ช่วงนี้เหมือนคนบางกลุ่มพยายามที่จะก่อดราม่าให้ลุกลามด้วยจุดประสงค์บางอย่าง
เจอบทสัมภาษณ์ของ รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญตัวจริง ก็เลยอยากแบ่งปันค่ะ
-----------------------------------------
*** “เพลิงพระนาง” ไม่จำเป็นต้องหยุดฉาย
การออกมาเรียกร้องของ “โซ วิน” โดยการขอให้ทางการไทยสั่งห้ามฉายละครเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นการปกป้องวงศ์ตระกูลของเขานั้น รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ บอกว่า ทางคณะผู้จัดละครเรื่อง “เพลิงพระนาง” ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องหยุดฉายตามคำเรียกร้อง เพียงแค่ไปทำความชี้แจงอย่างมีวิจารณญาณก็น่าจะเพียงพอแล้ว
ทั้งนี้ ละครดังกล่าวเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมา ตัวละครและสถานที่ในเรื่องล้วนเป็นเรื่องสมมติ ตั้งแต่ชื่อเมือง หรือตัวละครอย่างเจ้าเมืองคุ้ม เจ้านางอนัญทิพย์ และ เจ้านางปิ่นมณี ขณะที่เครื่องแต่งกายก็เป็นแนวแฟนตาซี
“แม้ว่าละครเรื่องนี้จะนำเค้าโครงมาจากเรื่อง “พม่าเสียเมือง” ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และ “เที่ยวเมืองพม่า” พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งวาดภาพความอ่อนแอของพระราชสำนักพม่าในครั้งนั้น เห็นความอ่อนแอของพระเจ้าธีบอ ตลอดความดุร้ายของพระนางศุภยาลัต พระมเหสีของพระเจ้าธีบอ ซึ่งประเด็นต่างๆ เหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นเรื่องที่รับรู้กันในทางสากลทั้งนั้น ขณะที่ชาวพม่าเองก็ไม่ได้ผูกพัน หรือยกย่องกษัตริย์ของเค้าเลย นับตั้งแต่เปลี่ยนระบบการปกครอง” รศ.ดร.สุเนตร กล่าว
*** คนพม่า..ไม่ให้ความสำคัญสถาบันกษัตริย์มานานแล้ว
การที่ทายาทพระเจ้าสีป่อออกมาแสดงความไม่พอใจลุกลามไปถึงการเรียกร้องให้แบนละครเพลิงพระนาง โดยให้สัมภาษณ์สำนักข่าวต่างประเทศ ในเชิงพาดพิงราชวงศ์ไทย ว่า “เรารู้ว่าราชวงศ์ไทยได้รับการปกป้องคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญไทย ราชวงศ์พม่าก็ได้รับการปกป้องภายใต้รัฐธรรมนูญเมียนมาเช่นเดียวกัน” นั้น
รศ.ดร.สุเนตร บอกกับผู้จัดการ LIVE ว่า จริงๆ แล้ว สถาบันกษัตริย์ของพม่าก็ไม่ได้มีการพูดถึงมานานแล้ว โดยนับตั้งแต่พม่าเสียเมืองให้อังกฤษ สถาบันพระมหากษัตริย์ของพม่าก็ล่มสลายนับตั้งแต่นั้นมา ประกอบกับพระเจ้าธีบอ และพระนางศุภยาลัต เอง ก็ไม่ได้มีวีรกรรมอะไรให้คิดถึง ดังนั้น ทางพม่าเองไม่ได้ยึดเป็นสาระหรือให้การยกย่องอะไร
อนึ่ง พระเจ้าธีบอทรงสิ้นสุดการครองราชย์ในปี พ.ศ. 2428 หลังจากทรงจำนนต่อกองกำลังอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งเวลาต่อมา ได้นำกษัตริย์พม่าพร้อมพระมเหสี เสด็จไปทรงพำนักอยู่ในรัตนคีรี จนเสด็จสวรรคต ชื่อของพระเจ้าธีบอก็ไม่ค่อยได้ถูกเอ่ยถึงมากนักในหมู่คนพม่า จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2491 ประธานาธิบดี เต็งเส่ง ก็ถือเป็นผู้นำพม่าคนแรกที่ไปสักการะสุสานกษัตริย์ธีบอ
***ปัญหาจากกระแสสังคมหรือปัญหาส่วนบุคคล
รศ.ดร.สุเนตร ยังบอกอีกว่า การออกมาเรียกร้องครั้งนี้ ควรดูให้ดีว่าเป็นกระแสสังคม หรือข้อเรียกร้องส่วนบุคคล หากเป็นกระแสสังคมก็เป็นเรื่องไทยจะต้องนำมาพิจารณาหาทางป้องกัน อย่างไรก็ตาม ตนมองว่า ละครเรื่อง “เพลิงพระนาง” ซึ่งถือเป็นละครเก่าเคยถูกสร้างเป็นละครฉายทางทีวีมาแล้วครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2539 และถูกนำมาสร้างใหม่เพื่อความบันเทิงจึงไม่น่าจะมีอะไรที่ผิดปกติ
“หากย้อนกลับไปสมัยที่เพลิงพระนาง ถูกนำมาฉายครั้งแรกๆ จะเห็นว่าไม่มีการประท้วงอะไรแบบนี้ อาจเป็นเพราะสมัยก่อนประชาชนชาวพม่ายังไม่มีอำนาจ และไม่มีสิทธิเสรีภาพพอที่จะออกมาเคลื่อนไหว หรือแสดงตัวตน หรือความไม่พอใจอะไรได้ นอกจากรัฐบาลจะเป็นผู้กระทำเท่านั้น ผิดกับปัจจุบันที่พม่ามีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ก็ถือเป็นสิทธิของเขาที่จะออกมาแสดงตัวตนได้ ซึ่งกรณีนี้คนไทยต้องพิจารณาให้ดีว่าเป็นกระแสสังคม หรือส่วนบุคคล ต้องแยกให้ออก”
*** บานปลาย ไปกันใหญ่!! เตรียมขอสถาบันกษัตริย์ไทยช่วยเคลียร์
ในการสัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี ของ “โซ วิน” ที่ระบุว่า ถ้าละครยังฉายอยู่เขาจะขอความช่วยเหลือจากราชวงศ์ไทยนั้น รศ.ดร.สุเนตร กล่าวว่า ไม่ควรที่จะนำเรื่องนี้มาเกี่ยวกับราชวงศ์ไทย
“เป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระมาก ผมมองว่าเป็นความพยายามที่จะลากเรื่องนี้ให้เข้ามาเกี่ยวข้อง และสร้างความกระทบกระเทือนราชวงศ์ไทย การกระทำกับเราเช่นนี้ ถือเป็นเรื่องที่น่าละอายมาก อย่างที่บอกไปแล้วว่าปัจจุบันราชวงศ์พม่าไม่มีความหมาย ไม่มีที่ยืนในสังคมของเค้าแล้ว และถ้าหากเขาจะทำเช่นนี้กับไทย ผมคิดว่าเขาควรจะไปเรียกร้องรัฐบาลพม่าให้ยอมรับราชวงศ์ของเขาเองเสียก่อนจะดีกว่า”
ที่มา:
http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9600000025851&Keyword=%e0%be%c5%d4%a7%be%c3%d0%b9%d2%a7
ประวัติ รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ เป็นผู้สนใจและศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า
จนเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พม่า 1 ใน 5 คน ของประเทศ ณ ปัจจุบัน
มีผลงานการเขียนด้านบทความมากมายตามนิตยสารต่าง ๆ เช่น เมืองโบราณ, ศิลปวัฒนธรรม
มีผลงานด้านหนังสือ เช่น พม่ารบไทย (พ.ศ. 2537), บุเรงนอง กะยอดินนรธา กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย (พ.ศ. 2538),
พระสุพรรณกัลยาจากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2542), พม่าอ่านไทย (พ.ศ. 2544) เป็นต้น
และยังเป็นที่ปรึกษาทางประวัติศาสตร์แก่หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในการเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (พ.ศ. 2544)
และตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2550)
ความเห็นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทย-พม่า “เพลิงพระนางไม่จำเป็นต้องหยุดฉาย"
เจอบทสัมภาษณ์ของ รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญตัวจริง ก็เลยอยากแบ่งปันค่ะ
*** “เพลิงพระนาง” ไม่จำเป็นต้องหยุดฉาย
การออกมาเรียกร้องของ “โซ วิน” โดยการขอให้ทางการไทยสั่งห้ามฉายละครเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นการปกป้องวงศ์ตระกูลของเขานั้น รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ บอกว่า ทางคณะผู้จัดละครเรื่อง “เพลิงพระนาง” ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องหยุดฉายตามคำเรียกร้อง เพียงแค่ไปทำความชี้แจงอย่างมีวิจารณญาณก็น่าจะเพียงพอแล้ว
ทั้งนี้ ละครดังกล่าวเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมา ตัวละครและสถานที่ในเรื่องล้วนเป็นเรื่องสมมติ ตั้งแต่ชื่อเมือง หรือตัวละครอย่างเจ้าเมืองคุ้ม เจ้านางอนัญทิพย์ และ เจ้านางปิ่นมณี ขณะที่เครื่องแต่งกายก็เป็นแนวแฟนตาซี
“แม้ว่าละครเรื่องนี้จะนำเค้าโครงมาจากเรื่อง “พม่าเสียเมือง” ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และ “เที่ยวเมืองพม่า” พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งวาดภาพความอ่อนแอของพระราชสำนักพม่าในครั้งนั้น เห็นความอ่อนแอของพระเจ้าธีบอ ตลอดความดุร้ายของพระนางศุภยาลัต พระมเหสีของพระเจ้าธีบอ ซึ่งประเด็นต่างๆ เหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นเรื่องที่รับรู้กันในทางสากลทั้งนั้น ขณะที่ชาวพม่าเองก็ไม่ได้ผูกพัน หรือยกย่องกษัตริย์ของเค้าเลย นับตั้งแต่เปลี่ยนระบบการปกครอง” รศ.ดร.สุเนตร กล่าว
*** คนพม่า..ไม่ให้ความสำคัญสถาบันกษัตริย์มานานแล้ว
การที่ทายาทพระเจ้าสีป่อออกมาแสดงความไม่พอใจลุกลามไปถึงการเรียกร้องให้แบนละครเพลิงพระนาง โดยให้สัมภาษณ์สำนักข่าวต่างประเทศ ในเชิงพาดพิงราชวงศ์ไทย ว่า “เรารู้ว่าราชวงศ์ไทยได้รับการปกป้องคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญไทย ราชวงศ์พม่าก็ได้รับการปกป้องภายใต้รัฐธรรมนูญเมียนมาเช่นเดียวกัน” นั้น
รศ.ดร.สุเนตร บอกกับผู้จัดการ LIVE ว่า จริงๆ แล้ว สถาบันกษัตริย์ของพม่าก็ไม่ได้มีการพูดถึงมานานแล้ว โดยนับตั้งแต่พม่าเสียเมืองให้อังกฤษ สถาบันพระมหากษัตริย์ของพม่าก็ล่มสลายนับตั้งแต่นั้นมา ประกอบกับพระเจ้าธีบอ และพระนางศุภยาลัต เอง ก็ไม่ได้มีวีรกรรมอะไรให้คิดถึง ดังนั้น ทางพม่าเองไม่ได้ยึดเป็นสาระหรือให้การยกย่องอะไร
อนึ่ง พระเจ้าธีบอทรงสิ้นสุดการครองราชย์ในปี พ.ศ. 2428 หลังจากทรงจำนนต่อกองกำลังอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งเวลาต่อมา ได้นำกษัตริย์พม่าพร้อมพระมเหสี เสด็จไปทรงพำนักอยู่ในรัตนคีรี จนเสด็จสวรรคต ชื่อของพระเจ้าธีบอก็ไม่ค่อยได้ถูกเอ่ยถึงมากนักในหมู่คนพม่า จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2491 ประธานาธิบดี เต็งเส่ง ก็ถือเป็นผู้นำพม่าคนแรกที่ไปสักการะสุสานกษัตริย์ธีบอ
***ปัญหาจากกระแสสังคมหรือปัญหาส่วนบุคคล
รศ.ดร.สุเนตร ยังบอกอีกว่า การออกมาเรียกร้องครั้งนี้ ควรดูให้ดีว่าเป็นกระแสสังคม หรือข้อเรียกร้องส่วนบุคคล หากเป็นกระแสสังคมก็เป็นเรื่องไทยจะต้องนำมาพิจารณาหาทางป้องกัน อย่างไรก็ตาม ตนมองว่า ละครเรื่อง “เพลิงพระนาง” ซึ่งถือเป็นละครเก่าเคยถูกสร้างเป็นละครฉายทางทีวีมาแล้วครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2539 และถูกนำมาสร้างใหม่เพื่อความบันเทิงจึงไม่น่าจะมีอะไรที่ผิดปกติ
“หากย้อนกลับไปสมัยที่เพลิงพระนาง ถูกนำมาฉายครั้งแรกๆ จะเห็นว่าไม่มีการประท้วงอะไรแบบนี้ อาจเป็นเพราะสมัยก่อนประชาชนชาวพม่ายังไม่มีอำนาจ และไม่มีสิทธิเสรีภาพพอที่จะออกมาเคลื่อนไหว หรือแสดงตัวตน หรือความไม่พอใจอะไรได้ นอกจากรัฐบาลจะเป็นผู้กระทำเท่านั้น ผิดกับปัจจุบันที่พม่ามีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ก็ถือเป็นสิทธิของเขาที่จะออกมาแสดงตัวตนได้ ซึ่งกรณีนี้คนไทยต้องพิจารณาให้ดีว่าเป็นกระแสสังคม หรือส่วนบุคคล ต้องแยกให้ออก”
*** บานปลาย ไปกันใหญ่!! เตรียมขอสถาบันกษัตริย์ไทยช่วยเคลียร์
ในการสัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี ของ “โซ วิน” ที่ระบุว่า ถ้าละครยังฉายอยู่เขาจะขอความช่วยเหลือจากราชวงศ์ไทยนั้น รศ.ดร.สุเนตร กล่าวว่า ไม่ควรที่จะนำเรื่องนี้มาเกี่ยวกับราชวงศ์ไทย
“เป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระมาก ผมมองว่าเป็นความพยายามที่จะลากเรื่องนี้ให้เข้ามาเกี่ยวข้อง และสร้างความกระทบกระเทือนราชวงศ์ไทย การกระทำกับเราเช่นนี้ ถือเป็นเรื่องที่น่าละอายมาก อย่างที่บอกไปแล้วว่าปัจจุบันราชวงศ์พม่าไม่มีความหมาย ไม่มีที่ยืนในสังคมของเค้าแล้ว และถ้าหากเขาจะทำเช่นนี้กับไทย ผมคิดว่าเขาควรจะไปเรียกร้องรัฐบาลพม่าให้ยอมรับราชวงศ์ของเขาเองเสียก่อนจะดีกว่า”
ที่มา: http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9600000025851&Keyword=%e0%be%c5%d4%a7%be%c3%d0%b9%d2%a7
ประวัติ รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ เป็นผู้สนใจและศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า
จนเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พม่า 1 ใน 5 คน ของประเทศ ณ ปัจจุบัน
มีผลงานการเขียนด้านบทความมากมายตามนิตยสารต่าง ๆ เช่น เมืองโบราณ, ศิลปวัฒนธรรม
มีผลงานด้านหนังสือ เช่น พม่ารบไทย (พ.ศ. 2537), บุเรงนอง กะยอดินนรธา กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย (พ.ศ. 2538),
พระสุพรรณกัลยาจากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2542), พม่าอ่านไทย (พ.ศ. 2544) เป็นต้น
และยังเป็นที่ปรึกษาทางประวัติศาสตร์แก่หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในการเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (พ.ศ. 2544)
และตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2550)