มาแล้ว! “ครม.ส่วนหน้า” ม.44 แก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ ตั้ง “ผู้แทนพิเศษรัฐบาล” เทียบเท่า “ผู้แทนการค้าไทย”
ม.44 ตั้ง “ครม.ส่วนหน้า” แก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ ให้อำนาจนายกฯ แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ มีประสบการณ์ ชงเป็น “ผู้แทนพิเศษรัฐบาล” ภายใต้ชื่อ “คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้” หรือ คปต. ให้ สลน.-คลังจัดค่าตอบแทน-สิทธิประโยชน์-โอนงบฯ เทียบเท่าผู้แทนการค้าไทย-ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประสานงาน กอ.รมน.-ศอ.บต.จังหวัด แก้ปัญหาทั้งระบบ
วันนี้ (15 ก.ย.) ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 57/2559 เรื่องการปรับปรุงการบริหารเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
“ตามที่ได้ดําเนินการตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๘/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหาร และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกําหนดอํานาจหน้าที่ของกองอํานวยการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาแล้วระยะหนึ่ง นั้น
สถานการณ์ได้คลี่คลายมาเป็นลําดับ ความรับรู้ความเข้าใจปัญหาและความร่วมมือจาก ภาคส่วนต่างๆ ในการแก้ไขปัญหามีมากขึ้น ประชาชนเชื่อมั่นในมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยมากขึ้น ทั้งยังได้ดําเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างอาชีพสร้างรายได้ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ การให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชน และการแก้ปัญหาเร่งด่วน ตอบสนองข้อเรียกร้อง ของประชาชนหลายเรื่อง เช่น ปัญหายาเสพติด ทั้งนี้ เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม อย่างสันติสุข ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีความสะดวกสบายในการทํามาหากิน ได้รับความสงบร่มเย็น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สามารถร่วมกันพัฒนาและปฏิรูปประเทศตามแนวทางประชารัฐ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยไม่ทอดทิ้งผู้ใดไว้ข้างหลัง
การจะดําเนินการเช่นว่านี้ให้ได้ผลสมบูรณ์จําเป็นต้องบูรณาการแผนปฏิบัติการ แผนงาน และ โครงการทั้งหลายในด้านความมั่นคงและการพัฒนาในพื้นที่เพื่อให้ประสานสอดคล้องทุกมิติ ดังที่คณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ได้กําหนดระดับการบริหารไว้แล้วเป็น ๓ ระดับได้แก่ ระดับนโยบาย ระดับแปลงนโยบาย ไปสู่การปฏิบัติ และระดับหน่วยปฏิบัติ เมื่อได้ดําเนินการเช่นว่านี้มาแล้วระยะหนึ่ง สมควรยกระดับ และปรับปรุงการบริหารขั้นต่อไปเพื่อให้การแก้ไขปัญหา การพัฒนา และการสร้างความรับรู้ความเข้าใจ บนพื้นฐานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคประชาสังคม ภาคเอกชนและภาคประชาชน ในพื้นที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในลักษณะบูรณาการและเป็นเอกภาพ มีความคล่องตัวและรวดเร็วทันต่อปัญหา และความต้องการของประชาชนในการปฏิบัติภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ และเชิงพื้นที่ที่มีสภาพปัญหาพิเศษ และต้องการปัจจัยเกื้อหนุนการทํางานแตกต่างจากพื้นที่อื่น ทั้งต้องให้มีความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล และการบริหารงบประมาณ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ ทํานองเดียวกับที่เคยใช้ในการแก้ไขปัญหาอื่น และในพื้นที่อื่นได้ผลมาแล้ว โดยมีแกนนําของกลไกการบริหารจัดการในพื้นที่เข้ามาบูรณาการส่วนที่ยัง ไม่มีเอกภาพ และปรับปรุงแก้ไขส่วนที่หย่อนประสิทธิภาพในการปฏิบัติและการพัฒนา อันจะเป็นประโยชน์ ต่อการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ อํานวยประโยชน์ต่อราชการแผ่นดิน และการปฏิรูปการแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และศูนย์อํานวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ปฏิบัติหน้าที่และมีอํานาจในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) เป็นฝ่ายบูรณาการงานในระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๘/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
ข้อ ๒ ในกรณีเห็นสมควร นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาล มีหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะรัฐมนตรีและราชการส่วนกลางกับหน่วยงานในพื้นที่ ประสานงานกับ รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กํากับและติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการจังหวัด ชายแดนภาคใต้ และประสานงานกับ คปต. กอ.รมน. ศอ.บต. จังหวัด ส่วนราชการ และภาคส่วนต่างๆ ในการเชื่อมโยงงานให้เกิดการบูรณาการ และปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติและการพัฒนา ตลอดจนให้คําแนะนําแก่เจ้าหน้าที่ในพื้นที่โดยไม่ขัดต่อกฎหมายและไม่มีอํานาจวินิจฉัยสั่งการ และให้รายงาน ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนเสนอแนวทางการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาต่อนายกรัฐมนตรีเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและประธาน คปต. อาจมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นด้วยก็ได้
ในกรณีที่มีผู้แทนพิเศษของรัฐบาลหลายคน นายกรัฐมนตรีอาจกําหนดหน้าที่และอํานาจของ ผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวแต่ละคนให้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะเรื่องก็ได้
ให้ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เป็นกรรมการ คปต. และให้สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจัดให้ผู้แทนพิเศษ ได้รับค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ ตามความเหมาะสมโดยคํานึงถึงตําแหน่งในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้แทนการค้าไทยหรือกรรมการ ผู้ช่วยรัฐมนตรี ให้มี สํานักงาน คปต. ส่วนหน้าตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อปฏิบัติงานด้านธุรการ ตามที่ประธาน คปต. มอบหมาย และให้เจ้าหน้าที่สํานักงาน คปต. ส่วนหน้าได้รับค่าตอบแทนและ สิทธิประโยชน์ตามระเบียบของทางราชการ
ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การโอนหรือการนํารายจ่าย ที่กําหนดไว้สําหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมไปใช้สําหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจอื่น นอกเหนือจากกรณีตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ เพื่อการขับเคลื่อน การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กระทําได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การโอนงบประมาณ ที่ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และหากเป็นการโอน งบประมาณข้ามแผนงานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน
การโอนงบประมาณของส่วนราชการเดียวกันจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปดําเนินการในพื้นที่อื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คปต. หรือตามระเบียบที่ คปต. กําหนดก่อนจะดําเนินการต่อไป
ข้อ ๔ ให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อ ๒ ของคําสั่งนี้ได้ตามความจําเป็น
ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๙
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ”
ก่อนหน้านั้น สำนักข่าวอิศรารายงานว่า ผู้ที่ได้รับคาดหมายว่าจะมีชื่อใน “ครม.ส่วนหน้า” หรือ “รัฐบาลส่วนหน้า” เช่น นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการ ศอ.บต. ที่กำลังจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย.นี้, พล.อ.ปราการ ชลยุทธ รองเสนาธิการทหาร อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างสูงจากภาคประชาสังคม และเก่งงานมวลชน โดย พล.อ.ปราการก็จะเกษียณอายุราชการในสิ้นเดือนนี้เช่นกัน นอกจากนั้นยังมี พล.อ.สกล ชื่นตระกูล อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รวมถึง พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อีกคนหนึ่งด้วย
สำหรับรัฐมนตรีที่คาดว่าจะได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้า “ครม.ส่วนหน้า” มีข่าวว่าอาจจะเป็น พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการศึกษาที่ชายแดนใต้เป็นหลักอยู่แล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000092958
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.matichon.co.th/news/310624
(^_^) ครม.ส่วนหน้าแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ ไปแก้ปัญหาหรือไปดูงบประมาณลงใต้ ทำไมไม่มีอะไรดีขึ้นเลย
ม.44 ตั้ง “ครม.ส่วนหน้า” แก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ ให้อำนาจนายกฯ แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ มีประสบการณ์ ชงเป็น “ผู้แทนพิเศษรัฐบาล” ภายใต้ชื่อ “คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้” หรือ คปต. ให้ สลน.-คลังจัดค่าตอบแทน-สิทธิประโยชน์-โอนงบฯ เทียบเท่าผู้แทนการค้าไทย-ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประสานงาน กอ.รมน.-ศอ.บต.จังหวัด แก้ปัญหาทั้งระบบ
วันนี้ (15 ก.ย.) ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 57/2559 เรื่องการปรับปรุงการบริหารเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
“ตามที่ได้ดําเนินการตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๘/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๔/๒๕๕๙ เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหาร และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกําหนดอํานาจหน้าที่ของกองอํานวยการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาแล้วระยะหนึ่ง นั้น
สถานการณ์ได้คลี่คลายมาเป็นลําดับ ความรับรู้ความเข้าใจปัญหาและความร่วมมือจาก ภาคส่วนต่างๆ ในการแก้ไขปัญหามีมากขึ้น ประชาชนเชื่อมั่นในมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยมากขึ้น ทั้งยังได้ดําเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างอาชีพสร้างรายได้ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ การให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชน และการแก้ปัญหาเร่งด่วน ตอบสนองข้อเรียกร้อง ของประชาชนหลายเรื่อง เช่น ปัญหายาเสพติด ทั้งนี้ เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม อย่างสันติสุข ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีความสะดวกสบายในการทํามาหากิน ได้รับความสงบร่มเย็น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สามารถร่วมกันพัฒนาและปฏิรูปประเทศตามแนวทางประชารัฐ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยไม่ทอดทิ้งผู้ใดไว้ข้างหลัง
การจะดําเนินการเช่นว่านี้ให้ได้ผลสมบูรณ์จําเป็นต้องบูรณาการแผนปฏิบัติการ แผนงาน และ โครงการทั้งหลายในด้านความมั่นคงและการพัฒนาในพื้นที่เพื่อให้ประสานสอดคล้องทุกมิติ ดังที่คณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ได้กําหนดระดับการบริหารไว้แล้วเป็น ๓ ระดับได้แก่ ระดับนโยบาย ระดับแปลงนโยบาย ไปสู่การปฏิบัติ และระดับหน่วยปฏิบัติ เมื่อได้ดําเนินการเช่นว่านี้มาแล้วระยะหนึ่ง สมควรยกระดับ และปรับปรุงการบริหารขั้นต่อไปเพื่อให้การแก้ไขปัญหา การพัฒนา และการสร้างความรับรู้ความเข้าใจ บนพื้นฐานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคประชาสังคม ภาคเอกชนและภาคประชาชน ในพื้นที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในลักษณะบูรณาการและเป็นเอกภาพ มีความคล่องตัวและรวดเร็วทันต่อปัญหา และความต้องการของประชาชนในการปฏิบัติภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ และเชิงพื้นที่ที่มีสภาพปัญหาพิเศษ และต้องการปัจจัยเกื้อหนุนการทํางานแตกต่างจากพื้นที่อื่น ทั้งต้องให้มีความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล และการบริหารงบประมาณ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ ทํานองเดียวกับที่เคยใช้ในการแก้ไขปัญหาอื่น และในพื้นที่อื่นได้ผลมาแล้ว โดยมีแกนนําของกลไกการบริหารจัดการในพื้นที่เข้ามาบูรณาการส่วนที่ยัง ไม่มีเอกภาพ และปรับปรุงแก้ไขส่วนที่หย่อนประสิทธิภาพในการปฏิบัติและการพัฒนา อันจะเป็นประโยชน์ ต่อการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ อํานวยประโยชน์ต่อราชการแผ่นดิน และการปฏิรูปการแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และศูนย์อํานวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ปฏิบัติหน้าที่และมีอํานาจในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) เป็นฝ่ายบูรณาการงานในระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๘/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
ข้อ ๒ ในกรณีเห็นสมควร นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาล มีหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะรัฐมนตรีและราชการส่วนกลางกับหน่วยงานในพื้นที่ ประสานงานกับ รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กํากับและติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการจังหวัด ชายแดนภาคใต้ และประสานงานกับ คปต. กอ.รมน. ศอ.บต. จังหวัด ส่วนราชการ และภาคส่วนต่างๆ ในการเชื่อมโยงงานให้เกิดการบูรณาการ และปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติและการพัฒนา ตลอดจนให้คําแนะนําแก่เจ้าหน้าที่ในพื้นที่โดยไม่ขัดต่อกฎหมายและไม่มีอํานาจวินิจฉัยสั่งการ และให้รายงาน ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนเสนอแนวทางการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาต่อนายกรัฐมนตรีเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและประธาน คปต. อาจมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นด้วยก็ได้
ในกรณีที่มีผู้แทนพิเศษของรัฐบาลหลายคน นายกรัฐมนตรีอาจกําหนดหน้าที่และอํานาจของ ผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวแต่ละคนให้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะเรื่องก็ได้
ให้ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เป็นกรรมการ คปต. และให้สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจัดให้ผู้แทนพิเศษ ได้รับค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ ตามความเหมาะสมโดยคํานึงถึงตําแหน่งในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้แทนการค้าไทยหรือกรรมการ ผู้ช่วยรัฐมนตรี ให้มี สํานักงาน คปต. ส่วนหน้าตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อปฏิบัติงานด้านธุรการ ตามที่ประธาน คปต. มอบหมาย และให้เจ้าหน้าที่สํานักงาน คปต. ส่วนหน้าได้รับค่าตอบแทนและ สิทธิประโยชน์ตามระเบียบของทางราชการ
ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การโอนหรือการนํารายจ่าย ที่กําหนดไว้สําหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมไปใช้สําหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจอื่น นอกเหนือจากกรณีตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ เพื่อการขับเคลื่อน การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กระทําได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การโอนงบประมาณ ที่ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และหากเป็นการโอน งบประมาณข้ามแผนงานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน
การโอนงบประมาณของส่วนราชการเดียวกันจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปดําเนินการในพื้นที่อื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คปต. หรือตามระเบียบที่ คปต. กําหนดก่อนจะดําเนินการต่อไป
ข้อ ๔ ให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อ ๒ ของคําสั่งนี้ได้ตามความจําเป็น
ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๙
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ”
ก่อนหน้านั้น สำนักข่าวอิศรารายงานว่า ผู้ที่ได้รับคาดหมายว่าจะมีชื่อใน “ครม.ส่วนหน้า” หรือ “รัฐบาลส่วนหน้า” เช่น นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการ ศอ.บต. ที่กำลังจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย.นี้, พล.อ.ปราการ ชลยุทธ รองเสนาธิการทหาร อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างสูงจากภาคประชาสังคม และเก่งงานมวลชน โดย พล.อ.ปราการก็จะเกษียณอายุราชการในสิ้นเดือนนี้เช่นกัน นอกจากนั้นยังมี พล.อ.สกล ชื่นตระกูล อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รวมถึง พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อีกคนหนึ่งด้วย
สำหรับรัฐมนตรีที่คาดว่าจะได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้า “ครม.ส่วนหน้า” มีข่าวว่าอาจจะเป็น พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการศึกษาที่ชายแดนใต้เป็นหลักอยู่แล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้