การแบ่งเกรดของแผ่นเสียงใช้แล้ว
แผ่นเสียงที่ใช้แล้วจะมีสภาพแตกต่างกันอันเนื่องมาจากการใช้งานและอายุของแผ่น จึงจำเป็นที่จะต้องมีกฏกติกาในการแบ่งสภาพของแผ่นเสียง โดยส่วนใหญ่การคัดเกรดแผ่นจะใช้จากการดู (Visual Grading) มากกว่าการฟัง (Listening Grade) เนื่องจากแผ่นเสียงในร้านค้า (โดยเฉพาะในต่างประเทศ) จะมีเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถจะมาทดลองฟังแล้วแบ่งเกรดได้หมด
ดังนั้นจึงควรพึงระมัดระวังว่า ในการซื้อแผ่นเสียง (โดยเฉพาะการสั่งทางไปรษณีย์จากต่างประเทศ) นั้น แผ่นที่มีสภาพดีมากๆเมื่อดูจากภายนอก อาจจะให้เสียงที่ย่ำแย่เมื่อทดลองเล่น ซึ่งในกรณีนี้อาจเป็นจากเจ้าของเดิมมีการเล่นมาอย่างถี่ยิบ และอาจเกิดจากการตั้งน้ำหนักของหัวเข็มไม่ถูกต้อง (หนักเกินไป) ทำให้เกิดอาการร่องเสียงสึกกร่อน ขณะที่ในบางกรณี (น้อยมาก) ที่แผ่นเสียงที่มีสภาพภายนอกค่อนข้างยับเยิน แต่เวลาทดลองฟังกลับให้เสียงที่ดีเกินคาด ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ การได้ทดลองฟังก่อนที่จะซื้อจะเป็นการดีที่สุด (ถ้าร้านค้ายินยอม)
ในต่างประเทศ ได้มีการกำหนดการแบ่งเกรดแผ่นเสียง โดยใช้หลักตามนิตยสาร Goldmine ซึ่งเป็นนิตยสารสำหรับผู้ค้าและสะสมแผ่นเสียง โดยได้แบ่งเกรดดังนี้
1.Sealed คือแผ่นที่ปิดผนึกมาจากโรงงานผลิต ยังไม่มีการเปิดใช้งาน เป็นแผ่นที่มีคุณภาพและเกรดสูงสุด แต่ก็มีข้อควรระวังในการซื้อแผ่นที่ Sealed เนื่องจากการผนึกพลาสติกของแผ่นเสียงนั้น ถ้าเป็นการห่อด้วยพลาสติกที่ตึงแน่นเกินไป บวกกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอาจจะทำให้แผ่นเสียงงอได้ การเลือกแผ่น Sealed นั้นควรเลือกแผ่นที่ห่อพลาสติกแบบย่น (Shrink wrap) เช่นในแผ่นของ Mobile Fidelity ในยุคที่เป็น Japanese Pressing หรือแผ่นที่ห่อเป็นแบบหลวมๆและมีรอยปรุให้ฉีกได้ เช่นในแผ่น Reissue ของ Classic Record และ Analogue Production ข้อควรระวังอีกอย่างในการเลือกซื้อแผ่น Sealed คือ แผ่นเสียงนั้นอาจมีความผิดปกติจากการผลิตโดยที่เราไม่สามารถจะทราบได้ถ้าไม่ได้เปิดดู เช่น มีเม็ดปูดบนเนื้อไวนิล (Bubble) หรือมีรอยบนผิวแผ่น (Scuff)
2.Mint (M) คือสภาพแผ่นเสียงที่ดูเหมือนกับว่าเพิ่งแกะออกจากซองจากโรงงาน คือไม่มีสภาพของการถูกเล่นมาก่อน ไม่มีรอยขีดข่วน ไม่มีคราบบนแผ่น (Scuff) เมื่อทดลองเล่นจะต้องไม่มีเสียงกรอบแกรบ (Scratch) เป็นสภาพแผ่นที่ผมแนะนำให้ซื้อมากกว่าการซื้อแผ่น Sealed (นอกจากท่านจะซื้อแผ่น Sealed มาเก็บไว้เป็นแผ่นสำรอง)
3.NearMint (NM) เป็นแผ่นที่มีสภาพหย่อนลงมาจาก Mint คือแผ่นที่มีร่องรอยของการเล่นมาบ้าง อาจจะมี Scuff แต่ไม่ควรจะมีเสียงผิดปกติเมื่อเวลาทดลองเล่น แผ่นเสียงส่วนใหญ่มักจะจัดอยู่ในกลุ่มนี้
4.Excellent (EX) หรือ VeryGood++ (VG++) คือแผ่นที่มีรอย Scuff มากกว่า 15 เปอร์เซนต์ของเนื้อที่ผิวแผ่น ไม่ควรจะมีเสียง Scratch เมื่อทดลองเล่น แต่ในสภาพความเป็นจริงที่ผมได้ทดลองซื้อจากต่างประเทศ แผ่นที่อยู่ในเกรดนี้มักจะมีเสียงกรอบแกรบ หรือมี Background Noise อยู่ ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ขาย
5.VeryGood+ (VG+) ก็จะมีสภาพแย่ลงกว่าในข้อ 4
6.VeryGood (VG)
7.G (Good)
8.Fair, Poor
เกรดตั้งแต่ VG+ ลงมา ผมไม่แนะนำให้ซื้อ เนื่องจากจะเป็นมลพิษทางหูของท่านเมื่อเล่น และจะเป็นมลพิษทางสายตาเมื่อท่านต้องเหลือบตาไปมองมัน แนะนำให้เอาไปร่อนเล่น หรือติดฝาผนังจะดีกว่า
คำศัพท์ที่ควรทราบ
มีคำศัพท์บางประการที่ท่านควรจะทราบเกี่ยวกับแผ่นเสียง เผื่อว่าท่านไปอ่านเจอใน catalog หรือมีโอกาสไปเลือกซื้อในต่างประเทศ
- Stamper คือตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ปั้มจากโรงงานบนตัวแผ่นที่อยู่บนเนื้อไวนิลตรงขอบด้านนอกของกระดาษ Label (มักเรียกบริเวณนี้ว่า Dead Wax หรือ Run-off groove) ตัว stamper มีความสำคัญมากในการดูว่าแผ่นนี้เป็น pressing แรกรึเปล่า, บอกแหล่งที่ผลิต, บอกยี่ห้อของตัวเครื่องตัดแผ่นเสียง (เช่น MoFi ที่ปั้มที่ญี่ปุ่นจะใช้ Ortofon), บอกชื่อผู้ทำ Master (เช่นใน Classic Record จะเห็นตัวย่อของ Bernie Grundman อยู่เป็นลายมือว่า BG)
- CC ย่อจาก Cut Corner คือถูกตัดมุมของปกแผ่นเสียงเพื่อจะได้ไม่สามารถคืนกลับโรงงานได้
- COH ย่อจาก Cut Out Hole คือมีการเจาะรูที่ปกแผ่นเสียง
- D2D ย่อจาก Direct to Disc คือแผ่นที่มีการตัดแผ่น Master Stamper ไปพร้อมกับการบันทึกเสียง จะไม่มีการผ่านการบันทึกด้วยเทป เช่นจะพบได้ในแผ่น Sheffield Lab ในยุคแรกๆ (แผ่น S9 ถึง Lab23)
- DMM ย่อจาก Direct Metal Master คือขั้นตอนการบันทึกเสียงที่ไม่ผ่านการทำ Lacquer Master
- Gatefold คือปกแผ่นเสียงที่มีลักษณะเปิดออกได้คล้ายหนังสือ
- OBI เป็นภาษาญี่ปุ่น อ่านว่า โอบิ หมายความถึงสายคาดกิโมโน ในเรื่องของแผ่นเสียงจะหมายถึงแถบกระดาษที่เขียนรายละเอียดของแผ่นเสียงและราคาของแผ่น จะมีความกว้างประมาณ 3 นิ้วที่คาดอยู่รอบปกแผ่นเสียงด้านซ้าย มักจะพบในแผ่นที่ผลิตในญี่ปุ่น
- Promo คือแผ่นเสียงที่จะผลิตก่อนหรือปั้มออกมาก่อนแผ่นเสียงที่จะจำหน่ายทั่วไป มักจะเป็นแผ่นที่ทางบริษัทผู้ผลิตแจกให้แก่ผู้จัดรายการทางสถานีวิทยุ โดยทั่วไปมักเชื่อกันว่าจะมีเสียงดีกว่า WLP (White Label Promotion) แผ่นธรรมดา เนื่องจากเป็นแผ่นที่ปั้มมาก่อน สภาพของแม่พิมพ์แผ่นย่อมจะดีกว่าแผ่นที่ผลิตจากแม่พิมพ์ที่ปั้มแผ่นหลายๆครั้งมาแล้ว ในแผ่นของบางบริษัท เช่น Warner, Electra จะใช้สีขาวเป็นพื้นของกระดาษ Center Label จึงเรียกว่า White Label Promotion
- Test Pressing คือแผ่นเสียงที่ทดลองปั้มมาก่อนเพื่อลองฟังเสียงก่อนที่จะผลิตจริง มักจะให้เสียงที่ดีกว่าแผ่นปกติ แต่บางคนแย้งว่าแผ่น test pressing ที่มาขายนั้นอาจเป็น test ที่ผู้ผลิตคัดออกก็ได้ นอกจากนี้ แผ่น test pressing อาจตัดบาง track มาปั้มด้วยสปีด 45 เช่นที่พบในบริษัท Classic Record จะทำแจกแก่เฉพาะ Dealer เจ้าใหญ่ๆเท่านั้น
- TOBC ย่อจาก Tear On Back Cover คือ ปกหลังขาด
- TOC ย่อจาก Tear On Cover คือ ปกหน้าขาด
- WOBC ย่อจาก Write On Back Cover คือ มีการขีดเขียนบนปกหลัง
- WOC ย่อจาก Write On Cover คือ มีการขีดเขียนบนปกหน้า
- SS ย่อจาก Still Sealed คือ ยังไม่ได้แกะซีลแผ่นเสียงเลย
- VSRW ย่อจาก Very Slight Ring Wear คือ มีร่องรอยของปกแผ่นเสียงลอก เป็นวงกลมอันเกิดจากตัวแผ่นเสียงกดบนปก และมีการเก็บแผ่นเสียงในชั้นวางแผ่นแน่นเกินไป
*** credit : การเลือกแผ่นเสียงที่ใช้แล้ว (Used Records) โดย นพ.ไกรฤกษ์ ***
+++ การเลือกแผ่นเสียงที่ใช้แล้ว (Used Records) +++
แผ่นเสียงที่ใช้แล้วจะมีสภาพแตกต่างกันอันเนื่องมาจากการใช้งานและอายุของแผ่น จึงจำเป็นที่จะต้องมีกฏกติกาในการแบ่งสภาพของแผ่นเสียง โดยส่วนใหญ่การคัดเกรดแผ่นจะใช้จากการดู (Visual Grading) มากกว่าการฟัง (Listening Grade) เนื่องจากแผ่นเสียงในร้านค้า (โดยเฉพาะในต่างประเทศ) จะมีเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถจะมาทดลองฟังแล้วแบ่งเกรดได้หมด
ดังนั้นจึงควรพึงระมัดระวังว่า ในการซื้อแผ่นเสียง (โดยเฉพาะการสั่งทางไปรษณีย์จากต่างประเทศ) นั้น แผ่นที่มีสภาพดีมากๆเมื่อดูจากภายนอก อาจจะให้เสียงที่ย่ำแย่เมื่อทดลองเล่น ซึ่งในกรณีนี้อาจเป็นจากเจ้าของเดิมมีการเล่นมาอย่างถี่ยิบ และอาจเกิดจากการตั้งน้ำหนักของหัวเข็มไม่ถูกต้อง (หนักเกินไป) ทำให้เกิดอาการร่องเสียงสึกกร่อน ขณะที่ในบางกรณี (น้อยมาก) ที่แผ่นเสียงที่มีสภาพภายนอกค่อนข้างยับเยิน แต่เวลาทดลองฟังกลับให้เสียงที่ดีเกินคาด ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ การได้ทดลองฟังก่อนที่จะซื้อจะเป็นการดีที่สุด (ถ้าร้านค้ายินยอม)
ในต่างประเทศ ได้มีการกำหนดการแบ่งเกรดแผ่นเสียง โดยใช้หลักตามนิตยสาร Goldmine ซึ่งเป็นนิตยสารสำหรับผู้ค้าและสะสมแผ่นเสียง โดยได้แบ่งเกรดดังนี้
1.Sealed คือแผ่นที่ปิดผนึกมาจากโรงงานผลิต ยังไม่มีการเปิดใช้งาน เป็นแผ่นที่มีคุณภาพและเกรดสูงสุด แต่ก็มีข้อควรระวังในการซื้อแผ่นที่ Sealed เนื่องจากการผนึกพลาสติกของแผ่นเสียงนั้น ถ้าเป็นการห่อด้วยพลาสติกที่ตึงแน่นเกินไป บวกกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอาจจะทำให้แผ่นเสียงงอได้ การเลือกแผ่น Sealed นั้นควรเลือกแผ่นที่ห่อพลาสติกแบบย่น (Shrink wrap) เช่นในแผ่นของ Mobile Fidelity ในยุคที่เป็น Japanese Pressing หรือแผ่นที่ห่อเป็นแบบหลวมๆและมีรอยปรุให้ฉีกได้ เช่นในแผ่น Reissue ของ Classic Record และ Analogue Production ข้อควรระวังอีกอย่างในการเลือกซื้อแผ่น Sealed คือ แผ่นเสียงนั้นอาจมีความผิดปกติจากการผลิตโดยที่เราไม่สามารถจะทราบได้ถ้าไม่ได้เปิดดู เช่น มีเม็ดปูดบนเนื้อไวนิล (Bubble) หรือมีรอยบนผิวแผ่น (Scuff)
2.Mint (M) คือสภาพแผ่นเสียงที่ดูเหมือนกับว่าเพิ่งแกะออกจากซองจากโรงงาน คือไม่มีสภาพของการถูกเล่นมาก่อน ไม่มีรอยขีดข่วน ไม่มีคราบบนแผ่น (Scuff) เมื่อทดลองเล่นจะต้องไม่มีเสียงกรอบแกรบ (Scratch) เป็นสภาพแผ่นที่ผมแนะนำให้ซื้อมากกว่าการซื้อแผ่น Sealed (นอกจากท่านจะซื้อแผ่น Sealed มาเก็บไว้เป็นแผ่นสำรอง)
3.NearMint (NM) เป็นแผ่นที่มีสภาพหย่อนลงมาจาก Mint คือแผ่นที่มีร่องรอยของการเล่นมาบ้าง อาจจะมี Scuff แต่ไม่ควรจะมีเสียงผิดปกติเมื่อเวลาทดลองเล่น แผ่นเสียงส่วนใหญ่มักจะจัดอยู่ในกลุ่มนี้
4.Excellent (EX) หรือ VeryGood++ (VG++) คือแผ่นที่มีรอย Scuff มากกว่า 15 เปอร์เซนต์ของเนื้อที่ผิวแผ่น ไม่ควรจะมีเสียง Scratch เมื่อทดลองเล่น แต่ในสภาพความเป็นจริงที่ผมได้ทดลองซื้อจากต่างประเทศ แผ่นที่อยู่ในเกรดนี้มักจะมีเสียงกรอบแกรบ หรือมี Background Noise อยู่ ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ขาย
5.VeryGood+ (VG+) ก็จะมีสภาพแย่ลงกว่าในข้อ 4
6.VeryGood (VG)
7.G (Good)
8.Fair, Poor
เกรดตั้งแต่ VG+ ลงมา ผมไม่แนะนำให้ซื้อ เนื่องจากจะเป็นมลพิษทางหูของท่านเมื่อเล่น และจะเป็นมลพิษทางสายตาเมื่อท่านต้องเหลือบตาไปมองมัน แนะนำให้เอาไปร่อนเล่น หรือติดฝาผนังจะดีกว่า
คำศัพท์ที่ควรทราบ
มีคำศัพท์บางประการที่ท่านควรจะทราบเกี่ยวกับแผ่นเสียง เผื่อว่าท่านไปอ่านเจอใน catalog หรือมีโอกาสไปเลือกซื้อในต่างประเทศ
- Stamper คือตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ปั้มจากโรงงานบนตัวแผ่นที่อยู่บนเนื้อไวนิลตรงขอบด้านนอกของกระดาษ Label (มักเรียกบริเวณนี้ว่า Dead Wax หรือ Run-off groove) ตัว stamper มีความสำคัญมากในการดูว่าแผ่นนี้เป็น pressing แรกรึเปล่า, บอกแหล่งที่ผลิต, บอกยี่ห้อของตัวเครื่องตัดแผ่นเสียง (เช่น MoFi ที่ปั้มที่ญี่ปุ่นจะใช้ Ortofon), บอกชื่อผู้ทำ Master (เช่นใน Classic Record จะเห็นตัวย่อของ Bernie Grundman อยู่เป็นลายมือว่า BG)
- CC ย่อจาก Cut Corner คือถูกตัดมุมของปกแผ่นเสียงเพื่อจะได้ไม่สามารถคืนกลับโรงงานได้
- COH ย่อจาก Cut Out Hole คือมีการเจาะรูที่ปกแผ่นเสียง
- D2D ย่อจาก Direct to Disc คือแผ่นที่มีการตัดแผ่น Master Stamper ไปพร้อมกับการบันทึกเสียง จะไม่มีการผ่านการบันทึกด้วยเทป เช่นจะพบได้ในแผ่น Sheffield Lab ในยุคแรกๆ (แผ่น S9 ถึง Lab23)
- DMM ย่อจาก Direct Metal Master คือขั้นตอนการบันทึกเสียงที่ไม่ผ่านการทำ Lacquer Master
- Gatefold คือปกแผ่นเสียงที่มีลักษณะเปิดออกได้คล้ายหนังสือ
- OBI เป็นภาษาญี่ปุ่น อ่านว่า โอบิ หมายความถึงสายคาดกิโมโน ในเรื่องของแผ่นเสียงจะหมายถึงแถบกระดาษที่เขียนรายละเอียดของแผ่นเสียงและราคาของแผ่น จะมีความกว้างประมาณ 3 นิ้วที่คาดอยู่รอบปกแผ่นเสียงด้านซ้าย มักจะพบในแผ่นที่ผลิตในญี่ปุ่น
- Promo คือแผ่นเสียงที่จะผลิตก่อนหรือปั้มออกมาก่อนแผ่นเสียงที่จะจำหน่ายทั่วไป มักจะเป็นแผ่นที่ทางบริษัทผู้ผลิตแจกให้แก่ผู้จัดรายการทางสถานีวิทยุ โดยทั่วไปมักเชื่อกันว่าจะมีเสียงดีกว่า WLP (White Label Promotion) แผ่นธรรมดา เนื่องจากเป็นแผ่นที่ปั้มมาก่อน สภาพของแม่พิมพ์แผ่นย่อมจะดีกว่าแผ่นที่ผลิตจากแม่พิมพ์ที่ปั้มแผ่นหลายๆครั้งมาแล้ว ในแผ่นของบางบริษัท เช่น Warner, Electra จะใช้สีขาวเป็นพื้นของกระดาษ Center Label จึงเรียกว่า White Label Promotion
- Test Pressing คือแผ่นเสียงที่ทดลองปั้มมาก่อนเพื่อลองฟังเสียงก่อนที่จะผลิตจริง มักจะให้เสียงที่ดีกว่าแผ่นปกติ แต่บางคนแย้งว่าแผ่น test pressing ที่มาขายนั้นอาจเป็น test ที่ผู้ผลิตคัดออกก็ได้ นอกจากนี้ แผ่น test pressing อาจตัดบาง track มาปั้มด้วยสปีด 45 เช่นที่พบในบริษัท Classic Record จะทำแจกแก่เฉพาะ Dealer เจ้าใหญ่ๆเท่านั้น
- TOBC ย่อจาก Tear On Back Cover คือ ปกหลังขาด
- TOC ย่อจาก Tear On Cover คือ ปกหน้าขาด
- WOBC ย่อจาก Write On Back Cover คือ มีการขีดเขียนบนปกหลัง
- WOC ย่อจาก Write On Cover คือ มีการขีดเขียนบนปกหน้า
- SS ย่อจาก Still Sealed คือ ยังไม่ได้แกะซีลแผ่นเสียงเลย
- VSRW ย่อจาก Very Slight Ring Wear คือ มีร่องรอยของปกแผ่นเสียงลอก เป็นวงกลมอันเกิดจากตัวแผ่นเสียงกดบนปก และมีการเก็บแผ่นเสียงในชั้นวางแผ่นแน่นเกินไป
*** credit : การเลือกแผ่นเสียงที่ใช้แล้ว (Used Records) โดย นพ.ไกรฤกษ์ ***