บริษัทโดน takeover แล้วให้พนักงานเซ็นสัญญาใหม่ด้วยสวัสดิการที่น้อยลง

เรื่องก็คือเราทำงานที่นิติบุคคล A แล้วโดน นิติบุคคล B takeover โดย B เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่ดำเนินกิจการต่อในชื่อ A เหมือนเดิม โดย A เป็น บ.ย่อย ของ B  ทีนี้ก็มีการปรับโครงสร้างองค์กร มีการเอาคนออกบ้าง แล้วคนทีอยู่ต่อจะมีการให้เซ็นสัญญาจ้างฉบับใหม่ภายใต้ชื่อ A เหมือนเดิม ให้เงินเดือนเท่าเดิม โดยในสัญญาระบุให้ สวัสดิการเดิมของ A เป็นไปตาม B ซึ่งโดนตัดสวัสดิการไปหลายอย่าง เช่น
              -    ตัดสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลที่เดิมเอาใบเสร็จจากโรงพยาบาลไปเบิกได้ ไม่มีบัตรประกันสุขภาพ
               ให้เหลือแต่ประกันสังคม
              -    สิทธิในการขอกู้สวัสดิการต่างๆ ตัดออกหมด แต่ให้สิทธิคนที่กู้เดิมกู้ต่อไป แต่ไม่ให้ใหม่แล้ว
ที่หลักๆ ก็มีประมาณนี้ ซึ่งจริงๆ ก็ไม่เยอะเลย ถ้าเทียบกับหลายๆ บริษัท ยังจะมาเอาเปรียบตัดออกไปอีก แถมไม่ให้อะไรแลกเปลี่ยนเข้ามาเลย ทั้งที่สถานะการเงินก็ดี มีกำไร ไม่ได้ขาดสภาพคล่องแต่อย่างใด เลยจะถามว่า

1.    ลักษณะนี้คือการเปลี่ยนสถานภาพการจ้างใช่ไหมคะ ซึ่งต้องได้รับคำยินยอมจากลูกจ้างแล้วถ้าเราไม่ยอมรับสิ่งที่เค้าเสนอมา เราจะไม่เซ็นได้ไหมคะ แล้วถ้าเราไม่เซ็นถือว่าเราไม่ยินยอมในสภาพการจ้างใหม่ เค้าต้องจ่ายชดเชยเลิกจ้างไหมคะ
2.    ในกรณีที่เราไม่เซ็นสัญญาใหม่ แต่เค้ายังคงจ้างเราต่อเหมือนเดิม ให้เงินเดือนเหมือนเดิม โดยเรายังคงใช้สวัสดิการเดิม ก็ยังคงถือว่าสัญญาเดิมยังมีผลกับการจ้างงานเราใช่ไหมคะ (กรณีนี้อาจจะโดนบีบให้ออก)
3.    เราสามารถไปฟ้องร้องศาลแรงงานหรือแจ้งกรมสวัสดิการแรงงาน เพื่อให้คงสวัสดิการเดิมสำหรับพนักงานเก่าถ้าหากไม่ยินยอมเงื่อนไขใหม่ โดยยังจ้างงานเหมือนเดิมและจะไม่ถูกกลั่นแกล้ง ส่วนพนักงานใหม่ก็ตามสวัสดิการใหม่ได้หรือไม่ (อ้างอิงจากหลายๆ บริษัท คนเก่าเค้าก็ให้เลือกว่าจะเอาสวัสดิการใหม่หรือเก่า มันทำควบคู่ไปกันได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหมดทุกคน )
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
กรณีนี้ มิใช่เป็นการเปลี่ยนตัว นายจ้าง แต่เป็นการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท คือ B เข้ามาถือหุ้นใหญ่เท่านั้น โปรดสังเกตุ เลขนิติบุคคลที่จดเป็นบริษัทยังคงเป็นเลขเดิม  (B takeover โดย B เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่ดำเนินกิจการต่อในชื่อ A เหมือนเดิม)

ดังนั้น เมื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามาบริหาร  ตัดสิทธิการรักษาพยาบาล กู้สวัสดิการ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง โดย ลูกจ้างไม่ยินยอมด้วยไม่ได้ ลูกจ้างสามารถเรียก สิทธิดังกล่าวคืนได้ ตามข้อ ๒. โดยใช้วิธีการตามข้อ ๓. แต่ถ้าลูกจ้างยินยอม ก็เป็นไปตามข้อ ๑. โดยที่นายจ้างไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะไม่ใช่กรณี เลิกจ้าง  ลูกจ้างยังคงทำงานต่อไป โดยได้รับสวัสดิการใหม่ที่เปลี่ยนแปลง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่