Don't thai to me >>> อย่ามาสิงกรุนะ

กระทู้สนทนา
อย่ามาสิงกรุนะ

นสพ.ไทยรัฐ เคยเสนอบทความ คำแสลง ของชาวสิงคโปร ที่แสดงให้เห็นถึงทัศนคติที่มีต่อคนไทย

เป็นเพราะ ข้าราชการ นักการเมืองไทย มีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการคอรับชั่น จนเป็๋นที่ขนานนามในหมู่ชาวสิงคโปร จนมีการใช้ คำว่า thai ในภาษาแสลง ซึ่งแปลว่า โกง

ซึ่งเป็นที่มาของประโยค "don't thai to me"

แปลได้ว่า "อย่ามาไทกับฉันนะ" "อย่ามาโกงฉันนะ"

ย้อนกลับไปมองสิงคโปร ที่มีกองทุนรัฐบาล เทมาเส็ก ไปลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะ ประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามี สายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ อดีตนายก ทักษิน โดยเฉพาะกิจการโทรคมนาคม และปัจจุบัน บริษัทลูกกองทุนเทมาเส็ก ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และมาใช้ชื่อ อินทัช บริหารบริษัทย่อย เอไอเอส และ ไทยคม

เป็นที่รักันมานานมาก เกี่ยวกับ กิจการดาวเทียม ที่ผิดเงื่อนไขสัมปทาน นำดาวเทียมของรัฐไปให้บริการต่างประเทศ มาตลอดเกือบอายุสัมปทาน อีกทั้งพบว่ามีการลักลอบใช้ข้อมูลทางการสื่อสารส่วนบุคคล เพื่อการข่มขู่ คู่แข่งทางธุรกิจ(ยังไม่พบหลักฐานว่า นำมาใช้ประโยชน์ข่มขู่ทางการเมือง)

แต่ด้วย อิทธิพลผลประโยชน์ ให้ข้าราชการ นักการเมืองไทย พากันเป็นใบ้ ไม่แตะต้อง ธุรกิจในเครือข่ายเทมาเส็ก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในฐานะประเทศ "เกาะฟอกเงิน" หรือ กฏหมายคุ้มครองข้อมูลทางการเงิน (ลักษณะเหมือนอดีตธนาคารสวิส ที่พวกโจรกรรม หรือ กลุ่มก่อการร้ายเรียกค่าไถ่ ใช้เป็นบัญชีที่ทำธุรกรรมการเงินในหนังฮอลลิวูด ที่ได้ยินกันบ่อยๆ)

ซึ่งทำให้ เกาะสิงคโปร กลายเป็น "กล่องดวงใจทศกัณฑ์" ป้องกันการตรวจสอบให้แก่นักธุรกิจ หลบเลี่ยงภาษี นักการเมืองคอรับชั่น ซึ่งคงไม่ต้องเดาว่า มีนักการเมือง ข้าราชการไทย รวมอยู่ด้วยไม่น้อย

ไม่เพียงแต่ กล่องดวงใจ หรือ คลังสมบัติ แต่ยังเป็น เครื่องมือสงครามการเงิน ซึ่งล่าสุด การโจมตีค่าเงินหยวนของประเทศจีน โดยแม่ทัพการเงิน
จอสโซรอส(ที่รัสเซียประกาศจับ) พบว่า เส้นทางการเงินมาจากกองทุนที่ตั้งอยู่ในสิงคโปร์๋

การโกงทั่วไป คือ การโกงบุคคล องค์กร
แต่การคอรับชั่น คือ การโกงทรัพยาส่วนรวมของประเทศต่างๆ ซึ่งผู้เสียหายคือ พลเมืองของประเทศนั่นๆ

หากเปรียบเทียบกันแล้ว เกาะฟอกเงิน สร้างมูลค่าความเสียหาย และความเดือดร้อน ได้มากกว่า การคอรับชั่นของนักการเมืองไทย อยู่หลายขุม

ดังนั่นแล้ว ควรเปลี่ยนจาก "dont thai to me" มาเป็น "อย่ามาสิง(คโปร)กรุนะ"

อย่ามาสิงกรุนะ

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

นักลงทุนรับรู้ความเสี่ยง
หุ้นไทยคมดิ่งรับอำนาจทหาร
กรณีธรรมกายล้มล้างกฏหมาย ยังไร้วี่แวว จ่อคิวฟ้องรายต่อไป ศาลได้ยกคำร้องไต่สวนฉุกเฉิน คดี ตรา พรบ.ปิโตรเลียมไม่ชอบด้วยกฏหมาย รับคำฟ้อง ท่อก๊าซ ไว้พิจารณา ในขณะที่ ก.พลังงาน เผย ต่างชาติรุมจอง 2 ขุมทรัพย์ แต่เชื่อว่า เงื่อนไขใน รัฐธรรมนูญ ปูพรมให้ผู้รับสัมปทานรายเดิม ส่วน ไทยคม ปั่นหุ้นขึ้นมาปิดแดนบวก หลังไหลลงตลอดสัปดาห์ก่อน
อำนาจทุนในตลาด โดยเฉพาะ เปรโตรดอลล่าห์ดอกเบี้ยต่ำ ทำให้สามารถกำหนดได้แม้แต่ ราคาทองคำ ผ่านการแห่ซื้อหรือ เทขาย นับประสาอะไรกับ หุ้นไทยคม ที่ เทมาเส็ก เคยปั่นให้ อินทัช ทยานเกิน 60 บาท ด้วยการ ให้ สิงเทล (ลูกของ เทมาเส็ก) ทำสัญญาซื้อ หุ้นอินทัช(อดีตชินคอร์บ ที่เปรียบเสมือนหลาน ) จาก เอสแพน( กองทุน ย่อยของเทมาเส็ก เสมือนลูกพี่ลูกน้องของ สิงค์เทล)
แค่ปล่อยข่าว ปู่ คือ เทมาเส็ก ให้ อา ทำสัญญาซื้อแบบมีเงื่อนไขใน บริษัทหลาน ที่มีเหลน ชื่อ ไทยคม ก็ทำให้ราคาซื้อขาย ขยับสูงกว่า ราคาในสัญญาซื้อขาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก หากจะให้ใครมาเสนอซื้อ เพื่อสร้างดีมาน ให้ ไทยคม ดีดรับร่างคำฟ้องยึดคืนสัมปทาน ให้ขึ้นมาอยู่ในแดนบวกหลังปิดตลาดวันจันทร์ +0.10 บาท หลังจาก ตกต่อเนื่องมาตลอดสัปดาห์ก่อน โดยรายจากเว็บไซต์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นไทยคม ค่อยๆล่วงลงมาเกือบ 50% แล้วหลังจากทหารเข้าคุมอำนาจ คือจาก 34.75 ในปี 57 ลดลงมาเหลือ 18.70 และเปิดตลาดวันที่ ราคาอยู่ที่ 18.60
ทางด้านนโยบายรัฐบาล ที่ ก.ดิจิตัล เข้าเข้ามาคุมอำนาจการสื่อสาร แทน กสทช. ด้วยกฏหมายใหม่ที่พึ่งผ่านสภา เผยการแก้ปมปัญญาดาวเทียม จะยึดเงื่อนไขในสัญญาสัมปทาน แต่ต้องรอดูความชัดเจน หลัง พล.อ.ประยุทธ จะเป็นประธานการประชุมวันที่ 20 เมษายน ซึ่งคนไทย จะได้เห็น มวยล้ม หรือ จะต้มคนดูอีกหรือไม๊ ต้องคอยติดตามชม
สำหรับความคืบหน้าในการฟ้องต่อศาลปกครอง กรณี การตรา พรบ.ปิโตรเลียม ไม่ชอบด้วยกฏหมาย โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ได้ยื่นคำร้องขอให้มีการไต่สวนฉุกเฉิน และ คำร้องวิธีชั่วคราวให้ระงับการประกาศใช้ กับคดีการบิดเบือนคำสั่งศาล ยักยอกท่อก๊าซ โดยมี นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทร์ ประธานกรรมการ ปตท.เป็นผู้ถูกร้องนั่น
ล่าสุด ศาลได้รับคำฟ้องคดี ปตท.ไว้เป็น หมายเลขคดีดำที่ 601/2560 และ รับคำฟ้องคดี พรบ.ปิโตรเลียมไว้เป็น หมายเลขคดีดำที่ 603/2560 ในส่วนของ คำร้องไต่สวนฉุกเฉินว่าในคดี ร่าง พรบ.ปิโตรเลียม ฯ ศาลได้วินิจฉัยว่า เนื่องจาก ร่างพรบ.ปิโตรเลียม ฉบับที่ พ.ศ.... ยังไม่มีการประกาศใช้เป็นกฏหมาย จึงไม่แน่นอนว่าจะเป็นไปตามที่ผู้ฟ้องกล่าวอ้างหรือไม่ ศาลจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ทั้งนี้ คำฟ้องคดีดังกล่าว ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
ส่วนเรื่อง ธรรมกาย ที่ได้ร้องต่อ สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ กรณี มหาเถรสมาคม ขัดพระบัญชา ให้ ธัมชโย พ้นอจากความเป็นพระ ตลอดจนกรณี ม.ส.เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ประพฤติผิดพระวินัยในรับเงิน เป็นเจ้าพนักงาน รับสินบน และมีมติที่ขัดต่อคำวินิจฉัยและพระบัญญชา นั่น หลังจากที่ พ.ศ.ได้ส่งเรื่องต่อ ให้ มหาเถรสมาคม เป็นฝ่ายชี้แจง แต่ก็ยังไม่ได้มีความคืบหน้าใดๆ
ทั้งนี้ ต้องมีการศึกษาข้อมูลและพิจารณา ว่า ซึ่ง DSI จะต้องกลายเป็นหนึ่งในผู้ถูกฟ้อง ว่า สมควรจะแยกฟ้อง หรือ ฟ้องในคดีเดียวกัน กับกรณี ทรัพย์สินวัดธรรมกาย และ มูลนิธิในเครือธรรมกาย มูลค่ากว่า 4 ล้านล้าน ที่มีทรัพย์สินจำนวนมาก ไม่ได้อยูในชื่อหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิ และ วัดธรรมกาย ที่เข้าข่าย นิติกรรมอำพลางและผิดกฏหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
หากดาวเทียม คือ หัวใจของการสื่อสาร ที่สามารถควบคุมและกำหนดกระแสการรับรู้ ซึ่งเป็นก้าวแรกของการควบคุมทิศทางและการเปลียนแปลงกระแสสังคม และ ผลประโยชน์พลังงาน ที่เชื่อมโยงกับเครือข่ายอิทธิพลการเมืองมหาอำนาจโลก ที่ใช้ควบคุมอำนาจการเมืองไทย ส่วน เครือข่ายนายทุนธรรมกาย ก็จะเป็น กลุ่มอำนาจทางเศรษฐกิจ ที่จะเป็นฐานเสียงสำคัญของผู้ที่จะเข้ามามีอำนาจในระบบประชาธิปไตย
ซึ่งทั้งหมดจึงเป็นเรื่องที่สมควรต้องทำให้ เที่ยงธรรม โปรงใส ให้เร็วที่สุด
คำฟ้องคดี ปตท อมท่อก๊าซ
https://www.facebook.com/konthamkhao/posts/10208729467729816
คำฟ้องคดี ร่าง พรบ.ปิโตรเลียม
https://www.facebook.com/konthamkhao/posts/10208735263074696
คำฟ้องคดี ไทยคม ทำผิดสัญญาสัมปทาน ไปให้บริการต่างประเทศ
https://www.facebook.com/konthamkhao/posts/10208784255819484
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่