ที่มา :
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/754244
การจะใช้คลื่นให้มีประสิทธิภาพต้องจัดระเบียบคลื่น รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ที่กำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
“ธเรศ” ฝาก บอร์ดกสทช.ใหม่ เร่งจัดทำโรคแมพคลื่นความถี่ กำหนดแนวทางอุตฯ สื่อสารประเทศ แนะรัฐบาลตื่นตัวตั้งหน่วยงานกลางส่งเสริมความปลอดภัยไซเบอร์ซิเคียวริตี้โดยด่วน ระบุเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาจำเป็นต้องรู้เท่าทัน เผยผลงานที่ผ่านมากสทช.สามารถเปลี่ยนผ่านแนวคิด วางระบบการจัดการ เปลี่ยนผ่านระบบการทำงานในประเทศจากสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต เริ่มมีการประมูลคลื่นความถี่ตั้งแต่ 3จี มาเป็น4จี และสู่การเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์ จากระบบอนาล็อกเป็นดิจิทัล มีการดูแลผู้บริโภคมากขึ้น
พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หลังจากที่พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่) พ.ศ. ... (พ.ร.บ.กสทช.) ผ่านที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว ขณะนี้รอลงนามพระปรมาภิไธย
แนะเร่งวางโรดแมพคลื่น
โดยในระยะเปลี่ยนผ่าน กรรมการ กสทช. ชุดนี้จะเปิดประชุมบอร์ดวาระเร่งด่วน เพื่อกำหนดท่าทีว่าจะดำเนินการอย่างไร ทั้งในส่วนของกระบวนการสรรหา และการบริหารงานของ กสทช.เอง ซึ่งพยายามให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันตามที่กฎหมายระบุ อย่างไรก็ดี กระบวนการสรรหา สามารถดำเนินการได้เลยไม่เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายกสทช.ที่ต้องทำตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ
ทั้งนี้ ในฐานะประธาน กสทช.คนปัจจุบัน ที่จะหมดวาระลงในเดือน ต.ค.นี้ ได้แนะคณะกรรมการชุดใหม่ใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ 1.ควรเร่งวางแผนจัดสรรคลื่น ความถี่แห่งชาติ (สเปคตรัม โรดแมพ) ทั้งในงานที่เป็นกิจการโทรคมนาคม กิจการวิทยุกระจายเสียงโทรทัศน์ รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ ที่กำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในด้านอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (ไอโอที) การควบคุมยานพาหนะแบบไร้คนขับ และการใช้คลื่นความถี่ในกิจการคมนาคม เช่น ใช้ควบคุมระบบการเข้าจอดของรถไฟความเร็วสูง และ 2.ควรจัดตั้งคณะกรรมการหรือหน่วยงานกำกับดูแลเฉพาะเรื่องความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต (ไซเบอร์ซิเคียวริตี้) ส่งเสริมความปลอดภัย การตระหนักรู้และการป้องกันอันตรายในโลกออนไลน์
“การจะใช้คลื่นให้มีประสิทธิภาพจะต้องจัดระเบียบคลื่น จึงเป็นสาเหตุที่การวางระบบคลื่นความถี่ต้องเริ่มทำ มีการวางรากฐานตั้งแต่ระดับอินฟราสตัคเจอร์ ซึ่งหากคลื่นความถี่ไม่เป็นไปตามรูปแบบที่วางแผนไว้ อุปกรณ์ก็ต้องเปลี่ยนด้วย เช่น ปัจจุบันคลื่นที่ใช้กับวิทยุสมัครเล่นไปตรงกับอุปกรณ์สื่อสารของทหาร จึงต้องมีการจัดสรรคลื่นใหม่ (รี-ฟาร์มมิ่ง) ส่วนเรื่องความปลอดภัยของโครงข่ายเป็นสิ่งที่สำคัญหากเราจะขับเคลื่นประเทศด้วยไทยแลนด์4.0”
พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวว่า ในแง่ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ควรเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกัน เพราะเป็นเรื่องการสื่อสารที่เชื่อมโยงกันหมด ที่ผ่านมา ในส่วน กสทช.เองหรือหน่วยงานรัฐบาลเองยังไม่มีใครเข้ามาควบคุม หรือกำกับกิจการตรงนี้เป็นพิเศษ
ดังนั้น ไทยเริ่มต้นตรงนี้ได้แล้ว หากถามว่าขณะนี้สายเกินไปไหม ก็คิดว่ายังไม่ช้าไป เพราะระบบไอทีในโลกไม่มีที่ไหนปลอดภัย 100% ดังนั้น การรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ควรมีองค์กรที่ดูแลเต็มตัว ในส่วนของกฏหมายใหม่ที่กำลังจะออกมา ในความเห็นส่วนตัวมองว่า ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการคลื่น
เปลี่ยนสัมปทานสู่ใบอนุญาต
พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวว่า ผลงานที่ผ่านมาของกสทช. สิ่งที่ภูมิใจ คือ สามารถเปลี่ยนผ่านแนวคิด วางระบบการจัดการได้แล้ว ยังสามารถเปลี่ยนผ่านระบบการทำงานในประเทศจากสัญญาสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต เริ่มมีการประมูลคลื่นความถี่ตั้งแต่ 3จี มาเป็น4จี และเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์ จากระบบอนาล็อกเป็นดิจิทัล มีการดูแลผู้บริโภคมากขึ้น ตั้งคณะทำงานเรื่องควบคุมคุณภาพและการบริการ ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค
โดยการเปลี่ยนจากระบบใบอนุญาตโดยวิธีการประมูล ด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ประมูลช่องทีวีดิจิทัลนำเข้ารัฐได้ 50,862 ล้านบาท ด้านกิจการโทรคมนาคมมีการประมูลความถี่ 3 ใบอนุญาต 2100 เมกะเฮิรตซ์ได้เงินเข้ารัฐ 41,625 ล้านบาท 1800 เมกะเฮิรตซ์ 80,778 ล้านบาท และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์นำเงินเข้ารัฐได้ 151,925 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในส่วนของการให้ความรู้ประชาชน จะเห็นว่า เทคโนโลยีต่างๆ เปลี่ยนไปเร็วมาก ซึ่งขณะนี้มีการพูดกันมากถึงเรื่องเทคโนโลยีโอเวอร์ เดอะ ท็อป (โอทีที) ที่เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรม เพราะโอทีที อาทิ เฟซบุ๊ค ยูทูบ ไลน์ทีวี ต่างใช้แบนด์วิธของเครือข่าย 4จีมากขึ้น ทำให้การประมูลคลื่นของ กสทช.ที่ผ่านมานั้นเริ่มไม่เพียงพอต่อปริมาณการใช้งานส่วนนี้
ดังนั้น ปัญหาเรื่องการขาดแคลนคลื่นจึงเป็นปัจจัยสำคัญ นอกจากโอทีทียังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ที่กำลังจะเข้ามา ดังนั้น รัฐบาลควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนระบบนิเวศสำหรับเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาด้วย
‘ธเรศ’ แนะบอร์ดกสทช.ใหม่ เร่งจัดทัพ รับเทคโนโลยีดิจิทัล
การจะใช้คลื่นให้มีประสิทธิภาพต้องจัดระเบียบคลื่น รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ที่กำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
“ธเรศ” ฝาก บอร์ดกสทช.ใหม่ เร่งจัดทำโรคแมพคลื่นความถี่ กำหนดแนวทางอุตฯ สื่อสารประเทศ แนะรัฐบาลตื่นตัวตั้งหน่วยงานกลางส่งเสริมความปลอดภัยไซเบอร์ซิเคียวริตี้โดยด่วน ระบุเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาจำเป็นต้องรู้เท่าทัน เผยผลงานที่ผ่านมากสทช.สามารถเปลี่ยนผ่านแนวคิด วางระบบการจัดการ เปลี่ยนผ่านระบบการทำงานในประเทศจากสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต เริ่มมีการประมูลคลื่นความถี่ตั้งแต่ 3จี มาเป็น4จี และสู่การเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์ จากระบบอนาล็อกเป็นดิจิทัล มีการดูแลผู้บริโภคมากขึ้น
พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หลังจากที่พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่) พ.ศ. ... (พ.ร.บ.กสทช.) ผ่านที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว ขณะนี้รอลงนามพระปรมาภิไธย
แนะเร่งวางโรดแมพคลื่น
โดยในระยะเปลี่ยนผ่าน กรรมการ กสทช. ชุดนี้จะเปิดประชุมบอร์ดวาระเร่งด่วน เพื่อกำหนดท่าทีว่าจะดำเนินการอย่างไร ทั้งในส่วนของกระบวนการสรรหา และการบริหารงานของ กสทช.เอง ซึ่งพยายามให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันตามที่กฎหมายระบุ อย่างไรก็ดี กระบวนการสรรหา สามารถดำเนินการได้เลยไม่เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายกสทช.ที่ต้องทำตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ
ทั้งนี้ ในฐานะประธาน กสทช.คนปัจจุบัน ที่จะหมดวาระลงในเดือน ต.ค.นี้ ได้แนะคณะกรรมการชุดใหม่ใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ 1.ควรเร่งวางแผนจัดสรรคลื่น ความถี่แห่งชาติ (สเปคตรัม โรดแมพ) ทั้งในงานที่เป็นกิจการโทรคมนาคม กิจการวิทยุกระจายเสียงโทรทัศน์ รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ ที่กำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในด้านอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (ไอโอที) การควบคุมยานพาหนะแบบไร้คนขับ และการใช้คลื่นความถี่ในกิจการคมนาคม เช่น ใช้ควบคุมระบบการเข้าจอดของรถไฟความเร็วสูง และ 2.ควรจัดตั้งคณะกรรมการหรือหน่วยงานกำกับดูแลเฉพาะเรื่องความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต (ไซเบอร์ซิเคียวริตี้) ส่งเสริมความปลอดภัย การตระหนักรู้และการป้องกันอันตรายในโลกออนไลน์
“การจะใช้คลื่นให้มีประสิทธิภาพจะต้องจัดระเบียบคลื่น จึงเป็นสาเหตุที่การวางระบบคลื่นความถี่ต้องเริ่มทำ มีการวางรากฐานตั้งแต่ระดับอินฟราสตัคเจอร์ ซึ่งหากคลื่นความถี่ไม่เป็นไปตามรูปแบบที่วางแผนไว้ อุปกรณ์ก็ต้องเปลี่ยนด้วย เช่น ปัจจุบันคลื่นที่ใช้กับวิทยุสมัครเล่นไปตรงกับอุปกรณ์สื่อสารของทหาร จึงต้องมีการจัดสรรคลื่นใหม่ (รี-ฟาร์มมิ่ง) ส่วนเรื่องความปลอดภัยของโครงข่ายเป็นสิ่งที่สำคัญหากเราจะขับเคลื่นประเทศด้วยไทยแลนด์4.0”
พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวว่า ในแง่ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ควรเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกัน เพราะเป็นเรื่องการสื่อสารที่เชื่อมโยงกันหมด ที่ผ่านมา ในส่วน กสทช.เองหรือหน่วยงานรัฐบาลเองยังไม่มีใครเข้ามาควบคุม หรือกำกับกิจการตรงนี้เป็นพิเศษ
ดังนั้น ไทยเริ่มต้นตรงนี้ได้แล้ว หากถามว่าขณะนี้สายเกินไปไหม ก็คิดว่ายังไม่ช้าไป เพราะระบบไอทีในโลกไม่มีที่ไหนปลอดภัย 100% ดังนั้น การรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ควรมีองค์กรที่ดูแลเต็มตัว ในส่วนของกฏหมายใหม่ที่กำลังจะออกมา ในความเห็นส่วนตัวมองว่า ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการคลื่น
เปลี่ยนสัมปทานสู่ใบอนุญาต
พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวว่า ผลงานที่ผ่านมาของกสทช. สิ่งที่ภูมิใจ คือ สามารถเปลี่ยนผ่านแนวคิด วางระบบการจัดการได้แล้ว ยังสามารถเปลี่ยนผ่านระบบการทำงานในประเทศจากสัญญาสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต เริ่มมีการประมูลคลื่นความถี่ตั้งแต่ 3จี มาเป็น4จี และเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์ จากระบบอนาล็อกเป็นดิจิทัล มีการดูแลผู้บริโภคมากขึ้น ตั้งคณะทำงานเรื่องควบคุมคุณภาพและการบริการ ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค
โดยการเปลี่ยนจากระบบใบอนุญาตโดยวิธีการประมูล ด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ประมูลช่องทีวีดิจิทัลนำเข้ารัฐได้ 50,862 ล้านบาท ด้านกิจการโทรคมนาคมมีการประมูลความถี่ 3 ใบอนุญาต 2100 เมกะเฮิรตซ์ได้เงินเข้ารัฐ 41,625 ล้านบาท 1800 เมกะเฮิรตซ์ 80,778 ล้านบาท และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์นำเงินเข้ารัฐได้ 151,925 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในส่วนของการให้ความรู้ประชาชน จะเห็นว่า เทคโนโลยีต่างๆ เปลี่ยนไปเร็วมาก ซึ่งขณะนี้มีการพูดกันมากถึงเรื่องเทคโนโลยีโอเวอร์ เดอะ ท็อป (โอทีที) ที่เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรม เพราะโอทีที อาทิ เฟซบุ๊ค ยูทูบ ไลน์ทีวี ต่างใช้แบนด์วิธของเครือข่าย 4จีมากขึ้น ทำให้การประมูลคลื่นของ กสทช.ที่ผ่านมานั้นเริ่มไม่เพียงพอต่อปริมาณการใช้งานส่วนนี้
ดังนั้น ปัญหาเรื่องการขาดแคลนคลื่นจึงเป็นปัจจัยสำคัญ นอกจากโอทีทียังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ที่กำลังจะเข้ามา ดังนั้น รัฐบาลควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนระบบนิเวศสำหรับเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาด้วย