มีโอกาศไปศาลแรงงานเลยนำประเด็นพูดคุยกัน

คดีนี้ลูกจ้างตายเนื่องจากอุบัติเหตุในทางการจ้าง

ลูกจ้างได้รับเงินตาม พรบ.เงินทดแทน และสิทธิตามประกันสังคมครบถ้วน  รวมทั้งเงินที่บริษัทฯ ให้การช่วยเหลืออีกบางส่วน

รวมแล้วเป็นเงินจำนวน 5 แสนเศษ

             ต่อจากนั้น  โจทก์ (ทายาท) นำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงาน  โดยเรียกเงินค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดอุปการะตาม ปพพ.มาตรา 443+420  เรียกเงินอีกประมาณ 8 แสนเศษ

             ซึ่งในคำฟ้องอ้างว่าก่อนตาย  ผู้ตายได้ส่งเงินให้แก่โจทก์ที่ 1  จำนวน 5,000 บาท  โจทก์ที่ 2  จำนวน 4,000 บาท  ซึ่งจากข้อเท็จจริงคำฟ้องในส่วนนี้เป็นเท็จ 100 เปอร์เซ็น  ยังมีข้อเท็จจริงอื่นๆ เช่น  เขตอำนาจศาล  อำนาจฟ้อง ฯลฯ อีกจิปาถะ

            ในวันนัดผู้ประนอมฯ  รวมทั้งศาลท่าน  อยากให้นายจ้าง (จำเลย) จ่ายเงินอย่างเดียว   ไม่ดูข้อเท็จจริงในคดี   ใจจริงอยากจะสู้ให้คดีถึงที่สุด  และเพื่อเป็นบรรทัดฐานในคดีต่อไป   แต่อีกใจหนึ่งก็สงสารจำเลยอยู่เหมือนกัน   ในนัดดังกล่าวเจรจากันไม่สำเร็จ  นัดต่อไปศาลท่านเลยหมายเรียกกรรมการบริษัทฯ ไปร่วมไกล่เกลี่ยด้วย  เอิ๊กๆ (อันนี้เหมือนน้ำท่วมปาก)
            ไว้นัดหน้าคดีมีความคืบหน้าค่อยมาเล่าให้ฟังอีก  

หมายเหตุ
นอกจากจะได้เงินตาม พรบ.เงินทดแทน  + สิทธิตามประกันสังคม  แล้วยังฟ้องเรียกค่าเสียหายทางละเมิดได้อีก   ตกลงไอ้ พรบ.เงินทดแทน
มันออกมาเพื่อ  เจตนารมณ์ในการตรา พรบ.เงินทดแทน  คือ อะไร    
หรือเป็นช่องทางหากินกับคนตาย  เพื่อใช้ศาลแรงงานเป็นเครื่องมือ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่