ที่แรกในไทย สะพานทางวิ่งรถไฟฟ้าแบบโครงเหล็กโค้ง ข้ามแยกบางพลัด Landmark ใหม่ฝั่งธน

เป็นที่รู้กันว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนั่นรวมความสุดหลายๆอย่าง ทั้งสถานีสนามไชย หรืออุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำแห่งแรกของประเทศไทย หรือถ้าจับนับย้อนไปถึงสายสีน้ำเงินเฟสแรก ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2547 ก็มีเทคโนโลยีการก่อสร้างที่น่าสนใจ ตามที่ผมได้เขียนตั้งกระทู้เขียนเรื่องนี้ไปเมื่อปีก่อน https://ppantip.com/topic/34722994

ปกติแล้วทางวิ่งรถไฟฟ้าที่เราเห็นกันตอนนี้จะเป็นคานกล่องคอนกรีตต่อๆกัน หรือถ้าช่วงข้ามแยกกว้างๆจะใช้วิธีที่เรียกว่า คานยื่นสมดุล หรือ balanced cantilever

ชิ้นส่วนคานกล่องทางวิ่ง โดยทั่วไปแล้วเป็นชิ้นๆ ยกขึ้นไปต่อกันโดยใช้สลิงอัดแรง (ภาพถ่ายเมื่อกันยายน 2558)


คานทางวิ่งแบบ คานยื่นสมดุล หรือ balanced cantilever จะใช้ในช่วงที่มีระยะห่างของเสามากกว่าปกติ เห็นได้ทั่วไปเช่น BTS ที่แยกอโศก แยกพระโขนง แยกศาลาแดง ข้ามทางด่วนบริเวณอนุสาวรีย์ (ภาพถ่ายเมื่อพฤษภาคม 2559)

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สถานีสิรินธร ตั้งอยู่บนถนนจรัญสนิทวงศ์ ใกล้แยกบางพลัดที่ตัดกับถนนสิรินธร
ลักษณะทางกายภาพของแยกนี้มีอุโมงค์ทางลอดในแนวถนนจรัญสนิทวงศ์ และมีสะพานข้ามแยกในแนวถนนสิรินธร
ทำให้โครงสร้างสถานีและทางวิ่งในช่วงอุโมงค์ ต้องเป็นแบบเสาคร่อมถนน

ส่วนช่วงข้ามแยกบางพลัดนั่นมีความกว้างมากถึง 60 เมตร ไม่สามารถใช้การวางคานทางวิ่งแบบปกติได้เพราะระยะห่างกว้างเกิน และคานกล่องทางวิ่งจะมีความหนาประมาณ 2 เมตร ก็คือมีท้องของกล่องที่ลึกลงมา ถ้าใช้คานกล่องแบบปกติจะทำให้ความสูงของสะพานข้ามแยกกับท้องคานต่ำกว่าปกติ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถสร้างแบบคานยื่นสมดุล หรือ balanced cantilever ได้ เพราะเสาทางวิ่งทั้งสองฝั่งเป็นเสาแบบคร่อมถนนเนื่องจากมีอุโมงค์อยู่ด้านล่าง ทางโครงการจึงได้ออกแบบเป็นสะพานโครงเหล็กโค้ง แบบที่เรียกว่า Bowstring ลักษณะคล้ายๆสะพานคนเดินตรงแยกช่องนนทรีแต่ว่าใหญ่กว่าครับ


นี่จึงเป็นสะพานทางวิ่งรถไฟฟ้าแบบโครงเหล็ก แห่งแรกของประเทศไทย Landmark ใหม่ของฝั่งธน
สะพานนี้จะเริ่มก่อสร้างประมาณเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ครับ ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน

อดทนรออีกนิดอีกไม่นานก็จะได้เห็นสะพานนี้ อีกไม่นานก็จะได้ใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนขยายแล้วครับ
ชมภาพอื่นๆทั้งหมดได้ที่ https://www.facebook.com/RenderThailand/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่