เครดิตเดลินิวส์
https://www.dailynews.co.th/economic/567777
2017-04-12 11:15:00
บทสนทนาระหว่างเพื่อนฝูงบอกเล่ากันด้วยการใช้ความเร็วเกิน 120 กม.ต่อชม.บนทางหลวง ทางด่วน (เกินกว่าที่กม.กำหนด ) แล้วถึงที่หมายได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ถูกชูว่าเป็นผู้เยี่ยมยุทธในการขับขี่ ลืมคิดไปว่าฮีโร่สายเร็วฝ่าฝืนกฎหมายมา....เรื่องเล่าในบรรทัดต่อมาถึงประเด็นการขับรถ เมื่อคนไทยต้องไปขับรถในประเทศญี่ปุ่น หรือประเทศในกลุ่มยุโรปมักใช้ความเร็วตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด เพราะรู้ว่าโทษของการฝ่าฝืนนั้นอาจต้องเสียค่าปรับแทบจะสิ้นเนื้อประดาตัว
พฤติกรรมการใช้ความเร็วในการขับขี่ของคนไทยมีความย้อนแย้งการใช้ความเร็วตามกม.กำหนด เป็นเรื่องดราม่ามาอย่างยาวนาน ทั้ งโฆษณารถยนต์ที่ออกตัวว่าเครื่องแรง แซงเหนือชั้นเติมเข้าไปอีก มีงานวิจัยว่าความเร็วของรถมีผลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หากขับรถด้วยความเร็ว 60 กม.ชม.แรงปะทะที่เกิดขึ้นจะเท่ากับรถที่ตกจากที่สูง 1เมตรหรือประมาณ 5 ชั้นของตึกความเร็ว120 กม.ชม. จะเท่ากับตึกสูง 56 เมตร
การใช้ความเร็วเกินกม.กำหนดเป็นสาเหตุหลักอุบัติเหตุบนท้องถนน กรณีศึกษาที่เห็นชัด ภาพความสลดหดหู่ของอุบัติเหตุรถบัสโดยสารในพื้นที่เขาพลึง จ.อุตรดิถต์ เมื่อเดือนพ.ย. 2559 มีสาเหตุมาจากกายภาพของถนนและพฤติกรรมผู้ขับขี่
“ทางการญี่ปุ่นส่งทีมนักวิชาการร่วมศึกษาลักษณะจุดเสี่ยงบนทางหลวงของประเทศไทยนั้น ได้สรุปปัจจัยหลักในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากกายภาพถนน ไม่ได้เกิดจากการสร้างถนนผิดหลักวิศวกรรมอแต่อย่างใด อีกทั้งอยู่ในขั้นถนนที่มีคุณภาพมากที่สุด แต่ส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมผู้ขับขี่เกือบ 100%
เพราะเมื่อถนนมีช่องจราจรที่กว้างขึ้น วิ่งสบายมากขึ้น รถก็จะใช้ความเร็วเพิ่มขึ้นอัตโนมัติ ส่วนใหญ่รถใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนดที่ 90กม.ต่อชม. หรือเกิน 120 กม.ต่อชม. โดยประเทศญี่ปุ่นถนนทุกชนิดใช้ความเร็วไม่เกิน 80กม.ต่อชม. อีกทั้งปัจจัยที่ทำให้คนใช้ความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากกฎหมายและการลงโทษยังไม่รุนแรงมากหนัก”
สุจิณ มั่งนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง (ทล.) บอกเล่าหลังกระทรวงคมนาคมของไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่นลงบันทึกข้อตกลงร่วมกัน นำมาสู่ความช่วยเหลือจากปะประเทศญี่ปุ่นด้วยการ แก้ไขจุดเสี่ยงบนท้องถนนของไทย
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยความปลอดภัย เล่าให้ฟังว่า กระทรวงฯของญี่ปุ่นได้เก็บข้อมูลพบว่า ในปีค.ศ.1992 มีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นแต่ละปีไม่ต่ำกว่า14,000 คน จึงกำหนดมาตรการลดอุบัติเหตุอย่างจริงจัง พบว่าการเกิดอุบัติเหตุลดลงเหลือ1ใน3หรือประมาณ 3,400 คนต่อปีในค.ศ.2016 ซึ่งผลการลดอุบัติเหตุดังกล่าวสร้างความประหลาดใจให้กับคณะดูงานของไทยเป็นอย่างมาก
สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ญี่ปุ่นมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมศึกษาดูงานและสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทย ซึ่งมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในหน้าเทศกาลสำคัญ
ทางผู้เชี่ยวชาญได้คัดเลือกจุดเสี่ยงที่เกิดเหตุบ่อยมากที่สุดในถนนของกรมทางหลวง4จุดจาก141จุดเสี่ยง ดังนี้ 1.บ้านสาลี จ.สุพรรณบุรี ถนนมีลักษณะเป็นทางตรง เปิดเกาะหรือจุดกลับรถที่ตัดกระแสรถทางตรง 2.สะพานห้วยตอง จ.เพชรบูรณ์ มีลักษณะเป็นทางโค้งบนสะพาน 3.เขาพลึง จ.อุตรดิตถ์ มีลักษณะเป็นทางลาดชัน โค้ง 4.ถนนมิตรภาพ จ.ขอนแก่น เป็นทางหลวงขนาด10ช่องจราจร รถใช้ความเร็ว ทั้ง4จุดนั้นมีการคัดเลือกจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุ และเลือกจากลักษณะทางที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง ให้เกิดความหลากหลายเช่นทางโค้ง ทางแยก ทางตรง เป็นต้น
นายสุจิน กล่าวต่อว่า มีข้อแนะนำจากญี่ปุ่นว่าถนนในประเทศไทยมีศักยภาพที่ได้มาตรฐานเป็นอย่างมากแต่เนื่องจากถนนส่วนใหญ่ประเทศไทยเป็นถนนทางตรงทำให้มีการใช้ความเร็วมากขึ้น ทั้งในเขตชุมชน ในเขตเมืองความเร็วไม่มีการควบคุมทำให้มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูง
แนวทางแก้ไขของญี่ปุ่นมีดังนี้1.บริเวณทางโค้งให้เปลี่ยนจากสีเหลือง-ดำเป็นการทาสีขาวสลับแดงบริเวณผนังกันตก พร้อมวาดลูกศร แสดงสัญลักษณ์ทางโค้งให้เด่นชัด 2.ส่วนจุดที่เป็นทางลาดชัน ให้ทาสีแดงทึบสร้างความหนืดบนถนน และเขียนคำด้วยอักษรสีขาว ว่า "ใช้เกียร์ต่ำ" 3.บริเวณทางตรง ทางพื้นทึบสีแดงเช่นกัน และเขียนคำด้วยอักษรสีขาวว่า"ลดความเร็ว"
“สีแดงในญี่ปุ่นนั้นมีความหมายคือการระวัง จะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้พบเห็นและให้ระมัดระวังมากขึ้น พร้อมแนะนำการลดรณรงค์ ในเรื่องคาดเข็มขัด เปิดไฟหน้า ขับช้าๆ ซึ่งในญี่ปุ่นใช้มาตรการนี้จริงจัง”
จากข้อแนะนำดังกล่าวกรมทางหลวงนำไปใช้ในจุดเสี่ยงบริเวณเขาพลึง โดยทาสีขาวสลับแดงบริเวณทางโค้ง เขียนตัวหนังสือใช้เกียร์ต่ำลงบนพื้นสีแดง หลังจากแก้ไขตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาพบว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนเขาพลึงเป็นศูนย์ เหมือนเทียบกับปีที่ผ่านมามักจะมีการเกิดอุบัติเหตุทุกเดือน เดือนละ 2-3ครั้ง
ทั้งนี้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม สั่งการให้ติดตามผลการแก้ไขจุดเสี่ยงทั้ง4จุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อย่างใกล้ชิดหากได้ผล เตรียมขยายแก้ไขจุดเสี่ยงที่เหลืออีก 137 จุดทั่วประเทศไทย พร้อมรณรงค์ 3เรื่องให้ประชาชนอย่างเคร่งครัด โดยขั้นตอนต่อไปประเทศญี่ปุ่นจะส่งผู้เชี่ยวชาญจากไจก้า ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการลดอุบัติเหตุรับช่วงต่อดูสถิติการเกิดอุบัติเหตุหลังสงกรานต์ โดยจะเริ่มประชุมเดือนพ.ค. เพื่อเดินหน้าการลดอุบัติเหตุในเทศกาลต่อไป
สุจิณ บอกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นถนนทุกเส้นทางจะติดกล้องตรวจจับความเร็ว หากพบรถขับขี่เกินที่กำหนดไว้ ญี่ปุ่นจะใช้มาตรการตัดแต้มแจกใบสั่งโดยใบสั่งใบแรก คนกระทำผิดจะต้องเข้าอบรมครึ่งชม. ใบสั่งครั้งที่2 เพิ่มเป็น1ชม. พร้อมขึ้นศาล ต้องเสียเวลาทำงานไปเลย1วัน เป็นเรื่องที่คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญเป็นอยากมาก
ด้าน น.ส.พัทธิยะ ศรีเนตร ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ที่ 1 เพิ่มเติมในรายละเอียดของพื้นที่เสี่ยงใจ.อุตรดิถต์ว่า เขาพลึงเป็นทางโค้งลาดชัน กว่า 10 โค้ง และยาวกว่า 3 กม. ที่ผ่านมามีอุบัติเหตุเฉลี่ยเดือนละ 2 ครั้ง เนื่องจากใช้ความเร็วสูง รวมทั้งเคยเกิดอุบัติรุนแรงครั้งใหญ่มีรถทัวร์ตกเขาเสียชีวิต 18 ศพ
“เดิมถนนมีขนาด 2 ช่องไปกลับ ภายหลังขยายช่องทางเป็น 4 เลนไปกลับ กว้างเลนละ 3.5 เมตร ที่ผ่านมามีการติดป้ายเตือนทางโค้ง ทางลาดชันและจำกัดความเร็วเป็นตัวเลขและตัวอักษรจำนวนมาก แต่เมื่อไปดูงานที่ญี่ปุ่นพบว่า มีป้ายมากกว่าของเราอีก แต่เน้นป้ายที่สื่อเข้าใจง่าย เป็นรูปภาพทางโค้ง เข้าใจง่าย ดีกว่าป้ายข้อความคนไม่สนใจขี้เกียจอ่าน” ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ที่ 1 ย้ำมิติวัฒนธรรมใช้รถใช้ถนนของคนไทย
แม้ประเทศไทยจะได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ในอาเซียน แต่ไม่ได้หมายความจะเป็นผู้ขับขี่รถยนต์ที่ดีที่สุด ในทางกลับกันเรากับได้คว้าสถิติประเทศที่ตายจากอุบัติเหตุเป็นอันดับ 2ของโลกรองจากลิเบีย
ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ที่ 1 บอกว่าแนวทางแก้ไข แนะนำให้ลดความกว้างของถนนเหลือ 3.25 เมตร ด้วยการตีเส้นใหม่ทำให้ช่องทางแคบลง เพื่อให้รถลดความเร็วลงเองโดยอัตโนมัติเพราะช่องทางแคบ รวมทั้งทำคอนกรีตแบริเออร์สูงกว่าเดิม จาก 80 ซม. เป็น 85 ไม่มีเสาเข็ม บวกราวเหล็กรวมเป็น 1.2 เมตรและเสาเข็ม ป้องกันรถตกเขาและป้ายเตือนการใช้ความเร็ว หรือยัวร์สปีด ป้ายนำโค้ง ปุ่มกระพริบใช้พลังงานจากโซลาร์เซล ปุ่ม350 องศาบนพื้นถนนเพื่อเตือนให้ลดความเร็ว การทาสีแดง และป้ายเตือนใช้เกียร์ต่ำ ลดความเร็ว เรียกว่าสารพัดป้าย
...ปรากฏว่าเมื่อปรับการแจ้งเตือนตามคำแนะนำของวิศวกรชาวญี่ปุ่น ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา พบว่าอุบัติเหตุลดลง30% ….
สำหรับพื้นที่จ.สุพรรณบุรี ที่ผ่านมามีอุบัติเหตุแต่ไม่รุนแรงจนเป็นข่าวดัง เหมือนกับ”เขาพลึง” แต่อุบัติเหตุมีทุกวันฟังแล้วไม่น่าเชื่อว่าท้องถนนจะเปลี่ยนหน้าที่จากหนทางแห่งความสะดวกกลายเป็นเส้นทางสู่ความบาดเจ็บและตายมากว่าวัตถุประสงค์แรก
จตุพล เทพมังกร ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงสุพรรณบุรี 1 ให้รายละเอียดในส่วนของจ. สุพรรณบุรีว่า ผลการศึกษาพบว่า จุดเสี่ยงบนทางหลวง340 ตอนควบสาลี-สุพรรณบุรี เป็นทางตรงยาว 29.5 กม. เขต อ. บางปลา-อ. เมือง ขนาด 10 ช่องทางไปกลับ มีปริมาณรถมากวันละกว่า 1.5 หมื่นคัน ดูสถิติย้อนหลัง4 ปี พบว่าเกิดอุบัติเหตุปีละ ประมาณ 130 ครั้ง และเกิดอุบัติเหตุสูงใน 7 จุดซึ่งเป็นจุดกลับรถ สาเหตุหลักคือรถใช้ความเร็วสูงเกิน 130-150 กม. โดยรถทางตรงเฉี่ยวชนรถที่กลับรถ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่ขับโดยผู้สูงอายุ ที่มักเบี่ยงออกซ้ายเพื่อเข้าถนนชุมชน ทำให้ถูกชนท้าย
“ที่ผ่านมาจะติดป้ายจำกัดความเร็ว แต่ยังเกิดปัญหา ญี่ปุ่นระบุว่าถนนเมืองไทยมีมาตรฐานดี แต่ปัญหาเกิดจากพฤติกรรมผู้ขับขี่ ใช้ความเร็วสูง และปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ได้แนะนำให้ติดป้ายเตือนเพิ่มและใช้ป้ายที่สื่อสัญลักษณ์มากกว่าป้ายอักษรข้อความ จะกระตุ้นและเข้าใจดีกว่า รวมทั้งเสนอให้ติดสัญญาณไฟ และสร้างอุโมงค์สะพานลดจุดตัด แต่มีปัญหารถไม่สัมพันธ์คือรถทางตรงมีมาก แต่รถกลับรถมีไม่กี่คัน”
ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงสุพรรณบุรีที่ 1 กล่าวว่าในปี 2561 ได้ของบประมาณติดตั้งไฟแดง สร้างสะพานและอุโมงค์บางจุด ขณะนี้ได้เพิ่มป้าย วางแบริเออร์ไม่ให้เปลี่ยนเลนทันทีทันใดหลังการกลับรถ ป้องกันการชนท้าย ช่วงไหล่ทาง และเน้นบังคับใช้กฎหมายร่วมกับตำรวจและผู้เกียวข้องตรวจจับความเร็วห้ามเกิน 90 กม.ต่อชม.รณรงค์ให้ความรู้เยาวชนและผู้สูงอายุเรื่องวินัยจราจร
เรื่องราวบนท้องถนนของประเทศไทย วันนี้ ถ้าขับรถดีอยู่ในกฏกติกา ไม่ได้หมายความว่าคุณจะรอดพ้นอุบัติเหตุ ตราบที่ต้องใช้ถนนกับคนไม่เคารพกฏหมายชีวิตจึงเสี่ยงไม่แพ้กัน.... เทศกาลสงกรานต์ขอให้ทุกคนเดินทางกลับบ้านปลอดภัย
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง
copyมาจาก
https://economic.kachon.com/143033
"ทางการญี่ปุ่น" วิเคราะห์จุดเสี่ยง"ถนนไทย" 'สายซิ่ง' ฟังไว้ถนนไม่ใช่สาเหตุ
2017-04-12 11:15:00
บทสนทนาระหว่างเพื่อนฝูงบอกเล่ากันด้วยการใช้ความเร็วเกิน 120 กม.ต่อชม.บนทางหลวง ทางด่วน (เกินกว่าที่กม.กำหนด ) แล้วถึงที่หมายได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ถูกชูว่าเป็นผู้เยี่ยมยุทธในการขับขี่ ลืมคิดไปว่าฮีโร่สายเร็วฝ่าฝืนกฎหมายมา....เรื่องเล่าในบรรทัดต่อมาถึงประเด็นการขับรถ เมื่อคนไทยต้องไปขับรถในประเทศญี่ปุ่น หรือประเทศในกลุ่มยุโรปมักใช้ความเร็วตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด เพราะรู้ว่าโทษของการฝ่าฝืนนั้นอาจต้องเสียค่าปรับแทบจะสิ้นเนื้อประดาตัว
พฤติกรรมการใช้ความเร็วในการขับขี่ของคนไทยมีความย้อนแย้งการใช้ความเร็วตามกม.กำหนด เป็นเรื่องดราม่ามาอย่างยาวนาน ทั้ งโฆษณารถยนต์ที่ออกตัวว่าเครื่องแรง แซงเหนือชั้นเติมเข้าไปอีก มีงานวิจัยว่าความเร็วของรถมีผลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หากขับรถด้วยความเร็ว 60 กม.ชม.แรงปะทะที่เกิดขึ้นจะเท่ากับรถที่ตกจากที่สูง 1เมตรหรือประมาณ 5 ชั้นของตึกความเร็ว120 กม.ชม. จะเท่ากับตึกสูง 56 เมตร
การใช้ความเร็วเกินกม.กำหนดเป็นสาเหตุหลักอุบัติเหตุบนท้องถนน กรณีศึกษาที่เห็นชัด ภาพความสลดหดหู่ของอุบัติเหตุรถบัสโดยสารในพื้นที่เขาพลึง จ.อุตรดิถต์ เมื่อเดือนพ.ย. 2559 มีสาเหตุมาจากกายภาพของถนนและพฤติกรรมผู้ขับขี่
“ทางการญี่ปุ่นส่งทีมนักวิชาการร่วมศึกษาลักษณะจุดเสี่ยงบนทางหลวงของประเทศไทยนั้น ได้สรุปปัจจัยหลักในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากกายภาพถนน ไม่ได้เกิดจากการสร้างถนนผิดหลักวิศวกรรมอแต่อย่างใด อีกทั้งอยู่ในขั้นถนนที่มีคุณภาพมากที่สุด แต่ส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมผู้ขับขี่เกือบ 100%
เพราะเมื่อถนนมีช่องจราจรที่กว้างขึ้น วิ่งสบายมากขึ้น รถก็จะใช้ความเร็วเพิ่มขึ้นอัตโนมัติ ส่วนใหญ่รถใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนดที่ 90กม.ต่อชม. หรือเกิน 120 กม.ต่อชม. โดยประเทศญี่ปุ่นถนนทุกชนิดใช้ความเร็วไม่เกิน 80กม.ต่อชม. อีกทั้งปัจจัยที่ทำให้คนใช้ความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากกฎหมายและการลงโทษยังไม่รุนแรงมากหนัก”
สุจิณ มั่งนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง (ทล.) บอกเล่าหลังกระทรวงคมนาคมของไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่นลงบันทึกข้อตกลงร่วมกัน นำมาสู่ความช่วยเหลือจากปะประเทศญี่ปุ่นด้วยการ แก้ไขจุดเสี่ยงบนท้องถนนของไทย
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยความปลอดภัย เล่าให้ฟังว่า กระทรวงฯของญี่ปุ่นได้เก็บข้อมูลพบว่า ในปีค.ศ.1992 มีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นแต่ละปีไม่ต่ำกว่า14,000 คน จึงกำหนดมาตรการลดอุบัติเหตุอย่างจริงจัง พบว่าการเกิดอุบัติเหตุลดลงเหลือ1ใน3หรือประมาณ 3,400 คนต่อปีในค.ศ.2016 ซึ่งผลการลดอุบัติเหตุดังกล่าวสร้างความประหลาดใจให้กับคณะดูงานของไทยเป็นอย่างมาก
สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ญี่ปุ่นมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมศึกษาดูงานและสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทย ซึ่งมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในหน้าเทศกาลสำคัญ
ทางผู้เชี่ยวชาญได้คัดเลือกจุดเสี่ยงที่เกิดเหตุบ่อยมากที่สุดในถนนของกรมทางหลวง4จุดจาก141จุดเสี่ยง ดังนี้ 1.บ้านสาลี จ.สุพรรณบุรี ถนนมีลักษณะเป็นทางตรง เปิดเกาะหรือจุดกลับรถที่ตัดกระแสรถทางตรง 2.สะพานห้วยตอง จ.เพชรบูรณ์ มีลักษณะเป็นทางโค้งบนสะพาน 3.เขาพลึง จ.อุตรดิตถ์ มีลักษณะเป็นทางลาดชัน โค้ง 4.ถนนมิตรภาพ จ.ขอนแก่น เป็นทางหลวงขนาด10ช่องจราจร รถใช้ความเร็ว ทั้ง4จุดนั้นมีการคัดเลือกจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุ และเลือกจากลักษณะทางที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง ให้เกิดความหลากหลายเช่นทางโค้ง ทางแยก ทางตรง เป็นต้น
นายสุจิน กล่าวต่อว่า มีข้อแนะนำจากญี่ปุ่นว่าถนนในประเทศไทยมีศักยภาพที่ได้มาตรฐานเป็นอย่างมากแต่เนื่องจากถนนส่วนใหญ่ประเทศไทยเป็นถนนทางตรงทำให้มีการใช้ความเร็วมากขึ้น ทั้งในเขตชุมชน ในเขตเมืองความเร็วไม่มีการควบคุมทำให้มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูง
แนวทางแก้ไขของญี่ปุ่นมีดังนี้1.บริเวณทางโค้งให้เปลี่ยนจากสีเหลือง-ดำเป็นการทาสีขาวสลับแดงบริเวณผนังกันตก พร้อมวาดลูกศร แสดงสัญลักษณ์ทางโค้งให้เด่นชัด 2.ส่วนจุดที่เป็นทางลาดชัน ให้ทาสีแดงทึบสร้างความหนืดบนถนน และเขียนคำด้วยอักษรสีขาว ว่า "ใช้เกียร์ต่ำ" 3.บริเวณทางตรง ทางพื้นทึบสีแดงเช่นกัน และเขียนคำด้วยอักษรสีขาวว่า"ลดความเร็ว"
“สีแดงในญี่ปุ่นนั้นมีความหมายคือการระวัง จะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้พบเห็นและให้ระมัดระวังมากขึ้น พร้อมแนะนำการลดรณรงค์ ในเรื่องคาดเข็มขัด เปิดไฟหน้า ขับช้าๆ ซึ่งในญี่ปุ่นใช้มาตรการนี้จริงจัง”
จากข้อแนะนำดังกล่าวกรมทางหลวงนำไปใช้ในจุดเสี่ยงบริเวณเขาพลึง โดยทาสีขาวสลับแดงบริเวณทางโค้ง เขียนตัวหนังสือใช้เกียร์ต่ำลงบนพื้นสีแดง หลังจากแก้ไขตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาพบว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนเขาพลึงเป็นศูนย์ เหมือนเทียบกับปีที่ผ่านมามักจะมีการเกิดอุบัติเหตุทุกเดือน เดือนละ 2-3ครั้ง
ทั้งนี้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม สั่งการให้ติดตามผลการแก้ไขจุดเสี่ยงทั้ง4จุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อย่างใกล้ชิดหากได้ผล เตรียมขยายแก้ไขจุดเสี่ยงที่เหลืออีก 137 จุดทั่วประเทศไทย พร้อมรณรงค์ 3เรื่องให้ประชาชนอย่างเคร่งครัด โดยขั้นตอนต่อไปประเทศญี่ปุ่นจะส่งผู้เชี่ยวชาญจากไจก้า ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการลดอุบัติเหตุรับช่วงต่อดูสถิติการเกิดอุบัติเหตุหลังสงกรานต์ โดยจะเริ่มประชุมเดือนพ.ค. เพื่อเดินหน้าการลดอุบัติเหตุในเทศกาลต่อไป
สุจิณ บอกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นถนนทุกเส้นทางจะติดกล้องตรวจจับความเร็ว หากพบรถขับขี่เกินที่กำหนดไว้ ญี่ปุ่นจะใช้มาตรการตัดแต้มแจกใบสั่งโดยใบสั่งใบแรก คนกระทำผิดจะต้องเข้าอบรมครึ่งชม. ใบสั่งครั้งที่2 เพิ่มเป็น1ชม. พร้อมขึ้นศาล ต้องเสียเวลาทำงานไปเลย1วัน เป็นเรื่องที่คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญเป็นอยากมาก
ด้าน น.ส.พัทธิยะ ศรีเนตร ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ที่ 1 เพิ่มเติมในรายละเอียดของพื้นที่เสี่ยงใจ.อุตรดิถต์ว่า เขาพลึงเป็นทางโค้งลาดชัน กว่า 10 โค้ง และยาวกว่า 3 กม. ที่ผ่านมามีอุบัติเหตุเฉลี่ยเดือนละ 2 ครั้ง เนื่องจากใช้ความเร็วสูง รวมทั้งเคยเกิดอุบัติรุนแรงครั้งใหญ่มีรถทัวร์ตกเขาเสียชีวิต 18 ศพ
“เดิมถนนมีขนาด 2 ช่องไปกลับ ภายหลังขยายช่องทางเป็น 4 เลนไปกลับ กว้างเลนละ 3.5 เมตร ที่ผ่านมามีการติดป้ายเตือนทางโค้ง ทางลาดชันและจำกัดความเร็วเป็นตัวเลขและตัวอักษรจำนวนมาก แต่เมื่อไปดูงานที่ญี่ปุ่นพบว่า มีป้ายมากกว่าของเราอีก แต่เน้นป้ายที่สื่อเข้าใจง่าย เป็นรูปภาพทางโค้ง เข้าใจง่าย ดีกว่าป้ายข้อความคนไม่สนใจขี้เกียจอ่าน” ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ที่ 1 ย้ำมิติวัฒนธรรมใช้รถใช้ถนนของคนไทย
แม้ประเทศไทยจะได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ในอาเซียน แต่ไม่ได้หมายความจะเป็นผู้ขับขี่รถยนต์ที่ดีที่สุด ในทางกลับกันเรากับได้คว้าสถิติประเทศที่ตายจากอุบัติเหตุเป็นอันดับ 2ของโลกรองจากลิเบีย
ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ที่ 1 บอกว่าแนวทางแก้ไข แนะนำให้ลดความกว้างของถนนเหลือ 3.25 เมตร ด้วยการตีเส้นใหม่ทำให้ช่องทางแคบลง เพื่อให้รถลดความเร็วลงเองโดยอัตโนมัติเพราะช่องทางแคบ รวมทั้งทำคอนกรีตแบริเออร์สูงกว่าเดิม จาก 80 ซม. เป็น 85 ไม่มีเสาเข็ม บวกราวเหล็กรวมเป็น 1.2 เมตรและเสาเข็ม ป้องกันรถตกเขาและป้ายเตือนการใช้ความเร็ว หรือยัวร์สปีด ป้ายนำโค้ง ปุ่มกระพริบใช้พลังงานจากโซลาร์เซล ปุ่ม350 องศาบนพื้นถนนเพื่อเตือนให้ลดความเร็ว การทาสีแดง และป้ายเตือนใช้เกียร์ต่ำ ลดความเร็ว เรียกว่าสารพัดป้าย
...ปรากฏว่าเมื่อปรับการแจ้งเตือนตามคำแนะนำของวิศวกรชาวญี่ปุ่น ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา พบว่าอุบัติเหตุลดลง30% ….
สำหรับพื้นที่จ.สุพรรณบุรี ที่ผ่านมามีอุบัติเหตุแต่ไม่รุนแรงจนเป็นข่าวดัง เหมือนกับ”เขาพลึง” แต่อุบัติเหตุมีทุกวันฟังแล้วไม่น่าเชื่อว่าท้องถนนจะเปลี่ยนหน้าที่จากหนทางแห่งความสะดวกกลายเป็นเส้นทางสู่ความบาดเจ็บและตายมากว่าวัตถุประสงค์แรก
จตุพล เทพมังกร ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงสุพรรณบุรี 1 ให้รายละเอียดในส่วนของจ. สุพรรณบุรีว่า ผลการศึกษาพบว่า จุดเสี่ยงบนทางหลวง340 ตอนควบสาลี-สุพรรณบุรี เป็นทางตรงยาว 29.5 กม. เขต อ. บางปลา-อ. เมือง ขนาด 10 ช่องทางไปกลับ มีปริมาณรถมากวันละกว่า 1.5 หมื่นคัน ดูสถิติย้อนหลัง4 ปี พบว่าเกิดอุบัติเหตุปีละ ประมาณ 130 ครั้ง และเกิดอุบัติเหตุสูงใน 7 จุดซึ่งเป็นจุดกลับรถ สาเหตุหลักคือรถใช้ความเร็วสูงเกิน 130-150 กม. โดยรถทางตรงเฉี่ยวชนรถที่กลับรถ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่ขับโดยผู้สูงอายุ ที่มักเบี่ยงออกซ้ายเพื่อเข้าถนนชุมชน ทำให้ถูกชนท้าย
“ที่ผ่านมาจะติดป้ายจำกัดความเร็ว แต่ยังเกิดปัญหา ญี่ปุ่นระบุว่าถนนเมืองไทยมีมาตรฐานดี แต่ปัญหาเกิดจากพฤติกรรมผู้ขับขี่ ใช้ความเร็วสูง และปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ได้แนะนำให้ติดป้ายเตือนเพิ่มและใช้ป้ายที่สื่อสัญลักษณ์มากกว่าป้ายอักษรข้อความ จะกระตุ้นและเข้าใจดีกว่า รวมทั้งเสนอให้ติดสัญญาณไฟ และสร้างอุโมงค์สะพานลดจุดตัด แต่มีปัญหารถไม่สัมพันธ์คือรถทางตรงมีมาก แต่รถกลับรถมีไม่กี่คัน”
ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงสุพรรณบุรีที่ 1 กล่าวว่าในปี 2561 ได้ของบประมาณติดตั้งไฟแดง สร้างสะพานและอุโมงค์บางจุด ขณะนี้ได้เพิ่มป้าย วางแบริเออร์ไม่ให้เปลี่ยนเลนทันทีทันใดหลังการกลับรถ ป้องกันการชนท้าย ช่วงไหล่ทาง และเน้นบังคับใช้กฎหมายร่วมกับตำรวจและผู้เกียวข้องตรวจจับความเร็วห้ามเกิน 90 กม.ต่อชม.รณรงค์ให้ความรู้เยาวชนและผู้สูงอายุเรื่องวินัยจราจร
เรื่องราวบนท้องถนนของประเทศไทย วันนี้ ถ้าขับรถดีอยู่ในกฏกติกา ไม่ได้หมายความว่าคุณจะรอดพ้นอุบัติเหตุ ตราบที่ต้องใช้ถนนกับคนไม่เคารพกฏหมายชีวิตจึงเสี่ยงไม่แพ้กัน.... เทศกาลสงกรานต์ขอให้ทุกคนเดินทางกลับบ้านปลอดภัย
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง
copyมาจาก https://economic.kachon.com/143033