หลังเหตุการณ์ล้อมปราบ 6 ตุลาคม 2519 (ซึ่งเป็นที่รู้ทั่วกันว่ากลุ่มที่มีบทบาทมากที่สุดเป็นพวกขวาจัดคลั่งชาติรุนแรง ได้แก่ ลูกเสือชาวบ้านที่ถูกสร้างขึ้นโดยคนชั้นนำ) คนกรุงเทพฯ จำนวนหนึ่งหนีเข้าป่า ส่วนคนจำนวนมากหนีเข้าบ้านใครบ้านมันอย่างซึมๆ เซ็งๆ
คราวนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช รับเชิญไปเสวนาที่หอสมุดแห่งชาติ (ท่าวาสุกรี) มีผู้ฟังล้นหลาม (รวมผมด้วย 1 คน)
เมื่อถึงตอนท้ายมีคำถามจากผู้นั่งฟังเกี่ยวกับนิยายสี่แผ่นดิน มีความโดยสรุปว่า “แม่พลอย ถ้ายังมีชีวิตอยู่ ถึงตอนนี้จะเป็นยังไง?”
“เป็นลูกเสือชาวบ้าน” ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ตอบทันควัน ผู้ฟังล้นหลามแน่นห้องฮือฮาพร้อมกันเสียงสนั่นดัง
แม่พลอยเป็นตัวละครในนิยายที่ถูกสร้างขึ้นไม่มีตัวตนจริง แต่สะท้อนความจริงได้บางอย่างหรือหลายอย่าง
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ จะตอบด้วยอารมณ์ขัน หรือตอบอย่างเยาะเย้ยเสียดสีก็ตาม แต่เป็นไปได้อย่างนั้นด้วยเงื่อนไขต่างๆ
คนย่อมเปลี่ยนไป ทั้งโดยปกติธรรมดา และโดยสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจการเมืองที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่เหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นคนชั้นไหน? หรือสถานภาพอย่างไร ฆราวาสหรือบรรพชิต? ฯลฯ
ดังนั้น คนเดียวกันยุคก่อน 14 ตุลา 2516 อาจคิดไม่เหมือนเดิมแล้วในยุคต่อๆ มาจนปัจจุบัน ฯลฯ เช่น เคยต่อต้านเผด็จการทหารหัวชนฝายุค 14 ตุลา 2516 แต่กลับเป็นฝ่ายเรียกร้องเผด็จการทหารยึดอำนาจจากประชาชน เมื่อ 2549, 2557
คนเรามีความรู้สึกนึกคิดเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ จนกว่าธรรมชาติไม่อนุญาตให้เปลี่ยน
นักปราชญ์ราชกวีตั้งแต่ยุคอยุธยา, ยุคสุโขทัย, จนยุคปัจจุบัน ที่สร้างงานวรรณกรรม (วรรณคดี) ล้วนมาจากความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ใต้อำนาจการเมืองการปกครอง หรือถูกหล่อหลอมจากสังคมและการเมืองของยุคนั้นๆ ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว (เหมือนจากมือที่มองไม่เห็น)
รวมถึงงานศิลปกรรมทั้งหลาย ไม่ว่าช่างหลวงหรือช่างราษฎร์ ที่ทำงานช่างหรืองานศิลปกรรม ก็ล้วนมาจากความรู้สึกนึกคิดรับใช้หรือถูกหล่อหลอมกล่อมเกลาให้รับใช้การเมืองการปกครองของยุคนั้น
ปัญหาอยู่ที่ครูบาอาจารย์มหาวิทยาลัย บรรยายยกย่องวรรณกรรมและศิลปกรรมในอดีตว่าบริสุทธิ์ผุดผ่องเป็นยองใยไม่การเมือง จึงไม่มีความรู้สึกนึกคิดทางสังคมและการเมือง เหมือนบอกว่าคนดีล้วนเกิดจากกระบอกไม้ไผ่ ไม่ออกจากมดลูกหรือช่องคลอดของแม่
https://www.matichon.co.th/news/567743
สุจิตต์ วงษ์เทศ : ความรู้สึกนึกคิด เปลี่ยนได้เรื่อยๆ
คราวนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช รับเชิญไปเสวนาที่หอสมุดแห่งชาติ (ท่าวาสุกรี) มีผู้ฟังล้นหลาม (รวมผมด้วย 1 คน)
เมื่อถึงตอนท้ายมีคำถามจากผู้นั่งฟังเกี่ยวกับนิยายสี่แผ่นดิน มีความโดยสรุปว่า “แม่พลอย ถ้ายังมีชีวิตอยู่ ถึงตอนนี้จะเป็นยังไง?”
“เป็นลูกเสือชาวบ้าน” ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ตอบทันควัน ผู้ฟังล้นหลามแน่นห้องฮือฮาพร้อมกันเสียงสนั่นดัง
แม่พลอยเป็นตัวละครในนิยายที่ถูกสร้างขึ้นไม่มีตัวตนจริง แต่สะท้อนความจริงได้บางอย่างหรือหลายอย่าง
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ จะตอบด้วยอารมณ์ขัน หรือตอบอย่างเยาะเย้ยเสียดสีก็ตาม แต่เป็นไปได้อย่างนั้นด้วยเงื่อนไขต่างๆ
คนย่อมเปลี่ยนไป ทั้งโดยปกติธรรมดา และโดยสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจการเมืองที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่เหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นคนชั้นไหน? หรือสถานภาพอย่างไร ฆราวาสหรือบรรพชิต? ฯลฯ
ดังนั้น คนเดียวกันยุคก่อน 14 ตุลา 2516 อาจคิดไม่เหมือนเดิมแล้วในยุคต่อๆ มาจนปัจจุบัน ฯลฯ เช่น เคยต่อต้านเผด็จการทหารหัวชนฝายุค 14 ตุลา 2516 แต่กลับเป็นฝ่ายเรียกร้องเผด็จการทหารยึดอำนาจจากประชาชน เมื่อ 2549, 2557
คนเรามีความรู้สึกนึกคิดเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ จนกว่าธรรมชาติไม่อนุญาตให้เปลี่ยน
นักปราชญ์ราชกวีตั้งแต่ยุคอยุธยา, ยุคสุโขทัย, จนยุคปัจจุบัน ที่สร้างงานวรรณกรรม (วรรณคดี) ล้วนมาจากความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ใต้อำนาจการเมืองการปกครอง หรือถูกหล่อหลอมจากสังคมและการเมืองของยุคนั้นๆ ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว (เหมือนจากมือที่มองไม่เห็น)
รวมถึงงานศิลปกรรมทั้งหลาย ไม่ว่าช่างหลวงหรือช่างราษฎร์ ที่ทำงานช่างหรืองานศิลปกรรม ก็ล้วนมาจากความรู้สึกนึกคิดรับใช้หรือถูกหล่อหลอมกล่อมเกลาให้รับใช้การเมืองการปกครองของยุคนั้น
ปัญหาอยู่ที่ครูบาอาจารย์มหาวิทยาลัย บรรยายยกย่องวรรณกรรมและศิลปกรรมในอดีตว่าบริสุทธิ์ผุดผ่องเป็นยองใยไม่การเมือง จึงไม่มีความรู้สึกนึกคิดทางสังคมและการเมือง เหมือนบอกว่าคนดีล้วนเกิดจากกระบอกไม้ไผ่ ไม่ออกจากมดลูกหรือช่องคลอดของแม่
https://www.matichon.co.th/news/567743