“ประชาชน 76.8% มีความเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ว่าการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐมีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้หากไม่สามารถลงโทษการกระทำผิดของกลุ่มผู้มีอิทธิพลและข้าราชการบางกลุ่มได้ จะทำ ให้ประชาชนจะหมดศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม โดย 78.6% เห็นด้วยว่า กระแสจากโลกโซเชียลและสื่อมวลชนที่ออกมาช่วยตีแผ่เหตุการณ์ หรือคดีต่างๆ จะทำให้สังคมคอยจับตามมองและทำให้คดีคืบหน้าเร็วขึ้น”
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,116 คน พบว่า การที่กระบวนการยุติธรรมไทยไม่สามารถลงโทษการกระทำผิดของกลุ่มผู้มีอิทธิพลและข้าราชการบางกลุ่มได้นั้น
ประชาชนร้อยละ 32.7 ระบุว่า จะส่งผลให้ประชาชนจะหมดศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม
รองลงมาร้อยละ 24.1 ระบุว่า จะส่งผลให้คนชั่วเพิ่มขึ้นเพราะไม่เกรงกลัวต่อการทำผิดกฎหมาย
และร้อยละ 22.0 ระบุว่า จะส่งผลให้เกิดค่านิยม มีอิทธิพลก็พ้นผิด ความยุติธรรมเงินซื้อได้
ทั้งนี้เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐมีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 76.8 ระบุว่า มีความเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ ร้อยละ 23.2 มีความเชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
สำหรับความเห็นต่อกระแสจากโซเชียลและสื่อมวลชนที่มาช่วยสอดส่องและตีแผ่เหตุการณ์ หรือคดีต่างๆ ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
ประชาชนร้อยละ 78.6 ระบุว่าดีและเห็นด้วย( เพราะทำให้สังคมรู้ข้อมูลและคอยจับตามมองและทำให้คดีคืบหน้าเร็วขึ้น)
ขณะที่ร้อยละ 21.4 ระบุว่าไม่ดีและไม่เห็นด้วย (เพราะจะทำให้บุคคลกลายเป็นจำเลยสังคมทั้งที่ยังไม่โดนตัดสินและ จะทำให้เสียรูปคดี)
JJNY : โพลแสลงใจ 2.4 ซี้จุกสูญ กรุงเทพโพลล์เผย“ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม”
“ประชาชน 76.8% มีความเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ว่าการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐมีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้หากไม่สามารถลงโทษการกระทำผิดของกลุ่มผู้มีอิทธิพลและข้าราชการบางกลุ่มได้ จะทำ ให้ประชาชนจะหมดศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม โดย 78.6% เห็นด้วยว่า กระแสจากโลกโซเชียลและสื่อมวลชนที่ออกมาช่วยตีแผ่เหตุการณ์ หรือคดีต่างๆ จะทำให้สังคมคอยจับตามมองและทำให้คดีคืบหน้าเร็วขึ้น”
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,116 คน พบว่า การที่กระบวนการยุติธรรมไทยไม่สามารถลงโทษการกระทำผิดของกลุ่มผู้มีอิทธิพลและข้าราชการบางกลุ่มได้นั้น
ประชาชนร้อยละ 32.7 ระบุว่า จะส่งผลให้ประชาชนจะหมดศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม
รองลงมาร้อยละ 24.1 ระบุว่า จะส่งผลให้คนชั่วเพิ่มขึ้นเพราะไม่เกรงกลัวต่อการทำผิดกฎหมาย
และร้อยละ 22.0 ระบุว่า จะส่งผลให้เกิดค่านิยม มีอิทธิพลก็พ้นผิด ความยุติธรรมเงินซื้อได้
ทั้งนี้เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐมีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 76.8 ระบุว่า มีความเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ ร้อยละ 23.2 มีความเชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
สำหรับความเห็นต่อกระแสจากโซเชียลและสื่อมวลชนที่มาช่วยสอดส่องและตีแผ่เหตุการณ์ หรือคดีต่างๆ ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
ประชาชนร้อยละ 78.6 ระบุว่าดีและเห็นด้วย( เพราะทำให้สังคมรู้ข้อมูลและคอยจับตามมองและทำให้คดีคืบหน้าเร็วขึ้น)
ขณะที่ร้อยละ 21.4 ระบุว่าไม่ดีและไม่เห็นด้วย (เพราะจะทำให้บุคคลกลายเป็นจำเลยสังคมทั้งที่ยังไม่โดนตัดสินและ จะทำให้เสียรูปคดี)