ยะลา - ชาวไทยพุทธในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนกว่า 500 คน รวมตัวกันยื่น 12 ข้อเสนอต่อ ศอ.บต. เพื่อดำเนินการส่งให้รัฐบาลปรับแนวทางแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ต่อไป
วันนี้ (4 ม.ค.) จากกรณีที่มีกลุ่มพี่น้องชาวไทยพุทธ จำนวนกว่า 500 คน ได้รวมตัวกันและเดินทางไปยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อเวลา 14.00 น.ของวันที่ 3 มี.ค. เพื่อขอพบเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ และนายเถกิงศักดิ์ ยกศิริ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นตัวแทน นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบกับกลุ่มตัวแทนชาวบ้านที่เป็นประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และบางส่วนของจังหวัดสงขลา
เป็นผลสืบเนื่องจากที่เกิดเหตุการณ์กลุ่มผู้ก่อเหตุความไม่สงบ ทั้งในพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส อ.มายอ จ.ปัตตานี และ อ.เทพา จ.สงขลา ติดต่อกัน จนเป็นเหตุให้มีประชาชนผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่เสียชีวิตรวม 10 ราย อีกทั้งยังเป็นเหตุสะเทือนขวัญที่สร้างความไม่มั่นใจในการดำเนินชีวิตในพื้นที่ กลุ่มประชาชนดังกล่าวจึงได้เดินทางเข้าร้องขอความเป็นธรรมในการดำรงชีวิตในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยการเข้าพบของกลุ่มชาวบ้านหลังจากที่ได้มีการพูดคุย และประชุมหารือ ทางกลุ่มประชาชนชาวไทยพุทธ ในนามเครือข่ายชาวพุทธเพื่อคุ้มครองส่งเสริมพระพุทธศาสนา ได้เสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลจำนวนทั้งหมด 12 ข้อ ดังนี้
1.ให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ติดตามคนร้าย เข้าคุก ไม่มีการอภัยโทษ
2.ความเท่าเทียมกันในทุกศาสนา
3.ให้ยกเลิกการเจรจาเพราะไม่ได้ผล
4.ให้ยกเลิกพาคนกลับบ้าน (พาโจรกลับบ้าน)
5.ทบทวนเงินช่วยเหลือต่างๆ เช่น ปอเนาะไม่ควรให้การช่วยเหลือ
6.ให้สิทธิต่างๆ เท่าเทียมกัน เช่น สิทธิบุตรสอบเรียนต่อ สอบตำรวจ สอบพยาบาล (ปัจจุบันสนับสนุนแต่อิสลาม)
7.การบริหารการปกครองในพื้นที่ให้ดี พื้นที่ต้องรู้ใครเข้า ใครออก ใครอยู่บ้านไหน
8.ปฏิรูปการศึกษา จชต.
9.ปฏิรูปพระพุทธศาสนา
10.ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
11.ประเด็น จนท.รัฐเลือกปฏิบัติ เหตุการณ์ไปสงบเพราะเรื่องเงินงบประมาณ
12.ให้มีการช่วยเหลือวัด เหมือนที่ช่วยเหลือมัสยิด
ซึ่งมีรองเลขาธิการ ศอ.บต. และรองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้แทนหน่วยทหาร เข้ารับฟังตามข้อเสนอของพี่น้องไทยพุทธ พร้อมรับข้อเสนอดังกล่าวเพื่อดำเนินการส่งให้รัฐบาลได้รับทราบต่อไป
เมื่อกลุ่มชาวพุทธชายแดนใต้เรียกร้องความไม่สงบยื่น รัฐจะแก้ไขอย่างไร???
วันนี้ (4 ม.ค.) จากกรณีที่มีกลุ่มพี่น้องชาวไทยพุทธ จำนวนกว่า 500 คน ได้รวมตัวกันและเดินทางไปยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อเวลา 14.00 น.ของวันที่ 3 มี.ค. เพื่อขอพบเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ และนายเถกิงศักดิ์ ยกศิริ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นตัวแทน นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบกับกลุ่มตัวแทนชาวบ้านที่เป็นประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และบางส่วนของจังหวัดสงขลา
เป็นผลสืบเนื่องจากที่เกิดเหตุการณ์กลุ่มผู้ก่อเหตุความไม่สงบ ทั้งในพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส อ.มายอ จ.ปัตตานี และ อ.เทพา จ.สงขลา ติดต่อกัน จนเป็นเหตุให้มีประชาชนผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่เสียชีวิตรวม 10 ราย อีกทั้งยังเป็นเหตุสะเทือนขวัญที่สร้างความไม่มั่นใจในการดำเนินชีวิตในพื้นที่ กลุ่มประชาชนดังกล่าวจึงได้เดินทางเข้าร้องขอความเป็นธรรมในการดำรงชีวิตในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยการเข้าพบของกลุ่มชาวบ้านหลังจากที่ได้มีการพูดคุย และประชุมหารือ ทางกลุ่มประชาชนชาวไทยพุทธ ในนามเครือข่ายชาวพุทธเพื่อคุ้มครองส่งเสริมพระพุทธศาสนา ได้เสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลจำนวนทั้งหมด 12 ข้อ ดังนี้
1.ให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ติดตามคนร้าย เข้าคุก ไม่มีการอภัยโทษ
2.ความเท่าเทียมกันในทุกศาสนา
3.ให้ยกเลิกการเจรจาเพราะไม่ได้ผล
4.ให้ยกเลิกพาคนกลับบ้าน (พาโจรกลับบ้าน)
5.ทบทวนเงินช่วยเหลือต่างๆ เช่น ปอเนาะไม่ควรให้การช่วยเหลือ
6.ให้สิทธิต่างๆ เท่าเทียมกัน เช่น สิทธิบุตรสอบเรียนต่อ สอบตำรวจ สอบพยาบาล (ปัจจุบันสนับสนุนแต่อิสลาม)
7.การบริหารการปกครองในพื้นที่ให้ดี พื้นที่ต้องรู้ใครเข้า ใครออก ใครอยู่บ้านไหน
8.ปฏิรูปการศึกษา จชต.
9.ปฏิรูปพระพุทธศาสนา
10.ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
11.ประเด็น จนท.รัฐเลือกปฏิบัติ เหตุการณ์ไปสงบเพราะเรื่องเงินงบประมาณ
12.ให้มีการช่วยเหลือวัด เหมือนที่ช่วยเหลือมัสยิด
ซึ่งมีรองเลขาธิการ ศอ.บต. และรองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้แทนหน่วยทหาร เข้ารับฟังตามข้อเสนอของพี่น้องไทยพุทธ พร้อมรับข้อเสนอดังกล่าวเพื่อดำเนินการส่งให้รัฐบาลได้รับทราบต่อไป