เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ผมจึงเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านครับ
•
เมื่อพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มีผลบังคับใช้นั้น ก็ทำให้คนทำหนังสือพิมพ์ได้ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเสรีภาพของหนังสือพิมพ์เป็นครั้งแรก เพราะว่ากฎหมายนี้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเมือง และแล้วมาวันหนึ่งที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ก็ได้มีการออกคำสั่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 17 ที่ให้อำนาจสั่งปิดหนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล หนังสือพิมพ์ที่ถูกสั่งปิดในช่วงเวลานี้ได้แก่ "ข่าวภาพ" "เดลิเมล์" และอื่นๆ ทำให้คนทำหนังสือพิมพ์ต้องเปลี่ยนไปเสนอข่าวประเภท sex, blood, glut, and scandal หรือ โหด-มัน-ฮา เพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกอำนาจรัฐเข้าแทรกแซง
•
คำสั่ง ปว.17 บังคับใช้มาเป็นเวลา 15 ปี ก็ถูกยกเลิกไปตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา หนังสือพิมพ์ในยุคนี้ได้รับเสรีภาพสูงมาก ทำให้สภาพสังคมขณะนั้นเต็มไปด้วยสับสน การใช้เสรีภาพของหนังสือพิมพ์ไม่อยู่ในขอบเขตที่ถูกต้อง หนังสือพิมพ์ทั่วไปยังคงเสนอข่าวที่ไร้สาระ เน้นข่าวอาชญากรรม ข่าวชู้สาว การเขียนบทความเป็นไปในเชิงติเตียน ด่าว่า เสียดสี ในที่สุดคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ภายใต้การนำของ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ก็เข้ายึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และได้แต่งตั้งนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลก็ได้มีคำสั่งออกคำสั่งประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 พูดแบบชาวบ้านๆว่า "ปร.42" ก็มาจากต้นธารอำนาจนิยม "ปว.17" รวมทั้งยังมีคำสั่งห้ามการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และสิ่งทุกชนิดทุกฉบับ หนังสือพิมพ์ที่ถูกสั่งปิดในช่วงเวลานี้ได้แก่ "ประชาชาติ" "ประชาธิปไตย" และอื่นๆ ในยุคนี้ ถือได้ว่าเป็นยุคมืดของหนังสือพิมพ์อีกยุคหนึ่ง นับตั้งแต่วันแรกที่มีการบังคับใช้
•
คำสั่ง ปร.42 บังคับใช้มาเป็นเวลา 14 ปี จนล่วงเลยมาถึงยุคที่ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยพลังการต่อต้านของคนทำหนังสือพิมพ์ จึงทำให้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา หนังสือพิมพ์ในยุคนี้กลับมาได้รับเสรีภาพในระดับหนึ่งแล้ว และในอีก 17 ปีให้หลัง พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้นั้น ทำให้หนังสือพิมพ์ได้รับเสรีภาพสูงมาก นำความปลาบปลื้มยินดีมาสู่คนทำหนังสือพิมพ์ทั้งหลาย
•
แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่คนทำหนังสือพิมพ์ไม่รู้ก็คือ การสร้างข่าวปลอมเพื่อแสวงหาผลกำไรนั้น เกิดขึ้นในตอนที่ธุรกิจการพิมพ์และสิ่งพิมพ์มีการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อรักษาความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในการประกอบธุรกิจการพิมพ์และสิ่งพิมพ์ คนทำหนังสือพิมพ์ก็ต้องนั่งเทียนเขียนข่าวเพียงเพื่อหวังจะให้มีสปอนเซอร์เข้ามาเยอะๆ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนด้วย แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คนทำหนังสือพิมพ์มีความกล้าหาญที่จะเขียนข่าวขุดคุ้ยความผิดพลาดของรัฐบาล มีผลให้สปอนเซอร์นั้นยอมถอดออกจากหนังสือพิมพ์ และส่งผลต่อการลงทุนเลยก็ว่าได้
ทำไมหนังสือพิมพ์ไทยถึงยังไม่พัฒนาสักที?
•
เมื่อพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มีผลบังคับใช้นั้น ก็ทำให้คนทำหนังสือพิมพ์ได้ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเสรีภาพของหนังสือพิมพ์เป็นครั้งแรก เพราะว่ากฎหมายนี้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเมือง และแล้วมาวันหนึ่งที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ก็ได้มีการออกคำสั่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 17 ที่ให้อำนาจสั่งปิดหนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล หนังสือพิมพ์ที่ถูกสั่งปิดในช่วงเวลานี้ได้แก่ "ข่าวภาพ" "เดลิเมล์" และอื่นๆ ทำให้คนทำหนังสือพิมพ์ต้องเปลี่ยนไปเสนอข่าวประเภท sex, blood, glut, and scandal หรือ โหด-มัน-ฮา เพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกอำนาจรัฐเข้าแทรกแซง
•
คำสั่ง ปว.17 บังคับใช้มาเป็นเวลา 15 ปี ก็ถูกยกเลิกไปตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา หนังสือพิมพ์ในยุคนี้ได้รับเสรีภาพสูงมาก ทำให้สภาพสังคมขณะนั้นเต็มไปด้วยสับสน การใช้เสรีภาพของหนังสือพิมพ์ไม่อยู่ในขอบเขตที่ถูกต้อง หนังสือพิมพ์ทั่วไปยังคงเสนอข่าวที่ไร้สาระ เน้นข่าวอาชญากรรม ข่าวชู้สาว การเขียนบทความเป็นไปในเชิงติเตียน ด่าว่า เสียดสี ในที่สุดคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ภายใต้การนำของ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ก็เข้ายึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และได้แต่งตั้งนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลก็ได้มีคำสั่งออกคำสั่งประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 พูดแบบชาวบ้านๆว่า "ปร.42" ก็มาจากต้นธารอำนาจนิยม "ปว.17" รวมทั้งยังมีคำสั่งห้ามการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และสิ่งทุกชนิดทุกฉบับ หนังสือพิมพ์ที่ถูกสั่งปิดในช่วงเวลานี้ได้แก่ "ประชาชาติ" "ประชาธิปไตย" และอื่นๆ ในยุคนี้ ถือได้ว่าเป็นยุคมืดของหนังสือพิมพ์อีกยุคหนึ่ง นับตั้งแต่วันแรกที่มีการบังคับใช้
•
คำสั่ง ปร.42 บังคับใช้มาเป็นเวลา 14 ปี จนล่วงเลยมาถึงยุคที่ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยพลังการต่อต้านของคนทำหนังสือพิมพ์ จึงทำให้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา หนังสือพิมพ์ในยุคนี้กลับมาได้รับเสรีภาพในระดับหนึ่งแล้ว และในอีก 17 ปีให้หลัง พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้นั้น ทำให้หนังสือพิมพ์ได้รับเสรีภาพสูงมาก นำความปลาบปลื้มยินดีมาสู่คนทำหนังสือพิมพ์ทั้งหลาย
•
แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่คนทำหนังสือพิมพ์ไม่รู้ก็คือ การสร้างข่าวปลอมเพื่อแสวงหาผลกำไรนั้น เกิดขึ้นในตอนที่ธุรกิจการพิมพ์และสิ่งพิมพ์มีการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อรักษาความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในการประกอบธุรกิจการพิมพ์และสิ่งพิมพ์ คนทำหนังสือพิมพ์ก็ต้องนั่งเทียนเขียนข่าวเพียงเพื่อหวังจะให้มีสปอนเซอร์เข้ามาเยอะๆ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนด้วย แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คนทำหนังสือพิมพ์มีความกล้าหาญที่จะเขียนข่าวขุดคุ้ยความผิดพลาดของรัฐบาล มีผลให้สปอนเซอร์นั้นยอมถอดออกจากหนังสือพิมพ์ และส่งผลต่อการลงทุนเลยก็ว่าได้