มือถือแสบแอบล้วงตับ กสทช. ดอดทดลอง 4 จีก่อนใบอนุญาต
ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ว่า ในขณะที่ กสทช. ยังคงรอบริษัทสื่อสารผู้ชนะประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์(MHz) เข้ามาจ่ายค่าธรรมเนียมก้อนแรกจำนวน 8,040 ล้านบาทพร้อมวางแบงก์การันตีค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลืออยู่นั้น ได้มีการร้องเรียนไปยัง กสทช. เพื่อขอให้ตรวจสอบ เนื่องจากพบว่ามีบริษัทสื่อสารลักลอบการติดตั้งอุปกรณ์ 4จีแอลทีอีเพื่อใช้คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ทั้งที่ยังไม่มีการชำระเงินค่าประมูลและยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กสทช. จึงขอให้ กสทช. เร่งตรวจสอบเพื่อให้เกิดความถูกต้องโดยด่วน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบพบว่าอุปกรณ์โทรคมนาคมที่นำมาติดตั้งเพื่อทดสอบระบบนั้น เป็นอุปกรณ์ของบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งไม่ได้ทำหนังสือถึง กสทช. เพื่อขอทดสอบแต่อย่างใด ขณะที่บริษัท หัวเว่ย จำกัด ได้ทำหนังสือถึง กสทช. เพื่อขอทดลองการใช้อุปกรณ์ 4จีแอลทีอี แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติจาก กสทช. แต่อย่างใด สำหรับเหตุผลในการขอทดลองอุปกรณ์ 4จีนั้น เนื่องจากต้องการทดสอบระบบก่อนที่จะเปิดให้บริการในเดือนมี.ค. นี้ แต่ตามหลักเกณฑ์ของ กสทช. แล้ว หากจะทดลองอุปกรณ์ก็ต้องได้รับอนุญาตจาก กสทช. ขณะเดียวกันต้องเป็นผู้รับใบอนุญาตในการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวด้วย แต่ขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่น 900เมกะเฮิรตซ์ มีเพียงเป็นผู้ชนะประมูลเท่านั้น.
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (หน้า 8)
มือถือแสบแอบล้วงตับ กสทช. ดอดทดลอง 4 จีก่อนใบอนุญาต
มือถือแสบแอบล้วงตับ กสทช. ดอดทดลอง 4 จีก่อนใบอนุญาต
ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ว่า ในขณะที่ กสทช. ยังคงรอบริษัทสื่อสารผู้ชนะประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์(MHz) เข้ามาจ่ายค่าธรรมเนียมก้อนแรกจำนวน 8,040 ล้านบาทพร้อมวางแบงก์การันตีค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลืออยู่นั้น ได้มีการร้องเรียนไปยัง กสทช. เพื่อขอให้ตรวจสอบ เนื่องจากพบว่ามีบริษัทสื่อสารลักลอบการติดตั้งอุปกรณ์ 4จีแอลทีอีเพื่อใช้คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ทั้งที่ยังไม่มีการชำระเงินค่าประมูลและยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กสทช. จึงขอให้ กสทช. เร่งตรวจสอบเพื่อให้เกิดความถูกต้องโดยด่วน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบพบว่าอุปกรณ์โทรคมนาคมที่นำมาติดตั้งเพื่อทดสอบระบบนั้น เป็นอุปกรณ์ของบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งไม่ได้ทำหนังสือถึง กสทช. เพื่อขอทดสอบแต่อย่างใด ขณะที่บริษัท หัวเว่ย จำกัด ได้ทำหนังสือถึง กสทช. เพื่อขอทดลองการใช้อุปกรณ์ 4จีแอลทีอี แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติจาก กสทช. แต่อย่างใด สำหรับเหตุผลในการขอทดลองอุปกรณ์ 4จีนั้น เนื่องจากต้องการทดสอบระบบก่อนที่จะเปิดให้บริการในเดือนมี.ค. นี้ แต่ตามหลักเกณฑ์ของ กสทช. แล้ว หากจะทดลองอุปกรณ์ก็ต้องได้รับอนุญาตจาก กสทช. ขณะเดียวกันต้องเป็นผู้รับใบอนุญาตในการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวด้วย แต่ขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่น 900เมกะเฮิรตซ์ มีเพียงเป็นผู้ชนะประมูลเท่านั้น.
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (หน้า 8)