สวัสดีครับ

วันนี้ขอเสนอเนื้อหาด้านอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฤดูฝน ครับ
ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศว่า ประเทศไทยได้เข้าสู่หน้าฝนอย่างเป็นทางการแล้ว
และหลายวันมานี้ ก็ได้มีฝนตกลงมาอย่างชุ่มฉ่ำ (เกินไป) ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย
ในกระทู้นี้ ผมจะขอเสนอเนื้อหาของฤดูฝน ว่า ฤดูฝนมีที่มาอย่างไร เกิดจากอะไร เชิญติดตามครับ
สาเหตุของฤดูฝน .... ลมมรสุมเปลี่ยนทิศ
การอธิบายเรื่องนี้ ขอเริ่มด้วยสภาวะของ zone ประเทศไทยในช่วงฤดูร้อนก่อนครับ
ในช่วงฤดูร้อน โลกจะหันซีกโลกเหนือในบริเวณประเทศไทยเข้าหาดวงอาทิตย์แบบเต็ม ๆ
ทำให้
แผ่นดิน ในซีกโลกเหนือร้อน อากาศเหนือพื้นดินส่วนนี้จะยกตัวขึ้น ... และเมื่อสภาวะนี้
ดำเนินผ่านไปจากเดือนเมษายน จนถึงประมาณเดือนพฤษภาคม (Lack ไป 1 เดือน) ก็จะเริ่มเกิดปรากฏการณ์
ลมมรสุมเปลี่ยนทิศ โดยมวลอากาศจากทะเลที่มีความชื้นสูงพัดเข้ามาแทนที่มวลอากาศที่ยกตัวขึ้น
ลมที่พัดเข้ามาแทนที่ นี้ เรียกว่า
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ครับ และจากการที่มันหอบเอาความชื้น
จากทะเลสู่แผ่นดินนี้เอง ทำให้เกิดการก่อตัวของเมฆได้ง่าย และ ได้มาก ทำให้ฝนตกได้มาก และบ่อย
นี่เองที่เป็น
จุดเริ่มต้นของฤดูฝน โดยทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้ยึดถือตามการเปลี่ยนทิศของลมมรสุม นี้
เป็นการประกาศเข้าสู่ฤดูฝนครับ
ภาพแสดงกลไกการเปลี่ยนทิศของลมมรสุม
ร่องความกดอากาศต่ำ (Intertropical Convergence Zone : ITCZ)
ร่องความกดอากาศต่ำ คือ บริเวณของโลกที่ได้รับความร้อนสูงจากดวงอาทิตย์
ทำให้
แถบ ของพื้นที่บนโลกที่ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานมาให้นี้ เกิดความร้อนสูง
ทำให้อากาศบริเวณนี้ ยกตัว ขึ้นไปเนื่องจากความร้อน ส่งผลให้ แถบ หรือ ร่อง นี้
มีความกดอากาศต่ำเนื่องจากอากาศขยายตัว
และเมื่อเกิดร่องความกดอากาศต่ำนี้ขึ้น ทำให้อากาศด้านข้างแถบนี้ทั้งสองข้างเกิดการ
วิ่งเข้ามาแทนที่
กลายเป็นความแปรปรวนของมวลอากาศ ส่งผลให้เกิดการก่อตัวของเมฆที่มีความชื้นสูงอย่างหนาแน่นมาก
ในบริเวณร่องนี้ครับ นี่เอง ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ให้ฝนตกหนักบริเวณที่ร่องความกดอากาศพาดผ่านครับ
ร่องความกดอากาศต่ำ นี้ ปกติแล้วจะมีความกว้างประมาณ 350 - 420 กิโลเมตร ครับ
จากภาพล่างนี้ ที่เขียนใว้ว่า July ITCZ และ January ITCZ .... แถบสีแดง คือ July ITCZ นี้
คือร่องความกดอากาศต่ำ ที่เกิดจากการส่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ลงมาสู่พื้นที่นี้ของโลก
โดยการเกิดร่อง ITCZ สีแดงในช่วงเดือนกรกฏาคม จากกลไกที่อธิบายในวรรคบนนี้ครับ
โดยร่องจะเกิด ล้าหลัง (Lack) ประมาณ 1 - 2 เดือน นับจากตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ถ่ายพลังงานสูงสุดมาให้ครับ
ภาพแสดงร่องมรสุมที่พาดผ่านโลก ในเดือนต่าง ๆ ของปี
ปกติร่องความกดอากาศต่ำจะพาดผ่านประเทศไทย ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนธันวาคม
แต่จะส่งผลให้เกิดฝนตกชุกตั้งแต่ช่วงพฤษภาคมเป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่ร่องนี้เคลื่อนมาถึงตอนกลางของประเทศ
และเมื่อถึงเดือนมิถุนายนก็ไปพาดแถวตอนเหนือของประเทศไทย .... และประมาณเดือนกรกฎาคมร่องนี้จะเคลื่อนไป
อยู่ทางตอนเหนือสุดของเวียดนามและทางใต้ของจีนพักหนึ่ง ก่อนจะเริ่มเคลื่อนกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งในระหว่าง
เดือน สิงหาคม ถึง เดือนธันวาคม
ปรากฏการณ์เช่นนี้เอง ที่ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง มิถุนายน
โดย
ฝนจะทิ้งช่วง ไปพักหนึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคม และกลับมาตกชุกจนถึงตกหนักอีกครั้งตั้งแต่
เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป .... จนสุดท้ายเมื่อจะสิ้นสุดฤดูฝน ร่องความกดอากาศต่ำ นี้ ก็จะ
เลื่อนลงไปอยู่แถว ๆ ทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ และจุดนี้ก็จะเริ่มต้นฤดูหนาวของไทยครับ
การที่ร่องความกดอากาศต่ำ เลื่อนไปมาแบบนี้ตามแนว Latitude ของโลก
เพราะเป็นแนวที่ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานมาให้ตามการโคจรของโลก
ในแบบที่เอียงแกนโลก 23.5 องศา ทำให้เกิดกลไกที่อธิบายไปแล้วครับ
Link แนะนำการดูฝน แนวฝน ว่าจะตกที่ใหน เมื่อไหร่
ผมมี Link แนะนำของกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นภาพ RADAR ตรวจฝนตามสถานีต่าง ๆ
ของกรมอุตุนิยมวิทยา ครับ ช่วงที่ฝนตกหนักที่ผ่านมานี้ ผมดูอยู่ประจำพบว่ามีความ
แม่นยำพอสมควรครับ
1. ภาพ RADAR Loop จากสถานีตรวจฝนหนองจอก
http://weather.tmd.go.th/bma_ncLoop.php
2. ภาพ RADAR Loop จากสถานีตรวจฝนสุวรรณภูมิ
http://weather.tmd.go.th/svp120Loop.php
3. ภาพถ่ายดาวเทียมของกลุ่มฝนทั่วประเทศ รายงานตั้งแต่เวลา 07:00 - 22:00 ของทุกวัน
เมื่อเข้าไปแล้ว ให้ดูภาพขวาที่เขียนว่า วิเคราะห์ภาพดาวเทียม วันที่ xx/xx/2017
http://www.satda.tmd.go.th/
ภาพจาก RADAR ในข้อ 1 , 2 จะเป็นภาพเคลื่อนไหวของกลุ่มเมฆฝนใน 40 นาที ที่ผ่านมา
จะมีประโยชน์ในการดูกลุ่มเมฆ ว่าจะเคลื่อนที่ไปทางใหน มีความเข้มของเมฆลดลง หรือ เพิ่มขึ้น
จะได้คาดการณ์ฝนตกเองได้ครับ
สวัสดีครับ
:: เจาะลึก :: เนื้อหาสาระเรื่องของ ฤดูฝน .... เชิญอ่านครับ
ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศว่า ประเทศไทยได้เข้าสู่หน้าฝนอย่างเป็นทางการแล้ว
และหลายวันมานี้ ก็ได้มีฝนตกลงมาอย่างชุ่มฉ่ำ (เกินไป) ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย
ในกระทู้นี้ ผมจะขอเสนอเนื้อหาของฤดูฝน ว่า ฤดูฝนมีที่มาอย่างไร เกิดจากอะไร เชิญติดตามครับ
สาเหตุของฤดูฝน .... ลมมรสุมเปลี่ยนทิศ
การอธิบายเรื่องนี้ ขอเริ่มด้วยสภาวะของ zone ประเทศไทยในช่วงฤดูร้อนก่อนครับ
ในช่วงฤดูร้อน โลกจะหันซีกโลกเหนือในบริเวณประเทศไทยเข้าหาดวงอาทิตย์แบบเต็ม ๆ
ทำให้ แผ่นดิน ในซีกโลกเหนือร้อน อากาศเหนือพื้นดินส่วนนี้จะยกตัวขึ้น ... และเมื่อสภาวะนี้
ดำเนินผ่านไปจากเดือนเมษายน จนถึงประมาณเดือนพฤษภาคม (Lack ไป 1 เดือน) ก็จะเริ่มเกิดปรากฏการณ์
ลมมรสุมเปลี่ยนทิศ โดยมวลอากาศจากทะเลที่มีความชื้นสูงพัดเข้ามาแทนที่มวลอากาศที่ยกตัวขึ้น
ลมที่พัดเข้ามาแทนที่ นี้ เรียกว่า ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ครับ และจากการที่มันหอบเอาความชื้น
จากทะเลสู่แผ่นดินนี้เอง ทำให้เกิดการก่อตัวของเมฆได้ง่าย และ ได้มาก ทำให้ฝนตกได้มาก และบ่อย
นี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของฤดูฝน โดยทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้ยึดถือตามการเปลี่ยนทิศของลมมรสุม นี้
เป็นการประกาศเข้าสู่ฤดูฝนครับ
ภาพแสดงกลไกการเปลี่ยนทิศของลมมรสุม
ร่องความกดอากาศต่ำ (Intertropical Convergence Zone : ITCZ)
ร่องความกดอากาศต่ำ คือ บริเวณของโลกที่ได้รับความร้อนสูงจากดวงอาทิตย์
ทำให้ แถบ ของพื้นที่บนโลกที่ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานมาให้นี้ เกิดความร้อนสูง
ทำให้อากาศบริเวณนี้ ยกตัว ขึ้นไปเนื่องจากความร้อน ส่งผลให้ แถบ หรือ ร่อง นี้
มีความกดอากาศต่ำเนื่องจากอากาศขยายตัว
และเมื่อเกิดร่องความกดอากาศต่ำนี้ขึ้น ทำให้อากาศด้านข้างแถบนี้ทั้งสองข้างเกิดการวิ่งเข้ามาแทนที่
กลายเป็นความแปรปรวนของมวลอากาศ ส่งผลให้เกิดการก่อตัวของเมฆที่มีความชื้นสูงอย่างหนาแน่นมาก
ในบริเวณร่องนี้ครับ นี่เอง ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ให้ฝนตกหนักบริเวณที่ร่องความกดอากาศพาดผ่านครับ
ร่องความกดอากาศต่ำ นี้ ปกติแล้วจะมีความกว้างประมาณ 350 - 420 กิโลเมตร ครับ
จากภาพล่างนี้ ที่เขียนใว้ว่า July ITCZ และ January ITCZ .... แถบสีแดง คือ July ITCZ นี้
คือร่องความกดอากาศต่ำ ที่เกิดจากการส่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ลงมาสู่พื้นที่นี้ของโลก
โดยการเกิดร่อง ITCZ สีแดงในช่วงเดือนกรกฏาคม จากกลไกที่อธิบายในวรรคบนนี้ครับ
โดยร่องจะเกิด ล้าหลัง (Lack) ประมาณ 1 - 2 เดือน นับจากตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ถ่ายพลังงานสูงสุดมาให้ครับ
ภาพแสดงร่องมรสุมที่พาดผ่านโลก ในเดือนต่าง ๆ ของปี
ปกติร่องความกดอากาศต่ำจะพาดผ่านประเทศไทย ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนธันวาคม
แต่จะส่งผลให้เกิดฝนตกชุกตั้งแต่ช่วงพฤษภาคมเป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่ร่องนี้เคลื่อนมาถึงตอนกลางของประเทศ
และเมื่อถึงเดือนมิถุนายนก็ไปพาดแถวตอนเหนือของประเทศไทย .... และประมาณเดือนกรกฎาคมร่องนี้จะเคลื่อนไป
อยู่ทางตอนเหนือสุดของเวียดนามและทางใต้ของจีนพักหนึ่ง ก่อนจะเริ่มเคลื่อนกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งในระหว่าง
เดือน สิงหาคม ถึง เดือนธันวาคม
ปรากฏการณ์เช่นนี้เอง ที่ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง มิถุนายน
โดย ฝนจะทิ้งช่วง ไปพักหนึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคม และกลับมาตกชุกจนถึงตกหนักอีกครั้งตั้งแต่
เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป .... จนสุดท้ายเมื่อจะสิ้นสุดฤดูฝน ร่องความกดอากาศต่ำ นี้ ก็จะ
เลื่อนลงไปอยู่แถว ๆ ทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ และจุดนี้ก็จะเริ่มต้นฤดูหนาวของไทยครับ
การที่ร่องความกดอากาศต่ำ เลื่อนไปมาแบบนี้ตามแนว Latitude ของโลก
เพราะเป็นแนวที่ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานมาให้ตามการโคจรของโลก
ในแบบที่เอียงแกนโลก 23.5 องศา ทำให้เกิดกลไกที่อธิบายไปแล้วครับ
Link แนะนำการดูฝน แนวฝน ว่าจะตกที่ใหน เมื่อไหร่
ผมมี Link แนะนำของกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นภาพ RADAR ตรวจฝนตามสถานีต่าง ๆ
ของกรมอุตุนิยมวิทยา ครับ ช่วงที่ฝนตกหนักที่ผ่านมานี้ ผมดูอยู่ประจำพบว่ามีความ
แม่นยำพอสมควรครับ
1. ภาพ RADAR Loop จากสถานีตรวจฝนหนองจอก http://weather.tmd.go.th/bma_ncLoop.php
2. ภาพ RADAR Loop จากสถานีตรวจฝนสุวรรณภูมิ http://weather.tmd.go.th/svp120Loop.php
3. ภาพถ่ายดาวเทียมของกลุ่มฝนทั่วประเทศ รายงานตั้งแต่เวลา 07:00 - 22:00 ของทุกวัน
เมื่อเข้าไปแล้ว ให้ดูภาพขวาที่เขียนว่า วิเคราะห์ภาพดาวเทียม วันที่ xx/xx/2017 http://www.satda.tmd.go.th/
ภาพจาก RADAR ในข้อ 1 , 2 จะเป็นภาพเคลื่อนไหวของกลุ่มเมฆฝนใน 40 นาที ที่ผ่านมา
จะมีประโยชน์ในการดูกลุ่มเมฆ ว่าจะเคลื่อนที่ไปทางใหน มีความเข้มของเมฆลดลง หรือ เพิ่มขึ้น
จะได้คาดการณ์ฝนตกเองได้ครับ
สวัสดีครับ