ชาวเชียงใหม่เตรียมตัว รถไฟฟ้ากำลังจะมา

อัพเดทข่าว 16 กค 2561

เคาะแล้ว ได้สร้างแน่นอน เตรียมเปิดประมูลต่อไป อมยิ้ม01อมยิ้ม36

-----------------------------

ในที่สุด !!!

ผลของความตั้งอกตั้งใจ ทุ่มเท และฝันไว้สูงๆ
ของทีมศึกษาแผนแม่บทฯ
ก็มีก้าวแรกให้ฉลองกันแล้ว !

ทางเลือก A รถไฟฟ้ารางเบา บนดิน ผสม "ใต้ดิน"
ที่พวกเราชาวเชียงใหม่ ลงความเห็นว่า
เหมาะสมกับเมืองเก่าและวิถีชีวิตปัจจุบันของเรามากที่สุด
ได้รับการเลือกให้ดำเนินการศึกษารายละเอียด
และก่อสร้างจริงภายใน 6 ปีนี้ 🌟🌟🌟🌟

ขอบพระคุณทุกความเห็น แรงลุ้น แรงเชียร์
และความรักของผู้คนที่มีต่อเมืองเชียงใหม่นะคะ

ก้าวต่อไป เรายังต้องการความเห็นของทุกคนอยู่
ติดตามกันค่ะ !

#cmpmap
#เชื่อมเชียงใหม่
#รถไฟฟ้ามาหาสักที

https://www.facebook.com/chiangmaipmap/posts/2155976214685947




--------------------------------------------------------------------

เนื้อหากระทู้เดิม

--------------------------------------------------------------------



สรุป โครงข่ายทางเลือกระบบขนส่งสาธารณะเมืองเชียงใหม่ แผน A และ B (เพื่อนำเสนอ ครม.)

Chiang Mai Public Transit Master Plan (CMPMAP) #เชื่อมเชียงใหม่


ในที่สุด โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ จังหวัดเชียงใหม่ (CM-PMAP) ก็ดำเนินการมาจนถึงช่วงท้ายแล้ว
และนี่คือ โครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะ 2 โครงข่ายทางเลือก ที่เราจะนำเสนอไปในแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะ จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป

มาดูกันเลย


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



โครงข่ายทางเลือกระบบขนส่งสาธารณะเมืองเชียงใหม่ แผน A และ B
Public Transportation Network Alternatives A and B


จากการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมาด้วยการเก็บข้อมูลการเดินทางของคนทั้งจังหวัดเชียงใหม่ ตามหลักวิชาการ การสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนสองครั้ง และการประชุมกลุ่มย่อย อีก 5 ครั้ง รวมถึงข้อเสนอแนะจากช่องทางต่างๆ


ทางโครงการฯ ได้พัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะทางเลือกขึ้นมาหลายโครงข่าย เพื่อนำเสนอและประชุมร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. จนท้ายที่สุดจึงได้โครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะต้นแบบทางเลือกซึ่งใช้ระบบรถแบบ LRT หรือ Light Rail Transit System เป็นหลัก จำนวนสองโครงข่าย ดังนี้



โครงข่ายทางเลือกรูปแบบ A


ดาวน์โหลดไฟล์ภาพโครงข่ายทางเลือก A แบบละเอียด

เป็นโครงข่ายที่ใช้ทางวิ่งบนดิน และ ใต้ดินร่วมกันประกอบด้วยเส้นทางหลัก 3 เส้น ดังนี้

สายสีแดง (A)
ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร เริ่มต้นจากโรงพยาบาลนครพิงค์ ผ่านศูนย์ราชการ จังหวัดเชียงใหม่และสนามกีฬา 700 ปี ต่อไปยังศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ และเริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินที่บริเวณแยกข่วงสิงห์ มุ่งสู่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และต่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อพ้นเขตท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่จะกลับขึ้นใช้ทางวิ่งบนดินก่อนจะไปสิ้นสุดที่แยกแม่เหียะสมานสามัคคี(แยกบิ๊กซีหางดง)

สายสีเขียว (A)
ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร เริ่มต้นจากแยกรวมโชค เข้าสู่เส้นทางวิ่งใต้ดินที่จุดแยกแม่โจ้ (แยกโรงพยาบาลเทพปัญญา) ผ่านตลาดวโรรส เชียงใหม่ไนท์บาร์ซาร์ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่าเชียงใหม่แอร์พอร์ต ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่

สายสีน้ำเงิน (A)
ระยะทาง 12 กิโลเมตร เริ่มต้นเส้นทางวิ่งใต้ดิน จากสวนสัตว์เชียงใหม่ ผ่านมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตามลำดับ หักเลี้ยวลงมาตามถนนเส้นคันคลองชลประทาน ถึงบริเวณแยกตลาดต้นพยอม มุ่งหน้าไปทางโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พบจุดตัดกับสายสีแดงที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ผ่านใต้คูเมือง ไปถึงจุดตัดกับสายสีเขียว บริเวณเชียงใหม่ไนท์บาร์ซ่า วิ่งตรงไปเรื่อยๆ ไปจนถึงจุดกลับขึ้นใช้เส้นทางบนดิน ที่แยกหนองประทีป วิ่งตามถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ก่อนจะไปสิ้นสุดที่แยกศรีบัวเงินพัฒนา (แยกพรอมเมนาดา)



โครงข่ายทางเลือกรูปแบบ B


ดาวน์โหลดไฟล์ภาพโครงข่ายทางเลือก B แบบละเอียด

เป็นโครงข่ายที่ใช้ทางวิ่งบนดินทั้งหมดประกอบด้วยเส้นทางหลัก 3 เส้น ดังนี้

สายสีแดง (B)
ระยะทางประมาณ 15.65 กิโลเมตรเริ่มต้นจากโรงพยาบาลนครพิงค์ ผ่านศูนย์ราชการและสนามกีฬา 700ปี ต่อไปยังศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ ไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ไปพบกับจุดเปลี่ยนสายสีน้ำเงินที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ก่อนที่จะต่อไปยังสนามบินนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ไปสิ้นสุดที่แยกแม่เหียะสมานสามัคคี(แยกบิ๊กซีหางดง)

สายสีเขียว (B)
ระยะทางประมาณ 11.11 กิโลเมตร เริ่มต้นจากสี่แยกรวมโชค ผ่านแยกแม่โจ้(แยกโรงพยาบาลเทพปัญญา) ไปยังห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล ก่อนจะต่อไปยังสถานีขนส่งอาเขต ผ่านกาดหลวงเชียงใหม่ไนท์บาร์ซาร์ ไปสู่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซาเชียงใหม่แอร์พอร์ต และไปสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่

สายสีน้ำเงิน (B)
ระยะทางประมาณ 13.81 กิโลเมตร เริ่มต้นที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ผ่านมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อไปยังจุดตัดระหว่างสายสีแดงที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่  เลียบผ่านคูเมืองทางด้านทิศใต้ ไปยังสถานีรถไฟเชียงใหม่ ผ่านบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ไปสิ้นสุดที่แยกศรีบัวเงินพัฒนา (แยกพรอมเมนาดา)


----------------------------------------------------------

โดยสรุป ข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดของทั้งสองโครงข่ายทางเลือก คือ  ทางวิ่งบนดิน กับ ทางวิ่งใต้ดิน

- โครงข่ายทางเลือก A เส้นทางสายหลัก จะใช้ทางวิ่งบนดินร่วมกับใต้ดิน
- ส่วน โครงข่ายทางเลือก B นั้น เส้นทางสายหลัก จะใช้ทางวิ่งบนดินทั้งหมด


----------------------------------------------------------

ข้อดีและข้อเสียสำหรับทางวิ่งบนดิน


ระบบรถแบบ LRT ทางวิ่งบนดินนั้น ต้องการพื้นที่บนถนนจำนวน 2 ช่องจราจรเพื่อให้รถไฟสองขบวนวิ่งสวนกันได้ จึงอาจต้องยกเลิกการจอดรถข้างถนนในบางเส้นทาง เพราะพื้นที่ถนนจะลดลงและสิ่งที่ต้องรณรงค์เพิ่มเติม คือ ต้องให้คนเชียงใหม่ เคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
ระบบนี้จะยังคงใช้สัญญานไฟจราจรเหมือนรถที่สัญจรบนถนนปกติจึงทำความเร็วได้ 15-20 กม ต่อ ชม
สำหรับจุดเด่นของการเลือกใช้ทางวิ่งบนดิน คือใช้งบประมาณในการก่อสร้างไม่สูง ระยะเวลาในการก่อสร้างไม่นานนัก



ข้อดีและข้อเสียสำหรับทางวิ่งใต้ดิน


สำหรับการใช้ทางวิ่งใต้ดิน  จะใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูง และระยะเวลาในการก่อสร้างนาน เพราะ ต้องขุดลงไปใต้ดินลึกกว่า 10 เมตร และ ไม่ให้กระทบกับโบราณสถานที่มีอยู่ทั่วไปในเขตเมืองเชียงใหม่
ทางวิ่งใต้ดินมีเขตทางวิ่งเฉพาะจึงทำให้ทำความเร็วได้ 30-35 กม ต่อ ชั่วโมง เพียงพอต่อการแก้ปัญหาการจราจรในจังหวัด เชียงใหม่ ในปัจจุบัน และรองรับการพัฒนาในอนาคตได้ถึง 40 ปี


----------------------------------------------------------


ทั้งสองโครงข่าย จะมีโครงข่ายรอง+โครงข่ายเสริม ช่วยเชื่อมคนที่อยู่นอกเส้นทางให้เข้ามาสู่ระบบขนส่งสาธารณะหลักได้ด้วยระบบรถเมล์เป็นหลัก


ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ
เฟสบุ๊ค CMPMAP
เว็บ CMPMAP : รายละเอียดของโครงการ

Thailand Skyline

----------------------------------------------------------


ปล.1
ส่วนตัวผมชอบแผน A อมยิ้ม01 ลงทุนหนักรอบเดียวแต่รองรับความเจริญได้ในระยะยาว โดยไม่กระทบกับสภาพจราจรด้านบน
ลุ้นให้ ครม.อนุมัติ  เมืองเชียงใหม่จะได้มีระบบขนส่งสาธารณะดีๆใช้กับเค้าบ้างซะที หัวเราะ หัวเราะ หัวเราะ


----------------------------------------------------------

ปล.2
โครงการนี้มีโอกาสเกิดขึ้นจริงแค่ไหน?

โครงการรถไฟฟ้าเส้นทางแรกในภูมิภาคของไทย กำลังจะเกิดขึ้นแล้วที่จังหวัดขอนแก่น
รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น (Khon Kaen Light Rail Transit) จำนวน 16 สถานี
โครงการนี้เริ่มต้นมาพอๆ กับที่เชียงใหม่ แต่ออกแบบเสร็จก่อน และยื่นขออนุมัติก่อน
ตอนนี้รอการอนุมัติขั้นสุดท้ายแล้ว และจะเริ่มลงมือก่อสร้าง เดือนธันวาคม 2560 นี้ นับว่าเชียงใหม่ก็พอจะมีความหวังอยู่ครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
รายละเอียดเพิ่มเติม ความเห็น 32


----------------------------------------------------------

ปล. 3
สำหรับท่านที่ถามถึงรถเมล์

โครงการนี้ได้รวมรถเมล์เอาไว้ด้วยแล้ว 7 สายหลัก
กับอีก 1 โครงข่ายเสริมแบบทั่วไป (ที่เห็นเป็นทางสีเหลืองๆในแผนที่)
และยังมีรถไฟวิ่งชานเมืองด้วยอีก 1 สายครับ

ข้อมูลจาก CMPMAP ยกมาแปะไว้ที่ ความเห็น 55


----------------------------------------------------------


ปล.4
ในข่าวว่าภูเก็ตจะได้มีรถไฟฟ้ารางเบา ระยะทาง 60 กิโลเมตร 20 สถานี
น่าจะเริ่มก่อสร้างปี 2561 เสร็จปี 2564 ยินดีกับชาวภูเก็ตครับ
credit คุณ ethic&philosophy ความเห็น 85

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
หากเทียบเม็ดเงินสะพัดแล้ว เชียงใหม่สู้เมืองแห่งสายลมแสงแดดหมู่เกาะและทะเลอย่างภูเก็ตไม่ได้
ก็ได้แต่ขอโอกาสฝากเชียงใหม่ไว้ในอ้อมใจท่านครม. ได้รับพิจารณาบิ๊กโปรเจค ตูมๆมาให้ที่นี่ด้วยอีกสักแห่งเต๊อะ อมยิ้ม04


----------------------------------------------------------


ปล.5
เพจ CMPMAP มีอัพเดทรูปตัวอย่างแผน A และ B ถ้าสร้างแล้วมันจะมีหน้าตาเป็นแบบไหน ความเห็น 112

ตัวอย่าง แยกไนท์บาร์ซ่า



----------------------------------------------------------


ปล.6
โคราช ก็ออกแบบแล้วเหมือนกัน  โครงการรถไฟฟ้า LRT  3 สาย
ถ้าได้อนุมัติ สายแรกก็จะได้เริ่มก่อสร้างปี 2563-2565 เพื่อเปิดใช้ได้ปี 2566 เห็นแล้วดีใจๆ อมยิ้ม29

จังหวัดโคราชนี่ ได้ทั้งโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง และโครงการรถไฟฟ้ารางเบาสำหรับวิ่งในเมืองกันเลยทีเดียว
เครดิต คุณสมาชิกหมายเลข 901293  ความเห็น 123

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่