หากพูดถึงลีกบุนเดสลีก้า ( Bundesliga) ทุกคนนึกถึงอะไรกันบ้างครับ?
ลีกฟุตบอลน่าเบื่อที่มีทีมลุ้นแชมป์ไม่กี่ทีมเท่านั้น
สโมสรในลีกไม่เห็นดังเหมือนลีกอังกฤษ
ไม่มีนักเตะระดับโลกเหมือนลาลีกา สเปน
แน่นอนว่าชื่อชั้นของบุนเดสลีก้าตามความรู้สึกของแฟนบอลต่างประเทศ อาจจะเป็นลีกที่ไม่น่าสนใจเท่าไหร่นัก แต่ถ้าลองมองในมุมมองอื่นดูบ้าง เช่น ลีกบุนเดสลีก้าเป็นลีกที่มีรายได้รวมเป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรป เรื่องราวตลอด 51 ปีของลีกแห่งนี้ เปรียบเสมือนภาพสะท้อนของวงการฟุตบอลเยอรมันในแต่ละยุคสมัย และมีส่วนสำคัญในการสร้างรากฐานให้เยอรมันประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2014
ตอนนี้ลีกบุนเดสลีก้าน่าสนใจขึ้นมาหรือยังครับ
ยุคแรก : (1963-1970)
ลีกบุนเดสลีก้าก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1963 โดยในยุคแรกสโมสรฟุตบอลยังไม่มีเงินทุนมากนัก เนื่องจากยังไมได้รับความนิยมจากแฟนบอลเท่าที่ควร ถึงขนาดที่ว่าอดีตนักเตะดังของสโมสรฮัมบูร์ก อูเว่ ซีเลอร์ (Uwe Seeler) ได้กล่าวถึงความยากลำบากของนักฟุตบอลในยุคนั้นว่า “ในช่วงนั้นผมไม่มีเงินพอที่จะจ่ายค่าแฟลตให้ครอบครัวเลยด้วยซ้ำ” อาชีพนักฟุตบอลในยุคแรกจึงไม่สามารถประกอบเป็นอาชีพหลักเหมือนทุกวันนี้ ทำให้นักเตะหลายคนจำเป็นต้องทำงานอื่นควบคู่ไปกับการเตะฟุตบอล
อูเว่ ซีเลอร์
นอกจากปัญหาทางด้านการเงินแล้ว บุนเดสลีก้าต้องพบกับความตกต่ำเมื่อเกิดเรื่องอื้อฉาวที่สะเทือนวงการฟุตบอลเยอรมัน
การล้มบอลในลีก เกิดขึ้นขึ้นในฤดูกาล 1970-71 ระหว่างทีมแฮร์ธ่า เบอร์ลิน (Hertha Berlin) ที่พลิกล็อคพ่ายแพ้ให้กับทีมบีเลเฟด (Bielefeld) จนทำให้บีเลเฟลรอดพ้นจากการตกชั้นในฤดูกาลนั้นไปได้ แต่ความจริงก็ถูกเปิดเผย เมื่อพบว่านักเตะและสต๊าฟโค้ชทีมแฮร์ธ่า เบอร์ลิน ได้รับข้อเสนอให้ล้มบอล ทั้งจากทีม ออฟเฟ่นบาค (Offenbach) ทีมที่กำลังหนีการตกชั้น ซึ่งต้องการให้ทีมแฮร์ธ่า เบอร์ลินชนะบีเลเฟด และข้อเสนอจากบีเลเฟดที่ต้องการให้แฮร์ธ่า เบอร์ลินแพ้ในการแข่ง ผลสรุปว่าทีมแฮร์ธ่า เบอร์ลินเลือกรับเงินจากบีเลเฟดและตั้งใจแพ้เพื่อให้บีเลเฟดชนะ หลังจากเรื่องอื้อฉาวนี้เกิดขึ้น ทางสมาคมยังพบว่ามีนักเตะกว่า 60 คน สต๊าฟโค้ช ผู้จัดการทีม ที่เกี่ยวข้องกับการล้มบอลในนัดอื่นๆอีกด้วย
การล้มบอลดังกล่าว ส่งผลให้บุนเดสลีก้าพบกับความตกต่ำ แฟนฟุตบอลในเยอรมันไม่ไว้ใจนักเตะและสโมสรอีกต่อไป สมาคมฟุตบอลเยอรมันพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้แฟนบอลด้วยการสร้างค่านิยมต่อต้านการล้มบอลและคุณค่าทางจริยธรรมให้กับสโมสร จนกระทั่งในปี 1974 ยุคทองของบุนเดสลีก้าก็เกิดขึ้น
ยุคทอง : (1973-1989)
ทีมชาติเยอรมันตะวันตก คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในปี 1974 ความสำเร็จดังกล่าวทำให้คนเยอรมันกลับมาสนใจฟุตบอลอีกครั้ง และส่งผลให้ความนิยมในบุนเดสลีก้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงทศวรรษ 1970 ได้เกิด สองทีมยักษ์ใหญ่ที่ช่วงชิงแชมป์กันอย่างดุเดือดได้แก่ ทีมบาเยิร์น มิวนิค (Bayern munich) และทีมโบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค (Borussia Monchengladbach) ซึ่งทั้งสองทีมได้สร้างนักเตะเยอรมันฝีมือดีขึ้นมามากมาย ทั้ง ฟร้านซ์ เบ็คเค่นบาวเออร์ (Franz Beckenbauer), เซปป์ ไมเออร์ (Sepp Maier), จุ๊ปป์ ไฮย์เกส (Jupp Heynckes)
ทีมโบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัคในช่วงปี 1970
ในเดือนมีนาคม 1973 สโมสรไอน์ทรัค บราวน์ชไวก์ (Eintracht Braunschweig) เป็นทีมแรกในบุนเดสลีก้าที่มีสปอนเซอร์โฆษณาบนเสื้อทีม ก่อให้เกิดการวิจารณ์จากสมาคมฟุตบอลเยอรมันถึงความไม่เหมาะสมในการทำให้นักฟุตบอลกลายเป็นป้ายโฆษณาเคลื่อนที่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความเชื่อดังกล่าวก็ต้องถูกลบล้างด้วยการเจริญเติบโตของธุรกิจฟุตบอลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ 8 ปีต่อมา ทุกทีมในบุนเดสลีก้าล้วนมีโฆษณาติดอยู่บนเสื้อทีมแทบทั้งสิ้น
สโมสรไอน์ทรัค บราวน์ชไวก์ในปี 1973
นับตั้งแต่การก่อตั้งลีกบุนเดสลีก้า คนเยอรมันต้องตกอยู่ภายใต้การแบ่งประเทศออกเป็นสองฝั่ง คือ เยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตก ส่งผลให้นักเตะและสโมสรถูกแยกออกจากกัน นักเตะจากฝั่งตะวันออกไมได้มาเล่นในลีกบุนเดสลีก้าซึ่งจัดขึ้นที่ฝั่งตะวันตก รวมไปถึงทีมฟุตบอลในระดับชาติที่ถูกแบ่งเป็น สองทีมเช่นกัน แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของเยอรมันได้ส่งผลครั้งสำคัญให้กับบุนเดสลีก้าอีกครั้งในปี 1989
ยุคเปลี่ยนแปลง (1990-ปัจจุบัน)
การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในปี 1989 นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์การสิ้นสุดของสงครามเย็นแล้ว ยังเป็นจุดเปลี่ยนให้ประเทศเยอรมันทั้งสองฝั่งกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง ทีมชาติสองทีมถูกรวมเป็นทีมเดียวกัน ส่วนบุนเดสลีก้าก็มีนักเตะจากฝั่งตะวันออกได้เข้ามาร่วมเล่นเป็นครั้งแรก
นอกจากการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศแล้ว ความนิยมของกีฬาฟุตบอลที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้มีการซื้อขายนักเตะจากต่างประเทศเข้ามาในลีกมากขึ้น ในยุคนี้มีนักเตะต่างชาติฝีมือดีมาแจ้งเกิดในบุนเดสลีก้าเป็นจำนวนมาก เช่น สองนักเตะยอดฝีมือของทีมสตุ๊ตการ์ท (Stuttgart) อย่าง คราซิเมียร์ บาลาคอฟ (Krassimir Balakov) จากบัลแกเรีย จิโอวานนี่ เอลแบร์ (Giovane Elber) จากบราซิล ส่วนสโมสรไกเซอร์สเลาเทิร์น (Kaiserslautern) ก็ดึงนักเตะฝรั่งเศส ยูริ จอรเกฟ (Youri Djorkaeff) เข้ามาเสริมทัพในสโมสรเช่นกัน
สโมสรโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ก้าวขึ้นมาเป็นคู่ปรับทีมใหม่ของบาเยิร์น มิวนิค ด้วยฝีมือนักเตะอย่างมัสทิอัส ซามเมอร์ (Matthias Sammer) มิเชล ซอร์ก (Michael Zorc) สเตฟาน ชาปุยซาท์ (Stéphane Chapuisat) ผนวกกับการบริการจัดการทีมที่มีคุณภาพของกุนซือ อ็อตมาร์ ฮิทเฟล (Ottmar Hitzfeld) ทำให้ดอร์ทมุนด์ก้าวขึ้นมาคว้าแชมป์ลีกได้ในฤดูกาล 1995 และ 1996 และคว้าแชมป์ ยูฟ่า แชมป์เปี้ยนลีก ในปี 1997
มัสทิอัส ซามเมอร์กลองหลังตัวแกร่งของดอร์ทมุนด์
แต่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของวงการฟุตบอลเยอรมันและบุนเดสลีก้า เริ่มต้นจากความล้มเหลวในฟุตบอลยูโร 2000 เมื่อเยอรมันตกรอบแรกแบบน่าผิดหวังด้วยการเก็บคะแนนได้เพียง 1 แต้มเท่านั้น ทำให้สมาคมฟุตบอลเยอรมันมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาด้วยการพัฒนานักเตะเยาวชนขึ้นมา เริ่มจากการสร้างศูนย์ฝึกฟุตบอลแห่งชาติ 121 แห่งทั่วประเทศสำหรับเยาวชนอายุ 10-17 ปี และบังคับให้สโมสรฟุตบอลอาชีพในบุนเดสลีกาสร้างศูนย์ฝึกเยาวชนร่วมกับสมาคม
แผนการพัฒนาเยาวชนยังเป็นประโยชน์กับสโมสรบุนเดสลีก้า ในช่วงฤดูกาล 2002-2003 เมื่อกลุ่มทุน Kirch TV ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนหลักของสโมสรในบุนเดสลีก้าประสบปัญหาล้มละลาย ทำให้สโมสรหลายแห่งขาดแหล่งเงินทุนจนต้องขายนักเตะต่างชาติค่าตัวแพงออกไปมากมาย และปัญหาครั้งนี้ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้หลายๆสโมสรเลือกที่จะพัฒนานักเตะเยาวชนในท้องถิ่นขึ้นมาแทนที่นักเตะต่างชาติ
การพัฒนานักเตะเยาวชนของสโมสรในบุนเดสลีก้าได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานประจำปีของลีกบุนเดสลีก้าในปี 2013 พบว่าสโมสรในลีกมีการใช้เงินลงทุนไปกับการพัฒนานักเตะเยาวชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2008
สถิติการใช้เงินของสโมสรบุนเดสลีก้าในการพัฒนานักเตะเยาวชน
การใช้นักเตะเยาวชนซึ่งเป็นคนท้องถิ่น ยังทำให้แฟนบอลในบุนเดสลีก้าเข้าไปชมเกมในสนามเพิ่มขึ้น จากสถิติพบว่าในฤดูกาล 2011-2012 ลีกบุนเดสลีก้ามีแฟนบอลเข้าไปชมในสนามมากที่สุดในโลก
สถิติยอดผู้ชมในลีกจากทั่วโลก
นับตั้งแต่การก่อตั้งลีกบุนเดสลีก้า เมื่อปี 1963 จนถึงปัจจุบัน ลีกแห่งนี้กลายเป็นภาพสะท้อนของวงการฟุตบอลเยอรมันทั้งในยุครุ่งเรืองและตกต่ำ สมาคมฟุตบอลเยอรมันได้นำความล้มเหลวและความผิดพลาดในอดีตมาเป็นบทเรียนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาวงการฟุตบอลอยู่เสมอ แผนการพัฒนานักเตะเยาวชนได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างนักเตะเลือดใหม่ จนทำให้ทีมชาติเยอรมันคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกและแชมป์ฟุตบอลโลก ยู-19 (ชุดอายุไม่เกิน 19 ปี) ในปี 2014 ได้สำเร็จ
เรื่องราวความสำเร็จของสมาคมฟุตบอลเยอรมัน ได้กลายเป็นบทเรียนให้กับสมาคมฟุตบอลจากทั่วโลก เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญขององค์ประกอบที่จะพัฒนาทีมฟุตบอลไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน องค์ประกอบที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการก่อร่างสร้างตัวด้วยความอดทนและระเบียบวินัย องค์ประกอบสำคัญที่ทุกคนมักจะมองข้ามมันไป เพราะธรรมชาติของมนุษย์มักจะเลือกมองความสำเร็จที่อยู่บนยอดเท่านั้น แต่ความสำเร็จในทุกๆเรื่องบนโลกนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดองค์ประกอบนี้
รากฐานที่แข็งแรง
ข้อมูลอ้างอิง
Bundealiga Report 2013
http://www.dw.com/en/german-bundesliga-europes-most-profitable-football-league/a-16864178
http://topicstock.ppantip.com/supachalasai/topicstock/2011/12/S11446196/S11446196.html
http://www.dw.com/en/50-years-of-bundesliga-football/g-16915586
ถ้าเพื่อนๆคนไหนสนใจ บทความเกี่ยวกับกีฬาบาสเก็ตบอลและฟุตบอล ในมุมมองทางสังคม วัฒนธรรม ฯลฯ สามารถติดตามได้ที่เพจ
https://www.facebook.com/rhythmball/ ได้เลยนะครับ
Bundesliga รากฐานของฟุตบอลเยอรมัน
หากพูดถึงลีกบุนเดสลีก้า ( Bundesliga) ทุกคนนึกถึงอะไรกันบ้างครับ?
ลีกฟุตบอลน่าเบื่อที่มีทีมลุ้นแชมป์ไม่กี่ทีมเท่านั้น
สโมสรในลีกไม่เห็นดังเหมือนลีกอังกฤษ
ไม่มีนักเตะระดับโลกเหมือนลาลีกา สเปน
แน่นอนว่าชื่อชั้นของบุนเดสลีก้าตามความรู้สึกของแฟนบอลต่างประเทศ อาจจะเป็นลีกที่ไม่น่าสนใจเท่าไหร่นัก แต่ถ้าลองมองในมุมมองอื่นดูบ้าง เช่น ลีกบุนเดสลีก้าเป็นลีกที่มีรายได้รวมเป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรป เรื่องราวตลอด 51 ปีของลีกแห่งนี้ เปรียบเสมือนภาพสะท้อนของวงการฟุตบอลเยอรมันในแต่ละยุคสมัย และมีส่วนสำคัญในการสร้างรากฐานให้เยอรมันประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2014
ตอนนี้ลีกบุนเดสลีก้าน่าสนใจขึ้นมาหรือยังครับ
ยุคแรก : (1963-1970)
ลีกบุนเดสลีก้าก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1963 โดยในยุคแรกสโมสรฟุตบอลยังไม่มีเงินทุนมากนัก เนื่องจากยังไมได้รับความนิยมจากแฟนบอลเท่าที่ควร ถึงขนาดที่ว่าอดีตนักเตะดังของสโมสรฮัมบูร์ก อูเว่ ซีเลอร์ (Uwe Seeler) ได้กล่าวถึงความยากลำบากของนักฟุตบอลในยุคนั้นว่า “ในช่วงนั้นผมไม่มีเงินพอที่จะจ่ายค่าแฟลตให้ครอบครัวเลยด้วยซ้ำ” อาชีพนักฟุตบอลในยุคแรกจึงไม่สามารถประกอบเป็นอาชีพหลักเหมือนทุกวันนี้ ทำให้นักเตะหลายคนจำเป็นต้องทำงานอื่นควบคู่ไปกับการเตะฟุตบอล
อูเว่ ซีเลอร์
นอกจากปัญหาทางด้านการเงินแล้ว บุนเดสลีก้าต้องพบกับความตกต่ำเมื่อเกิดเรื่องอื้อฉาวที่สะเทือนวงการฟุตบอลเยอรมัน
การล้มบอลในลีก เกิดขึ้นขึ้นในฤดูกาล 1970-71 ระหว่างทีมแฮร์ธ่า เบอร์ลิน (Hertha Berlin) ที่พลิกล็อคพ่ายแพ้ให้กับทีมบีเลเฟด (Bielefeld) จนทำให้บีเลเฟลรอดพ้นจากการตกชั้นในฤดูกาลนั้นไปได้ แต่ความจริงก็ถูกเปิดเผย เมื่อพบว่านักเตะและสต๊าฟโค้ชทีมแฮร์ธ่า เบอร์ลิน ได้รับข้อเสนอให้ล้มบอล ทั้งจากทีม ออฟเฟ่นบาค (Offenbach) ทีมที่กำลังหนีการตกชั้น ซึ่งต้องการให้ทีมแฮร์ธ่า เบอร์ลินชนะบีเลเฟด และข้อเสนอจากบีเลเฟดที่ต้องการให้แฮร์ธ่า เบอร์ลินแพ้ในการแข่ง ผลสรุปว่าทีมแฮร์ธ่า เบอร์ลินเลือกรับเงินจากบีเลเฟดและตั้งใจแพ้เพื่อให้บีเลเฟดชนะ หลังจากเรื่องอื้อฉาวนี้เกิดขึ้น ทางสมาคมยังพบว่ามีนักเตะกว่า 60 คน สต๊าฟโค้ช ผู้จัดการทีม ที่เกี่ยวข้องกับการล้มบอลในนัดอื่นๆอีกด้วย
การล้มบอลดังกล่าว ส่งผลให้บุนเดสลีก้าพบกับความตกต่ำ แฟนฟุตบอลในเยอรมันไม่ไว้ใจนักเตะและสโมสรอีกต่อไป สมาคมฟุตบอลเยอรมันพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้แฟนบอลด้วยการสร้างค่านิยมต่อต้านการล้มบอลและคุณค่าทางจริยธรรมให้กับสโมสร จนกระทั่งในปี 1974 ยุคทองของบุนเดสลีก้าก็เกิดขึ้น
ยุคทอง : (1973-1989)
ทีมชาติเยอรมันตะวันตก คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในปี 1974 ความสำเร็จดังกล่าวทำให้คนเยอรมันกลับมาสนใจฟุตบอลอีกครั้ง และส่งผลให้ความนิยมในบุนเดสลีก้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงทศวรรษ 1970 ได้เกิด สองทีมยักษ์ใหญ่ที่ช่วงชิงแชมป์กันอย่างดุเดือดได้แก่ ทีมบาเยิร์น มิวนิค (Bayern munich) และทีมโบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค (Borussia Monchengladbach) ซึ่งทั้งสองทีมได้สร้างนักเตะเยอรมันฝีมือดีขึ้นมามากมาย ทั้ง ฟร้านซ์ เบ็คเค่นบาวเออร์ (Franz Beckenbauer), เซปป์ ไมเออร์ (Sepp Maier), จุ๊ปป์ ไฮย์เกส (Jupp Heynckes)
ทีมโบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัคในช่วงปี 1970
ในเดือนมีนาคม 1973 สโมสรไอน์ทรัค บราวน์ชไวก์ (Eintracht Braunschweig) เป็นทีมแรกในบุนเดสลีก้าที่มีสปอนเซอร์โฆษณาบนเสื้อทีม ก่อให้เกิดการวิจารณ์จากสมาคมฟุตบอลเยอรมันถึงความไม่เหมาะสมในการทำให้นักฟุตบอลกลายเป็นป้ายโฆษณาเคลื่อนที่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความเชื่อดังกล่าวก็ต้องถูกลบล้างด้วยการเจริญเติบโตของธุรกิจฟุตบอลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ 8 ปีต่อมา ทุกทีมในบุนเดสลีก้าล้วนมีโฆษณาติดอยู่บนเสื้อทีมแทบทั้งสิ้น
สโมสรไอน์ทรัค บราวน์ชไวก์ในปี 1973
นับตั้งแต่การก่อตั้งลีกบุนเดสลีก้า คนเยอรมันต้องตกอยู่ภายใต้การแบ่งประเทศออกเป็นสองฝั่ง คือ เยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตก ส่งผลให้นักเตะและสโมสรถูกแยกออกจากกัน นักเตะจากฝั่งตะวันออกไมได้มาเล่นในลีกบุนเดสลีก้าซึ่งจัดขึ้นที่ฝั่งตะวันตก รวมไปถึงทีมฟุตบอลในระดับชาติที่ถูกแบ่งเป็น สองทีมเช่นกัน แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของเยอรมันได้ส่งผลครั้งสำคัญให้กับบุนเดสลีก้าอีกครั้งในปี 1989
ยุคเปลี่ยนแปลง (1990-ปัจจุบัน)
การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในปี 1989 นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์การสิ้นสุดของสงครามเย็นแล้ว ยังเป็นจุดเปลี่ยนให้ประเทศเยอรมันทั้งสองฝั่งกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง ทีมชาติสองทีมถูกรวมเป็นทีมเดียวกัน ส่วนบุนเดสลีก้าก็มีนักเตะจากฝั่งตะวันออกได้เข้ามาร่วมเล่นเป็นครั้งแรก
นอกจากการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศแล้ว ความนิยมของกีฬาฟุตบอลที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้มีการซื้อขายนักเตะจากต่างประเทศเข้ามาในลีกมากขึ้น ในยุคนี้มีนักเตะต่างชาติฝีมือดีมาแจ้งเกิดในบุนเดสลีก้าเป็นจำนวนมาก เช่น สองนักเตะยอดฝีมือของทีมสตุ๊ตการ์ท (Stuttgart) อย่าง คราซิเมียร์ บาลาคอฟ (Krassimir Balakov) จากบัลแกเรีย จิโอวานนี่ เอลแบร์ (Giovane Elber) จากบราซิล ส่วนสโมสรไกเซอร์สเลาเทิร์น (Kaiserslautern) ก็ดึงนักเตะฝรั่งเศส ยูริ จอรเกฟ (Youri Djorkaeff) เข้ามาเสริมทัพในสโมสรเช่นกัน
สโมสรโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ก้าวขึ้นมาเป็นคู่ปรับทีมใหม่ของบาเยิร์น มิวนิค ด้วยฝีมือนักเตะอย่างมัสทิอัส ซามเมอร์ (Matthias Sammer) มิเชล ซอร์ก (Michael Zorc) สเตฟาน ชาปุยซาท์ (Stéphane Chapuisat) ผนวกกับการบริการจัดการทีมที่มีคุณภาพของกุนซือ อ็อตมาร์ ฮิทเฟล (Ottmar Hitzfeld) ทำให้ดอร์ทมุนด์ก้าวขึ้นมาคว้าแชมป์ลีกได้ในฤดูกาล 1995 และ 1996 และคว้าแชมป์ ยูฟ่า แชมป์เปี้ยนลีก ในปี 1997
มัสทิอัส ซามเมอร์กลองหลังตัวแกร่งของดอร์ทมุนด์
แต่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของวงการฟุตบอลเยอรมันและบุนเดสลีก้า เริ่มต้นจากความล้มเหลวในฟุตบอลยูโร 2000 เมื่อเยอรมันตกรอบแรกแบบน่าผิดหวังด้วยการเก็บคะแนนได้เพียง 1 แต้มเท่านั้น ทำให้สมาคมฟุตบอลเยอรมันมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาด้วยการพัฒนานักเตะเยาวชนขึ้นมา เริ่มจากการสร้างศูนย์ฝึกฟุตบอลแห่งชาติ 121 แห่งทั่วประเทศสำหรับเยาวชนอายุ 10-17 ปี และบังคับให้สโมสรฟุตบอลอาชีพในบุนเดสลีกาสร้างศูนย์ฝึกเยาวชนร่วมกับสมาคม
แผนการพัฒนาเยาวชนยังเป็นประโยชน์กับสโมสรบุนเดสลีก้า ในช่วงฤดูกาล 2002-2003 เมื่อกลุ่มทุน Kirch TV ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนหลักของสโมสรในบุนเดสลีก้าประสบปัญหาล้มละลาย ทำให้สโมสรหลายแห่งขาดแหล่งเงินทุนจนต้องขายนักเตะต่างชาติค่าตัวแพงออกไปมากมาย และปัญหาครั้งนี้ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้หลายๆสโมสรเลือกที่จะพัฒนานักเตะเยาวชนในท้องถิ่นขึ้นมาแทนที่นักเตะต่างชาติ
การพัฒนานักเตะเยาวชนของสโมสรในบุนเดสลีก้าได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานประจำปีของลีกบุนเดสลีก้าในปี 2013 พบว่าสโมสรในลีกมีการใช้เงินลงทุนไปกับการพัฒนานักเตะเยาวชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2008
สถิติการใช้เงินของสโมสรบุนเดสลีก้าในการพัฒนานักเตะเยาวชน
การใช้นักเตะเยาวชนซึ่งเป็นคนท้องถิ่น ยังทำให้แฟนบอลในบุนเดสลีก้าเข้าไปชมเกมในสนามเพิ่มขึ้น จากสถิติพบว่าในฤดูกาล 2011-2012 ลีกบุนเดสลีก้ามีแฟนบอลเข้าไปชมในสนามมากที่สุดในโลก
สถิติยอดผู้ชมในลีกจากทั่วโลก
นับตั้งแต่การก่อตั้งลีกบุนเดสลีก้า เมื่อปี 1963 จนถึงปัจจุบัน ลีกแห่งนี้กลายเป็นภาพสะท้อนของวงการฟุตบอลเยอรมันทั้งในยุครุ่งเรืองและตกต่ำ สมาคมฟุตบอลเยอรมันได้นำความล้มเหลวและความผิดพลาดในอดีตมาเป็นบทเรียนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาวงการฟุตบอลอยู่เสมอ แผนการพัฒนานักเตะเยาวชนได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างนักเตะเลือดใหม่ จนทำให้ทีมชาติเยอรมันคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกและแชมป์ฟุตบอลโลก ยู-19 (ชุดอายุไม่เกิน 19 ปี) ในปี 2014 ได้สำเร็จ
เรื่องราวความสำเร็จของสมาคมฟุตบอลเยอรมัน ได้กลายเป็นบทเรียนให้กับสมาคมฟุตบอลจากทั่วโลก เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญขององค์ประกอบที่จะพัฒนาทีมฟุตบอลไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน องค์ประกอบที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการก่อร่างสร้างตัวด้วยความอดทนและระเบียบวินัย องค์ประกอบสำคัญที่ทุกคนมักจะมองข้ามมันไป เพราะธรรมชาติของมนุษย์มักจะเลือกมองความสำเร็จที่อยู่บนยอดเท่านั้น แต่ความสำเร็จในทุกๆเรื่องบนโลกนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดองค์ประกอบนี้
รากฐานที่แข็งแรง
ข้อมูลอ้างอิง
Bundealiga Report 2013
http://www.dw.com/en/german-bundesliga-europes-most-profitable-football-league/a-16864178
http://topicstock.ppantip.com/supachalasai/topicstock/2011/12/S11446196/S11446196.html
http://www.dw.com/en/50-years-of-bundesliga-football/g-16915586
ถ้าเพื่อนๆคนไหนสนใจ บทความเกี่ยวกับกีฬาบาสเก็ตบอลและฟุตบอล ในมุมมองทางสังคม วัฒนธรรม ฯลฯ สามารถติดตามได้ที่เพจ https://www.facebook.com/rhythmball/ ได้เลยนะครับ