เป็นคำพูดที่โค้ชเฮงพูดเรื่องมุ้ยแล้ว มันก็เลยอยากเล่าเรื่องที่เฮงซังเล่าในงานฉลองแชมป์โลกทีมชาติเยอรมันซะหน่อยเป็นความรู้เล็กๆน้อยๆ
โค้ชเฮง เกิด 1 กุมภาพันธ์ 1954
ตำแหน่ง กองกลาง
การย้ายไปเล่นในเยอรมัน กับ แฮร์ธา เบอร์ลิน
ทีมแฮร์ธาเบอร์ลิน ได้ไปเล่นเกมกระชับมิตรที่ญี่ปุ่นในปี 1979 แล้วฟอร์มของโค้ชเฮงเข้าตาเจ้าหน้าที่ทีมแฮร์ธา เบอร์ลิน จึงมาชวนแกไปเล่นด้วย
ตอนแรกโค้ชเฮง นึกว่าชาวต่างชาติมาอำเล่น แต่เจ้าหน้าที่ก็เอาหลักฐานเอกสารของสโมสรแฮร์ธา เบอร์ลิน มายืนยัน
โค้ชเฮง ซึ่งมีความฝันจะเป็นนักฟุตบอลอาชีพจึงตอบตกลง และหลังจากนั้นแกก็ไปศึกษาภาษาเยอรมัน
โค้ชเฮง "ผมไปศึกษาภาษาเยอรมันดู มันก็ไม่ต่างจากภาษาอังกฤษเท่าไหร่"
คำพูดนี้บ่งบอกถึงความฉลาดของแกเลย เพราะผมก็คิดว่าภาษาอิตาลี, สเปน, ฝรั่งเศส และเยอรมัน ก็ไม่ต่างจากภาษาอังกฤษเท่าไหร่
ฤดูกาล 1979-1980 ปีแรกในเยอรมัน
โค้ชเฮงเล่าให้ฟังว่า โค้ชคนแรกที่เขาทำงานด้วยซ้อมหนักมาก ให้วิ่งขึ้นเขาในขณะที่อากาศหนาว พอถอดรองเท้ามาแกะน้ำแข็งออก เลือดก็ไหล
โค้ชคนแรกของเขาอยู่ได้ไม่นานก็ถูกไล่ออก
โค้ชคนที่สอง เป็นคนสบายๆกันเองกับนักเตะ ให้นักเตะกินข้าวด้วยกัน เวลาไปแข่งพวกตัวจริงจะได้นั่งหน้า แต่ไม่นานก็ถูกไล่ออก
โค้ชเฮงเล่าให้ฟังสองคน
เกมแรกที่โค้ชเฮงได้ลงสนามในบุนเดสลีกา คือ นัดที่ 16 ที่แฮร์ธา เบอร์ลิน เปิดบ้านรับ Fortuna Düsseldorf เป็นตัวสำรองลงไปนาทีที่ 70 ทีมชนะ 3-0
เกมต่อมานัดที่ 17 โค้ชเฮงได้เป็นตัวจริง ในเกมไปเยือน VfB Stuttgart ลงเล่นไปได้ 66 นาที ถูกเปลี่ยนตัวออก ผลทีมแพ้ 0-5
เกมที่สามที่ได้ลงเล่นในเยอรมันเป็นบอลถ้วยที่ทีมเสมอ TuS Langerwehe หลังต่อเวลาพิเศษ โค้ชเฮงลงเล่นนาที 91 ของช่วงต่อเวลา เกมจบ 0-0
เกมที่สี่ บุนเดสลีกานัดที่ 22 ลงเป็นตัวสำรองนาที่ 80 ทีมแพ้ 1-4
โค้ชเฮงอายุ 25 ปี ลงเล่นทั้งหมด 4 นัด
บุนเดสลีก้า ลงเล่น 3 นัด ตัวจริง 1 นัด ตัวสำรอง 2 นัด รวม 96 นาที
DFB โพคาล ลงเล่นสำรอง 1 นัด 29 นาที
ฤดูกาล 1980-1981 ปีที่สองในเยอรมัน
โค้ชเฮงในวัย 26 ปี ได้รับโอกาสมากขึ้นในบุนเดสลีกา 2 เขตเหนือ แต่ก็ยังคงน้อยมากอยู่ดี ลงเล่นไป 19 นัด 601 นาที เฉลี่ยนัดละ 32 นาที
บุนเดสลีก้า 2 ลงเล่นตัวจริง 5 นัด ตัวสำรอง 14 นัด ทำไปได้ 1 ประตู
DFB โพคาล ลงเล่นตัวจริง 1 นัด 90 นาทีเต็ม สำรอง 1 นัด 13 นาที
ฤดูกาล 1981-1982 ปีสุดท้ายกับแฮร์ธา เบอร์ลิน
โค้ชเฮงในวัย 27 ปี ได้ลงเล่นเป็นนาทีมากขึ้นถึง 845 นาที แต่จำนวนนัดลดลงเหลือแค่ 12 นัด เป็นตัวจริง 9 นัด บอลถ้วยไม่ได้ลงซักนัด
จบฤดูกาลโค้ชเฮงตัดสินใจลงไปเล่นดิวิชั่น 3 กับ ซาร์บรุคเคน
โค้ชเฮง ลงเล่นให้แฮร์ธา เบอร์ลินไปทุกรายการ 37 นัด ทำไปได้ 1 ประตู
ฤดูกาล 1982-1983 พา "ซาร์บรุคเคน" คว้าแชมป์ดิวิชั่น 3
โค้ชเฮงเล่าว่า พอแกลงไปเล่นดิวิชั่น 3 โค้ชเฮงก็ติดทีมยอดเยี่ยมแทบจะทุกสัปดาห์ ซึ่งเส้นทางที่แกเลือกสวนทางกับ "ชา บุน กุน" ซึ่งไต่จากลีกล่างๆขึ้นบน
แกบ่นเสียดายที่น่าจะมาลงเล่นในลีกล่างๆก่อน จบฤดูกาลแกพาทีมคว้าแชมป์ Oberliga Sudwest 1982-1983 เลื่อนสู่บุนเดสลีกา 2
โค้ชเฮงในวัย 28 ปี ลงเล่น Oberliga Sudwest 27 นัด ทำไป 4 ประตู
ฤดูกาล 1983-1984 ปีสุดท้ายในเยอรมัน
แกเล่าให้ฟังว่า "ระหว่างที่เล่นฟุตบอลแกเรียนโค้ชไปด้วย แต่เข้าเรียนวันแรกเลิกเลย เพราะทางศูนย์อบรมที่เยอรมันไม่มีเอกสารให้ คนสอนเดินเข้ามาพูดๆแล้วก็เลิก"
โค้ชเฮงจึงตัดสินใจจ้างคนที่เรียนมาสอนแกต่ออีกที จบฤดูกาลแกร้อนวิชาอยากกลับมาเป็นโค้ชในไทย เลยกลับเลย ซึ่งแกสอนแล้วนัดเตะไทยไม่เข้าใจ
ผลงานในสนาม โค้ชเฮงวัย 29 ปี ลงเล่น 27 นัด สำรอง 1 นัด ทำไป 3 ประตู
"ซาร์บรุคเคน" จบอันดับที่ 10 รอดตกชั้นอย่างสบายๆ
นี้คือเรื่องราวชีวิตโค้ชเฮงในเยอรมันที่แกเล่าในงานวันนั้น ถ้าใครไปผมตกหล่นอะไรตรงไหนเสริมด้วย
รูปเอามาจากคุณ Rarm41
แปลความหมายโค้ชเฮงพูดถึง "มุ้ย"
"มันน่าเสียดายครับ จริงๆแล้ว ผมคิดว่ามันไม่มีอะไรง่ายหรอก การไปอยู่ที่โน่นมันต้องสู้ มันต้องอดทน ผมคิดว่าช่วงเวลา 6 เดือนเขาเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น " เจ้าของฉายาไทยบูม เสริมต่อว่า "สมัยผมยังรู้สึกว่าตัวเองคิดผิดที่เริ่มจากบนลงล่าง (แฮร์ธาเบอร์ลิน มา ซาร์บรุคเคน) ในขณะที่ ชา บุม-กุน (ตำนานทีมชาติเกาหลีใต้) เขาเริ่มสร้างฐานจากล่างขึ้นบน (ดาร์มสตัดท์ ไป แฟร้งค์เฟิร์ต และ เลเวอร์คูเซน) ซึ่งผมคิดว่ามันมีผลอย่างมาก"
“แน่นอนเรื่องภาษามันมีปัญหาทุกคน ตอนที่ผมไปญี่ปุ่น กว่าผมจะปรับตัวแล้วได้เล่นก็ 6 เดือนแล้ว ตอนไปเยอรมันผมโดนล้อว่าไอนักบอล 25 นาที แต่ผมก็ไม่สนใจ ในขณะที่มุ้ยเริ่มได้โอกาสบ้างแล้วมีโอกาสได้เล่น ผมคิดว่าเขาไม่น่ารีบกลับ"
“เขา(ธีรศิลป์ แดงดา)ควรจะอยู่ที่นั่นอย่างน้อย 3 ปี เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง การได้เล่นกับโค้ชหลายๆคนจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ผมยังอิจฉาเขาที่ได้อยู่กับโค้ชสองคนแล้ว ซึ่งจะดีกับเขาแน่นอนหากจะเป็นโค้ชในอนาคต" (ตัวโค้ชเฮงเรียนกับโค้ช 5 คน สมัยอยู่แฮร์ธา เบอร์ลิน)
"การกลับมาครั้งนี้มีแต่ผลเสีย เขาอาจจะหยุดอยู่แค่นี้ และยากที่จะกลับไปอีกครัง" อดีตดาวเตะ แฮร์ธาเบอร์ลิน และ ซาร์บรุคเคน กล่าวทิ้งท้าย
ความหมายที่โค้ชเฮงต้องการจะสื่อ
6 เดือนแรกที่มุ้ยอยู่กับอัลเมเรียถือว่าได้รับโอกาสมากแล้วถ้าเทียบกับตัวโค้ชเฮงเองสมัยไปเยอรมันฤดูกาลแรก
ทางที่ดีมุ้ยควรหาทีมดิวิชั่นล่างๆลงเล่นต่อไป เพื่อพัฒนาไปสู่ดิวิชั่นที่สูงขึ้น
3 ปีที่โค้ชเฮง หมายถึง คืออยากให้มุ้ยอยู่ยุโรปถึงอายุ 29-30 เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาสอนเด็กๆในประเทศรุ่นต่อไป
จบเรื่องโค้ชเฮง ที่เล่าเพราะอยากให้เห็นภาพความลำบากที่โค้ชเฮงเจอในขณะที่อยู่เยอรมัน
[พิเศษ] โค้ชเฮง อิน เยอรมัน จากปากแกเอง
โค้ชเฮง เกิด 1 กุมภาพันธ์ 1954
ตำแหน่ง กองกลาง
การย้ายไปเล่นในเยอรมัน กับ แฮร์ธา เบอร์ลิน
ทีมแฮร์ธาเบอร์ลิน ได้ไปเล่นเกมกระชับมิตรที่ญี่ปุ่นในปี 1979 แล้วฟอร์มของโค้ชเฮงเข้าตาเจ้าหน้าที่ทีมแฮร์ธา เบอร์ลิน จึงมาชวนแกไปเล่นด้วย
ตอนแรกโค้ชเฮง นึกว่าชาวต่างชาติมาอำเล่น แต่เจ้าหน้าที่ก็เอาหลักฐานเอกสารของสโมสรแฮร์ธา เบอร์ลิน มายืนยัน
โค้ชเฮง ซึ่งมีความฝันจะเป็นนักฟุตบอลอาชีพจึงตอบตกลง และหลังจากนั้นแกก็ไปศึกษาภาษาเยอรมัน
โค้ชเฮง "ผมไปศึกษาภาษาเยอรมันดู มันก็ไม่ต่างจากภาษาอังกฤษเท่าไหร่"
คำพูดนี้บ่งบอกถึงความฉลาดของแกเลย เพราะผมก็คิดว่าภาษาอิตาลี, สเปน, ฝรั่งเศส และเยอรมัน ก็ไม่ต่างจากภาษาอังกฤษเท่าไหร่
ฤดูกาล 1979-1980 ปีแรกในเยอรมัน
โค้ชเฮงเล่าให้ฟังว่า โค้ชคนแรกที่เขาทำงานด้วยซ้อมหนักมาก ให้วิ่งขึ้นเขาในขณะที่อากาศหนาว พอถอดรองเท้ามาแกะน้ำแข็งออก เลือดก็ไหล
โค้ชคนแรกของเขาอยู่ได้ไม่นานก็ถูกไล่ออก
โค้ชคนที่สอง เป็นคนสบายๆกันเองกับนักเตะ ให้นักเตะกินข้าวด้วยกัน เวลาไปแข่งพวกตัวจริงจะได้นั่งหน้า แต่ไม่นานก็ถูกไล่ออก
โค้ชเฮงเล่าให้ฟังสองคน
เกมแรกที่โค้ชเฮงได้ลงสนามในบุนเดสลีกา คือ นัดที่ 16 ที่แฮร์ธา เบอร์ลิน เปิดบ้านรับ Fortuna Düsseldorf เป็นตัวสำรองลงไปนาทีที่ 70 ทีมชนะ 3-0
เกมต่อมานัดที่ 17 โค้ชเฮงได้เป็นตัวจริง ในเกมไปเยือน VfB Stuttgart ลงเล่นไปได้ 66 นาที ถูกเปลี่ยนตัวออก ผลทีมแพ้ 0-5
เกมที่สามที่ได้ลงเล่นในเยอรมันเป็นบอลถ้วยที่ทีมเสมอ TuS Langerwehe หลังต่อเวลาพิเศษ โค้ชเฮงลงเล่นนาที 91 ของช่วงต่อเวลา เกมจบ 0-0
เกมที่สี่ บุนเดสลีกานัดที่ 22 ลงเป็นตัวสำรองนาที่ 80 ทีมแพ้ 1-4
โค้ชเฮงอายุ 25 ปี ลงเล่นทั้งหมด 4 นัด
บุนเดสลีก้า ลงเล่น 3 นัด ตัวจริง 1 นัด ตัวสำรอง 2 นัด รวม 96 นาที
DFB โพคาล ลงเล่นสำรอง 1 นัด 29 นาที
ฤดูกาล 1980-1981 ปีที่สองในเยอรมัน
โค้ชเฮงในวัย 26 ปี ได้รับโอกาสมากขึ้นในบุนเดสลีกา 2 เขตเหนือ แต่ก็ยังคงน้อยมากอยู่ดี ลงเล่นไป 19 นัด 601 นาที เฉลี่ยนัดละ 32 นาที
บุนเดสลีก้า 2 ลงเล่นตัวจริง 5 นัด ตัวสำรอง 14 นัด ทำไปได้ 1 ประตู
DFB โพคาล ลงเล่นตัวจริง 1 นัด 90 นาทีเต็ม สำรอง 1 นัด 13 นาที
ฤดูกาล 1981-1982 ปีสุดท้ายกับแฮร์ธา เบอร์ลิน
โค้ชเฮงในวัย 27 ปี ได้ลงเล่นเป็นนาทีมากขึ้นถึง 845 นาที แต่จำนวนนัดลดลงเหลือแค่ 12 นัด เป็นตัวจริง 9 นัด บอลถ้วยไม่ได้ลงซักนัด
จบฤดูกาลโค้ชเฮงตัดสินใจลงไปเล่นดิวิชั่น 3 กับ ซาร์บรุคเคน
โค้ชเฮง ลงเล่นให้แฮร์ธา เบอร์ลินไปทุกรายการ 37 นัด ทำไปได้ 1 ประตู
ฤดูกาล 1982-1983 พา "ซาร์บรุคเคน" คว้าแชมป์ดิวิชั่น 3
โค้ชเฮงเล่าว่า พอแกลงไปเล่นดิวิชั่น 3 โค้ชเฮงก็ติดทีมยอดเยี่ยมแทบจะทุกสัปดาห์ ซึ่งเส้นทางที่แกเลือกสวนทางกับ "ชา บุน กุน" ซึ่งไต่จากลีกล่างๆขึ้นบน
แกบ่นเสียดายที่น่าจะมาลงเล่นในลีกล่างๆก่อน จบฤดูกาลแกพาทีมคว้าแชมป์ Oberliga Sudwest 1982-1983 เลื่อนสู่บุนเดสลีกา 2
โค้ชเฮงในวัย 28 ปี ลงเล่น Oberliga Sudwest 27 นัด ทำไป 4 ประตู
ฤดูกาล 1983-1984 ปีสุดท้ายในเยอรมัน
แกเล่าให้ฟังว่า "ระหว่างที่เล่นฟุตบอลแกเรียนโค้ชไปด้วย แต่เข้าเรียนวันแรกเลิกเลย เพราะทางศูนย์อบรมที่เยอรมันไม่มีเอกสารให้ คนสอนเดินเข้ามาพูดๆแล้วก็เลิก"
โค้ชเฮงจึงตัดสินใจจ้างคนที่เรียนมาสอนแกต่ออีกที จบฤดูกาลแกร้อนวิชาอยากกลับมาเป็นโค้ชในไทย เลยกลับเลย ซึ่งแกสอนแล้วนัดเตะไทยไม่เข้าใจ
ผลงานในสนาม โค้ชเฮงวัย 29 ปี ลงเล่น 27 นัด สำรอง 1 นัด ทำไป 3 ประตู
"ซาร์บรุคเคน" จบอันดับที่ 10 รอดตกชั้นอย่างสบายๆ
นี้คือเรื่องราวชีวิตโค้ชเฮงในเยอรมันที่แกเล่าในงานวันนั้น ถ้าใครไปผมตกหล่นอะไรตรงไหนเสริมด้วย
รูปเอามาจากคุณ Rarm41
แปลความหมายโค้ชเฮงพูดถึง "มุ้ย"
"มันน่าเสียดายครับ จริงๆแล้ว ผมคิดว่ามันไม่มีอะไรง่ายหรอก การไปอยู่ที่โน่นมันต้องสู้ มันต้องอดทน ผมคิดว่าช่วงเวลา 6 เดือนเขาเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น " เจ้าของฉายาไทยบูม เสริมต่อว่า "สมัยผมยังรู้สึกว่าตัวเองคิดผิดที่เริ่มจากบนลงล่าง (แฮร์ธาเบอร์ลิน มา ซาร์บรุคเคน) ในขณะที่ ชา บุม-กุน (ตำนานทีมชาติเกาหลีใต้) เขาเริ่มสร้างฐานจากล่างขึ้นบน (ดาร์มสตัดท์ ไป แฟร้งค์เฟิร์ต และ เลเวอร์คูเซน) ซึ่งผมคิดว่ามันมีผลอย่างมาก"
“แน่นอนเรื่องภาษามันมีปัญหาทุกคน ตอนที่ผมไปญี่ปุ่น กว่าผมจะปรับตัวแล้วได้เล่นก็ 6 เดือนแล้ว ตอนไปเยอรมันผมโดนล้อว่าไอนักบอล 25 นาที แต่ผมก็ไม่สนใจ ในขณะที่มุ้ยเริ่มได้โอกาสบ้างแล้วมีโอกาสได้เล่น ผมคิดว่าเขาไม่น่ารีบกลับ"
“เขา(ธีรศิลป์ แดงดา)ควรจะอยู่ที่นั่นอย่างน้อย 3 ปี เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง การได้เล่นกับโค้ชหลายๆคนจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ผมยังอิจฉาเขาที่ได้อยู่กับโค้ชสองคนแล้ว ซึ่งจะดีกับเขาแน่นอนหากจะเป็นโค้ชในอนาคต" (ตัวโค้ชเฮงเรียนกับโค้ช 5 คน สมัยอยู่แฮร์ธา เบอร์ลิน)
"การกลับมาครั้งนี้มีแต่ผลเสีย เขาอาจจะหยุดอยู่แค่นี้ และยากที่จะกลับไปอีกครัง" อดีตดาวเตะ แฮร์ธาเบอร์ลิน และ ซาร์บรุคเคน กล่าวทิ้งท้าย
ความหมายที่โค้ชเฮงต้องการจะสื่อ
6 เดือนแรกที่มุ้ยอยู่กับอัลเมเรียถือว่าได้รับโอกาสมากแล้วถ้าเทียบกับตัวโค้ชเฮงเองสมัยไปเยอรมันฤดูกาลแรก
ทางที่ดีมุ้ยควรหาทีมดิวิชั่นล่างๆลงเล่นต่อไป เพื่อพัฒนาไปสู่ดิวิชั่นที่สูงขึ้น
3 ปีที่โค้ชเฮง หมายถึง คืออยากให้มุ้ยอยู่ยุโรปถึงอายุ 29-30 เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาสอนเด็กๆในประเทศรุ่นต่อไป
จบเรื่องโค้ชเฮง ที่เล่าเพราะอยากให้เห็นภาพความลำบากที่โค้ชเฮงเจอในขณะที่อยู่เยอรมัน