สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
คุณได้เงินเป็นเดือน เรียกว่า เงินเดือน นายจ้างจ่ายให้รวมทั้งเดือน เป็นเงิน 30,000 บาท (ตามตัวอย่าง) แม้วันหยุดที่คุณไม่ทำงาน คุณก็ได้ค่าจ้าง คือ 1,000 บาท (30,000/30)
กฎหมายกำหนดให้คุณทำงานไม่เกิน 48 ชม/สัปดาห์ หรือ 6 วัน/สัปดาห์ วันละ 8 ชม (8x6) ดังนั้น หากคุณทำล่วงเวลา (เกินเวลาปรกติ และระหว่างวันปรกติ คือ 5 หรือ 6 วัน/สัปดาห์ แล้วแต่บริษัทคุณจะกำหนด และเป็นตามกฎหมาย แต่ไม่เกิน 6 วัน) กฎหมายกำหนดให้คุณได้ค่าล่วงเวลา 1.5 เท่า
หรือ 30,000/30/8 = 125 แล้ว x 1.5 = 187.50/ชม
ที่คุณเขียนว่า แทบจะเหมือนถูกโกง เพราะคิดชั่วโมงทำงานโดยหาร 30 วัน...(คือ ตัวหารมาก อัตราต่อชั่วโมงก็น้อย) คุณต้องตอบด้วยว่า วันที่คุณหยุดตามกฎหมาย นายจ้างให้เงินเดือนคุณหรือเปล่า ?
และหากคุณทำงานที่บริษัทไหนที่หยุดเสาร์ อาทิตย์ และทำงานวันละ 8 ชั่วโมง (8x5=40) ก็นับว่าดีมากกว่าหลาย ๆ แห่งที่ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่สัปดาห์ละ 6 วัน (8x6=48) ตามกฎหมายเป๊ะ ซึ่งในมุมมองของนายจ้าง อาจมองได้ว่า คุณได้ค่าจ้างสัปดาห์ละ 1 วันฟรี
กฎหมายกำหนดให้คุณทำงานไม่เกิน 48 ชม/สัปดาห์ หรือ 6 วัน/สัปดาห์ วันละ 8 ชม (8x6) ดังนั้น หากคุณทำล่วงเวลา (เกินเวลาปรกติ และระหว่างวันปรกติ คือ 5 หรือ 6 วัน/สัปดาห์ แล้วแต่บริษัทคุณจะกำหนด และเป็นตามกฎหมาย แต่ไม่เกิน 6 วัน) กฎหมายกำหนดให้คุณได้ค่าล่วงเวลา 1.5 เท่า
หรือ 30,000/30/8 = 125 แล้ว x 1.5 = 187.50/ชม
ที่คุณเขียนว่า แทบจะเหมือนถูกโกง เพราะคิดชั่วโมงทำงานโดยหาร 30 วัน...(คือ ตัวหารมาก อัตราต่อชั่วโมงก็น้อย) คุณต้องตอบด้วยว่า วันที่คุณหยุดตามกฎหมาย นายจ้างให้เงินเดือนคุณหรือเปล่า ?
และหากคุณทำงานที่บริษัทไหนที่หยุดเสาร์ อาทิตย์ และทำงานวันละ 8 ชั่วโมง (8x5=40) ก็นับว่าดีมากกว่าหลาย ๆ แห่งที่ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่สัปดาห์ละ 6 วัน (8x6=48) ตามกฎหมายเป๊ะ ซึ่งในมุมมองของนายจ้าง อาจมองได้ว่า คุณได้ค่าจ้างสัปดาห์ละ 1 วันฟรี
แสดงความคิดเห็น
วิธีการคิดเงินโอที สำหรับมนุษย์เงินเดือน ที่บริษัทคุณคิดแบบไหนกันครับ
หลังจากหาข้อมูลจาก พบว่าบริษัทในประเทศไทย
ส่วนใหญ่หลายบริษัท จ่ายเงินโอทีโดยคิดจากก็ดูเหมือนน่าจะถูกต้องแล้วใช่มั้ยครับ แต่ลองมาดูตัวอย่างนี้กันก่อนครับ...
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สมมติว่า: ผมได้เงินเดือน 30000 บาท, ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์
แปลว่า ผมทำงานได้เงิน (hourly rate) คิดลวกๆ ที่ประมาณ 180 บาท/ชม.
ถ้าผมทำงานล่วงเวลา ตามกฎหมายให้จ่าย 1.5 เท่าของเรทปกติ
แทนที่ผมจะได้เงิน 180*1.5 = 270 /ชม. แต่ด้วยวิธีคำนวณแบบบางบริษัทในไทย
hourly rate = 30000 / 30 / 8 = แค่ 125 บาท/ชม.
OT rate = 125*1.5 = 187.5 บาท/ชม. เท่านั้น!
กลายเป็นว่าทำงานโอที ได้เงินแค่ชั่วโมงละ 187.5 บาท ซึ่งมากกว่าทำงานปกติแค่ 7.5 บาท เท่านั้น!?
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ถ้าเทียบเคียงกับสหรัฐอเมริกา Fair Labor Standards Act (FLSA) หรือสิงคโปร์ Employment Act
วิธีคิดเงินโอที สำหรับพนักงานเงินเดือน (salaried workers) คือ
แทนค่าตามตัวอย่างที่ผมสมมติ จะได้
ประมาณ 260 บาท/ชม. ใกล้เคียงกับที่ผมคิดลวกๆ เมื่อซักครู่ และมากกว่าวิธีคิดแบบบริษัทไทยถึง 73 บาท/ชม.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
มองแบบนี้แล้ว ทำงานในบริษัทที่คำนวณโอทีด้วยวิธี
แทบจะเหมือนถูกโกง เพราะคิดชั่วโมงทำงานโดยหาร 30 วัน ทั้งที่เราไม่ได้มาทำงาน 8 ชั่วโมงทั้ง 30 วัน
ทำให้เรทโอที นั้นแทบจะเท่ากับ เรททำงานปกติ! (ต่างกันสิบบาท!) ไม่ใช่ 1.5 เท่าอย่างที่ควรจะเป็น #จะทำOTไปทำไม
- - - - - - - -
ใครที่ทำงานในบริษัทที่คำนวณด้วยวิธีสากล ก็ขอแสดงความยินดีด้วยที่ไม่โดนเอาเปรียบครับ
ส่วนใครที่ทำงานในบริษัท โอฟรี ผมก็..... ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ลองมาแลกเปลี่ยนกัน วิธีไหนคือวิธีที่ถูกต้องตามกฎหมายไทย และ บริษัทของคุณคำนวณโอทีแบบไหนกันครับ?