ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ที่ใช้ชีวิตหรือใช้เวลาอยู่กับคนที่สูบบุหรี่ทำให้ระบบความจำเสียหายขึ้นมาได้ สอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นใหม่จากมหาวิทยาลัย Northumbria
การค้นพบนี้ได้มีการตีพิมพ์ล่าสุดทางออนไลน์ในนิตยสาร Addiction ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ได้มีการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่สูบบุหรี่กับปัญหาทางด้านความจำที่เกิดขึ้นทุกๆวัน
ทางด้าน Dr.Tom Heffernan กับ Dr.Terence O’Neil ทั้งสองเป็นนักวิจัยในส่วนของ Collaboration for drug and Alcohol Research Group ในมหาวิทยาลัย Northumbria โดยงานวิจัยได้มีการเปรียบเทียบกลุ่มผู้สูบบุหรี่ในปัจจุบันกับกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ที่มักจะสูดควันบุหรี่จากผู้สูบกับกลุ่มที่ไม่ได้สูดควันบุหรี่
มีการสำรวจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของควันบุหรี่มือสอง ไม่ว่าจะใช้ชีวิตอยู่กับผู้สูบหรือใช้เวลาอยู่กับผู้สูบ อย่างเช่นการให้ “พื้นที่สูบบุหรี่” และมีการรายงานว่าการปล่อยควันบุหรี่มือสองนั้นโดยเฉลี่ยแล้วมีอยู่ประมาณ 25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ต่อ 4 เดือนกับครึ่งปี
ทั้ง 3 กลุ่มได้มีการทดสอบในส่วนของระบบความจำ (ความจำเกี่ยวกับการทำกิจกรรมหลังจากที่ผ่านพ้นไปแล้ว) และทดสอบความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ (ซึ่งอ้างอิงถึงความจำในเป้าหมายที่จะลงมือทำในอนาคตกับกิจกรรมต่างๆ)
นักวิจัยพบว่า คนที่ไม่ได้สูบบุหรี่แล้วสูดควันบุหรี่มือสองนั้นมีอาการหลงลืมถึง 20 % ในการทดสอบความจำมากกว่าคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่แล้วไม่ได้สูดควัน อย่างไรก็ตามทั้งสองกลุ่มที่สูบบุหรี่ก็มีอาการหลงลืมถึง 30 % มากกว่าคนที่ไม่ได้สูดควันบุหรี่มือสอง
Dr.Heffernan ได้กล่าวว่า “สอดคล้องกับรายงานของ WHO ที่มีการเปิดเผยว่า ควันบุหรี่มือสองส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้คนแม้ว่าพวกเขาไม่ได้เป็นคนสูบ แต่เรื่องนี้ก็สามารถอธิบายได้ถึงคนที่สูบยาสูบด้วยเช่นกัน
“การค้นพบของเราชี้ให้เห็นว่า ยังมีรายละเอียดไม่มากเกี่ยวกับการอธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละวันจากการสูดควันบุหรี่มือสองที่ส่งผลต่อกระบวนการทางด้านการรับรู้ พวกเราหวังว่างานของพวกเราจะช่วยกระตุ้นยกระดับงานวิจัยมากขึ้นเพื่อที่จะทำความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างควันบุหรี่มือสอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาทางด้านสุขภาพกับกระบวนการรับรู้ในชีวิตประจำวัน”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com
ควันบุหรี่มือสองสร้างความเสียหายต่อระบบความจำ
ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ที่ใช้ชีวิตหรือใช้เวลาอยู่กับคนที่สูบบุหรี่ทำให้ระบบความจำเสียหายขึ้นมาได้ สอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นใหม่จากมหาวิทยาลัย Northumbria
การค้นพบนี้ได้มีการตีพิมพ์ล่าสุดทางออนไลน์ในนิตยสาร Addiction ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ได้มีการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่สูบบุหรี่กับปัญหาทางด้านความจำที่เกิดขึ้นทุกๆวัน
ทางด้าน Dr.Tom Heffernan กับ Dr.Terence O’Neil ทั้งสองเป็นนักวิจัยในส่วนของ Collaboration for drug and Alcohol Research Group ในมหาวิทยาลัย Northumbria โดยงานวิจัยได้มีการเปรียบเทียบกลุ่มผู้สูบบุหรี่ในปัจจุบันกับกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ที่มักจะสูดควันบุหรี่จากผู้สูบกับกลุ่มที่ไม่ได้สูดควันบุหรี่
มีการสำรวจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของควันบุหรี่มือสอง ไม่ว่าจะใช้ชีวิตอยู่กับผู้สูบหรือใช้เวลาอยู่กับผู้สูบ อย่างเช่นการให้ “พื้นที่สูบบุหรี่” และมีการรายงานว่าการปล่อยควันบุหรี่มือสองนั้นโดยเฉลี่ยแล้วมีอยู่ประมาณ 25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ต่อ 4 เดือนกับครึ่งปี
ทั้ง 3 กลุ่มได้มีการทดสอบในส่วนของระบบความจำ (ความจำเกี่ยวกับการทำกิจกรรมหลังจากที่ผ่านพ้นไปแล้ว) และทดสอบความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ (ซึ่งอ้างอิงถึงความจำในเป้าหมายที่จะลงมือทำในอนาคตกับกิจกรรมต่างๆ)
นักวิจัยพบว่า คนที่ไม่ได้สูบบุหรี่แล้วสูดควันบุหรี่มือสองนั้นมีอาการหลงลืมถึง 20 % ในการทดสอบความจำมากกว่าคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่แล้วไม่ได้สูดควัน อย่างไรก็ตามทั้งสองกลุ่มที่สูบบุหรี่ก็มีอาการหลงลืมถึง 30 % มากกว่าคนที่ไม่ได้สูดควันบุหรี่มือสอง
Dr.Heffernan ได้กล่าวว่า “สอดคล้องกับรายงานของ WHO ที่มีการเปิดเผยว่า ควันบุหรี่มือสองส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้คนแม้ว่าพวกเขาไม่ได้เป็นคนสูบ แต่เรื่องนี้ก็สามารถอธิบายได้ถึงคนที่สูบยาสูบด้วยเช่นกัน
“การค้นพบของเราชี้ให้เห็นว่า ยังมีรายละเอียดไม่มากเกี่ยวกับการอธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละวันจากการสูดควันบุหรี่มือสองที่ส่งผลต่อกระบวนการทางด้านการรับรู้ พวกเราหวังว่างานของพวกเราจะช่วยกระตุ้นยกระดับงานวิจัยมากขึ้นเพื่อที่จะทำความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างควันบุหรี่มือสอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาทางด้านสุขภาพกับกระบวนการรับรู้ในชีวิตประจำวัน”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com