ทำไมคำที่คนสะกดผิดบ่อยๆ ไม่บัญญัติให้ถูกไปซะเลยคะ จะได้ไม่เขียนผิดอีก

กระทู้คำถาม
หนูเห็นคำไทยบางคำสะกดได้ 2 แบบ อย่าง "ปกติ - ปรกติ"  กับ "สมมติ – สมมุติ" ใครอยากเขียนยังไงก็ถูกทั้ง 2 อย่าง ถ้าอย่างงั้นหนูว่า คำที่คนจำนวนมากเขียนผิดกันบ่อยๆ น่าจะบัญญัติให้สะกดได้ 2 แบบเลยดีมั้ยคะ จะได้ไม่เขียนผิดกันอีก

อย่างคำว่า "อีเมล – อีเมล์"   "มัน – มันส์"  "เท่ – เท่ห์"   "ลายเซ็น – ลายเซ็นต์" "เครื่องสำอาง – เครื่องสำอางค์" "แบงก์ – แบงค์" "สังเกต – สังเกตุ" "ประณาม – ประนาม" ฯลฯ ใครอยากสะกดแบบไหน ก็ถือว่าถูกไปเลย เพราะยังไงซะคนจำนวนมากก็เขียนผิดๆถูกๆกันอยู่แล้ว ในเมื่อ "ปกติ - ปรกติ"  ยังยกเว้นได้ ทำไม "สำอาง – สำอางค์" จะยกเว้นบ้างไม่ได้ จริงมั้ยคะ

จนป่านนี้ หนูยังงงอยู่เลยค่ะ ว่าคำว่า สิทธิ มันอ่านว่า "สิดทิ" หรือ "สิด" กันแน่ เคยเข้าใจมาตลอดค่ะว่า สิทธิ อ่านว่า "สิดทิ" ส่วน สิทธิ์ อ่านว่า "สิด"  แต่เจอบ่อยมากที่ สิทธิ อ่านว่า "สิด" จนหนูงงไปหมดแล้วค่ะ ทำให้มันถูกทั้ง 2 อย่างเลยได้มั้ยคะ จะได้เลิกงงกัน

หนูขออนุญาตถามเพื่อนๆห้องสีลมด้วยนะคะ เพราะคิดว่าคนวัยทำงานคงเจอเหตุการณ์นี้บ่อยค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่