สวัสดีครับ หากกล่าวถึงภาวะการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ใครไม่เคยประสบกับตัวเองก็คงไม่ทราบว่ามันเป็นภาวะที่ร้ายแรงเพียงใด
การส่งผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลมักจะมากับปัญหาเฉพาะหน้าอย่างหนึ่งคือเรื่อง "ค่ารักษา" .... จากคำว่า "ฉุกเฉิน" นั้น
ก็บอกอยู่แล้วว่ามีความจำเป็นต้องส่งผู้ป่วยเข้ารักษาที่โรงพยาบาลที่ใกล้สุดก่อนเพื่อรักษาชีวิต ซึ่งหากโรงพยาบาลนั้น
คือ รพ.เอกชนก็จะมีปัญหาเรื่องค่ารักษาตามมาทันที จากปัญหานี้ ทางสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช. ) ได้จัดตั้งระบบการแพทย์ฉุกเฉินเริ่มมาตั้งแต่ปี 2555 แล้ว
โดยมีชื่อเดิมว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ และเมื่อ 3 วันที่านมาก็ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง เป็น
“
เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” โดยชื่อภาษาอังกฤษยังคงเดิมคือ EMCO (Emergency Claim Online)
ตลอด 4 ปี มีผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการดูแลตามสิทธิดังกล่าวมากกว่า 70,000 คน
ใครจะมีสิทธิได้รับการรักษาแบบนี้บ้าง ?
ผู้ป่วยที่มีสิทธิรักษาในโครงการนี้ก็คือคนไทยทุกคนนั่นเอง โดยยึดถือตามสิทธิของ 3 กองทุน คือ
1. ข้าราชการที่เบิกค่ารักษาจากกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กรมบัญชีกลาง (ประมาณ 5 ล้านคน)
2. ลูกจ้างพนักงาน จากกองทุนประกันสังคม (ประมาณ 10 ล้านคน)
3. ประชาชนทั่วไปตามสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ประมาณ 48 ล้านคน)
สิทธิที่ได้รับเป็นอย่างไร ?
สิทธิที่ได้รับในการรักษาพยาบาลฉุกเฉินนี้ ผู้ป่วยสามารถเข้ารักษาที่โรงพยาบาลรัฐ หรือ เอกชน ทุกแห่ง
โดยไม่มีการถามสิทธิ์ก่อนการรักษา และ ไม่ต้องสำรองเงินค่ารักษาออกไปก่อน โดยทางโรงพยาบาล
จะรักษาผู้ป่วยให้ใน 72 ชั่วโมงแรก
สิทธินี้ ใช้กับผู้ป่วยฉุกเฉินขั้นใด ?
ระบบนี้ จะใช้กับผู้ป่วยที่เรียกว่า "
วิกฤติระดับสีแดง" กล่าวคือผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้ครับ
- หัวใจหยุดเต้น" (Cardiac arrest)
- ภาวะหยุดหายใจ
- ภาวะ ช็อก จากการเสียเลือดรุนแรง
- ชักตลอดเวลา หรือ ชักจนตัวเขียว
- อาการซึม หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
- อาการเจ็บหน้าอกรุนแรงจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
- อาการทางสมองจากหลอดเลือดสมองตีบตันเฉียบพลันมีความจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด
- การบาดเจ็บที่มีเลือดออกมากอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา
ปัจจุบันนี้ ได้มีการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินนี้ให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว และตอบสนองต่อยุคปัจจุบัน
โดยทาง สพฉ. ได้พัฒนา Application ชื่อว่า
ThaiEMS1669 (ทั้ง Android และ iOS)
โดยตัว App. สามารถแจ้งเหตุผ่าน 1669 และมีการส่งข้อมูล ชื่อ-สกุล หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล เพศ
ปีเกิด และ/หรือ ข้อมูลส่วนตัวเช่น โรคประจำตัว การแพ้ยา โดยจะระบุพิกัดที่เกิดเหตุ (latitude, longitude)
และส่งภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุได้ด้วย นอกจากนั้นตัว app. จะมีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
อาทิ แนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ได้รับสารเคมี ภาวะเลือดออก หมดสติกะทันหัน หัวใจวาย
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น รวมทั้งยังมีรายชื่อโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้กับจุดเกิดเหตุด้วยครับ
ถึงแม้ว่าโครงการนี้จะมีมานานแล้ว แต่ก็มีความสำคัญยิ่งกับกรณีฉุกเฉินครับ
บางท่านก็อาจไม่ทราบว่ามีการพัฒนาเป็น App. สำหรับ Andriod - iOS แล้ว
ก็ download มาติดเครื่องใว้ จะมีประโยชน์ครับ
สวัสดีครับ
รู้ไว้ใช่ว่า .... เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (วันหนึ่งอาจเป็นคนใกล้ตัวท่าน)
การส่งผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลมักจะมากับปัญหาเฉพาะหน้าอย่างหนึ่งคือเรื่อง "ค่ารักษา" .... จากคำว่า "ฉุกเฉิน" นั้น
ก็บอกอยู่แล้วว่ามีความจำเป็นต้องส่งผู้ป่วยเข้ารักษาที่โรงพยาบาลที่ใกล้สุดก่อนเพื่อรักษาชีวิต ซึ่งหากโรงพยาบาลนั้น
คือ รพ.เอกชนก็จะมีปัญหาเรื่องค่ารักษาตามมาทันที จากปัญหานี้ ทางสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช. ) ได้จัดตั้งระบบการแพทย์ฉุกเฉินเริ่มมาตั้งแต่ปี 2555 แล้ว
โดยมีชื่อเดิมว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ และเมื่อ 3 วันที่านมาก็ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง เป็น
“เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” โดยชื่อภาษาอังกฤษยังคงเดิมคือ EMCO (Emergency Claim Online)
ตลอด 4 ปี มีผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการดูแลตามสิทธิดังกล่าวมากกว่า 70,000 คน
ใครจะมีสิทธิได้รับการรักษาแบบนี้บ้าง ?
ผู้ป่วยที่มีสิทธิรักษาในโครงการนี้ก็คือคนไทยทุกคนนั่นเอง โดยยึดถือตามสิทธิของ 3 กองทุน คือ
1. ข้าราชการที่เบิกค่ารักษาจากกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กรมบัญชีกลาง (ประมาณ 5 ล้านคน)
2. ลูกจ้างพนักงาน จากกองทุนประกันสังคม (ประมาณ 10 ล้านคน)
3. ประชาชนทั่วไปตามสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ประมาณ 48 ล้านคน)
สิทธิที่ได้รับเป็นอย่างไร ?
สิทธิที่ได้รับในการรักษาพยาบาลฉุกเฉินนี้ ผู้ป่วยสามารถเข้ารักษาที่โรงพยาบาลรัฐ หรือ เอกชน ทุกแห่ง
โดยไม่มีการถามสิทธิ์ก่อนการรักษา และ ไม่ต้องสำรองเงินค่ารักษาออกไปก่อน โดยทางโรงพยาบาล
จะรักษาผู้ป่วยให้ใน 72 ชั่วโมงแรก
สิทธินี้ ใช้กับผู้ป่วยฉุกเฉินขั้นใด ?
ระบบนี้ จะใช้กับผู้ป่วยที่เรียกว่า "วิกฤติระดับสีแดง" กล่าวคือผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้ครับ
- หัวใจหยุดเต้น" (Cardiac arrest)
- ภาวะหยุดหายใจ
- ภาวะ ช็อก จากการเสียเลือดรุนแรง
- ชักตลอดเวลา หรือ ชักจนตัวเขียว
- อาการซึม หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
- อาการเจ็บหน้าอกรุนแรงจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
- อาการทางสมองจากหลอดเลือดสมองตีบตันเฉียบพลันมีความจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด
- การบาดเจ็บที่มีเลือดออกมากอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา
ปัจจุบันนี้ ได้มีการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินนี้ให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว และตอบสนองต่อยุคปัจจุบัน
โดยทาง สพฉ. ได้พัฒนา Application ชื่อว่า ThaiEMS1669 (ทั้ง Android และ iOS)
โดยตัว App. สามารถแจ้งเหตุผ่าน 1669 และมีการส่งข้อมูล ชื่อ-สกุล หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล เพศ
ปีเกิด และ/หรือ ข้อมูลส่วนตัวเช่น โรคประจำตัว การแพ้ยา โดยจะระบุพิกัดที่เกิดเหตุ (latitude, longitude)
และส่งภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุได้ด้วย นอกจากนั้นตัว app. จะมีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
อาทิ แนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ได้รับสารเคมี ภาวะเลือดออก หมดสติกะทันหัน หัวใจวาย
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น รวมทั้งยังมีรายชื่อโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้กับจุดเกิดเหตุด้วยครับ
ถึงแม้ว่าโครงการนี้จะมีมานานแล้ว แต่ก็มีความสำคัญยิ่งกับกรณีฉุกเฉินครับ
บางท่านก็อาจไม่ทราบว่ามีการพัฒนาเป็น App. สำหรับ Andriod - iOS แล้ว
ก็ download มาติดเครื่องใว้ จะมีประโยชน์ครับ
สวัสดีครับ