“ไอเฟค” เตรียมเล่นงานหนัก กลุ่มผลประโยชน์หวังเข้าครอบงำกิจการบริษัท ซ้ำมีพฤติกรรมขัดขวางการปรับโครงสร้างหนี้ และแผนเดินหน้ากิจการ
นายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัทฯ ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2559 เป็นต้นมา บริษัทได้ตรวจพบกลุ่มผลประโยชน์ มีเจตนาจะเข้าครอบงำกิจการบริษัทฯโดยผิดกฎหมาย ขณะเดียวกันมีพฤติกรรมร่วมกับอดีตผู้บริหารไอเฟค กระทำการขัดขวางการปรับโครงสร้างหนี้ และแผนการดำเนินกิจการของบริษัท โดยขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐานทั้งหมดเพื่อดำเนินคดีแล้ว
ทั้งนี้พฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่า กลุ่มผลประโยชน์ส่อเจตนาเข้าครอบงำกิจการนั้น กล่าวคือ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา พบคนกลุ่มนี้ถือหุ้นไอเฟคเพียง 67 ล้านหุ้น หรือ 3.38% ตามข้อมูลการปิดสมุดบัญชีในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น และเครือญาติถือหุ้น 1.265 ล้านหุ้น ต่อมาในวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2559ได้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 101.5 ล้านหุ้น คิดเป็น 5.11% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด และเครือญาติถือหุ้น 101.03 ล้านหุ้น
“กระทั้งเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2559มีหนังสือถึงประธานกรรมการไอเฟค โดยแจ้งว่า ให้ทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร โดยให้เปลี่ยนประธานกรรมการ รองประธาน และให้เพิ่มกรรมการในสัดส่วนของกลุ่มผู้ถือผลประโยชน์อีก 3 คน ซึ่งระบุในหนังสือดังกล่าวด้วยว่า กลุ่มบุคคลดังกล่าวถือหุ้นรวมกัน 500 ล้านหุ้น หรือราว 25.20% ของทุนจดทะเบียน”
จากการระบุในหนังสือดังกล่าว ถือเป็นการถือหุ้นรวมกันเพื่อครอบงำกิจการ เข้าข่ายตามบัญญัติมาตรา 246 และมาตรา247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“จากสัดส่วนหุ้นและพฤติกรรมดังกล่าว สอดรับกับข้อมูลที่มีการให้ข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ได้เข้าเทคโอเวอร์ไอเฟค โดยมีหุ้น 15% ซึ่งผมได้ทำหนังสือร้องเรียนเรื่องทั้งหมดต่อก.ล.ต.แล้ว และได้แจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินการตามกฎหมายแล้ว”
ขัดขวางแผนเดินหน้าบริษัท
นอกจากนี้ กลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าว ยังมีพฤติกรรมขัดขวางการเดินหน้าบริษัท ที่จะหลุดพ้นภาวะปัญหาในปัจจุบัน โดยตลอดเวลาที่ผ่านมามีการให้ข่าวผ่านสื่อมวลชน ในทำนองว่า บริษัทไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้สินบริษัทได้ ส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นของเจ้าหนี้ โดยหลายกรณีให้ข่าวสอดรับไปในแนวทางเดียวกับอดีตผู้บริหารบริษัทที่ลาออกไป และมีคดีถูกบริษัทฟ้องร้องค่าเสียหายในปัจจุบัน
อีกทั้งภายหลังที่เข้าเป็นกรรมการบริษัท และการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ก็ยังมีพฤติกรรมขัดขวางการบริหารจัดการ และธรรมาภิบาลบริษัท อาทิ การดึงเรื่องไม่ส่งเอกสารกรรมการใหม่ให้บริษัทดำเนินการจดทะเบียน และยังได้ไปชิงจดทะเบียนจัดตั้งกรรมการใหม่บริษัทฯ ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งๆที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ส่งผลให้บริษัทดำเนินการจดทะเบียนล่าช้า
เมื่อบริษัทเรียกประชุมคณะกรรมการเมื่อวันที่ 15 มี.ค. มีการกำหนดวาระสำคัญ คือกำหนดแนวทางการบริหารจัดการหนี้ แต่กลุ่มคนดังกล่าวกลับเดินออกจากที่ประชุมก่อน ที่สำคัญก่อนการประชุม มีการนัดสื่อมวลชนแถลงข่าวไว้ล่วงหน้า ในเวลาใกล้เคียงกับเวลาที่นัดประชุม แสดงให้เห็นพฤติกรรมที่จะไม่ต้องการร่วมประชุมตั้งแต่ต้น
ต่อมาประธานกรรมการไอเฟค ได้พยายามแก้ปัญหาของบริษัท โดยจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการขึ้นอีกครั้งในวันที่ 29 มีนาคม ตามคำชี้แนะของนายรพี สุจริตกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แต่กลับไม่เข้าร่วมประชุมสะท้อนถึงความไม่จริงใจในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ทั้งๆที่ได้มีการหารือต่อหน้าเลขาธิการก.ล.ต.ซึ่งส่งผลต่อการการหลุดจากเครื่องหมายSPของบริษัท กระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัททุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น หรือ เจ้าหนี้
แจ้งความจดทะเบียนฯไม่ถูกต้อง
สำหรับกรณีกลุ่มคนดังกล่าว ไปจดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานฯ นายทะเบียน กรรมการบริษัท ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยมีเจตนา ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น บริษัทฯได้แจ้งความดำเนินคดีไว้ที่สน.รัตนาธิเบศร์แล้ว
การกระทำดังกล่าวทำให้บริษัทเสียหาย และเป็นเจตนาที่ต้องการขัดขวางการดำเนินการของบริษัทอย่างชัดเจน โดยเจ้าพนักงานได้ลงเลขคดี และเรียกผู้กล่าวหาเข้าให้ปากคำ ในวันที่ 11 เม.ย. ที่จะถึงนี้
นายวิชัย กล่าวอีกว่า บริษัทได้พยายามทุกวิถีทาง ที่จะให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน จะเห็นได้ว่าบริษัทได้เจรจากับทุกฝ่าย และเปิดให้มีการประชุมกรรมการอย่างต่อเนื่อง แต่กลับไม่ได้รับความร่วมมือ และถูกโจมตีตลอดเวลา ทำให้บริษัทไม่สามารถหลีกเลี่ยงจำเป็นต้องนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัททุกฝ่าย โดยเฉพาะกรณีเจตนาเข้าครอบงำบริษัทอย่างผิดกฏหมาย ที่ต้องพิสูจน์ความจริง
ทั้งนี้ IFEC เป็นบริษัทมหาชนที่มีสินทรัพย์กว่า 1 หมื่นล้านบาท มีผู้ถือหุ้นทั้งสิ้นเกือบ 3 หมื่นราย มีสัดส่วนกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่เพียง 20 กว่า% ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายย่อย 80% ดังนั้นบริษัทจึงต้องรักษาผลประโยชน์ให้กลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อย ตามหลักธรรมภิบาลที่ดี
ที่มา :
http://www.matichon.co.th/news/520612
ไอเฟคสอบพบเจตนาครอบงำกิจการ ละเว้นประชุม-เมินแก้หนี้-ปลด SP
นายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัทฯ ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2559 เป็นต้นมา บริษัทได้ตรวจพบกลุ่มผลประโยชน์ มีเจตนาจะเข้าครอบงำกิจการบริษัทฯโดยผิดกฎหมาย ขณะเดียวกันมีพฤติกรรมร่วมกับอดีตผู้บริหารไอเฟค กระทำการขัดขวางการปรับโครงสร้างหนี้ และแผนการดำเนินกิจการของบริษัท โดยขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐานทั้งหมดเพื่อดำเนินคดีแล้ว
ทั้งนี้พฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่า กลุ่มผลประโยชน์ส่อเจตนาเข้าครอบงำกิจการนั้น กล่าวคือ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา พบคนกลุ่มนี้ถือหุ้นไอเฟคเพียง 67 ล้านหุ้น หรือ 3.38% ตามข้อมูลการปิดสมุดบัญชีในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น และเครือญาติถือหุ้น 1.265 ล้านหุ้น ต่อมาในวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2559ได้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 101.5 ล้านหุ้น คิดเป็น 5.11% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด และเครือญาติถือหุ้น 101.03 ล้านหุ้น
“กระทั้งเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2559มีหนังสือถึงประธานกรรมการไอเฟค โดยแจ้งว่า ให้ทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร โดยให้เปลี่ยนประธานกรรมการ รองประธาน และให้เพิ่มกรรมการในสัดส่วนของกลุ่มผู้ถือผลประโยชน์อีก 3 คน ซึ่งระบุในหนังสือดังกล่าวด้วยว่า กลุ่มบุคคลดังกล่าวถือหุ้นรวมกัน 500 ล้านหุ้น หรือราว 25.20% ของทุนจดทะเบียน”
จากการระบุในหนังสือดังกล่าว ถือเป็นการถือหุ้นรวมกันเพื่อครอบงำกิจการ เข้าข่ายตามบัญญัติมาตรา 246 และมาตรา247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“จากสัดส่วนหุ้นและพฤติกรรมดังกล่าว สอดรับกับข้อมูลที่มีการให้ข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ได้เข้าเทคโอเวอร์ไอเฟค โดยมีหุ้น 15% ซึ่งผมได้ทำหนังสือร้องเรียนเรื่องทั้งหมดต่อก.ล.ต.แล้ว และได้แจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินการตามกฎหมายแล้ว”
ขัดขวางแผนเดินหน้าบริษัท
นอกจากนี้ กลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าว ยังมีพฤติกรรมขัดขวางการเดินหน้าบริษัท ที่จะหลุดพ้นภาวะปัญหาในปัจจุบัน โดยตลอดเวลาที่ผ่านมามีการให้ข่าวผ่านสื่อมวลชน ในทำนองว่า บริษัทไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้สินบริษัทได้ ส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นของเจ้าหนี้ โดยหลายกรณีให้ข่าวสอดรับไปในแนวทางเดียวกับอดีตผู้บริหารบริษัทที่ลาออกไป และมีคดีถูกบริษัทฟ้องร้องค่าเสียหายในปัจจุบัน
อีกทั้งภายหลังที่เข้าเป็นกรรมการบริษัท และการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ก็ยังมีพฤติกรรมขัดขวางการบริหารจัดการ และธรรมาภิบาลบริษัท อาทิ การดึงเรื่องไม่ส่งเอกสารกรรมการใหม่ให้บริษัทดำเนินการจดทะเบียน และยังได้ไปชิงจดทะเบียนจัดตั้งกรรมการใหม่บริษัทฯ ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งๆที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ส่งผลให้บริษัทดำเนินการจดทะเบียนล่าช้า
เมื่อบริษัทเรียกประชุมคณะกรรมการเมื่อวันที่ 15 มี.ค. มีการกำหนดวาระสำคัญ คือกำหนดแนวทางการบริหารจัดการหนี้ แต่กลุ่มคนดังกล่าวกลับเดินออกจากที่ประชุมก่อน ที่สำคัญก่อนการประชุม มีการนัดสื่อมวลชนแถลงข่าวไว้ล่วงหน้า ในเวลาใกล้เคียงกับเวลาที่นัดประชุม แสดงให้เห็นพฤติกรรมที่จะไม่ต้องการร่วมประชุมตั้งแต่ต้น
ต่อมาประธานกรรมการไอเฟค ได้พยายามแก้ปัญหาของบริษัท โดยจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการขึ้นอีกครั้งในวันที่ 29 มีนาคม ตามคำชี้แนะของนายรพี สุจริตกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แต่กลับไม่เข้าร่วมประชุมสะท้อนถึงความไม่จริงใจในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ทั้งๆที่ได้มีการหารือต่อหน้าเลขาธิการก.ล.ต.ซึ่งส่งผลต่อการการหลุดจากเครื่องหมายSPของบริษัท กระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัททุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น หรือ เจ้าหนี้
แจ้งความจดทะเบียนฯไม่ถูกต้อง
สำหรับกรณีกลุ่มคนดังกล่าว ไปจดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานฯ นายทะเบียน กรรมการบริษัท ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยมีเจตนา ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น บริษัทฯได้แจ้งความดำเนินคดีไว้ที่สน.รัตนาธิเบศร์แล้ว
การกระทำดังกล่าวทำให้บริษัทเสียหาย และเป็นเจตนาที่ต้องการขัดขวางการดำเนินการของบริษัทอย่างชัดเจน โดยเจ้าพนักงานได้ลงเลขคดี และเรียกผู้กล่าวหาเข้าให้ปากคำ ในวันที่ 11 เม.ย. ที่จะถึงนี้
นายวิชัย กล่าวอีกว่า บริษัทได้พยายามทุกวิถีทาง ที่จะให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน จะเห็นได้ว่าบริษัทได้เจรจากับทุกฝ่าย และเปิดให้มีการประชุมกรรมการอย่างต่อเนื่อง แต่กลับไม่ได้รับความร่วมมือ และถูกโจมตีตลอดเวลา ทำให้บริษัทไม่สามารถหลีกเลี่ยงจำเป็นต้องนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัททุกฝ่าย โดยเฉพาะกรณีเจตนาเข้าครอบงำบริษัทอย่างผิดกฏหมาย ที่ต้องพิสูจน์ความจริง
ทั้งนี้ IFEC เป็นบริษัทมหาชนที่มีสินทรัพย์กว่า 1 หมื่นล้านบาท มีผู้ถือหุ้นทั้งสิ้นเกือบ 3 หมื่นราย มีสัดส่วนกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่เพียง 20 กว่า% ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายย่อย 80% ดังนั้นบริษัทจึงต้องรักษาผลประโยชน์ให้กลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อย ตามหลักธรรมภิบาลที่ดี
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news/520612