ความเสี่ยงบริหารจัดการได้
สับสนกันจังเลยเวลาใครพูดคำว่า “อันตราย” กับ “ความเสี่ยง” เนี่ย! มามะ มาทำความเข้าใจกัน
คุณครู : นักเรียน... คนที่ขี่มอเตอร์ไซด์ กับขับรถยนต์อย่างไหนเสี่ยงกว่ากัน?
นักเรียน : ขี่มอเตอร์ไซด์ครับ
คุณครู : แล้วนั่งรถยนต์คาดเข็มขัดนิรภัย กับนั่งกระบะท้ายหล่ะ อย่างไหนเสี่ยงกว่ากัน?
นักเรียน : กระบะท้ายแน่นอนครับ
คุณครู : ครูไม่แปลกใจหรอก ที่เธอตอบกันแบบนี้ เพราะเธอยังเด็กอยู่ เอาเป็นว่าเดี๋ยวครูจะอธิบายให้เข้าใจนะจ๊ะ คราวหน้าจะได้ไม่สับสน แล้วด่วนสรุปอีก
ว่ากันด้วยคำว่า “อันตราย” ก่อนละกัน พูดง่ายๆให้เห็นภาพเลยนะ “สิงโต” อันตรายกว่า “ยุง” ยังไงน่ะเหรอ คือสิ่งใดก็ตามที่สามารถสร้างความบาดเจ็บให้มากกว่านั่นคือสิ่งที่อันตรายกว่า แต่หากพูดถึง “ความเสี่ยง” แล้วไซร้ เราจำเป็นต้องนำโอกาสการเกิดเหตุการณ์นั้นเข้ามาคิดร่วมด้วย เช่น โอกาสในการโดนสิงโตกัด ในชีวิตคนไทยเรานั้น เรียกได้ว่าโอกาสแทบจะเป็นศูนย์ นอกจากคนพยายามจะปีนกรงสิงโตในสวนสัตว์ แต่นั่นคงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยแล้วหล่ะ แล้วโอกาสที่คนไทยจะโดยยุงกัดหล่ะ คิดง่ายๆเลย ใครเกิดมาไม่เคยโดนยุงกัดเลย ง่ายกว่านั้น มีใครมั้ยที่ทั้งเดือนไม่โดนยุงกัดเลย นั่นแหละ เริ่มเห็นภาพแล้วหล่ะสิ แน่นอนจ๊ะ ถ้าถามว่า “สิงโต” กับ “ยุง” อะไรมีความเสี่ยงมากกว่ากัน ถ้าเข้าใจคำว่าความเสี่ยงแล้วคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ยุง”
กลับมาที่คำถามที่ถามไว้ตั้งแต่ช่วงแรก คนที่ขี่มอเตอร์ไซด์ กับขับรถยนต์อย่างไหนเสี่ยงกว่ากัน? หรือ นั่งรถยนต์คาดเข็มขัดนิรภัย กับนั่งกระบะท้ายหล่ะ อย่างไหนเสี่ยงกว่ากัน? ถ้าพวกเราเข้าใจคำว่าความเสี่ยงแล้ว ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปนะครับ อย่างที่ผมเคยบอกในบทความก่อนหน้านี้ว่า ความเสี่ยงบริหารจัดการได้ ถ้าคุณมีความรู้และประสบการณ์มากพอ
เพื่อให้มีวิชาการ และเห็นภาพขึ้นอีกนิดนึง ผมขออนุญาตมีภาพประกอบ ดังนี้
แกนตั้ง คือ โอกาสการเกิดอุบัติเหตุ ผมแยกให้เข้าใจง่ายๆ โดยการแบ่งเป็น โอกาสเกิดได้ทุกเดือน(นานๆเกิดที), ทุกวัน(เกิดได้เรื่อยๆ), หรือทุกชั่วโมง(เกิดอยู่บ่อยครั้ง)
แกนนอน คือ ความรุนแรงของอุบัติเหตุ แยกเป็นบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น แผลถลอก, บาดเจ็บสาหัส เช่น กระดูกหัก, และสุดท้ายรุนแรงที่สุด คือ เสียชีวิต
เพื่อไม่ให้สับสนและเข้าใจง่ายขึ้นผมจึงใส่ตัวเลข 1-9 เข้าไปในแต่ละช่อง อธิบายคร่าวๆดังนี้
ช่องที่ 1 อุบัติเหตุดังกล่าวเดือนนึง(นานๆ)จะเกิดซักที เกิดทีก็แค่บาดเจ็บเล็กน้อย
ช่องที่ 5 อุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นได้ทุกวัน(เรื่อยๆ) เกิดแล้วถึงขั้นบาดเจ็บสาหัส
ช่องที่ 9 อุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นได้แทบทุกชั่วโมง(บ่อยครั้ง) เกิดแล้วสามารถเสียชีวิตได้ นั่นหมายถึง ช่องนี้ความเสี่ยงย่อมมากที่สุด
มาครับมาช่วยกันประเมินความเสี่ยง ระหว่างนายเอ และ นายบี ใครมีความเสี่ยงมากกว่ากัน
นายเอ และ นายบี ต้องการเดินทางจากระยองไปกรุงเทพเหมือนกัน แต่ใช้ยานพาหนะต่างกัน และมีสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
นายเอ ใช้มอเตอร์ไซด์เป็นยานพาหนะ เค้าตรวจสภาพรถอย่างสม่ำเสมอ เคยผ่านการอบรมขับขี่อย่างปลอดภัย นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายครบถ้วน เช่น หมวกกันน็อค เสื้อหนัง กางเกงหนัง รองเท้าหุ้มข้อ ขับขี่ที่ความเร็ว 80 กม./ชม. โดยเผื่อเวลาเดินทางล่วงหน้า 3 ชม.
นายบี ใช้รถยนต์เป็นพาหนะ ซึ่งไม่เคยตรวจสภาพ และเปลี่ยนน้ำมันเครื่องมาแล้วสองปี ไม่เคยผ่านการอบรมการขับขี่อย่างปลอดภัย คืนก่อนเดินทางมีการดื่มสุราจำนวนมาก และได้นอนเพียงแค่สองชั่วโมง จึงมีอาการเมาค้างและยังคงง่วงนอน ขณะขับขี่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย และใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 140 กม./ชม. เนื่องจากตื่นสาย
ถ้าเราประเมินตามตารางเบื้องต้น นายเอ อาจจะอยู่ในความเสี่ยง ช่องหมายเลข 1 ไม่เกินช่องหมายเลข 5 ส่วนนายบี ความเสี่ยงอาจสูงตั้งแต่ ช่องหมายเลข 6 จนอาจถึงช่องหมายเลข 9
เห็นได้ชัดว่าถ้าถามคำถามว่า คนที่ขี่มอเตอร์ไซด์ กับขับรถยนต์อย่างไหนอันตรายกว่ากัน? ชัดเจนครับ คำตอบ ก็คือ “มอเตอร์ไซด์”
แต่หากถามว่าคนที่ขี่มอเตอร์ไซด์ กับขับรถยนต์อย่างไหนเสี่ยงกว่ากัน? เรายังตอบทันทีไม่ได้หรอกครับ จนกว่าจะทราบสถานการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น จึงจะสามารถประเมินความเสี่ยงได้
แล้วที่บอกว่าความเสี่ยงบริหารจัดการได้ คืออะไร... มาช่วยกันอีกรอบครับ
เราจะมาช่วยลด โอกาสเกิดอุบัติเหตุของนายบีกัน >> นายบีต้องใช้รถตามมาตรฐานการผลิต ตรวจสภาพและซ่อมบำรุงตามระยะอย่างสม่ำเสมอ เข้าอบรมหลักสูตรขับขี่อย่างปลอดภัย ไม่ดื่มสุราหากมีแผนจะเดินทาง และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
ซึ่งบางทีเราก็ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุให้มากที่สุดแล้ว แต่ก็ยังเกิดได้ ดังนั้น เรามาช่วยกันลดความรุนแรงกันดีกว่า >> โดยคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ใช้รถที่มีถุงลมนิรภัย ใช้ความเร็วอย่างเหมาะสมตามสภาพถนน ถ้าเราเคยเห็นนักแข่งรถ อาจจะถึงขั้นสวมหมวกกันน็อค ชุดหนัง รองเท้าหนังกันไฟกันเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่าเมื่อมีการบริหารจัดการความเสี่ยงแล้ว ค่าความเสี่ยงของนายบีตกลงมาแทบจะไม่เกิน ช่องหมายเลข 5 ซึ่งแทบไม่มีโอกาสในการเสียชีวิตเลย
จากที่เล่ามาทั้งหมดทั้งมวล ทุกท่านคงเห็นแล้วว่า ความเสี่ยงสามารถบริหารจัดการได้จริงๆ ไม่ว่าจะด้วยการลดโอกาสหรือความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ ผมว่าเอาไปปรับใช้กับวิถีชีวิตแบบไทยๆได้นะครับ แต่ที่สำคัญก็ไม่ควรขัดกับกฎหมายไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ที่สุดแล้วผมว่าประโยชน์ที่ได้นั้นไซร้ ก็เกิดแก่ผู้ที่สามารถปฏิบัติและบริหารจัดการได้เท่านั้น ใช้เหตุใช้ผลให้มากๆครับ อย่าลืมนะครับ “ความปลอดภัยเริ่มต้นที่ตัวเรา”
ด้วยความปรารถนาดี
Dangerous Safety
ขี่รถมอเตอร์ไซด์ กับ ขับรถยนต์ อย่างไหนมีความเสี่ยงมากกว่ากัน???
สับสนกันจังเลยเวลาใครพูดคำว่า “อันตราย” กับ “ความเสี่ยง” เนี่ย! มามะ มาทำความเข้าใจกัน
คุณครู : นักเรียน... คนที่ขี่มอเตอร์ไซด์ กับขับรถยนต์อย่างไหนเสี่ยงกว่ากัน?
นักเรียน : ขี่มอเตอร์ไซด์ครับ
คุณครู : แล้วนั่งรถยนต์คาดเข็มขัดนิรภัย กับนั่งกระบะท้ายหล่ะ อย่างไหนเสี่ยงกว่ากัน?
นักเรียน : กระบะท้ายแน่นอนครับ
คุณครู : ครูไม่แปลกใจหรอก ที่เธอตอบกันแบบนี้ เพราะเธอยังเด็กอยู่ เอาเป็นว่าเดี๋ยวครูจะอธิบายให้เข้าใจนะจ๊ะ คราวหน้าจะได้ไม่สับสน แล้วด่วนสรุปอีก
ว่ากันด้วยคำว่า “อันตราย” ก่อนละกัน พูดง่ายๆให้เห็นภาพเลยนะ “สิงโต” อันตรายกว่า “ยุง” ยังไงน่ะเหรอ คือสิ่งใดก็ตามที่สามารถสร้างความบาดเจ็บให้มากกว่านั่นคือสิ่งที่อันตรายกว่า แต่หากพูดถึง “ความเสี่ยง” แล้วไซร้ เราจำเป็นต้องนำโอกาสการเกิดเหตุการณ์นั้นเข้ามาคิดร่วมด้วย เช่น โอกาสในการโดนสิงโตกัด ในชีวิตคนไทยเรานั้น เรียกได้ว่าโอกาสแทบจะเป็นศูนย์ นอกจากคนพยายามจะปีนกรงสิงโตในสวนสัตว์ แต่นั่นคงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยแล้วหล่ะ แล้วโอกาสที่คนไทยจะโดยยุงกัดหล่ะ คิดง่ายๆเลย ใครเกิดมาไม่เคยโดนยุงกัดเลย ง่ายกว่านั้น มีใครมั้ยที่ทั้งเดือนไม่โดนยุงกัดเลย นั่นแหละ เริ่มเห็นภาพแล้วหล่ะสิ แน่นอนจ๊ะ ถ้าถามว่า “สิงโต” กับ “ยุง” อะไรมีความเสี่ยงมากกว่ากัน ถ้าเข้าใจคำว่าความเสี่ยงแล้วคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ยุง”
กลับมาที่คำถามที่ถามไว้ตั้งแต่ช่วงแรก คนที่ขี่มอเตอร์ไซด์ กับขับรถยนต์อย่างไหนเสี่ยงกว่ากัน? หรือ นั่งรถยนต์คาดเข็มขัดนิรภัย กับนั่งกระบะท้ายหล่ะ อย่างไหนเสี่ยงกว่ากัน? ถ้าพวกเราเข้าใจคำว่าความเสี่ยงแล้ว ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปนะครับ อย่างที่ผมเคยบอกในบทความก่อนหน้านี้ว่า ความเสี่ยงบริหารจัดการได้ ถ้าคุณมีความรู้และประสบการณ์มากพอ
เพื่อให้มีวิชาการ และเห็นภาพขึ้นอีกนิดนึง ผมขออนุญาตมีภาพประกอบ ดังนี้
แกนตั้ง คือ โอกาสการเกิดอุบัติเหตุ ผมแยกให้เข้าใจง่ายๆ โดยการแบ่งเป็น โอกาสเกิดได้ทุกเดือน(นานๆเกิดที), ทุกวัน(เกิดได้เรื่อยๆ), หรือทุกชั่วโมง(เกิดอยู่บ่อยครั้ง)
แกนนอน คือ ความรุนแรงของอุบัติเหตุ แยกเป็นบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น แผลถลอก, บาดเจ็บสาหัส เช่น กระดูกหัก, และสุดท้ายรุนแรงที่สุด คือ เสียชีวิต
เพื่อไม่ให้สับสนและเข้าใจง่ายขึ้นผมจึงใส่ตัวเลข 1-9 เข้าไปในแต่ละช่อง อธิบายคร่าวๆดังนี้
ช่องที่ 1 อุบัติเหตุดังกล่าวเดือนนึง(นานๆ)จะเกิดซักที เกิดทีก็แค่บาดเจ็บเล็กน้อย
ช่องที่ 5 อุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นได้ทุกวัน(เรื่อยๆ) เกิดแล้วถึงขั้นบาดเจ็บสาหัส
ช่องที่ 9 อุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นได้แทบทุกชั่วโมง(บ่อยครั้ง) เกิดแล้วสามารถเสียชีวิตได้ นั่นหมายถึง ช่องนี้ความเสี่ยงย่อมมากที่สุด
มาครับมาช่วยกันประเมินความเสี่ยง ระหว่างนายเอ และ นายบี ใครมีความเสี่ยงมากกว่ากัน
นายเอ และ นายบี ต้องการเดินทางจากระยองไปกรุงเทพเหมือนกัน แต่ใช้ยานพาหนะต่างกัน และมีสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
นายเอ ใช้มอเตอร์ไซด์เป็นยานพาหนะ เค้าตรวจสภาพรถอย่างสม่ำเสมอ เคยผ่านการอบรมขับขี่อย่างปลอดภัย นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายครบถ้วน เช่น หมวกกันน็อค เสื้อหนัง กางเกงหนัง รองเท้าหุ้มข้อ ขับขี่ที่ความเร็ว 80 กม./ชม. โดยเผื่อเวลาเดินทางล่วงหน้า 3 ชม.
นายบี ใช้รถยนต์เป็นพาหนะ ซึ่งไม่เคยตรวจสภาพ และเปลี่ยนน้ำมันเครื่องมาแล้วสองปี ไม่เคยผ่านการอบรมการขับขี่อย่างปลอดภัย คืนก่อนเดินทางมีการดื่มสุราจำนวนมาก และได้นอนเพียงแค่สองชั่วโมง จึงมีอาการเมาค้างและยังคงง่วงนอน ขณะขับขี่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย และใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 140 กม./ชม. เนื่องจากตื่นสาย
ถ้าเราประเมินตามตารางเบื้องต้น นายเอ อาจจะอยู่ในความเสี่ยง ช่องหมายเลข 1 ไม่เกินช่องหมายเลข 5 ส่วนนายบี ความเสี่ยงอาจสูงตั้งแต่ ช่องหมายเลข 6 จนอาจถึงช่องหมายเลข 9
เห็นได้ชัดว่าถ้าถามคำถามว่า คนที่ขี่มอเตอร์ไซด์ กับขับรถยนต์อย่างไหนอันตรายกว่ากัน? ชัดเจนครับ คำตอบ ก็คือ “มอเตอร์ไซด์”
แต่หากถามว่าคนที่ขี่มอเตอร์ไซด์ กับขับรถยนต์อย่างไหนเสี่ยงกว่ากัน? เรายังตอบทันทีไม่ได้หรอกครับ จนกว่าจะทราบสถานการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น จึงจะสามารถประเมินความเสี่ยงได้
แล้วที่บอกว่าความเสี่ยงบริหารจัดการได้ คืออะไร... มาช่วยกันอีกรอบครับ
เราจะมาช่วยลด โอกาสเกิดอุบัติเหตุของนายบีกัน >> นายบีต้องใช้รถตามมาตรฐานการผลิต ตรวจสภาพและซ่อมบำรุงตามระยะอย่างสม่ำเสมอ เข้าอบรมหลักสูตรขับขี่อย่างปลอดภัย ไม่ดื่มสุราหากมีแผนจะเดินทาง และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
ซึ่งบางทีเราก็ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุให้มากที่สุดแล้ว แต่ก็ยังเกิดได้ ดังนั้น เรามาช่วยกันลดความรุนแรงกันดีกว่า >> โดยคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ใช้รถที่มีถุงลมนิรภัย ใช้ความเร็วอย่างเหมาะสมตามสภาพถนน ถ้าเราเคยเห็นนักแข่งรถ อาจจะถึงขั้นสวมหมวกกันน็อค ชุดหนัง รองเท้าหนังกันไฟกันเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่าเมื่อมีการบริหารจัดการความเสี่ยงแล้ว ค่าความเสี่ยงของนายบีตกลงมาแทบจะไม่เกิน ช่องหมายเลข 5 ซึ่งแทบไม่มีโอกาสในการเสียชีวิตเลย
จากที่เล่ามาทั้งหมดทั้งมวล ทุกท่านคงเห็นแล้วว่า ความเสี่ยงสามารถบริหารจัดการได้จริงๆ ไม่ว่าจะด้วยการลดโอกาสหรือความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ ผมว่าเอาไปปรับใช้กับวิถีชีวิตแบบไทยๆได้นะครับ แต่ที่สำคัญก็ไม่ควรขัดกับกฎหมายไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ที่สุดแล้วผมว่าประโยชน์ที่ได้นั้นไซร้ ก็เกิดแก่ผู้ที่สามารถปฏิบัติและบริหารจัดการได้เท่านั้น ใช้เหตุใช้ผลให้มากๆครับ อย่าลืมนะครับ “ความปลอดภัยเริ่มต้นที่ตัวเรา”
ด้วยความปรารถนาดี
Dangerous Safety