ก่อนและหลังกรณีดราม่าข้ามชาติของละครสุดฮ็อต 'เพลิงพระนาง'
มาดูว่าสื่อบ้านเรามีท่าทีต่อกรณีนี้อย่างไร คัดเฉพาะที่น่ารู้ น่าอ่าน แน่นอนว่าขอเน้นไปที่ข้อมูลประวัติศาสตร์
โดยเฉพาะ
เจ้านางปิ่นมณี (ชุดเหลืองคนขวา) ซึ่งจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ เสียดายบางเว็บไซต์ไม่อนุญาตให้คัดลอกมาเผยแพร่ได้ ส่วนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ยากจะแนะนำเกรงจะเป็นการขายของเสี่ยงโดนลบกระทู้
ได้แค่ไหน แค่นั้นละกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เปิดประวัติศาสตร์ปกปิด จาก ‘เพลิงพระนาง’ ถึง ‘จิบพม่าตามหาจอร์จ ออร์เวลล์’
วันที่: 24 ก.พ. 60 เวลา: 17:29 น.
ผู้เขียน พนิดา สวนเสรีวานิช
ที่มา หน้าประชาชื่น มติชนรายวัน
เผยแพร่ 24 ก.พ. 60
...........
“เปิดประวัติศาสตร์ปกปิด จากราชันผู้พลัดแผ่นดินถึงจิบพม่า ตามหาจอร์จ ออร์เวลล์”
ศาลาริมน้ำ จักรพงษ์วิลล่า เมื่อวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คับแคบไปถนัดตา
... ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย สุภัตรา ภูมิประภาส ผู้แปลหนังสือ “ราชันผู้พลัดแผ่นดิน เมื่อพม่าเสียเมือง”, “ราชินีศุภยาลัต จากนางกษัตริย์สู่สามัญชน” และ “จิบพม่า ตามหาจอร์จ ออร์เวลล์” ดร.ลลิตา หาญวงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) และสมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอุษาคเนย์
...เรื่องราวของพม่าในความรับรู้ที่อยู่ในสังคมไทยจะมาจากกระแสหลัก ที่เขียนโดยเจ้าอาณานิคม ส่วนใหญ่จากหนังสือ 2 เล่ม คือ “เที่ยวเมืองพม่า” พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์เมื่อครั้งเสด็จเยือนเมืองพม่าขณะอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ และ “พม่าเสียเมือง” บทประพันธ์ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวถึงการล่มสลายของพม่าว่าสาเหตุมาจากราชวงศ์สุดท้ายในฐานะผู้ปกครองบ้านเมืองว่า มีความเขลาเบาปัญญา และความรับรู้ส่วนใหญ่จะจบเพียงแค่นั้น หลังจากที่พระเจ้าธีบอและพระนางศุภยาลัต ถูกเนรเทศไปอยู่ที่เมืองรัตนคีรี ประเทศอินเดีย ในปี 1885 แล้วก็แทบไม่มีใครรู้ว่าเป็นอย่างไร
ไม่ว่าจะเป็นการฉ้อโกงของบริษัททำไม้ในประเทศอังกฤษ เรื่องพม่าที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการค้าไปสู่จีน และเจตจำนงที่อังกฤษต้องการจะยึดครองพม่า เหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่มีการรับรู้กันเลย
ในละครเรื่อง “เพลิงพระนาง” จะพูดถึงพระนางศุภยาลัต เป็นราชินีโหดร้าย ก็ดัดแปลงมาจากหนังสือ 2 เล่ม คือ “พม่าเสียเมือง” และ “เที่ยวเมืองพม่า”
สุภัตราบอกอีกว่า บาทหลวง ดร.จอห์น มาร์คส์ เป็นครูสอนหนังสือในราชวงศ์มัณฑะเลย์ที่พระเจ้าธีบอเชิญมาสอนพระราชโอรสพระราชธิดา คือต้นเรื่องของประวัติศาสตร์เวอร์ชั่นนี้ ตอนที่ท่านมาอยู่นั้น พระนางศุภยาลัตยังมีอายุเพียง 9 ขวบ ท่านบอกว่า เด็กคนนี้ใจร้าย เพราะเห็นตอนที่หักปีกหักขานก ซึ่งเป็นภาพจำของบาทหลวง โดยมีแม่ (พระนางซินผิ่วมะฉิ่น) คอยให้ท้าย
บาทหลวงมาร์คส์อยู่ที่มัณฑะเลย์ 7 ปี ก็มีเรื่องกับพระเจ้ามินดง จึงย้ายไปอยู่ร่างกุ้ง ตอนนั้นพระนางศุภยาลัตอายุได้ 16 ปี ซึ่ง 3 ปีต่อมาพระเจ้ามินดงก็สวรรคต พระเจ้าธีบอขึ้นครองราชย์แทน เมื่อมีเรื่องเล่าลือถึงการสังหารสมาชิกในราชวงศ์หลายพระองค์ บาทหลวงจึงบันทึกเรื่องราวนี้ด้วยความเชื่อว่าพระนางศุภยาลัตโหดร้าย ซึ่งเป็นต้นเรื่องของประวัติศาสตร์ที่แพร่หลายในประวัติศาสตร์กระแสหลัก
“หนังสือพม่าเสียเมือง และเที่ยวเมืองพม่า สองเล่มนี้เขียนถึงวาระสุดท้ายของราชวงศ์คองบองดราม่ามาก และมีอิทธิพลอย่างมากต่อความรับรู้ของคนไทย ยิ่งโลกเข้าสู่ยุคอินเตอร์เน็ต เรื่องของพระนางศุภยาลัต ยิ่งเป็นเวอร์ชั่นของบาทหลวงมาร์คส์”
Thibaw’s Queen หรือ “ราชินีศุภยาลัต จากนางกษัตริย์สู่สามัญชน” ของ แฮร์โรลด์ ฟีลดิ้ง-ฮอลล์ เป็นอีกเวอร์ชั่นหนึ่ง แฮร์โรลด์ ฟีลดิ้ง-ฮอลล์ ใกล้ชิดกับพม่า และเป็นคนที่มองท้องถิ่นแบบเข้าใจมาก อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วจะเห็นว่า ข้อเสียมากๆ ของพระนางศุภยาลัตคือ ขี้หึงมาก จึงมีเรื่องกับขุนนางราชสำนักเนื่องจากขุนนางเหล่านี้ต้องการให้พระเจ้าธีบอมีลูกมากๆ
...
เบื้องหลังการเข้ามาของอังกฤษ
สมฤทธิ์ ลือชัย ตั้งข้อสังเกตถึงยุคพระราชินีนาถวิคตอเรียแห่งอังกฤษ ว่า ในยุคนี้มีสตรี 2 นาง ที่ถูกย่ำยี คือ “พระนางซูสีไทเฮา” และ “พระนางศุภยาลัต”
เพราะจีนมีพระนางซูสีไทเฮา อังกฤษจึงเข้ามาปลดเปลื้องให้จีน เช่นเดียวกับพม่าที่มีพระนางศุภยาลัต
เราเชื่อว่าในเวอร์ชั่นนี้ เมื่อเราปลดผู้หญิง 2 คนนี้ลง เรายกย่องพระราชินีนาถวิคตอเรีย เราเชื่ออย่างนี้มานาน
สมฤทธิ์บอกว่า ในประวัติศาสตร์ก็มีแพะ และการสร้างแพะเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก
ทำไมพระนางศุภยาลัตจึงทำลายพม่าได้?
หลังจากคลองสุเอซเปิดทำให้พื้นที่ถูกกระชับเข้ามา ฝรั่งเศสขยับเข้ามาทางด้านตะวันออก ขณะที่อังกฤษขยับมาทางด้านตะวันตก
พระเจ้ามินดงเป็นคนที่มีความคิดเป็นตะวันตกมาก เป็นกษัตริย์เอเชียองค์แรกที่ก้าวหน้ามาก แม้จะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่ส่งคนไปเรียนทำแก้วที่ฝรั่งเศสแล้วกลับมาทำงานที่พม่า
เทียบกับกรณีของสยามเมื่อครั้งเผชิญกับลัทธิการล่าอาณานิคม สยามดึงอังกฤษเข้ามาคานอำนาจกับฝรั่งเศส แต่พม่าดึงฝรั่งเศสเข้ามาถ่วงดุลกับอังกฤษ
การสร้างเมืองหลวงของพระเจ้ามินดงนั้นก็เป็นอีกสิ่งที่น่าสนใจ การย้ายอังวะขึ้นไปอมรปุระ และย้ายไปมัณฑะเลย์ นั้นเป็นการหนีอาณานิคม
ในปี 1885 (2428) หลังจากแตกหักกับบริษัท บอมเบย์เบอร์ม่า บริษัทสัมปทานทำไม้ในพม่าแล้ว จะเห็นว่าพม่ามีความพยายามเจรจาตลอด แต่เรามักมองว่า เหตุการณ์ในปี 1885 ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะพระนางศุภยาลัต
“ไฟที่โหมไหม้พม่าจนเสียเมืองคือ พ่อค้าอังกฤษ โดยมีผลประโยชน์อังกฤษเป็นฟืน ส่วนเหตุการณ์ในพระราชวังเป็นกระแสลมที่โหมให้ไฟลุกขึ้น ต่อให้ไม่มีพระนางศุภยาลัต พม่าก็เสียเมือง”
เพราะช่วงที่มีปัญหากับบอมเบย์เบอร์ม่า พ่อค้าว่าให้ยึดพม่าตอนบนเพราะมันขวางการสำรวจ ซึ่งสุดท้ายก็ไปยึดฮานอย
ในปี 2426 เมื่อเวียดนามเป็นของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าธีบอส่งทูตไปฝรั่งเศสเพราะทราบว่าฝรั่งเศสกำลังพยายามขยายตัวขึ้นมาแล้ว
ฉะนั้น อาณานิคมเป็นตัวที่ทำให้พม่าเสียเมือง
อีกสาเหตุที่ทำให้พม่าเสียเมืองนั้น สมฤทธิ์ตั้งข้อสังเกตว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขุนนางที่ชื่อว่า “กินหงุ่น มินจี” ผู้นี้อยู่ในสมัยพระเจ้ามินดง และเป็นที่มาของการสังหารขุนนางจำนวนมาก
เป็นขุนนางสมัยพระเจ้ามินดง และเป็นทูตที่ไปเจรจากับฝรั่งเศสเป็นคนเดียวที่พระนางศุภยาลัตเกลียดมาก
ที่สำคัญคือ กินหงุ่นมินจี เป็นคนเดียวที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากอังกฤษ หลังจากพม่าเสียเมืองแล้ว
“เพลิงพระนาง” ฉบับจริง!! เปิดประวัติ “พระนางอเลนันดอ” ผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารโหด 500 ชีวิตในวังพม่า
วันที่ 14 มีนาคม 2560 - 15:06 น.
(เด่นออนไลน์-khaosod.co.th)
จากกรณีดราม่า เหลนของพระเจ้าธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า ก่อนเสียเมืองให้อังกฤษ ออกมาแสดงความไม่พอใจ ละคร “เพลิงพระนาง” ที่เชื่อว่านำเค้าโครงเรื่องมาจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในช่วงท้ายของราชวงศ์พม่า โดยบทบาท “เจ้านางอนัญทิพย์” ที่นางเอกสาว อั้ม พัชราภา นำแสดงนั้น เชื่อว่าดัดแปลงมาจาก “พระนางอเลนันดอ” พระมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้ามินดง
ตามประวัติศาสตร์ พระนางอเลนันดอ หรือ พระนางสิ่นพยูมาชิน เป็นพระธิดาของพระเจ้าจักกายแมง กับพระมเหสีที่เป็นแม่ค้าในตลาด ต่อมาพระนางสิ่นพยูมาชินได้รับแต่งตั้งเป็น พระมเหสีตำหนักกลาง ในพระเจ้ามินดง เป็นพระมเหสีที่ทรงโปรดที่สุดองค์หนึ่ง
พระนางอเลนันดอ มีพระธิดากับพระเจ้ามินดง 3 พระองค์ ได้แก่ พระนางศุภยาคยี, พระนางศุภยาลัต และพระนางศุภยากเล
โดยพระนางศุภยาลัต มีความทะเยอทะยานเช่นเดียวกับพระมารดาที่เป็นลูกแม่ค้ามาก่อน
ต่อมาพระเจ้ามินดงประชวรหนักใกล้สวรรคต โดยที่ไม่ได้ทรงตั้งรัชทายาทไว้ ด้วยความต้องการจะรวบอำนาจ พระนางอเลนันดอจึงเรียกประชุมเสนาบดี ทรงประกาศตั้งเจ้าชายสีป่อ หรือธีบอ โอรสองค์หนึ่งกับสนมอื่นของพระเจ้ามินดงขึ้นครองราชย์ต่อ เนื่องจากเจ้าชายสีป่อเป็นคนหัวอ่อน ที่สามารถควบคุมได้ง่าย ทั้งยังสั่งจับกุมผู้ต่อต้านทั้งราชวงศ์และขุนนางไปขังคุกมากมาย
จนพระเจ้ามินดงสวรรคต เจ้าชายธีบอขึ้นครองราชย์ จึงมีการสั่งประหารพี่น้อง ขุนนาง ต่างๆ มากกว่า 500 คน ในคราวเดียว ด้วยวิธีต่างๆ ถึง 3 วัน จึงสังหารได้หมดสิ้น ผู้คนเชื่อว่า พระนางอเลนันดอ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่ครั้งนั้น
ทั้งนี้ พระนางศุภยาลัต พระธิดาองค์กลางของพระนางอเลนันดอ อภิเษกสมรสกับพระเจ้าธีบอ พระเจ้าธีบอครองราชย์ได้ 7 ปี ถึงปี 2428 ถึงจุดสิ้นสุดของระบอบกษัตริย์ พม่าเสียเมืองแก่อังกฤษ พระเจ้าธีบอ พระนางศุภยาลัต พระธิดา รวมถึงพระนางอเลนันดอ ถูกเนรเทศไปประทับที่ เมืองรัตนคีรี ประเทศอินเดีย

วังที่รัฐบาลอังกฤษจัดให้พระเจ้าธีบอประทับ ที่เมืองรัตนคีรี ประเทศอินเดีย

พระเจ้าธีบอ ที่เมืองรัตนคีรี
ที่เมืองรัตนคีรี พระนางอเลนันดอทรงมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับพระธิดา คือพระนางศุภยาลัตบ่อยครั้ง ทางรัฐบาลอังกฤษจึงส่งพระนางอเลนันดอกลับมาประทับที่เมืองมะละแหม่งจนสิ้นพระชนม์
ดราม่าข้ามชาติ ประวัติศาสตร์ เพลิงพระนาง
ก่อนและหลังกรณีดราม่าข้ามชาติของละครสุดฮ็อต 'เพลิงพระนาง'
มาดูว่าสื่อบ้านเรามีท่าทีต่อกรณีนี้อย่างไร คัดเฉพาะที่น่ารู้ น่าอ่าน แน่นอนว่าขอเน้นไปที่ข้อมูลประวัติศาสตร์
โดยเฉพาะ เจ้านางปิ่นมณี (ชุดเหลืองคนขวา) ซึ่งจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ เสียดายบางเว็บไซต์ไม่อนุญาตให้คัดลอกมาเผยแพร่ได้ ส่วนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ยากจะแนะนำเกรงจะเป็นการขายของเสี่ยงโดนลบกระทู้
ได้แค่ไหน แค่นั้นละกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
“เพลิงพระนาง” ฉบับจริง!! เปิดประวัติ “พระนางอเลนันดอ” ผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารโหด 500 ชีวิตในวังพม่า
วันที่ 14 มีนาคม 2560 - 15:06 น.
(เด่นออนไลน์-khaosod.co.th)
จากกรณีดราม่า เหลนของพระเจ้าธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า ก่อนเสียเมืองให้อังกฤษ ออกมาแสดงความไม่พอใจ ละคร “เพลิงพระนาง” ที่เชื่อว่านำเค้าโครงเรื่องมาจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในช่วงท้ายของราชวงศ์พม่า โดยบทบาท “เจ้านางอนัญทิพย์” ที่นางเอกสาว อั้ม พัชราภา นำแสดงนั้น เชื่อว่าดัดแปลงมาจาก “พระนางอเลนันดอ” พระมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้ามินดง
ตามประวัติศาสตร์ พระนางอเลนันดอ หรือ พระนางสิ่นพยูมาชิน เป็นพระธิดาของพระเจ้าจักกายแมง กับพระมเหสีที่เป็นแม่ค้าในตลาด ต่อมาพระนางสิ่นพยูมาชินได้รับแต่งตั้งเป็น พระมเหสีตำหนักกลาง ในพระเจ้ามินดง เป็นพระมเหสีที่ทรงโปรดที่สุดองค์หนึ่ง พระนางอเลนันดอ มีพระธิดากับพระเจ้ามินดง 3 พระองค์ ได้แก่ พระนางศุภยาคยี, พระนางศุภยาลัต และพระนางศุภยากเล โดยพระนางศุภยาลัต มีความทะเยอทะยานเช่นเดียวกับพระมารดาที่เป็นลูกแม่ค้ามาก่อน
ต่อมาพระเจ้ามินดงประชวรหนักใกล้สวรรคต โดยที่ไม่ได้ทรงตั้งรัชทายาทไว้ ด้วยความต้องการจะรวบอำนาจ พระนางอเลนันดอจึงเรียกประชุมเสนาบดี ทรงประกาศตั้งเจ้าชายสีป่อ หรือธีบอ โอรสองค์หนึ่งกับสนมอื่นของพระเจ้ามินดงขึ้นครองราชย์ต่อ เนื่องจากเจ้าชายสีป่อเป็นคนหัวอ่อน ที่สามารถควบคุมได้ง่าย ทั้งยังสั่งจับกุมผู้ต่อต้านทั้งราชวงศ์และขุนนางไปขังคุกมากมาย
จนพระเจ้ามินดงสวรรคต เจ้าชายธีบอขึ้นครองราชย์ จึงมีการสั่งประหารพี่น้อง ขุนนาง ต่างๆ มากกว่า 500 คน ในคราวเดียว ด้วยวิธีต่างๆ ถึง 3 วัน จึงสังหารได้หมดสิ้น ผู้คนเชื่อว่า พระนางอเลนันดอ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่ครั้งนั้น
ทั้งนี้ พระนางศุภยาลัต พระธิดาองค์กลางของพระนางอเลนันดอ อภิเษกสมรสกับพระเจ้าธีบอ พระเจ้าธีบอครองราชย์ได้ 7 ปี ถึงปี 2428 ถึงจุดสิ้นสุดของระบอบกษัตริย์ พม่าเสียเมืองแก่อังกฤษ พระเจ้าธีบอ พระนางศุภยาลัต พระธิดา รวมถึงพระนางอเลนันดอ ถูกเนรเทศไปประทับที่ เมืองรัตนคีรี ประเทศอินเดีย
ที่เมืองรัตนคีรี พระนางอเลนันดอทรงมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับพระธิดา คือพระนางศุภยาลัตบ่อยครั้ง ทางรัฐบาลอังกฤษจึงส่งพระนางอเลนันดอกลับมาประทับที่เมืองมะละแหม่งจนสิ้นพระชนม์