คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ไอเดียให้พรรคที่ 1 และ 2 ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล แล้วนโยบายที่ประกาศตอนหาเสียงจะทำตามแนวทางพรรคไหน แบ่งโค้วต้ากัน หรือว่ายึดพรรคที่ 1 วิธีนี้หากให้มาทำงานลักษณะ รูทีน ไม่มีปัญหา เพราะงานรูทีนมันไม่ต้องคิดอะไรมาก
แต่การบริหารประเทศที่จำเป็นต้องขับเคลื่อนด้วยนโยบาย
หาก 2 พรรคมีอุดมการณ์มีนโยบายเดียวกัน พูดคุยกันรู้เรื่องก็ไม่เป็นไร
แต่หากทั้งอุดมการณ์และนโยบายไม่เหมือนกันเลยจะสร้างปัญหา รัฐบาลจะขาดเสถียรภาพ ให้พิจารณาการตั้งรัฐบาลแบบผสม ที่มีพรรคเล็กพรรคน้อย แล้วมาขอส่วนแบ่งเก้าอี้ รมต.
และอาจกระทบความรู้สึกของ ปชช. นาย A เลือกพรรคเพื่อไทยเพราะชอบ นโยบายจำนำข้าว แต่นาย B เลือก ปชป. เพราะชอบ นโยบายประกันราคา ถ้าเลือกทำเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะสร้างความไม่พอใจให้ ปชช. ได้
หรือกรณีเห็นด้วยกับนโยบายรถไฟความเร็วสูง แต่ว่า พรรคเพื่อไทย เสนอว่าให้กู้นอกงบประมาณ แต่ ปชป. บอกว่าไม่เห็นด้วย ควรจะใช้ในงบประมาณประจำปี โดยอ้างว่าจะควบคุมตรวจสอบง่ายกว่า เพื่อไทยก็บอกว่า ถ้าอย่างนั้นมันจะมีปัญหา ไม่รู้จะเสร็จเมื่อไหร่ ปีนี้มีงบก็ได้ทำ ปีถัดไปไม่มีงบก็ไม่ได้ทำ ถ้าทำตามเพื่อไทยเสร็จทันกรอบ 7 ปีแน่นอน ก็เถียงกันไปกันมาสุดท้ายไม่ได้ทำ
ดังนั้นทั่วโลกเขาแทบไม่มีใครใช้ไอเดียนี้ คงมีคนคิดแล้วว่ามันมีข้อเสียมากกว่าข้อดี
แต่การบริหารประเทศที่จำเป็นต้องขับเคลื่อนด้วยนโยบาย
หาก 2 พรรคมีอุดมการณ์มีนโยบายเดียวกัน พูดคุยกันรู้เรื่องก็ไม่เป็นไร
แต่หากทั้งอุดมการณ์และนโยบายไม่เหมือนกันเลยจะสร้างปัญหา รัฐบาลจะขาดเสถียรภาพ ให้พิจารณาการตั้งรัฐบาลแบบผสม ที่มีพรรคเล็กพรรคน้อย แล้วมาขอส่วนแบ่งเก้าอี้ รมต.
และอาจกระทบความรู้สึกของ ปชช. นาย A เลือกพรรคเพื่อไทยเพราะชอบ นโยบายจำนำข้าว แต่นาย B เลือก ปชป. เพราะชอบ นโยบายประกันราคา ถ้าเลือกทำเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะสร้างความไม่พอใจให้ ปชช. ได้
หรือกรณีเห็นด้วยกับนโยบายรถไฟความเร็วสูง แต่ว่า พรรคเพื่อไทย เสนอว่าให้กู้นอกงบประมาณ แต่ ปชป. บอกว่าไม่เห็นด้วย ควรจะใช้ในงบประมาณประจำปี โดยอ้างว่าจะควบคุมตรวจสอบง่ายกว่า เพื่อไทยก็บอกว่า ถ้าอย่างนั้นมันจะมีปัญหา ไม่รู้จะเสร็จเมื่อไหร่ ปีนี้มีงบก็ได้ทำ ปีถัดไปไม่มีงบก็ไม่ได้ทำ ถ้าทำตามเพื่อไทยเสร็จทันกรอบ 7 ปีแน่นอน ก็เถียงกันไปกันมาสุดท้ายไม่ได้ทำ
ดังนั้นทั่วโลกเขาแทบไม่มีใครใช้ไอเดียนี้ คงมีคนคิดแล้วว่ามันมีข้อเสียมากกว่าข้อดี
แสดงความคิดเห็น
ตอบระทู้ "ทำยังไงดี ม๊อบปิดกรุงขนาดใหญ่ ถึงจะมีโอกาสเกิดขี้นน้อยลง?"
ขอให้ดูวิธีการของเด็ก เป็นตัวอย่าง
การเลือกหัวหน้าห้อง หรือประธานนักเรียน คนที่ได้คะแนนสูงสุด ได้เป็นหัวหน้าห้องหรือประธานนักเรียน
คนที่ได้คะแนนรอง ก็เป็นรองหัวหน้าหรือรองประธานไป
วิธีการของชาวบ้าน คนที่ได้คะแนนสูงสุด ได้เป็นนายกสมาคม คนที่ได้คะแนนรอง ก็เป็นรองนายกสมาคม
ในการเลือก สส. พรรคที่ได้คะแนนมากสูสีกัน แสดงว่า ประชาขนเขาต้องการพรรคนั้นให้เข้ามาบริหารประเทศ
เขาได้คะแนนน้อยกว่าอีกพรรคหนึ่งนิดหน่อย ทำไมจะเขี่ยเขาออก ทำไมจะต้องกีดกันเขา ควรจะให้พรรคทั้งสอง
บริหารประเทศร่วมกัน พรรคที่ได้คะแนนมาก เป็นนายก หรือ รมต. พรรคที่ได้คะแนนรอง ก็เป็นรองนายก หรือ รมช.
หรือ อาจจะสลับกันก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม
ประชาชน เขายอมอยู่แล้ว อาจจะดีใจเสียอีกที่เลือกมาแล้วไม่เสียหลาย
แต่คนในพรรคนี่สิ กิเลศหนา อัตตาสูง ตั้งแง่ว่า ถ้าไม่ได้อันดับหนึ่ง ก็จะไม่เอาเลย
ทำให้พรรคใหญ่ ต้องไปนำเอาพรรคเล็กพรรคน้อยเข้ามาร่วม ซึ่งมันไม่ใช่เจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่เลย เอามาทำไม
ยกเว้น พรรคใหญ่ได้คะแนเสียงท่วมท้น ทิ้งห่างพรรครองอย่างมาก ถ้าอย่างนั้นก็ให้เป็นรัฐบาลพรรคเดียวไป
และสามารถอ้างกับม็อบได้อย่างเต็มปากว่า เรามาจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนะ
ถ้าจะอ้างว่า เมื่อพรรคใหญ่มารวมกันแล้ว ฝ่ายค้านก็จะไม่มีประสิทธิภาพ
อยากจะถามว่า มียุคใดสมัยใดบ้างที่ฝ่ายค้านสามารถอภิปรายขับไล่รัฐบาลได้บ้าง (อาจจะมีนะครับ แต่กี่เปอร์เซนล่ะ)
แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีศาลรัฐธรรมนูญอยู่ ถ้าฝ่ายรัฐบาลทำผิด ก็สามารถฟ้องร้องได้
ขออภัย ไม่อยากเข้าไปตอบกระทู้นั้น เพราะมันอาจจะล้าสมัยไปแล้ว
กระทู้นี้ เป็นกระทู้คำถาม นะครับ ถามว่า
คิดอย่างนี้ มีอะไรผิดไหมครับ ผิดอย่างไร ที่ถูก ต้องเป็นอย่างไร