ชาวนาพัทลุง

หากถามถึงความสุขในมุมมองของชาวนา ชาวนาบางคนอาจมองทั้งความสุขและความทุกข์เป็นสิ่งเดียวกัน นั่นคือ “ข้าว” หากข้าวเจริญเติบโต ได้ผลผลิตดี ราคาดี นั่นคือความสุข แต่หากข้าวแห้งเหี่ยว ล้มตาย หรือราคาข้าวตกต่ำ นั่นคือความทุกข์

ในปี 2557 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างทั่วประเทศ จำนวน 2,346 ราย พบว่าระดับความสุขของเกษตรกรไทยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เฉลี่ยประมาณร้อยละ 78 โดยความสุขของเกษตรกรไทยวัดจากตัวชี้วัดความสุขใน 6 มิติ ได้แก่ ครอบครัวดี สุขภาพดี สังคมดี การงานดี สุขภาพเงินดี และใฝ่รู้ดี ตามลำดับ โดยในแต่ละมิติมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

เมื่อแยกสาขามาดูเฉพาะชาวนาผู้ปลูกข้าว พบว่า มีความสุขมวลรวมเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับมากที่สุดด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.35 จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน ภายหลังจากได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าว โดยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่มีความสุขในระดับมากขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 88.6 สะท้อนให้เห็นว่าหลังจากเกษตรกรได้รับเงินแล้วเกษตรกรมีสภาพคล่องในการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และมีความหวังในอาชีพทำนามากขึ้น
ผมเป็นคนรุ่นใหม่ ที่ออกมาทำอาชีพ เกษตรกร (ชาวนา) จากระดับความสูข ที่ทาง ธกส วิจัยมานั้น ถ้ายกกระบวนการรับจำนำข้าว ออกไป  ชาวนาแบบผม
ก็มีระดับความสูขใด้ 6 มิติเหมือนเดิม โดยนำการบริหารและการจัดการ ห่วงโช่อุประทาน   ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มาเชือมต่อ กัน และ นำเสนอโดยใช้
ช่องมทางที่เข้าถึงง่ายในยุคนี่ ที่มีมากมาย ทั้ง facebook,line,web, ต่าง และเพิ่มการแปรรูป แบบนี้ชาวนาพัทลุง อย่างผมก็ เป็นชาวนายุค 4.0 ของนายก ตู่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่