู่หนทางแห่งความหลุดพ้นจากทุกข์ได้ อย่างมากช่วยให้กิเลสเบาบางลงได้เท่านั้น มีพระพุทธพจน์ตรัสรับรองไว้ในพระสูตร
คำว่า "เพ่งฌาน" ฌานก็คือ "ความเพ่ง" ส่วนคำว่า "เพ่ง" ในที่นี้ คือการรู้เห็นอะไรอย่างต่อเนื่องเนืองๆ ไม่ขาดสาย การรู้เห็นที่ว่ามานั้น ไม่จำเป็นต้องจ้องดู มองด้วยตาแบบเขม็งเกร็ง แต่เป็นการรู้เห็นอย่างวิเศษทางใจ เป็นนามธรรม ให้เพียรระลึกรู้ (เพ่ง) อยู่ที่องค์ฌาน (ความเพ่งที่ ๑-๔) แบบต่อเนื่องเนืองๆ ไม่ต้องมีอาการเพ่งจ้องแบบตาเนื้อก็รู้เห็นได้ตามความเป็นจริง เพราะอารมณ์กรรมฐานในสติปัฏฐาน ๔ นั้น เป็นอารมณ์ ณ ภายในตน ทำให้จิตรู้เห็นพระไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงได้อย่างชัดเจน
หลายคนอ่านแล้วอาจเกิดความรู้สึกสงสัยข้องใจเนื่องจากตนเองยังเข้าไม่ถึงความเพ่งว่า แล้ว "ฌานในสัมมาสมาธิ" แตกต่างจาก "ฌานสมาบัติ" ที่เรียกว่า รูปฌาน อรูปฌาน อย่างไรเล่า?
มารู้จักคำว่า "สะมาบัด" น. "ภาวะที่จิตสงบประณีต คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิตเพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการเข้าสมาธิ" เป็นฌานที่เกิดจากการเพ่งอารมณ์ภายนอกกายเป็นอารมณ์กรรมฐานและยึดอารมณ์นั้นเอาไว้อย่างเหนียวแน่นจนแน่วแน่ เป็นสมาธิละเอียดขึ้นไปตามขั้นตอนของการเพ่งเป็นสุขที่เกิดจากอามีส ขึ้นชื่อว่าอารมณ์ล้วนตกอยู่ในไตรลักษณ์ จึงต้องยึดเอาไว้อย่างเหนียวแน่นเพราะเกรงไปว่าอารมณ์ที่ยึดเอาไว้นั้นจะจืดจางลงไปได้ จึงจำเป็นที่จะต้องคอยจดจำอารมณ์จิตอันปราณีตนั้นอย่างต่อเนื่องเนืองๆจนชำนาญเป็นวสี ขณะเดียวกันในส่วนลึกๆ ของจิตนั้นยังเป็นทุกข์ด้วยเกรงไปว่าอารมณ์อันปราณีตที่ประคองอยู่นั้นจะจืดจางลงไป จึงเพียรเพ่งรักษาอารมณ์อันประณีตนั้นไว้ด้วยความยึดมั่นถือมั่นอย่างเหนียวแน่น ปล่อยวางอารมณ์ไม่เป็น
เมื่อเปรียบเทียบกับฌานความเพ่งที่ ๑-๔ ใน "สัมมาสมาธิ" แล้ว มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในผลที่ได้รับ ฌานในสัมมาสมาธินั้น เป็นฌานที่เพียรเพ่งเพื่อปล่อยวางอารมณ์ออกไปจากจิตตามความเพ่งที่ ๑-๔ จิตมีสติบริสุทธิ์กุมวางเฉยอยู่ (อุเบกขาสติปาริสุทธิง) เป็น "สมาธิ" ที่เรียกว่า "สัมมาสมาธิ" พระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องตีความใดๆ เลย ต้องเป็นอารมณ์ในมหาสติปัฏฐาน ๔ อันมี กาย เวทนา จิต และธรรม เป็น "เอกายาโน" ทางสายเอก คือทางสายเดียวเท่านั้น ที่ยังสัตว์ (จิตที่ติดข้องอารมณ์อยู่) ให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง ไม่ใช่ทางแบบที่พยายามตีความกันเอาเองตามมติที่ชอบของตนอย่างทุกวันนี้ นั่นเป็นไปเพื่อความมักง่ายของตนเองเท่านั้น
ฌานนอกพระพุทธศาสนานั้น ที่ใช้คำนี้ "นอกพระพุทธศาสนา" เหตุด้วย พระพุทธองค์ได้เคยทรงปฏิเสธไปแล้วว่าไม่ใช่หนทางแห่งความพ้นทุกข์ในขณะที่พระองค์ยังดำรงตนเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ต่อเมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้เล็งเห็นว่า ฌานสมาบัติที่มีอยู่ก่อนพระพุทธองค์จะทรงอุบัติขี้นมานั้น ถึงไม่ใช่หนทางแห่งความพ้นทุกข์ก็จริง แต่ทำให้กิเลสของผู้ที่ปฏิบัติฌานสมาบัติจนชำนิชำนาญเป็นวสีแล้วเบาบางลงได้ ยิ่งเป็นวสีมากยิ่งเบาบางลงมาก บุคคลเหล่านี้เมื่อได้ฟังธรรมจากพระองค์ก็รู้จักทั่วถึงธรรมนี้โดยฉับพลัน
ทางสายเอกที่มีทางเดียวและถูกต้องตามหลักที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้ ให้เริ่มต้นที่ กายในกายเป็นภายใน คือ "อานาปานสติ" เป็นการภาวนามยปัญญา อันอยู่ในบรรพะแรกของมหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อกระทำให้มาก เจริญให้มาก ย่อมยังให้เกิดผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ย่อมยังให้สติปัฏฐาน ๔ นี้บริบูรณ์ (พระพุทธพจน์) ย่อมหมายถึงการเข้าใจ เข้าถึง กาย เวทนา จิต และ ธรรม อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง จึงเรียกว่าบริบูรณ์ได้
หลายคนอาจสงสัยข้องใจ เนื่องจากปัจจุบันได้มีการสอนกันจนเกิดความสับสนวุ่นวายแปลกแยกออกไป ตามมติที่ชอบของตนเองโดยพละการ มักอ้างว่าคนเรานั้น มีจริตนิสัยที่แตกต่างกันออกไป บ้างเป็นพวกตัณหาจริต บ้างเป็นพวกทิฏฐิจริต อ้างว่าการเริ่มต้นปฏิบัติธรรมจึงต้องแตกต่างกันบ้าง มีเรื่องเวลาและปัญญา (สัญญา) ที่ไม่เท่าเทียมกัน เป็นการอ้างแบบมักง่าย เอาที่สบายๆ ลัดสั้น ด้วยความเกียจคร้าน (ประมาท) โดยอ้างว่าไม่มีเวลาแต่มีปัญญา (สัญญา) มาก ให้เริ่มที่ หมวดจิต และหมวดธรรมได้เลย โดยลืมพิจารณาตริตรองตามความเป็นจริงว่า ในคนทุกคนนั้นล้วนต้องมีทั้งตัณหาจริตและทิฏฐิจริตอยู่ในตนเองทุกคน เทียบเคียงได้จากพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสรับรองไว้ชัดเจนว่า
"วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง
บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว"
เมื่อไม่มีตัณหา ก็ไม่มีการปรุงแต่ง (สังขาร) เมื่อไม่มีการปรุงแต่ง (สังขาร) ทิฏฐิจริตจะมีมาจากไหน สิ่งที่ต้องเชื่อมโยงต่อเนื่องกันนั้น เราไม่อาจแยกออกจากกันโดยพละการตามชอบใจได้ เป็นการสอนชนิดที่เอาใจกันแบบสุดๆ ด้วยกลัวความยากลำบากที่ต้องอาศัยความเพียรเพ่งฌานเป็นอย่างมาก ถึงกับมีอัตโนมัติอาจารย์บางท่าน บอกว่า "การเพียรเพ่งภาวนา เป็นอัตตกิลมถานุโยค" ไปเลยก็มี
การเพียรเพ่งฌานนั้น เป็นหนึ่งในองค์อริยมรรค ๘ คือ "สัมมาสมาธิ" ที่เรียกว่า "อธิจิตตสิกขา" การอบรมจิตอย่างยิ่ง คืออบรมจิตให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เป็นปัจจัยเกื้อหนุน เป็นกำลังของ "ศีล" ทำให้จิตของตนมีสติ สงบ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว มีกำลังที่จะวิรัติให้ศีลบริสุทธิ์ ศีลจะบริสุทธิ์ได้ก็มีแต่เฉพาะพระอริยบุคคลชั้นต้น (โสดาบัน) เท่านั้น เป็นธรรมที่งามในเบื้องต้นสำหรับผู้พบเห็น เป็นศีลของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เป็นศีล สมาธิ (อธิจิตตสิกขา) ปัญญา อันประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นเครื่องขจัดขัดเกลากิเลสที่เป็นเหตุแห่งความชั่วต่างๆออกไปจากจิตของตนได้
มีพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสรับรองเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา (อริยมรรคมีองค์ ๘) ไว้ดังนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง
ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง
ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
พวกเธอจงเที่ยวจาริก
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
ความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์
พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป
จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น (ศีล)
งามในท่ามกลาง (สมาธิ)
งามในที่สุด (ปัญญา)
จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์
สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย มีอยู่
เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม"
ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ดังนี้ สาธุ
เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน
ธรรมภูต