มีเวลา 21 วันไปไหนดี?
หลังจากนั่งคิดนอนคิด วิเคราะห์ทั้งอากาศและความอยากแล้วก็คิดว่าแสกนดิเนเวียแหละ เอาวะ แต่จะให้ไปทั้ง นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก ก็ไม่ได้ เราไม่นิยมปุ๊บปับทัวร์ ที่ไปแต่ละที่แค่แตะๆ สุดท้ายแล้วโผก็เลยมาติดที่ไปดูธรรมชาตินอร์เวย์ เลยไปถึง Svalbard ดินแดนหมีขาว แล้วปิดด้วยการกินอาหารอร่อยที่โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก ที่เราจะแบ่งมาเล่าให้ฟังกันเป็นส่วนๆ
ในช่วงปลายเดือนมีนาคม - กลางเมษายน โอกาสที่จะเห็นแสงเหนือยังมีอยู่แต่ว่าก็เป็นตอนปลายๆแล้ว เราก็เลยลองเสี่ยงดวงมุ่งหน้าขึ้นเหนือก่อนแล้วค่อยลงใต้ทีหลัง ยอมทนหนาว คิดว่าถ้าได้เห็นแสงก็ถือว่าเป็นกำไรชีวิต ถ้าไม่เห็นก็คงเป็นดวงของเราเอง ที่ไปที่ไหนอากาศพินาศที่นั่น low season ไปอีก
ก่อนอื่นขอบอกข้อมูลเบื้องต้นสำหรับคนยังไม่เคยไปก่อน
ตั๋วเครื่องบิน
สายการบินมีโปรเยอะแยะ ไปกดหาๆเอาแล้วกันนะ แล้วแต่ดวงและความสะดวกเลยอันนี้
วีซ่า
ถึงแม้ว่านอร์เวย์จะไม่ได้เป็น EU (เช่นเดียวกับ Iceland และ Switzerland) แต่ก็ใช้วีซ่า Schengen ได้เลย
โดยตัวแทนทำวีซ่าของที่นี่ คือ VFS Global เราต้องกรอกข้อมูลของเราในอินเตอร์เน็ต จ่ายเงินค่าวีซ่า 60 Euro เตรียมเอกสารให้เรียบร้อย แล้วถึงนัดวันไปทำวีซ่า ดูรายละเอียดได้จากลิงค์เลย
เอกสารที่ต้องเตรียม >>
http://www.vfsglobal.com/norway/thailand/pdf/tourist.pdf
เว็บสำหรับกรอกใบสมัครและทำนัด >>
https://selfservice.udi.no/
ค่าเงิน
ประเทศนอร์เวย์มีค่าเงินเป็นของตัวเอง คือ Norwegian Krone (NOK) เงินยูโรสามารถใช้ได้ในที่จำกัดไม่แนะนำให้แลกไปใช้ ทุกที่รับบัตรเครดิตทั้งหมด แม้แต่เข้าห้องน้ำก็ยังใช้บัตรเครดิต
แต่ข้อควรระวังคือการใช้บัตรเครดิตที่นอร์เวย์ ถ้าเค้าเอามาให้เราใส่ pin ห้ามใส่เด็ดขาด เพราะมันจะเหมือนเป็นการกู้เงินบัตรเครดิต เปอร์เซ็นต์ที่โดนกินจะสูงมาก ต้องบอกให้เค้าเอาให้เราเซ็นต์แทนนะ
ภาษา
ภาษานอร์เวย์เป็นภาษาหลักของที่นี่ ฟังๆแล้วเหมือนคนพูดเหน่อ และอ่านยากมาก แต่ใครไปก็ไม่ต้องกลัว กว่า 90% เค้าพูดภาษาอังกฤษกันคล่อง
ภูมิประเทศและอากาศ
นอร์เวย์ที่ภูมิประเทศที่หลากหลายมาก ทั้งภูเขาสูงชัน ป่า ทะเล ฟยอร์ดยาวๆ และเกาะเล็กๆ อุดมสมบูรณ์มาก
ด้วยความที่ประเทศตั้งอยู่ในเขต Arctic Circle ทำให้อากาศเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว ตอนบนจะหนาวกว่าตอนล่างของประเทศ
ใครอยากไปหน้าไหนให้ดูตามชาร์ตข้างล่างได้เลย
การเดินทางระหว่างประเทศ/ในประเทศ
1.
เครื่องบิน: สายการบินเช่น Scandinavian Airlines, Norwegian Airline, Wilderøe
2.
เรือ Hurtriguten:
เป็นบริษัทเดินเรือท่องเที่ยว เดินเรือในหลายประเทศ รวมถึงตามชายฝั่งด้านตะวันตกของนอร์เวย์ การล่องเรือก็จะมี 2 รูท ระหว่างเมือง Bergen – Kirkeness คือ ขึ้นเหนือ Northbound และ ลงใต้ Southbound ค่อนข้างเป็นที่นิยมของชาวนอร์เวย์โดยเฉพาะคนวันสูงอายุ เพราะเรือจะแวะทั้งหมด 34 เมือง ผ่านเส้นทางสวยงาม ที่สำคัญออกเดินทางทุกวันไม่ว่าจะฤดูอะไร
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก :
https://www.hurtigruten.com/
3.
รถไฟ:NSB (the Norwegiann State Railways)
ถ้าใครอยากไปไหนก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ ที่นี่>>
https://www.nsb.no/en/frontpage
4.
บัสและแท๊กซี่: รถบัสมีจำกัดต้องศึกษาเวลาให้ดีในฤดูหนาวรถบัสระหว่างเมืองจะน้อยมากหรืออาจไม่มีเลย ส่วนถ้าไปตามเมืองใหญ่ๆก็จะมี Airport buss ซึ่งต้องบอกว่าราคาไม่ได้ถูกเลย ส่วนแท็กซี่ถ้าไปตามเมืองก็หาไม่ยาก แต่ก็แพงมาก
5.
ขับรถ: การเดินทางในประเทศที่สะดวกที่สุดคือขับรถเอง แต่บางทีอาจจะไม่สะดวกกับเงินในกระเป๋าได้ ต้องดูเมืองที่เช่าที่คืนให้ดี ยิ่งถ้าเช่าแล้วคืนคนละที่ก็แพงขึ้นไปอีก หรือถ้ารับ/คืนที่สนามบินก็จะมี airport charge เวลาขับรถบางครั้งก็ต้องข้าม ferry ซึ่งเราต้องเสียเงิน เพราะนอร์เวย์เป็นประเทศเกาะ การข้ามเฟอรี่จึงถือเป็นระบบทางหลวงด้วย
การเช่ารถ
อย่าลืมไปทำ International driving license กัน
โดยมากแล้วบริษัทเช่ารถจะเป็น international car rental company เช่น Avis, Hertz ซึ่งราคาอาจจะแพงหน่อยแต่ว่ามีประกัน มีคนบริการ สามารถเปลี่ยนรถได้ สามารถช่วยเหลือเราได้ตลอด
ถ้าเช่ารถแบบ Local Company ก็อาจจะถูกกว่า แต่ต้องดูเรื่องข้อจำกัดของแต่ละที่ดีดีว่าให้เราวิ่งได้กี่กิโลเมตร Unlimited รึเปล่า เรื่องการบริการ ถ้าเกิดมีปัญหา อาจจะแก้ปัญหาได้ไม่สะดวกนัก แนะนำให้ศึกษาดีๆก่อนตัดสินใจและใช้หลายๆเว็บเปรียบเทียบราคา
ถ้าเช่ารถจากในเมืองจะถูกกว่าเช่าที่สนามบิน เพราะมันมีค่าภาษีสนามบิน
ถ้าที่เช่ารถกับที่คืนรถคนเป็นละที่ ราคาก็จะแพงขึ้นแน่นอน
เวลาเช่ารถ ขอแนะนำว่า
1.ให้ถามให้ดีว่ารถใช้น้ำมันอะไร เพราะถ้าเติมผิด คือรถควันขึ้นแล้วดับได้ เราเคยมาแล้ว แทบหยุดหายใจ
2. ซื้อประกันให้ครอบคลุม เอาให้เวลาเกิดปัญหารถชน ตกหล่ม รถพัง เราเปลี่ยนรถได้และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มอีกแล้ว เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย โดยเฉพาะหน้าหนาว มีหิมะ ควรต้องใช้ Winter Tyre และศึกษาให้ดีว่าต้องใช้โซ่กันรถลื่นรึเปล่า ดูว่าในรถมีที่ปัดหิมะให้ไหม เพราะวันที่หิมะตก เราอาจจะตื่นขึ้นมาแล้วพบว่ารถจมอยู่ในกองหิมะ
โทรศัพท์
ใครจะเปิด Roaming ไป หรือจะซื้อ AIS Sim2Fly ไปใช้ ก็ได้
หรือจะไปซื้อซิมของที่นั่นใช้ โดยสามารถซื้อได้ที่ 7-11, Narvesen (ร้านสะดวกซื้อคล้ายๆเซเว่น), หรือร้านที่ขายโทรศัพท์มือถือ เครือข่ายที่โอเคก็จะมี Telia, Telenor จะเป็นแพคเกจซื้อซิมการ์ดและเติมเงิน บอกให้คนขายช่วยเรา activate ซิมและเติมเงินหน่อย ถ้าทำเองอาจจลำบากนิดนึงเพราะเป็นภาษานอร์เวย์
Prepaid Telia Simcard = 99nok โทรไป 200 นาที + data 500mb
ถ้าต้องการ data เพิ่มต้องซื้อ package top up ไป : Package top upมีหลายราคาให้เลือก เช่น 299 nok ใช้ data 3gb ใช้ได้ 30วัน
-------------------------------------------------------------------
อยากบอกว่ารูปเยอะมากจริงๆ จำใจต้องเลือกรูปแค่ส่วนหนึ่งมาลงพันทิพ
ยังมีรูปและเรื่องราวสนุกๆอีกมาก โปรดติดตามการเดินทางของเราต่อได้ที่
https://www.facebook.com/theplaneteer/ IG: @planeteeer
21 Days Norway x Denmark Part 1 : Lofoten Islands ดินแดนปลาแห้งและแสงเหนือ
https://www.facebook.com/theplaneteer/
IG: @planeteeer
มีเวลา 21 วันไปไหนดี?
หลังจากนั่งคิดนอนคิด วิเคราะห์ทั้งอากาศและความอยากแล้วก็คิดว่าแสกนดิเนเวียแหละ เอาวะ แต่จะให้ไปทั้ง นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก ก็ไม่ได้ เราไม่นิยมปุ๊บปับทัวร์ ที่ไปแต่ละที่แค่แตะๆ สุดท้ายแล้วโผก็เลยมาติดที่ไปดูธรรมชาตินอร์เวย์ เลยไปถึง Svalbard ดินแดนหมีขาว แล้วปิดด้วยการกินอาหารอร่อยที่โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก ที่เราจะแบ่งมาเล่าให้ฟังกันเป็นส่วนๆ
ในช่วงปลายเดือนมีนาคม - กลางเมษายน โอกาสที่จะเห็นแสงเหนือยังมีอยู่แต่ว่าก็เป็นตอนปลายๆแล้ว เราก็เลยลองเสี่ยงดวงมุ่งหน้าขึ้นเหนือก่อนแล้วค่อยลงใต้ทีหลัง ยอมทนหนาว คิดว่าถ้าได้เห็นแสงก็ถือว่าเป็นกำไรชีวิต ถ้าไม่เห็นก็คงเป็นดวงของเราเอง ที่ไปที่ไหนอากาศพินาศที่นั่น low season ไปอีก
ก่อนอื่นขอบอกข้อมูลเบื้องต้นสำหรับคนยังไม่เคยไปก่อน
ตั๋วเครื่องบิน
สายการบินมีโปรเยอะแยะ ไปกดหาๆเอาแล้วกันนะ แล้วแต่ดวงและความสะดวกเลยอันนี้
วีซ่า
ถึงแม้ว่านอร์เวย์จะไม่ได้เป็น EU (เช่นเดียวกับ Iceland และ Switzerland) แต่ก็ใช้วีซ่า Schengen ได้เลย
โดยตัวแทนทำวีซ่าของที่นี่ คือ VFS Global เราต้องกรอกข้อมูลของเราในอินเตอร์เน็ต จ่ายเงินค่าวีซ่า 60 Euro เตรียมเอกสารให้เรียบร้อย แล้วถึงนัดวันไปทำวีซ่า ดูรายละเอียดได้จากลิงค์เลย
เอกสารที่ต้องเตรียม >> http://www.vfsglobal.com/norway/thailand/pdf/tourist.pdf
เว็บสำหรับกรอกใบสมัครและทำนัด >> https://selfservice.udi.no/
ค่าเงิน
ประเทศนอร์เวย์มีค่าเงินเป็นของตัวเอง คือ Norwegian Krone (NOK) เงินยูโรสามารถใช้ได้ในที่จำกัดไม่แนะนำให้แลกไปใช้ ทุกที่รับบัตรเครดิตทั้งหมด แม้แต่เข้าห้องน้ำก็ยังใช้บัตรเครดิต
แต่ข้อควรระวังคือการใช้บัตรเครดิตที่นอร์เวย์ ถ้าเค้าเอามาให้เราใส่ pin ห้ามใส่เด็ดขาด เพราะมันจะเหมือนเป็นการกู้เงินบัตรเครดิต เปอร์เซ็นต์ที่โดนกินจะสูงมาก ต้องบอกให้เค้าเอาให้เราเซ็นต์แทนนะ
ภาษา
ภาษานอร์เวย์เป็นภาษาหลักของที่นี่ ฟังๆแล้วเหมือนคนพูดเหน่อ และอ่านยากมาก แต่ใครไปก็ไม่ต้องกลัว กว่า 90% เค้าพูดภาษาอังกฤษกันคล่อง
ภูมิประเทศและอากาศ
นอร์เวย์ที่ภูมิประเทศที่หลากหลายมาก ทั้งภูเขาสูงชัน ป่า ทะเล ฟยอร์ดยาวๆ และเกาะเล็กๆ อุดมสมบูรณ์มาก
ด้วยความที่ประเทศตั้งอยู่ในเขต Arctic Circle ทำให้อากาศเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว ตอนบนจะหนาวกว่าตอนล่างของประเทศ
ใครอยากไปหน้าไหนให้ดูตามชาร์ตข้างล่างได้เลย
การเดินทางระหว่างประเทศ/ในประเทศ
1. เครื่องบิน: สายการบินเช่น Scandinavian Airlines, Norwegian Airline, Wilderøe
2. เรือ Hurtriguten:
เป็นบริษัทเดินเรือท่องเที่ยว เดินเรือในหลายประเทศ รวมถึงตามชายฝั่งด้านตะวันตกของนอร์เวย์ การล่องเรือก็จะมี 2 รูท ระหว่างเมือง Bergen – Kirkeness คือ ขึ้นเหนือ Northbound และ ลงใต้ Southbound ค่อนข้างเป็นที่นิยมของชาวนอร์เวย์โดยเฉพาะคนวันสูงอายุ เพราะเรือจะแวะทั้งหมด 34 เมือง ผ่านเส้นทางสวยงาม ที่สำคัญออกเดินทางทุกวันไม่ว่าจะฤดูอะไร
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก :https://www.hurtigruten.com/
3. รถไฟ:NSB (the Norwegiann State Railways)
ถ้าใครอยากไปไหนก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ ที่นี่>> https://www.nsb.no/en/frontpage
4. บัสและแท๊กซี่: รถบัสมีจำกัดต้องศึกษาเวลาให้ดีในฤดูหนาวรถบัสระหว่างเมืองจะน้อยมากหรืออาจไม่มีเลย ส่วนถ้าไปตามเมืองใหญ่ๆก็จะมี Airport buss ซึ่งต้องบอกว่าราคาไม่ได้ถูกเลย ส่วนแท็กซี่ถ้าไปตามเมืองก็หาไม่ยาก แต่ก็แพงมาก
5. ขับรถ: การเดินทางในประเทศที่สะดวกที่สุดคือขับรถเอง แต่บางทีอาจจะไม่สะดวกกับเงินในกระเป๋าได้ ต้องดูเมืองที่เช่าที่คืนให้ดี ยิ่งถ้าเช่าแล้วคืนคนละที่ก็แพงขึ้นไปอีก หรือถ้ารับ/คืนที่สนามบินก็จะมี airport charge เวลาขับรถบางครั้งก็ต้องข้าม ferry ซึ่งเราต้องเสียเงิน เพราะนอร์เวย์เป็นประเทศเกาะ การข้ามเฟอรี่จึงถือเป็นระบบทางหลวงด้วย
การเช่ารถ
อย่าลืมไปทำ International driving license กัน
โดยมากแล้วบริษัทเช่ารถจะเป็น international car rental company เช่น Avis, Hertz ซึ่งราคาอาจจะแพงหน่อยแต่ว่ามีประกัน มีคนบริการ สามารถเปลี่ยนรถได้ สามารถช่วยเหลือเราได้ตลอด
ถ้าเช่ารถแบบ Local Company ก็อาจจะถูกกว่า แต่ต้องดูเรื่องข้อจำกัดของแต่ละที่ดีดีว่าให้เราวิ่งได้กี่กิโลเมตร Unlimited รึเปล่า เรื่องการบริการ ถ้าเกิดมีปัญหา อาจจะแก้ปัญหาได้ไม่สะดวกนัก แนะนำให้ศึกษาดีๆก่อนตัดสินใจและใช้หลายๆเว็บเปรียบเทียบราคา
ถ้าเช่ารถจากในเมืองจะถูกกว่าเช่าที่สนามบิน เพราะมันมีค่าภาษีสนามบิน
ถ้าที่เช่ารถกับที่คืนรถคนเป็นละที่ ราคาก็จะแพงขึ้นแน่นอน
เวลาเช่ารถ ขอแนะนำว่า
1.ให้ถามให้ดีว่ารถใช้น้ำมันอะไร เพราะถ้าเติมผิด คือรถควันขึ้นแล้วดับได้ เราเคยมาแล้ว แทบหยุดหายใจ
2. ซื้อประกันให้ครอบคลุม เอาให้เวลาเกิดปัญหารถชน ตกหล่ม รถพัง เราเปลี่ยนรถได้และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มอีกแล้ว เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย โดยเฉพาะหน้าหนาว มีหิมะ ควรต้องใช้ Winter Tyre และศึกษาให้ดีว่าต้องใช้โซ่กันรถลื่นรึเปล่า ดูว่าในรถมีที่ปัดหิมะให้ไหม เพราะวันที่หิมะตก เราอาจจะตื่นขึ้นมาแล้วพบว่ารถจมอยู่ในกองหิมะ
โทรศัพท์
ใครจะเปิด Roaming ไป หรือจะซื้อ AIS Sim2Fly ไปใช้ ก็ได้
หรือจะไปซื้อซิมของที่นั่นใช้ โดยสามารถซื้อได้ที่ 7-11, Narvesen (ร้านสะดวกซื้อคล้ายๆเซเว่น), หรือร้านที่ขายโทรศัพท์มือถือ เครือข่ายที่โอเคก็จะมี Telia, Telenor จะเป็นแพคเกจซื้อซิมการ์ดและเติมเงิน บอกให้คนขายช่วยเรา activate ซิมและเติมเงินหน่อย ถ้าทำเองอาจจลำบากนิดนึงเพราะเป็นภาษานอร์เวย์
Prepaid Telia Simcard = 99nok โทรไป 200 นาที + data 500mb
ถ้าต้องการ data เพิ่มต้องซื้อ package top up ไป : Package top upมีหลายราคาให้เลือก เช่น 299 nok ใช้ data 3gb ใช้ได้ 30วัน
-------------------------------------------------------------------
อยากบอกว่ารูปเยอะมากจริงๆ จำใจต้องเลือกรูปแค่ส่วนหนึ่งมาลงพันทิพ
ยังมีรูปและเรื่องราวสนุกๆอีกมาก โปรดติดตามการเดินทางของเราต่อได้ที่ https://www.facebook.com/theplaneteer/ IG: @planeteeer