คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ระเบิดนิวเคลียร์แบบ Fission (Nuclear fission Bomb) นั้นจะใช้ปฏิกิริยาการแตกตัวของนิวเคลียสธาตุหนัก
ที่เป็นธาตุกัมมันตรังสี เช่น ยูเรเนียม พลูโตเนียม โดยมวลของนิวเคลียสบางส่วนจะหายไปกลายเป็นพลังงานออกมา
และเกิดนิวตรอนใหม่อีก 2 หรือ 3 ตัว ซึ่งจะวิ่งไปชนนิวเคลียสของอะตอมอื่นต่อไป... เรียกว่าปฏิกิริยา Nuclear fission ครับ
เช่น ระเบิดนิวเคลียร์ที่ทิ้งเมือง Hiroshima นั้น เป็นระเบิดนิวเคลียร์ประเภท Fission มีขนาดความแรงเทียบเท่าระเบิด TNT
15 กิโลตัน (เราเรียกว่าค่านี้ว่า TNT equivalent ของระเบิด)
อีกประเภทหนึ่ง คือ ระเบิด Hydrogen หรือ ระเบิด Thermonuclear ครับ
ระเบิดชนิดนี้มีความแรงตั้งแต่ 2,000 - 3,000 ไปจนถึง 10,000 กิโลตันขึ้นไป ระเบิดแบบนี้
ต่างจากระเบิดนิวเคลียร์แบบ Fission ทั่วไปตรงที่ปฎิกิริยา โดยระเบิด Hydrogen นี้
เป็นปฎิกิริยา Fusion คือการรวมธาตุเบาให้เป็นธาตุหนักที่เสถียรมากขึ้น และมีการปล่อย
พลังงานยึดเหนี่ยวส่วนเกินออกมา คล้ายกับที่เกิดบนดวงอาทิตย์ ทำให้มันกำเนิดพลังงานได้มหาศาลครับ
การทำระเบิด Hydrogen ก็คือการนำระเบิด Nuclear Fission ธรรมดามาบรรจุเป็นแกนกลาง และใช้ Lithium deuteride หุ้มไว้
เมื่อ Nuclear Fission ระเบิด Neutron จำนวนมากจะเปลี่ยน Lithium deuteride เป็น Hydrogen แล้ว hydrogen นั้นจะรวมตัวกัน
กลายเป็น Helium เกิดการระเบิดรุนแรงขึ้นอีกเป็น 100 - 120 เท่าของการระเบิด
ขออธิบายในภาพนี้อีกครั้งครับ
การตกค้างของกัมมันตรังสี นั้น (สมมุติ) เราสามารถสร้างความร้อนมหาศาลระดับหลายล้านองศา C
เพื่อทำให้เกิด Fusion ของธาตุได้ในระเบิดลูกหนึ่ง .... ระเบิด Hydrogen ลูกนั้นก็จะแทบไม่มีรังสีตกค้าง (Nuclear fallout)
แต่ระเบิด Hydrogen ที่สร้างกันในปัจจุบันนี้จะยังมีการตกค้างของรังสีอยู่ครับ เพราะในระเบิด Hydrogen ก็จะมีระเบิด
แบบ Fission อยู่ และเป็นการทำงานแบบ Fission - Fusion - Fission คือระเบิด Fission ทำงานก่อน สร้างความร้อน
ส่งให้ชุด Fusion ทำงานต่อ และชุด Fusion นี้ก็จะกำเนิดนิวตรอนจำนวนมหาศาลอัดกลับมาที่ส่วน Fission ทำให้เป็นการ
เสริมแรงของ Fission และระเบิดโดยรวมทั้งลูกอีกในขั้นสุดท้าย เกิดเป็น Fireball ขนาดยักษ์ครับ .... จุดที่นิวตรอนอัดกลับมานี้เอง
ทำให้กำเนิดรังสีตกค้างได้มากครับ
ที่เป็นธาตุกัมมันตรังสี เช่น ยูเรเนียม พลูโตเนียม โดยมวลของนิวเคลียสบางส่วนจะหายไปกลายเป็นพลังงานออกมา
และเกิดนิวตรอนใหม่อีก 2 หรือ 3 ตัว ซึ่งจะวิ่งไปชนนิวเคลียสของอะตอมอื่นต่อไป... เรียกว่าปฏิกิริยา Nuclear fission ครับ
เช่น ระเบิดนิวเคลียร์ที่ทิ้งเมือง Hiroshima นั้น เป็นระเบิดนิวเคลียร์ประเภท Fission มีขนาดความแรงเทียบเท่าระเบิด TNT
15 กิโลตัน (เราเรียกว่าค่านี้ว่า TNT equivalent ของระเบิด)
อีกประเภทหนึ่ง คือ ระเบิด Hydrogen หรือ ระเบิด Thermonuclear ครับ
ระเบิดชนิดนี้มีความแรงตั้งแต่ 2,000 - 3,000 ไปจนถึง 10,000 กิโลตันขึ้นไป ระเบิดแบบนี้
ต่างจากระเบิดนิวเคลียร์แบบ Fission ทั่วไปตรงที่ปฎิกิริยา โดยระเบิด Hydrogen นี้
เป็นปฎิกิริยา Fusion คือการรวมธาตุเบาให้เป็นธาตุหนักที่เสถียรมากขึ้น และมีการปล่อย
พลังงานยึดเหนี่ยวส่วนเกินออกมา คล้ายกับที่เกิดบนดวงอาทิตย์ ทำให้มันกำเนิดพลังงานได้มหาศาลครับ
การทำระเบิด Hydrogen ก็คือการนำระเบิด Nuclear Fission ธรรมดามาบรรจุเป็นแกนกลาง และใช้ Lithium deuteride หุ้มไว้
เมื่อ Nuclear Fission ระเบิด Neutron จำนวนมากจะเปลี่ยน Lithium deuteride เป็น Hydrogen แล้ว hydrogen นั้นจะรวมตัวกัน
กลายเป็น Helium เกิดการระเบิดรุนแรงขึ้นอีกเป็น 100 - 120 เท่าของการระเบิด
ขออธิบายในภาพนี้อีกครั้งครับ
การตกค้างของกัมมันตรังสี นั้น (สมมุติ) เราสามารถสร้างความร้อนมหาศาลระดับหลายล้านองศา C
เพื่อทำให้เกิด Fusion ของธาตุได้ในระเบิดลูกหนึ่ง .... ระเบิด Hydrogen ลูกนั้นก็จะแทบไม่มีรังสีตกค้าง (Nuclear fallout)
แต่ระเบิด Hydrogen ที่สร้างกันในปัจจุบันนี้จะยังมีการตกค้างของรังสีอยู่ครับ เพราะในระเบิด Hydrogen ก็จะมีระเบิด
แบบ Fission อยู่ และเป็นการทำงานแบบ Fission - Fusion - Fission คือระเบิด Fission ทำงานก่อน สร้างความร้อน
ส่งให้ชุด Fusion ทำงานต่อ และชุด Fusion นี้ก็จะกำเนิดนิวตรอนจำนวนมหาศาลอัดกลับมาที่ส่วน Fission ทำให้เป็นการ
เสริมแรงของ Fission และระเบิดโดยรวมทั้งลูกอีกในขั้นสุดท้าย เกิดเป็น Fireball ขนาดยักษ์ครับ .... จุดที่นิวตรอนอัดกลับมานี้เอง
ทำให้กำเนิดรังสีตกค้างได้มากครับ
แสดงความคิดเห็น
ระเบิดนิวเคลีย กับระเบิดไฮโดรเจน มีผลกระทบต่างกันไหม
ไม่ได้สงสัยในแง่การทำลายล้างครับ สงสัยในแง่ผลกระทบพิษภัยตกค้าง