ผู้ถือหุ้นรายย่อย "อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น "ฟ้องอาญา มาตรา 157 ก.ล.ต.ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ปล่อยให้”วิชัย”ทำผิดกฎหมายโจ๋งครึ่ม แอบจำนำหุ้น ICAP แลกค้ำประกันหนี้ตั๋วบี/อี-กู้เงิน ECF กว่า 50 ล้านบาท แถมยังเอาหุ้นโรงไฟฟ้าชีวมวลไปค้ำ ทั้งที่จำนวนบอร์ดไม่ครบองค์ประชุม ชี้พฤติกรรมในช่วงที่ผ่านมา จงใจปกปิดข้อมูลชัด ได้ใจหนัก!!! งัดวิชามารสกัดผู้ถือหุ้นใหญ่เข้าบริหาร ใช้วิธีออกเสียงเลือกคณะกรรมการแบบ Cumulative voting ถึง 2 ครั้ง เจ้าหน้าที่ก.ล.ต.ที่เข้าร่วมสังเกตการณ์เตือนแล้วก็ไม่ฟัง จนในที่สุดกลายเป็นผู้ถือหุ้น ได้กรรมการเสียงข้างมาก กุมอำนาจบริหารแบบเบ็ดเสร็จ
นายประจักษ์ รัศมี ทนายความที่ได้รับการมอบหมายจากผู้ถือหุ้นรายย่อย บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC ได้ยื่นฟ้องสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฯ ข้อหาหรือฐานความผิดเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก้ผู้หนึ่งผู้ใด ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ กลาง เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2560 และศาลนัดไกล่เกลี่ยในวันที่ 3 กรกฎาคม 2560
จำเลยที่ 1 เป็นหน่วยงานของภาครัฐ จัดตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จำเลยที่ 2 มีตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ ก.ล.ต. จำเลยที่ 3 ถึงจำเลยที่ 11 มีตำแหน่งเป็นกรรมการ ก.ล.ต. และจำเลยที่ 12 มีตำแหน่งเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ก.ล.ต.
โดยจำเลยที่ 2 ถึง 12 เป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการกำกับดูและหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ สร้างความเสียหายให้กับผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ลงทุนในหุ้นบริษัทไอเฟค เนื่องจากในระหว่างเดือนธันวาคม 2559-เดือนมิถุนายน 2560 ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้เข้าร้องเรียนปัญหาที่เกิดขึ้นกับไอเฟค แต่จำเลยทั้ง 12 คน ได้กระทำการโดยมีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
ในช่วงเดือนธันวาคม 2559 นายชัยวัฒน์ พิทักษ์รักธรรม ในฐานะตัวแทนผู้ถือหุ้นรายย่อย ยื่นหนังสือร้องเรียนกรณีกรรมการไอเฟคลาออก และการที่บริษัทฯผิดนัดชำระหนี้ตั๋วแลกเงิน (บี/อี) จนทำให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สั่งห้ามซื้อขายหุ้นชั่วคราว (ขึ้นเครื่องหมาย SP) เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2560 จนถึงปัจจุบัน ทั้งที่บริษัทมีรายได้จากการประกอบกิจการทุกเดือน และได้รับเงินจากการแปลงใบสำคัญแสดงสิทธิ (IFEC-W1) อีกประมาณ 37 ล้านบาท แต่ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ถือหุ้นกู้ได้ จนถึงปัจจุบันบริษัทผิดนัดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทุกประเภทเป็นเงินประมาณ 3 พันล้านบาทแล้ว
นอกจากนี้ กรรรมการของบริษัทไอเฟค ที่เหลืออยู่ ซึ่งมีจำนวนไม่ครบองค์ประชุม แต่ได้มีการทำธุรกรรมนำหุ้นของบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ แคป แมนเนจเม้นท์ จำกัด (ICAP) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของไอเฟค ถือหุ้น 51% ในโรงแรมดาราเทวี คิดเป็นเงินมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท ไปจำนำค้ำประกันการชำระหนี้ตั๋วบีอี ที่มีจำนวนเพียง 100 ล้านบาท ในวันที่ 19 ธันวาคม 2559 ทั้งที่คณะกรรมการบริษัทฯไม่มีอำนาจกระทำการได้ และปล่อยให้ตั๋วบี/อี ผิดนัดชำระหนี้
นอกจากนี้ ได้ทำธุรกรรมกู้ยืมเงินจากบริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด(มหาชน) (ECF) เป็นเงิน 50 ล้านบาท พร้อมกับนำหุ้นบริษัทไอเฟค ที่ถืออยู่ในบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เทอมอล พาวเวอร์ จำกัด ไปค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ซึ่งคณะกรรมการไม่เคยรายงานหรือขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด ซึ่งหากถูกบังคับจำนำย่อมทำให้ไอเฟคได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก
ต่อประเด็นดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าคณะกรรมการไอเฟคในช่วงเวลาดังกล่าวมีเจตนาปกปิดข้อมูล ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่อาจไว้ใจได้ว่าคณะกรรมการบริษัทจะมีการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของไอเฟคไปอีกหรือไม่ ยังไม่สามารถปิดงบการเงินประจำปี 2559 รวมถึงงบไตรมาส 1/2560 ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และบริษัทฯได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่นงบต่อตลาดหลักทรัพย์ฯมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งสำนักงาน ก.ล.ต. ก็ไม่ได้มีคำสั่งใดๆ โดยปราศจากมูลเหตุที่จะอ้างตามข้อกฎหมายได้
โดยในช่วงเวลานั้นไอเฟคยังไม่ได้ดำเนินการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบตามที่กฎหมายกำหนด นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งผ่านมาแล้วมากกว่า 6 เดือน ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ฯขึ้นเครื่องหมาย SP ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2560 จนถึงปัจจุบันอีกทั้ง สำนักงาน ก.ล.ต.ยังละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยปล่อยให้คณะกรรมการของไอเฟค ทำผิดข้อบังคับของบริษัท เกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้นอันเป็นการแสวงหาอำนาจในการบริหาร เพื่อควบคุมอำนาจการบริหารบริษัท แบบเบ็ดเสร็จ ทำให้ไม่อาจอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแก้ไขปัญหาของบริษัทได้ เนื่องจากการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 และการประชุมสามัญประจำปี 2560 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 ก.ล.ต. ปล่อยให้นายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ในฐานะประธานกรรมการ และประธานในที่ประชุมของบริษัท ใช้วิธีการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการบริษัทฯ โดยฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัท โดยกำหนดให้ใช้วิธีการลงคะแนนแบบสะสม (Cumulative voting) ที่ผู้ถือหุ้นออกเสียงได้หนึ่งหุ้น คูณด้วยจำนวนกรรมการที่จะเลือก
ทั้งที่ข้อบังคับของบริษัท ซึ่ง ก.ล.ต.ทราบถึงการกระทำผิดดังกล่าวเป็นอย่างดี เนื่องจากส่งตัวแทนเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ครั้ง และตัวแทนสำนักงาน ก.ล.ต.ก็ได้โต้แย้งในที่ประชุมว่าการลงคะแนนดังกล่าวไม่ชอบไว้ด้วยในวันประชุมผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ครั้ง ตัวแทนจาก ก.ล.ต. ที่เข้าไปร่วมสังเกตการณ์ยังได้พบกลุ่มชายชุดดำ ซึ่งแต่งกายคล้ายกับทหารและตำรวจเข้ามาควบคุมพื้นที่ทั้งในบริเวณประชุมผู้ถือหุ้นด้วย และมีชายชุดดำเข้ายึดสำนักงานบริษัทในช่วงเดือนธันวาคม 2559 และในส่วนของโรงแรมดาราเทวี ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2560
“ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับไอเฟค สำนักงาน ก.ล.ต. ได้รับเรื่องร้องเรียนหลายครั้งหลายหน แต่ทั้ง 12 คน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย ก็ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบแก้ไขปัญหาตามคำร้องเรียนแต่อย่างใด การกระทำของคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการไอเฟค ล้วนแล้วแต่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยได้กระทำไปเพื่อควบคุมอำนาจการบริหารกิจการบริษัทไว้ และจงใจปกปิดการบริหารกิจการของบริษัท ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ปราศจากความระมัดระวัง ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ปฏิบัติตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ พ.ศ. 2535 แต่สำนักงานก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล กลับเพิกเฉยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำที่เป็นการผิดกฎหมาย และข้อบังคับของคณะกรรมการบริษัทไอเฟค ผู้ถือหุ้นรายย่อยจึงนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 12 คน ”
ทั้งนี้ มาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ได้บัญญัติว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษ
จาก Manager Online
http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9600000060224
ก.ล.ต.โดนฟ้องอาญาม.157 ศึก IFEC บานปลาย
นายประจักษ์ รัศมี ทนายความที่ได้รับการมอบหมายจากผู้ถือหุ้นรายย่อย บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC ได้ยื่นฟ้องสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฯ ข้อหาหรือฐานความผิดเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก้ผู้หนึ่งผู้ใด ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ กลาง เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2560 และศาลนัดไกล่เกลี่ยในวันที่ 3 กรกฎาคม 2560
จำเลยที่ 1 เป็นหน่วยงานของภาครัฐ จัดตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จำเลยที่ 2 มีตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ ก.ล.ต. จำเลยที่ 3 ถึงจำเลยที่ 11 มีตำแหน่งเป็นกรรมการ ก.ล.ต. และจำเลยที่ 12 มีตำแหน่งเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ก.ล.ต.
โดยจำเลยที่ 2 ถึง 12 เป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการกำกับดูและหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ สร้างความเสียหายให้กับผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ลงทุนในหุ้นบริษัทไอเฟค เนื่องจากในระหว่างเดือนธันวาคม 2559-เดือนมิถุนายน 2560 ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้เข้าร้องเรียนปัญหาที่เกิดขึ้นกับไอเฟค แต่จำเลยทั้ง 12 คน ได้กระทำการโดยมีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
ในช่วงเดือนธันวาคม 2559 นายชัยวัฒน์ พิทักษ์รักธรรม ในฐานะตัวแทนผู้ถือหุ้นรายย่อย ยื่นหนังสือร้องเรียนกรณีกรรมการไอเฟคลาออก และการที่บริษัทฯผิดนัดชำระหนี้ตั๋วแลกเงิน (บี/อี) จนทำให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สั่งห้ามซื้อขายหุ้นชั่วคราว (ขึ้นเครื่องหมาย SP) เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2560 จนถึงปัจจุบัน ทั้งที่บริษัทมีรายได้จากการประกอบกิจการทุกเดือน และได้รับเงินจากการแปลงใบสำคัญแสดงสิทธิ (IFEC-W1) อีกประมาณ 37 ล้านบาท แต่ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ถือหุ้นกู้ได้ จนถึงปัจจุบันบริษัทผิดนัดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทุกประเภทเป็นเงินประมาณ 3 พันล้านบาทแล้ว
นอกจากนี้ กรรรมการของบริษัทไอเฟค ที่เหลืออยู่ ซึ่งมีจำนวนไม่ครบองค์ประชุม แต่ได้มีการทำธุรกรรมนำหุ้นของบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ แคป แมนเนจเม้นท์ จำกัด (ICAP) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของไอเฟค ถือหุ้น 51% ในโรงแรมดาราเทวี คิดเป็นเงินมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท ไปจำนำค้ำประกันการชำระหนี้ตั๋วบีอี ที่มีจำนวนเพียง 100 ล้านบาท ในวันที่ 19 ธันวาคม 2559 ทั้งที่คณะกรรมการบริษัทฯไม่มีอำนาจกระทำการได้ และปล่อยให้ตั๋วบี/อี ผิดนัดชำระหนี้
นอกจากนี้ ได้ทำธุรกรรมกู้ยืมเงินจากบริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด(มหาชน) (ECF) เป็นเงิน 50 ล้านบาท พร้อมกับนำหุ้นบริษัทไอเฟค ที่ถืออยู่ในบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เทอมอล พาวเวอร์ จำกัด ไปค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ซึ่งคณะกรรมการไม่เคยรายงานหรือขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด ซึ่งหากถูกบังคับจำนำย่อมทำให้ไอเฟคได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก
ต่อประเด็นดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าคณะกรรมการไอเฟคในช่วงเวลาดังกล่าวมีเจตนาปกปิดข้อมูล ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่อาจไว้ใจได้ว่าคณะกรรมการบริษัทจะมีการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของไอเฟคไปอีกหรือไม่ ยังไม่สามารถปิดงบการเงินประจำปี 2559 รวมถึงงบไตรมาส 1/2560 ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และบริษัทฯได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่นงบต่อตลาดหลักทรัพย์ฯมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งสำนักงาน ก.ล.ต. ก็ไม่ได้มีคำสั่งใดๆ โดยปราศจากมูลเหตุที่จะอ้างตามข้อกฎหมายได้
โดยในช่วงเวลานั้นไอเฟคยังไม่ได้ดำเนินการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบตามที่กฎหมายกำหนด นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งผ่านมาแล้วมากกว่า 6 เดือน ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ฯขึ้นเครื่องหมาย SP ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2560 จนถึงปัจจุบันอีกทั้ง สำนักงาน ก.ล.ต.ยังละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยปล่อยให้คณะกรรมการของไอเฟค ทำผิดข้อบังคับของบริษัท เกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้นอันเป็นการแสวงหาอำนาจในการบริหาร เพื่อควบคุมอำนาจการบริหารบริษัท แบบเบ็ดเสร็จ ทำให้ไม่อาจอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแก้ไขปัญหาของบริษัทได้ เนื่องจากการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 และการประชุมสามัญประจำปี 2560 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 ก.ล.ต. ปล่อยให้นายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ในฐานะประธานกรรมการ และประธานในที่ประชุมของบริษัท ใช้วิธีการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการบริษัทฯ โดยฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัท โดยกำหนดให้ใช้วิธีการลงคะแนนแบบสะสม (Cumulative voting) ที่ผู้ถือหุ้นออกเสียงได้หนึ่งหุ้น คูณด้วยจำนวนกรรมการที่จะเลือก
ทั้งที่ข้อบังคับของบริษัท ซึ่ง ก.ล.ต.ทราบถึงการกระทำผิดดังกล่าวเป็นอย่างดี เนื่องจากส่งตัวแทนเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ครั้ง และตัวแทนสำนักงาน ก.ล.ต.ก็ได้โต้แย้งในที่ประชุมว่าการลงคะแนนดังกล่าวไม่ชอบไว้ด้วยในวันประชุมผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ครั้ง ตัวแทนจาก ก.ล.ต. ที่เข้าไปร่วมสังเกตการณ์ยังได้พบกลุ่มชายชุดดำ ซึ่งแต่งกายคล้ายกับทหารและตำรวจเข้ามาควบคุมพื้นที่ทั้งในบริเวณประชุมผู้ถือหุ้นด้วย และมีชายชุดดำเข้ายึดสำนักงานบริษัทในช่วงเดือนธันวาคม 2559 และในส่วนของโรงแรมดาราเทวี ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2560
“ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับไอเฟค สำนักงาน ก.ล.ต. ได้รับเรื่องร้องเรียนหลายครั้งหลายหน แต่ทั้ง 12 คน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย ก็ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบแก้ไขปัญหาตามคำร้องเรียนแต่อย่างใด การกระทำของคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการไอเฟค ล้วนแล้วแต่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยได้กระทำไปเพื่อควบคุมอำนาจการบริหารกิจการบริษัทไว้ และจงใจปกปิดการบริหารกิจการของบริษัท ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ปราศจากความระมัดระวัง ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ปฏิบัติตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ พ.ศ. 2535 แต่สำนักงานก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล กลับเพิกเฉยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำที่เป็นการผิดกฎหมาย และข้อบังคับของคณะกรรมการบริษัทไอเฟค ผู้ถือหุ้นรายย่อยจึงนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 12 คน ”
ทั้งนี้ มาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ได้บัญญัติว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษ
จาก Manager Online
http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9600000060224