ฤดูกาลต่อมาในเยอรมัน...ชีวิตของ วิทยา เลาหกุล ภายใต้กำแพงเบอร์ลิน… แม้เริ่มได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมทีม และสต๊าฟฟ์โค้ชมากขึ้น แต่มันยังคงไม่ง่าย ซ้ำร้ายการที่เขาฟังภาษาเยอรมันได้มากขึ้น กลับกลายเป็นดาบ 2 คม เพราะมันทำให้เขาฟังคำด่าจากแฟนบอลได้ถนัดเต็ม 2 รูหู อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดูจะมีความสุขขึ้นมาสักนิด คือ การที่ ยาซูฮิโตะ โอคุเดระ ตำนานนักฟุตบอลญี่ปุ่นคนแรกที่ไปค้าแข้งในบุนเดสลีก้า เยอรมัน ย้ายมาร่วมทีมแฮร์ธ่า เบอร์ลิน
“ทั้ง ชา บอม กุน (ตำนานดาวยิงทีมชาติเกาหลีใต้ และแฟรงค์เฟิร์ต) และ (ยาซูฮิโกะ) โอคุเดระ เป็น 2 นักเตะเอเชีย ที่ไปค้าแข้งที่เยอรมันก่อนผม ผมเป็นคนที่ 3 จริงๆ ผมรู้จักพวกเขาตั้งแต่เวลาทีมชาติไทยเจอญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้แล้วล่ะ...โอคุเดระ ทีแรกเขาอยู่โคโลญจน์ก่อน และก็ย้ายมาอยู่ทีมเราตอนปีที่ 2 ของผมที่นั่น (ปี ค.ศ.1980) นั่นก็เลยทำให้เราสนิทกัน ผมมักไปกินข้าวที่บ้านเขา เพราะภรรยาของเขาอยู่ที่นั่นด้วย เราพูดคุยกันและให้กำลังใจเสมอแหละ เราทั้งคู่รู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย”
“เราลงไปเล่นลีก้า 2 ทั้งหมด 2 ปี แต่ครึ่งฤดูกาลหลังของปี 1982/1983 ผมไม่ได้ลงสนามเลย เพราะไอ้โค้ชที่ชื่อ จอร์จ กาวลิเช็ค มันเกลียดคนไทยมาก มันบอกว่าเพื่อนมันเคยมาโดนขโมยกล้องที่เมืองไทย มันเรียกผมว่าไอ้ขี้ขโมย และก็ไม่ส่งผมลงสนามตลอดครึ่งฤดูกาลหลัง… ตอนมันเข้ามาคุมทีมมันเป็นช่วงฤดูหนาวพอดี ตอนนั้นหนาวมากติดลบ 15 องศา ผมวิ่งวอร์มในห้องแต่งตัว มันไม่ยอม มันไล่ให้ผมไปวิ่งข้างนอก เชื่อมั๊ย? ผมเกลียดมันมากถึงขนาดเขียนชื่อมันไว้ใต้รองเท้าผมเลย”แม้ 3 ปีในถิ่นโอลิมปิก สเตเดี้ยม วิทยา เลาหกุล เป็นตัวสำรองซะส่วนใหญ่ แต่ท่ามกลางชีวิตลูกหนังที่เต็มไปด้วยการดิ้นรนต่อสู้ ความอุตสาหะของเขา ทำให้ เนโร ดิ มาร์ติโน่ โค้ชผู้รักษาประตูชาวอิตาเลียนของแฮร์ธ่า เบอร์ลิน ในสมัยนั้น เข้าอกเข้าใจ และเห็นแววว่าเขาสามารถไปโลดแล่นในศึกกัลโช่ เซเรีย อา อิตาลี ได้ จึงได้ชักชวนติดต่อให้แข้งไทยวัย 27 ปี (ขณะนั้น) ย้ายไปยังแดนมะกะโรนี
“เนโร (ดิ มาร์ติโน่) เขาสนิทกับผม และก็คงเห็นมั้งว่าจริงๆผมเป็นยังไง”
“เขาเป็นเพื่อนกับโค้ชของนาโปลี ในปี 1982/1983 (บรูโน่ เปซาโอล่า) และแนะนำผมให้กับโค้ชคนนั้น...เขาบอกผมแค่ว่านาโปลี กำลังจะเซ็นสัญญานักเตะทีมชาติอาร์เจนติน่าคนหนึ่งเข้ามาร่วมทีม ผมไม่รู้หรอกว่าใคร” (เทียบตามปี ปี ค.ศ. 1982 รามอน ดิอาซ กองหน้าทีมฟ้า-ขาว ย้ายไปร่วมทัพนาโปลี)
“ผมไม่รู้ด้วยว่า นาโปลี อยู่ส่วนไหนของอิตาลี บ้านเมืองสภาพอากาศเป็นยังไง ผมรู้แค่ว่ามันอยู่ไกลจากเบอร์ลิน เขา (เนโร) ชี้แผนที่ให้ผมดู ซึ่งผมตอบปฏิเสธ ผมไม่อยากไปเริ่มต้นใหม่ เพราะอยู่ที่เยอรมันมา 3 ปี และทุกๆ อย่างมันก็เริ่มชินแล้ว ผมเลยเลือกที่จะเล่นอยู่ที่นั่นต่อ”
นาโปลีปีนั้นดึงตัว รามอน ดิอาซ กองหน้าทีมชาติอาร์เจนติน่ามาร่วมทีม และจากนั้นอีก 2 ปี พวกเขาก็คว้าตัว ดิเอโก มาราโดน่า นักเตะหมายเลข 1 ของโลกมาร่วมทีม “ตอนหลังผมมารู้ว่าความจริงอากาศที่นั่นค่อนข้างอบอุ่น ถ้ารู้ตั้งแต่ตอนนั้นผมคงย้ายไปนาโปลีแล้ว และอาจได้เล่นกับ มาราโดน่า” วิทยา เล่าพร้อมรอยยิ้ม ที่ปนความรู้สึกเสียดายพอครบ 3 ปีกับแฮร์ธ่า เบอร์ลิน วิทยา ได้รับข้อเสนอให้ต่อสัญญาอีก 1 ปี แต่เขาต้องการลงเล่นมากกว่าเดิม ประจวบเหมาะกับ อูเว่ คลีมันน์ อดีตกุนซือย้ายไปทำทีม ซาร์บรุ๊คเค่น ทีมในระดับโอเบอร์ลีก้า หรือ ดิวิชั่น 3 ของเยอรมัน… ปี 1982 ชีวิตของวิทยา ย้ายไปเริ่มต้นใหม่…
ซาร์บรู๊คเค่น เมืองชนบทเล็กๆ ที่ไม่ใหญ่มากนัก ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมัน ตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ทุกสิ่งทุกอย่างจึงดูเจริญหูเจริญตามากกว่าบ้านเมืองในเยอรมันตะวันออก ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตอย่างเห็นได้ชัด ชีวิตนอกสนามของ วิทยา เลาหกุล สะดวกสบายขึ้น เขามีรถขับ สามารถเดินทางไปเที่ยวฝรั่งเศสได้สบายๆ ทุกอย่างดูสดใสมากขึ้น...
“อูเว่ (คลีมันน์) เนี่ยเขาเป็นโค้ชที่จิตวิทยาแย่มาก แต่ลึกๆ เขาชื่นชมผมนะ…”
“เขาดึงผมไปเล่นที่ซาร์บรู๊คเค่น… บ้านเมืองที่นั่นผมชอบมาก มันเป็นชนบทและเราจะได้กลิ่นอบขนมปังตอนเช้าๆ หอมมากๆ ทุกวัน”
“ผมมีอิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้น มีรถขับ ไปเที่ยวซื้อหอยแครงที่ฝรั่งเศสก็ได้...ผมเคยเข้าไปทางเยอรมันตะวันออก มันคนละเรื่อง เหมือนห่างกันเป็นร้อยปี ซูเปอร์มาร์เก็ตแย่มาก ตรงกันข้ามกับตะวันตก” เมื่อชีวิตนอกสนามลงตัวมันก็ทำให้ชีวิตในสนามของเขาพลอยสดใสไปด้วย แม้ถูกลดค่าเหนื่อยครึ่งหนึ่งจากที่เคยได้รับสมัยเล่นให้กับแฮร์ธ่า เบอร์ลิน ก็ตาม…
“มันอาจจะเพราะผมมีประสบการณ์เล่นในบุนเดสลีก้ามาแล้ว พอลงมาเล่นดิวิชั่น 3 ทุกอย่างมันดูง่าย แต่สนามของซานบรู๊คเค่น (ลุดวิคสปาร์คสตาดิโอน) แม้จะอยู่ดิวิชั่น 3 แต่คนเกือบเต็มนะ ขอบอก”...และแค่ปีแรก วิทยา เลาหกุล ก็สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับ ซานบรุ๊คเค่น เขาพาต้นสังกัดเลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีก้า 2 ลงเล่นเป็นตัวจริง พร้อมคว้ารางวัล 11 ผู้เล่นยอดเยี่ยมเกือบทุกสัปดาห์ เขากำลังเป็นผู้เล่นที่ได้รับการจับจ้องจากสื่อของเยอรมัน แต่แล้วการตัดสินใจเพียงชั่ววูบ... กลายเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ในชีวิต“ผมกับ เอ็มมานูเอล คาโกโก ช่วยกันยิงได้เยอะมาก ผมแอสซิสต์ให้เขาเยอะด้วย จนจบฤดูกาลที่ 3 กับ ซานบรุ๊คเค่น เราพาทีมเลื่อนชั้นขึ้นไปสู่บุนเดสลีก้า"
"ผมคว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมในแต่ละสัปดาห์บ่อยมาก มันเป็นช่วงที่พีคที่สุด ชีวิตเรากำลังลงตัว และสื่อเยอรมันกำลังยกย่องว่าผมเป็นผู้เล่นต่างชาติที่น่าจับตามองในบุนเดสลีก้า ฤดูกาลถัดไป...แต่ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ผมเรียนจบโค้ช A-License พอดี"
"ผมขอลากลับไทยไปดื้อๆ" วิทยา กล่าวถึงการตัดสินใจที่ผิดพลาดที่สุดในชีวิต "ทั้งที่ทีมยังติดเงินโบนัสผมอยู่ตั้งเยอะแยะด้วยนะ”
“ตอนนั้นผมดันไปร้อนวิชา อยากจะกลับมาช่วยพัฒนาวงการฟุตบอลไทย กลับมาเป็นโค้ช แต่พอมาถึงบ้านเรายังไม่ได้มีอะไรเป็นรูปเป็นร่างเลย ทั้งที่ตอนนั้นผมเพิ่งอายุ 31-32 ปี และยังเล่นได้อีกนาน"
“มันเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดมากที่สุดในชีวิตผม” อย่างไรก็ตามท้ายที่สุด วิทยา เลาหกุล คือ ผู้บุกเบิกและสร้างตำนานว่าเขาคือนักเตะไทยคนแรกที่เล่นอาชีพบนลีกสูงสุดของยุโรป กับลีกที่แข็งแกร่งชั้นนำของโลก เมื่อ 45 ปีก่อน...เขาได้ทำตามฝันที่เขาวาดลงบนกระดาษไว้ตั้งแต่เด็ก โดยไม่สนใจว่าใครจะด่าว่าเขาบ้า “คนชอบบอกว่าผมบ้า ผมไปจีบผู้หญิง พ่อผู้หญิงยังเอาปืนมาขู่ผมเลยว่า จะเอาอะไรมาเลี้ยงลูกกู”
“ทุกวันนี้ผู้หญิงคนนั้นน่ะเหรอ? ก็ภรรยาผมปัจจุบันนี้ไง” วิทยา เลาหกุล หัวเราะทิ้งท้าย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอบคุณเคดิตจากhttps://www.fourfourtwo.com/th/features/kaalkhranghnuengainyuorp-chiiwitphcchyphaykhngwithyaa-elaahkul?page=0%2C1
กาลครั้งหนึ่งในยุโรป : ชีวิตผจญภัยของ...วิทยา เลาหกุล ตอนที2
“ทั้ง ชา บอม กุน (ตำนานดาวยิงทีมชาติเกาหลีใต้ และแฟรงค์เฟิร์ต) และ (ยาซูฮิโกะ) โอคุเดระ เป็น 2 นักเตะเอเชีย ที่ไปค้าแข้งที่เยอรมันก่อนผม ผมเป็นคนที่ 3 จริงๆ ผมรู้จักพวกเขาตั้งแต่เวลาทีมชาติไทยเจอญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้แล้วล่ะ...โอคุเดระ ทีแรกเขาอยู่โคโลญจน์ก่อน และก็ย้ายมาอยู่ทีมเราตอนปีที่ 2 ของผมที่นั่น (ปี ค.ศ.1980) นั่นก็เลยทำให้เราสนิทกัน ผมมักไปกินข้าวที่บ้านเขา เพราะภรรยาของเขาอยู่ที่นั่นด้วย เราพูดคุยกันและให้กำลังใจเสมอแหละ เราทั้งคู่รู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย”
“เราลงไปเล่นลีก้า 2 ทั้งหมด 2 ปี แต่ครึ่งฤดูกาลหลังของปี 1982/1983 ผมไม่ได้ลงสนามเลย เพราะไอ้โค้ชที่ชื่อ จอร์จ กาวลิเช็ค มันเกลียดคนไทยมาก มันบอกว่าเพื่อนมันเคยมาโดนขโมยกล้องที่เมืองไทย มันเรียกผมว่าไอ้ขี้ขโมย และก็ไม่ส่งผมลงสนามตลอดครึ่งฤดูกาลหลัง… ตอนมันเข้ามาคุมทีมมันเป็นช่วงฤดูหนาวพอดี ตอนนั้นหนาวมากติดลบ 15 องศา ผมวิ่งวอร์มในห้องแต่งตัว มันไม่ยอม มันไล่ให้ผมไปวิ่งข้างนอก เชื่อมั๊ย? ผมเกลียดมันมากถึงขนาดเขียนชื่อมันไว้ใต้รองเท้าผมเลย”แม้ 3 ปีในถิ่นโอลิมปิก สเตเดี้ยม วิทยา เลาหกุล เป็นตัวสำรองซะส่วนใหญ่ แต่ท่ามกลางชีวิตลูกหนังที่เต็มไปด้วยการดิ้นรนต่อสู้ ความอุตสาหะของเขา ทำให้ เนโร ดิ มาร์ติโน่ โค้ชผู้รักษาประตูชาวอิตาเลียนของแฮร์ธ่า เบอร์ลิน ในสมัยนั้น เข้าอกเข้าใจ และเห็นแววว่าเขาสามารถไปโลดแล่นในศึกกัลโช่ เซเรีย อา อิตาลี ได้ จึงได้ชักชวนติดต่อให้แข้งไทยวัย 27 ปี (ขณะนั้น) ย้ายไปยังแดนมะกะโรนี
“เนโร (ดิ มาร์ติโน่) เขาสนิทกับผม และก็คงเห็นมั้งว่าจริงๆผมเป็นยังไง”
“เขาเป็นเพื่อนกับโค้ชของนาโปลี ในปี 1982/1983 (บรูโน่ เปซาโอล่า) และแนะนำผมให้กับโค้ชคนนั้น...เขาบอกผมแค่ว่านาโปลี กำลังจะเซ็นสัญญานักเตะทีมชาติอาร์เจนติน่าคนหนึ่งเข้ามาร่วมทีม ผมไม่รู้หรอกว่าใคร” (เทียบตามปี ปี ค.ศ. 1982 รามอน ดิอาซ กองหน้าทีมฟ้า-ขาว ย้ายไปร่วมทัพนาโปลี)
“ผมไม่รู้ด้วยว่า นาโปลี อยู่ส่วนไหนของอิตาลี บ้านเมืองสภาพอากาศเป็นยังไง ผมรู้แค่ว่ามันอยู่ไกลจากเบอร์ลิน เขา (เนโร) ชี้แผนที่ให้ผมดู ซึ่งผมตอบปฏิเสธ ผมไม่อยากไปเริ่มต้นใหม่ เพราะอยู่ที่เยอรมันมา 3 ปี และทุกๆ อย่างมันก็เริ่มชินแล้ว ผมเลยเลือกที่จะเล่นอยู่ที่นั่นต่อ”
นาโปลีปีนั้นดึงตัว รามอน ดิอาซ กองหน้าทีมชาติอาร์เจนติน่ามาร่วมทีม และจากนั้นอีก 2 ปี พวกเขาก็คว้าตัว ดิเอโก มาราโดน่า นักเตะหมายเลข 1 ของโลกมาร่วมทีม “ตอนหลังผมมารู้ว่าความจริงอากาศที่นั่นค่อนข้างอบอุ่น ถ้ารู้ตั้งแต่ตอนนั้นผมคงย้ายไปนาโปลีแล้ว และอาจได้เล่นกับ มาราโดน่า” วิทยา เล่าพร้อมรอยยิ้ม ที่ปนความรู้สึกเสียดายพอครบ 3 ปีกับแฮร์ธ่า เบอร์ลิน วิทยา ได้รับข้อเสนอให้ต่อสัญญาอีก 1 ปี แต่เขาต้องการลงเล่นมากกว่าเดิม ประจวบเหมาะกับ อูเว่ คลีมันน์ อดีตกุนซือย้ายไปทำทีม ซาร์บรุ๊คเค่น ทีมในระดับโอเบอร์ลีก้า หรือ ดิวิชั่น 3 ของเยอรมัน… ปี 1982 ชีวิตของวิทยา ย้ายไปเริ่มต้นใหม่…
ซาร์บรู๊คเค่น เมืองชนบทเล็กๆ ที่ไม่ใหญ่มากนัก ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมัน ตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ทุกสิ่งทุกอย่างจึงดูเจริญหูเจริญตามากกว่าบ้านเมืองในเยอรมันตะวันออก ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตอย่างเห็นได้ชัด ชีวิตนอกสนามของ วิทยา เลาหกุล สะดวกสบายขึ้น เขามีรถขับ สามารถเดินทางไปเที่ยวฝรั่งเศสได้สบายๆ ทุกอย่างดูสดใสมากขึ้น...
“อูเว่ (คลีมันน์) เนี่ยเขาเป็นโค้ชที่จิตวิทยาแย่มาก แต่ลึกๆ เขาชื่นชมผมนะ…”
“เขาดึงผมไปเล่นที่ซาร์บรู๊คเค่น… บ้านเมืองที่นั่นผมชอบมาก มันเป็นชนบทและเราจะได้กลิ่นอบขนมปังตอนเช้าๆ หอมมากๆ ทุกวัน”
“ผมมีอิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้น มีรถขับ ไปเที่ยวซื้อหอยแครงที่ฝรั่งเศสก็ได้...ผมเคยเข้าไปทางเยอรมันตะวันออก มันคนละเรื่อง เหมือนห่างกันเป็นร้อยปี ซูเปอร์มาร์เก็ตแย่มาก ตรงกันข้ามกับตะวันตก” เมื่อชีวิตนอกสนามลงตัวมันก็ทำให้ชีวิตในสนามของเขาพลอยสดใสไปด้วย แม้ถูกลดค่าเหนื่อยครึ่งหนึ่งจากที่เคยได้รับสมัยเล่นให้กับแฮร์ธ่า เบอร์ลิน ก็ตาม…
“มันอาจจะเพราะผมมีประสบการณ์เล่นในบุนเดสลีก้ามาแล้ว พอลงมาเล่นดิวิชั่น 3 ทุกอย่างมันดูง่าย แต่สนามของซานบรู๊คเค่น (ลุดวิคสปาร์คสตาดิโอน) แม้จะอยู่ดิวิชั่น 3 แต่คนเกือบเต็มนะ ขอบอก”...และแค่ปีแรก วิทยา เลาหกุล ก็สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับ ซานบรุ๊คเค่น เขาพาต้นสังกัดเลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีก้า 2 ลงเล่นเป็นตัวจริง พร้อมคว้ารางวัล 11 ผู้เล่นยอดเยี่ยมเกือบทุกสัปดาห์ เขากำลังเป็นผู้เล่นที่ได้รับการจับจ้องจากสื่อของเยอรมัน แต่แล้วการตัดสินใจเพียงชั่ววูบ... กลายเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ในชีวิต“ผมกับ เอ็มมานูเอล คาโกโก ช่วยกันยิงได้เยอะมาก ผมแอสซิสต์ให้เขาเยอะด้วย จนจบฤดูกาลที่ 3 กับ ซานบรุ๊คเค่น เราพาทีมเลื่อนชั้นขึ้นไปสู่บุนเดสลีก้า"
"ผมคว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมในแต่ละสัปดาห์บ่อยมาก มันเป็นช่วงที่พีคที่สุด ชีวิตเรากำลังลงตัว และสื่อเยอรมันกำลังยกย่องว่าผมเป็นผู้เล่นต่างชาติที่น่าจับตามองในบุนเดสลีก้า ฤดูกาลถัดไป...แต่ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ผมเรียนจบโค้ช A-License พอดี"
"ผมขอลากลับไทยไปดื้อๆ" วิทยา กล่าวถึงการตัดสินใจที่ผิดพลาดที่สุดในชีวิต "ทั้งที่ทีมยังติดเงินโบนัสผมอยู่ตั้งเยอะแยะด้วยนะ”
“ตอนนั้นผมดันไปร้อนวิชา อยากจะกลับมาช่วยพัฒนาวงการฟุตบอลไทย กลับมาเป็นโค้ช แต่พอมาถึงบ้านเรายังไม่ได้มีอะไรเป็นรูปเป็นร่างเลย ทั้งที่ตอนนั้นผมเพิ่งอายุ 31-32 ปี และยังเล่นได้อีกนาน"
“มันเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดมากที่สุดในชีวิตผม” อย่างไรก็ตามท้ายที่สุด วิทยา เลาหกุล คือ ผู้บุกเบิกและสร้างตำนานว่าเขาคือนักเตะไทยคนแรกที่เล่นอาชีพบนลีกสูงสุดของยุโรป กับลีกที่แข็งแกร่งชั้นนำของโลก เมื่อ 45 ปีก่อน...เขาได้ทำตามฝันที่เขาวาดลงบนกระดาษไว้ตั้งแต่เด็ก โดยไม่สนใจว่าใครจะด่าว่าเขาบ้า “คนชอบบอกว่าผมบ้า ผมไปจีบผู้หญิง พ่อผู้หญิงยังเอาปืนมาขู่ผมเลยว่า จะเอาอะไรมาเลี้ยงลูกกู”
“ทุกวันนี้ผู้หญิงคนนั้นน่ะเหรอ? ก็ภรรยาผมปัจจุบันนี้ไง” วิทยา เลาหกุล หัวเราะทิ้งท้าย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้