เรื่องเล่าจากอดีต
กลยุทธย้อนยุค
พ.สมานคุรุกรรม
พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์ของกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ฯ เมื่อขึ้นครองราชสมบัติทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทร ตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๙๓ นั้นได้โปรดให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวร ขึ้นไปครองเมืองลพบุรี ส่วน สมเด็จ พระบรมราชาธิราชเจ้า พระเชษฐาโปรดให้ไปครองเมืองสุพรรณบุรี
เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จสวรรคต พ.ศ.๑๙๑๒ สมเด็จพระราเมศวร จึงเสด็จจากเมืองลพบุรี ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระราชบิดา อยู่ได้ปีเดียว สมเด็จพระบรมราชาธิราช ก็เสด็จมาจากเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระราเมศวรก็อัญเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติแทนแล้วพระองค์เองก็ถวายบังคมลา กลับไปครองเมืองลพบุรีดังเดิม
จนถึง พ.ศ.๑๙๒๕ สมเด็จพระบรมราชาธิราช ได้เสด็จสวรรคต พระเจ้าทองลั่น พระราชโอรสขึ้นเสวยราชย์ได้เพียง ๗ วัน สมเด็จพระราเมศวรก็เสด็จมาจากเมืองลพบุรี จับกุมเอาพระเจ้าทองลั่นไปพิฆาตเสียที่วัดโคกพระยา แล้วก็ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อไป
อีก ๒ ปีต่อมา สมเด็จพระราเมศวร ได้ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ซึ่งตามพระราชพงศาวดาร ฉบับ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฯ ได้บรรยายไว้ว่า
.......สมเด็จพระราเมศวรให้เลียบพลไว้ ยกขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ ตั้งค่ายหลวงใกล้คูเมือง ๑๕๐ เส้น ให้นายทัพนายกองตั้งค่ายล้อม และแต่งการปล้นเอาจงได้ ฝ่ายเจ้าหน้าที่ยิงปืนใหญ่ออกมา ถูกกำแพงเมืองพังประมาณห้าวา พระเจ้าเชียงใหม่ ขึ้นยืนถือพัชนีอยู่บนเชิงเทิน ให้ทหารเอาหนังสือผูกลูกธนูยิงลงมา ในหนังสือนั้นว่า ขอพระราชทานให้งดสักเจ็ดวัน จะนำเครื่องพระราชบรรณาการ ออกไปจำเริญพระราชไมตรี
พระเจ้าอยู่หัวจึ่งปรึกษาด้วยมุขมนตรีว่า พระเจ้าเชียงใหม่ให้มีหนังสือออกมาดังนี้ ควรจะงดไว้หรือประการใด มุขมนตรีนายทัพนายกองปรึกษาว่า เกลือกพระเจ้าเชียงใหม่จะเตรียมการมิทันจึ่งคิดกลอุบายมา ขอพระราชทานให้ปล้นเอาเมืองจงได้
สมเด็จพระเจ้าอยู่ตรัสว่า เป็นพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ เขาไม่รบแล้วเราจะให้รบนั้น มิควร ถึงมาตรว่าพระเจ้าเชียงใหม่จะมิได้คงอยู่ในสัตยานุสัตย์ก็ดี ใช่ว่าจะพ้นมือทหารเรานั้น เมื่อไรมี
ฝ่ายในเมืองเชียงใหม่นั้นก็ตีแตะบังที่กำแพงทลายแล้วนั้นให้ก่อขึ้น ครั้นถ้วนเจ็ดวันแล้ว พระเจ้าเชียงใหม่มิได้แต่งเครื่องจำเริญพระราชไมตรีออกมา นายทัพนายกองข้าทหารร้องทุกข์ว่า ข้าวในกองทัพ ทะนานละสิบสลึงหาที่ซื้อมิได้ จะขอพระราชทานเร่งปล้น
พระเจ้าอยู่หัวบัญชาตามนายทัพนายกอง ทรงพระกรุณาสั่ง ให้เลิกกองทัพเสีย ด้านหนึ่ง ให้เร่งปล้น ณ วันจันทร์เดือนสี่ ขึ้นสี่ค่ำ เพลาสามทุ่มสองบาท เดือนตก เจ้าพนักงานยิงปืนใหญ่น้อยระดมทั้งสามด้าน เอาบันไดหกพาดปีนกำแพงขึ้นไป
พระเจ้าเชียงใหม่ต้านทานมิได้ ก็พาครอบครัวอพยพหนีออก เพลา ๑๑ ทุ่ม ทหารเข้าเมืองได้ ได้แต่ นักสร้าง บุตรพระเจ้าเชียงใหม่องค์หนึ่งมาถวาย พระเจ้าอยู่หัวตรัสต่อนักสร้างว่า พระเจ้าเชียงใหม่บิดาท่านหาสัตย์มิได้ เราคิดว่าจะออกมาหาโดยสัตย์ เราจะให้ครองราชสมบัติ ตรัสดั่งนั้นแล้วก็ให้นักสร้างถวายสัตยานุสัตย์ พระเจ้าอยู่หัวก็ให้แบ่งไพร่พลเมืองไว้พอสมควรน เหลือนั้นให้กวาดครัวอพยพหญิงชายลงมา ให้นักสร้างลงมาส่งเสด็จถึงเมืองสว่างคบุรี ทรงพระกรุณาให้นักสร้าง กลับขึ้นไปครองราชสมบัติ ณ เมืองเชียงใหม่...............
การศึกในครั้งนี้เป็นเรื่องน่าแปลก ที่กลยุทธซึ่งพระเจ้าเชียงใหม่ นำมาใช้กับสมเด็จพระราเมศวร แห่งกรุงศรีอยุธยานี้ เกิดไปคล้ายคลึงกับกลยุทธสมัยสามก๊กในแผ่นดินจีน เมื่อประมาณ พ.ศ.๗๙๕ อย่างไม่น่าเชื่อ โดยที่ จูกัดเก๊ก มหาอุปราชของ พระเจ้าซุนเหลียง แห่ง ง่อก๊ก ได้ยกกองทัพจากเมืองกังตั๋ง ไปป้องกันเมืองตังหินซึ่งเป็นเมืองหน้าด่าน ที่ถูก สุมาเจียว น้องชาย สุมาสู มหาอุปราชของ พระเจ้าโจฮอง แห่งวุยก๊ก ยกทัพมาล้อมไว้
ปรากฎว่าทัพหน้าเมืองกังตั๋ง เข้าตีกองทัพของสุมาเจียวที่ล้อมเมืองตังหินแตกพ่ายไปอย่างยับเยิน จูกัดเก๊กก็ระเริงในชัยชนะ จึงยกกองทัพตามไปจะตีเมืองลกเอี๋ยง ราชธานีของ วุยก๊กบ้าง แต่ไปติดอยู่ที่เมืองซินเสีย ซึ่งเป็นหน้าด่านเหมือนกัน ฝ่ายเตียวเต๊ก ผู้รักษาด่านเห็นท่าจะทานไม่ไหว จึงปิดประตูเมืองตั้งรับอยู่อย่างเข้มแข็ง
ในวรรณคดีเรื่องสามก๊กฉบับของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้เล่าความตอนนี้ ไว้ว่า
ฝ่ายจูกัดเก๊กก็สั่งทหารว่าเร่งหักเข้าไปจงได้ เร่งให้ทำลายกำแพงทั้งกลางวันกลางคืน ถ้าผู้ใดหลบหนีแชเชือนมิเป็นใจด้วยราชการ จะตัดศรีษะเสีย ทหารทั้งปวงก็เร่งรีบทำลายกำแพงทั้งกลางวันกลางคืน ฝ่ายกำแพงด้านเหนือนั้นเห็นจะทำลาย เข้าไปไม่ได้อยู่แล้ว
เตียวเต๊กเห็นดังนั้น จึงคิดกลอุบายแต่งหนังสือ ให้คนถือไปถึงจูกัดเก๊กว่า ธรรมเนียมเมืองวุยก๊ก ถ้าข้าศึกมาตีและผู้รักษาเมืองป้องกันไว้ได้ถึงร้อยวันแล้ว ไม่มีกองทัพเมืองหลวงมาช่วยเลย ผู้รักษาเมืองนั้นเห็นเหลือกำลังที่จะต้านทาน ก็พาทหารออกไปยอมเข้าด้วยข้าศึกพี่น้องซึ่งยังอยู่ในเมืองนั้น ก็หาเป็นโทษไม่ ข้าพเจ้าอุตส่าห์รักษาด่านมาได้ประมาณเก้าสิบวันแล้ว ไม่เห็นกองทัพมาช่วยเลย ขอท่านงดให้ข้าพเจ้าสักสิบห้าวัน แต่พอข้าพเจ้าจัดแจงการซึ่งจะได้พา ทหารออกไปเข้าด้วยท่าน จูกัดเก๊กก็เชื่อ จึงมิให้ทหารทำลายกำแพง
ฝ่ายเตียวเต๊กครั้นลวงจูกัดเก๊กดังนั้น ก็เร่งให้แต่งกำแพงด้านเหนือซึ่งยับเยินไปนั้นมั่นคงแล้ว ก็ให้ทหารถืออาวุธไปเตรียมพร้อมอยู่บนเชิงเทิน แล้วเตียวเต๊กจึงร้องบอกจูกัดเกว่า
" เสบียงอาหารของกูยังบริบูรณ์อยู่ จะเลี้ยงทหารอีกสักปีหนึ่งกูก็หากลัวไม่ กูจะยอมไปเข้าด้วยเอง เหล่าชาติสุนัขเมืองกังตั๋งนั้นมิชอบ "
จูกัดเก๊กได้ฟังก็โกรธนัก จึงสั่งทหารให้เร่งเข้าทำลายกำแพง
ทหารเตียวเต๊กก็ยิงเกาทัณฑ์ลงมาถูกจูกัดเก๊กที่หน้าผาก จูกัดเก๊กตกม้าลง ทหารก็อุ้มเข้าไปในค่าย จูกัดเก๊กมีความแค้นนัก ก็สั่งให้ทหารเร่งเข้าทำลายกำแพง
นายหมวดนายกองจึงว่า บัดนี้ทหารทั้งปวงมาอยู่ช้านานนัก กินน้ำกินอาหารผิดสำแดงป่วยเจ็บลงเป็นอันมาก ซึ่งท่านจะเข้าไปรบเห็นไม่ได้ท่วงที จูกัดเก๊กโกรธจึงว่า ถ้าผู้ใดมิเป็นใจด้วยราชการบอกป่วย ให้เอาตัวไปฆ่าเสีย ทหารทั้งปวงได้ยินดังนั้น กลัวตายก็หนีไปเป็นอันมาก
ชัวหลิม นายทหารผู้ใหญ่ก็พาทหารพรรคพวกของตัวหนีไปเมืองวุยก๊ก มีทหารเข้าไปบอกจูกัดเก๊กว่าทหารหนีเบาบางไปแล้ว ชัวหลิมทหารผู้ใหญ่ก็ยกทหารหนีไปด้วย จูกัดเก๊กได้ฟังดังนั้นก็ตกใจ ขี่ม้าไปเที่ยวตรวจดูทหารเห็นเบาบางไป ซึ่งยังอยู่นั้นก็เป็นไข้พุงโร หน้าบวมผอมเหลืองไปเป็นอันมาก ก็สั่งให้ล่าทัพกลับไปเมืองกังตั๋ง......
เนื้อความที่ได้แคะออกมา ให้อ่านข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่า เป็นกลยุทธอย่างเดียวกัน เพียงแต่ว่าผลของการรบเท่านั้นที่กลับตรงกันข้าม ในสามก๊ก กองทัพฝ่ายเข้าตีเมื่อเสียรู้ฝ่ายตั้งรับแล้ว ก็ไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ ต้องพ่ายแพ้ถอยกลับบ้านเมืองไปอย่างบอบช้ำ แต่ในพงศาวดารไทย ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาซึ่งเข้าตีสามารถเอาชนะเมืองเชียงใหม่ ฝ่ายตั้งรับได้อย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาแล้ว เชื่อว่าน่าจะเป็นเพราะ บุญญาบารมีของแม่ทัพ และการแสดงออกในลักษณะของความเป็นผู้นำ ที่แตกต่างกัน นั้นเอง.
#########
นิตยสารทหารสื่อสาร
มกราคม ๒๕๔๐
กลยุทธย้อนยุค ๒๔ มี.ค.๖๐
กลยุทธย้อนยุค
พ.สมานคุรุกรรม
พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์ของกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ฯ เมื่อขึ้นครองราชสมบัติทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทร ตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๙๓ นั้นได้โปรดให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวร ขึ้นไปครองเมืองลพบุรี ส่วน สมเด็จ พระบรมราชาธิราชเจ้า พระเชษฐาโปรดให้ไปครองเมืองสุพรรณบุรี
เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จสวรรคต พ.ศ.๑๙๑๒ สมเด็จพระราเมศวร จึงเสด็จจากเมืองลพบุรี ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระราชบิดา อยู่ได้ปีเดียว สมเด็จพระบรมราชาธิราช ก็เสด็จมาจากเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระราเมศวรก็อัญเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติแทนแล้วพระองค์เองก็ถวายบังคมลา กลับไปครองเมืองลพบุรีดังเดิม
จนถึง พ.ศ.๑๙๒๕ สมเด็จพระบรมราชาธิราช ได้เสด็จสวรรคต พระเจ้าทองลั่น พระราชโอรสขึ้นเสวยราชย์ได้เพียง ๗ วัน สมเด็จพระราเมศวรก็เสด็จมาจากเมืองลพบุรี จับกุมเอาพระเจ้าทองลั่นไปพิฆาตเสียที่วัดโคกพระยา แล้วก็ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อไป
อีก ๒ ปีต่อมา สมเด็จพระราเมศวร ได้ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ซึ่งตามพระราชพงศาวดาร ฉบับ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฯ ได้บรรยายไว้ว่า
.......สมเด็จพระราเมศวรให้เลียบพลไว้ ยกขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ ตั้งค่ายหลวงใกล้คูเมือง ๑๕๐ เส้น ให้นายทัพนายกองตั้งค่ายล้อม และแต่งการปล้นเอาจงได้ ฝ่ายเจ้าหน้าที่ยิงปืนใหญ่ออกมา ถูกกำแพงเมืองพังประมาณห้าวา พระเจ้าเชียงใหม่ ขึ้นยืนถือพัชนีอยู่บนเชิงเทิน ให้ทหารเอาหนังสือผูกลูกธนูยิงลงมา ในหนังสือนั้นว่า ขอพระราชทานให้งดสักเจ็ดวัน จะนำเครื่องพระราชบรรณาการ ออกไปจำเริญพระราชไมตรี
พระเจ้าอยู่หัวจึ่งปรึกษาด้วยมุขมนตรีว่า พระเจ้าเชียงใหม่ให้มีหนังสือออกมาดังนี้ ควรจะงดไว้หรือประการใด มุขมนตรีนายทัพนายกองปรึกษาว่า เกลือกพระเจ้าเชียงใหม่จะเตรียมการมิทันจึ่งคิดกลอุบายมา ขอพระราชทานให้ปล้นเอาเมืองจงได้
สมเด็จพระเจ้าอยู่ตรัสว่า เป็นพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ เขาไม่รบแล้วเราจะให้รบนั้น มิควร ถึงมาตรว่าพระเจ้าเชียงใหม่จะมิได้คงอยู่ในสัตยานุสัตย์ก็ดี ใช่ว่าจะพ้นมือทหารเรานั้น เมื่อไรมี
ฝ่ายในเมืองเชียงใหม่นั้นก็ตีแตะบังที่กำแพงทลายแล้วนั้นให้ก่อขึ้น ครั้นถ้วนเจ็ดวันแล้ว พระเจ้าเชียงใหม่มิได้แต่งเครื่องจำเริญพระราชไมตรีออกมา นายทัพนายกองข้าทหารร้องทุกข์ว่า ข้าวในกองทัพ ทะนานละสิบสลึงหาที่ซื้อมิได้ จะขอพระราชทานเร่งปล้น
พระเจ้าอยู่หัวบัญชาตามนายทัพนายกอง ทรงพระกรุณาสั่ง ให้เลิกกองทัพเสีย ด้านหนึ่ง ให้เร่งปล้น ณ วันจันทร์เดือนสี่ ขึ้นสี่ค่ำ เพลาสามทุ่มสองบาท เดือนตก เจ้าพนักงานยิงปืนใหญ่น้อยระดมทั้งสามด้าน เอาบันไดหกพาดปีนกำแพงขึ้นไป
พระเจ้าเชียงใหม่ต้านทานมิได้ ก็พาครอบครัวอพยพหนีออก เพลา ๑๑ ทุ่ม ทหารเข้าเมืองได้ ได้แต่ นักสร้าง บุตรพระเจ้าเชียงใหม่องค์หนึ่งมาถวาย พระเจ้าอยู่หัวตรัสต่อนักสร้างว่า พระเจ้าเชียงใหม่บิดาท่านหาสัตย์มิได้ เราคิดว่าจะออกมาหาโดยสัตย์ เราจะให้ครองราชสมบัติ ตรัสดั่งนั้นแล้วก็ให้นักสร้างถวายสัตยานุสัตย์ พระเจ้าอยู่หัวก็ให้แบ่งไพร่พลเมืองไว้พอสมควรน เหลือนั้นให้กวาดครัวอพยพหญิงชายลงมา ให้นักสร้างลงมาส่งเสด็จถึงเมืองสว่างคบุรี ทรงพระกรุณาให้นักสร้าง กลับขึ้นไปครองราชสมบัติ ณ เมืองเชียงใหม่...............
การศึกในครั้งนี้เป็นเรื่องน่าแปลก ที่กลยุทธซึ่งพระเจ้าเชียงใหม่ นำมาใช้กับสมเด็จพระราเมศวร แห่งกรุงศรีอยุธยานี้ เกิดไปคล้ายคลึงกับกลยุทธสมัยสามก๊กในแผ่นดินจีน เมื่อประมาณ พ.ศ.๗๙๕ อย่างไม่น่าเชื่อ โดยที่ จูกัดเก๊ก มหาอุปราชของ พระเจ้าซุนเหลียง แห่ง ง่อก๊ก ได้ยกกองทัพจากเมืองกังตั๋ง ไปป้องกันเมืองตังหินซึ่งเป็นเมืองหน้าด่าน ที่ถูก สุมาเจียว น้องชาย สุมาสู มหาอุปราชของ พระเจ้าโจฮอง แห่งวุยก๊ก ยกทัพมาล้อมไว้
ปรากฎว่าทัพหน้าเมืองกังตั๋ง เข้าตีกองทัพของสุมาเจียวที่ล้อมเมืองตังหินแตกพ่ายไปอย่างยับเยิน จูกัดเก๊กก็ระเริงในชัยชนะ จึงยกกองทัพตามไปจะตีเมืองลกเอี๋ยง ราชธานีของ วุยก๊กบ้าง แต่ไปติดอยู่ที่เมืองซินเสีย ซึ่งเป็นหน้าด่านเหมือนกัน ฝ่ายเตียวเต๊ก ผู้รักษาด่านเห็นท่าจะทานไม่ไหว จึงปิดประตูเมืองตั้งรับอยู่อย่างเข้มแข็ง
ในวรรณคดีเรื่องสามก๊กฉบับของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้เล่าความตอนนี้ ไว้ว่า
ฝ่ายจูกัดเก๊กก็สั่งทหารว่าเร่งหักเข้าไปจงได้ เร่งให้ทำลายกำแพงทั้งกลางวันกลางคืน ถ้าผู้ใดหลบหนีแชเชือนมิเป็นใจด้วยราชการ จะตัดศรีษะเสีย ทหารทั้งปวงก็เร่งรีบทำลายกำแพงทั้งกลางวันกลางคืน ฝ่ายกำแพงด้านเหนือนั้นเห็นจะทำลาย เข้าไปไม่ได้อยู่แล้ว
เตียวเต๊กเห็นดังนั้น จึงคิดกลอุบายแต่งหนังสือ ให้คนถือไปถึงจูกัดเก๊กว่า ธรรมเนียมเมืองวุยก๊ก ถ้าข้าศึกมาตีและผู้รักษาเมืองป้องกันไว้ได้ถึงร้อยวันแล้ว ไม่มีกองทัพเมืองหลวงมาช่วยเลย ผู้รักษาเมืองนั้นเห็นเหลือกำลังที่จะต้านทาน ก็พาทหารออกไปยอมเข้าด้วยข้าศึกพี่น้องซึ่งยังอยู่ในเมืองนั้น ก็หาเป็นโทษไม่ ข้าพเจ้าอุตส่าห์รักษาด่านมาได้ประมาณเก้าสิบวันแล้ว ไม่เห็นกองทัพมาช่วยเลย ขอท่านงดให้ข้าพเจ้าสักสิบห้าวัน แต่พอข้าพเจ้าจัดแจงการซึ่งจะได้พา ทหารออกไปเข้าด้วยท่าน จูกัดเก๊กก็เชื่อ จึงมิให้ทหารทำลายกำแพง
ฝ่ายเตียวเต๊กครั้นลวงจูกัดเก๊กดังนั้น ก็เร่งให้แต่งกำแพงด้านเหนือซึ่งยับเยินไปนั้นมั่นคงแล้ว ก็ให้ทหารถืออาวุธไปเตรียมพร้อมอยู่บนเชิงเทิน แล้วเตียวเต๊กจึงร้องบอกจูกัดเกว่า
" เสบียงอาหารของกูยังบริบูรณ์อยู่ จะเลี้ยงทหารอีกสักปีหนึ่งกูก็หากลัวไม่ กูจะยอมไปเข้าด้วยเอง เหล่าชาติสุนัขเมืองกังตั๋งนั้นมิชอบ "
จูกัดเก๊กได้ฟังก็โกรธนัก จึงสั่งทหารให้เร่งเข้าทำลายกำแพง
ทหารเตียวเต๊กก็ยิงเกาทัณฑ์ลงมาถูกจูกัดเก๊กที่หน้าผาก จูกัดเก๊กตกม้าลง ทหารก็อุ้มเข้าไปในค่าย จูกัดเก๊กมีความแค้นนัก ก็สั่งให้ทหารเร่งเข้าทำลายกำแพง
นายหมวดนายกองจึงว่า บัดนี้ทหารทั้งปวงมาอยู่ช้านานนัก กินน้ำกินอาหารผิดสำแดงป่วยเจ็บลงเป็นอันมาก ซึ่งท่านจะเข้าไปรบเห็นไม่ได้ท่วงที จูกัดเก๊กโกรธจึงว่า ถ้าผู้ใดมิเป็นใจด้วยราชการบอกป่วย ให้เอาตัวไปฆ่าเสีย ทหารทั้งปวงได้ยินดังนั้น กลัวตายก็หนีไปเป็นอันมาก
ชัวหลิม นายทหารผู้ใหญ่ก็พาทหารพรรคพวกของตัวหนีไปเมืองวุยก๊ก มีทหารเข้าไปบอกจูกัดเก๊กว่าทหารหนีเบาบางไปแล้ว ชัวหลิมทหารผู้ใหญ่ก็ยกทหารหนีไปด้วย จูกัดเก๊กได้ฟังดังนั้นก็ตกใจ ขี่ม้าไปเที่ยวตรวจดูทหารเห็นเบาบางไป ซึ่งยังอยู่นั้นก็เป็นไข้พุงโร หน้าบวมผอมเหลืองไปเป็นอันมาก ก็สั่งให้ล่าทัพกลับไปเมืองกังตั๋ง......
เนื้อความที่ได้แคะออกมา ให้อ่านข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่า เป็นกลยุทธอย่างเดียวกัน เพียงแต่ว่าผลของการรบเท่านั้นที่กลับตรงกันข้าม ในสามก๊ก กองทัพฝ่ายเข้าตีเมื่อเสียรู้ฝ่ายตั้งรับแล้ว ก็ไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ ต้องพ่ายแพ้ถอยกลับบ้านเมืองไปอย่างบอบช้ำ แต่ในพงศาวดารไทย ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาซึ่งเข้าตีสามารถเอาชนะเมืองเชียงใหม่ ฝ่ายตั้งรับได้อย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาแล้ว เชื่อว่าน่าจะเป็นเพราะ บุญญาบารมีของแม่ทัพ และการแสดงออกในลักษณะของความเป็นผู้นำ ที่แตกต่างกัน นั้นเอง.
#########
นิตยสารทหารสื่อสาร
มกราคม ๒๕๔๐