สวัสดีค่ะสมาชิกห้องบลูแพลน
บันทีกการเดินทางของป้าฉบับนี้ เป็นการบันทึกเรื่องราวของหมู่บ้านเล็กๆหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ทางเหนือ ที่พึ่งจะมีชื่อตามโลกโซเซียล เมื่อไม่นาน แต่ก็ยังไม่อยู่ในกระแสของนักท่องเที่ยวรุนแรงมากนัก เมื่อก้าวเดินตามทางในหมู่บ้านยังเห็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน ที่ใช้ชีวิตอย่างปกติ เรียบง่าย พอเพียง ยิ้มแย้มยามเมื่อได้สบตา และเอ่ยปากทักทายคนแปลกหน้าอย่างป้าที่เดินท่อมๆถ่ายรูป ..
.
การเดินทางครั้งแรกของป้าที่ได้ไปสัมผัสหมู่บ้านเล็กๆแห่งนี้ เริ่มขึ้นเมื่อปลายเดือนพย. ปีที่แล้ว เมื่อไปในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ยังมีฝนประปราย ดังนั้นเส้นทางเข้าไปค่อนข้างลำบากพอสมควร ด้วยระยะทาง จากปากทางที่อุทยานแห่งชาติขุนแจ อ.เวียงป่าเป้า เชียงราย 14 กม. ที่ใช้เวลาเดินทางด้วยรถโฟรืวิลที่ต้องอาศัยผู้ขับที่ชำนาญในพื้นที่ เพราะเส้นทางในช่วงมีฝนที่จะเข้าหมู่บ้านนั้น ในบางช่วงจะเจอถนนที่ขรุขระ เต็มไปด้วยโคลนสีแดง มีโค้งและแคบ ต้องใช้เวลาเดินทาง 1 ชม.กว่าๆ ..
ดังนั้นถึงแม้จะมีรถส่วนตัวหากคิดจะเข้าไปในหมู่บ้านนี้ก็ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทางที่ดีใช้บริการของรถที่รับส่งในหมู่บ้านดีกว่าค่ะ เพื่อความปลอดภัย
บ้ า น ห้ ว ย น้ ำ กื น . . .
ชุมชนบ้านห้วยน้ำกืน เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กอยู่กลางหุบเขา ลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ อยู่ในความดูแลของเขตอุทยานแห่งชาติขุนแจ เป็นเขตอนุรักษ์ป่าไม้เกรดเอ ฤดูหนาวมีอากาศหนาวมาก ระยะห่างจากตัวอำเภอเวียงป่าเป้า ประมาณ 53 กิโลเมตรเป็นหมู่บ้านที่อยู่ไกลจากตัวอำเภอมากที่สุด
และทางชุมชนบ้านห้วยน้ำกืน ได้รับการสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เกษตร และวัฒนธรรม เพราะที่นี่ยังมีป่าไม้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ มีสัตว์ป่าหายากหลายชนิดไว้ให้ศึกษา พร้อมอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว โดยทำลานกางเต็นท์บนยอดดอยหมด
ชุมชนนี้มีรายได้จากการปลูกต้นชาพันธุ์อัญสัม และเก็บยอดใบชาที่สร้างรายได้ให้ทุกวัน แล้วแต่ว่า ใครจะขยันเเด็ดไปชั่งขายในแต่ละเช้า แล้วก็จะมีขั้นตอนการคัดแยกยอดใบชาเหล่านี้ โดยการเอาไปอบ ตากแห้ง แล้วนำมาแปรรูปเป็นรสชาติของชา 5 ชนิด ที่ให้รสชาติ สีสันที่แตกต่างกันไป
น้ำจากสมุนไพรเลือดมังกร สรรพคุณละลายไขมัน กินหลังอาหาร ดีนักแล
เมื่อยอดอ่อนๆเด็ดเอามาทำชา ใบแก่ๆเค้าก็ไม่ทิ้งนะ เค้าเอามาหมักทำเป็น เ มี่ ย ง . . .
เมี่ยง คือ ต้นชาพันธุ์อัสสัม การทำเมี่ยงจะเลือกเก็บใบที่มีความสม่ำเสมอ ไม่เก็บยอดอ่อนเหมือนการทำชา เก็บใบที่ไม่อ่อนมาก เมี่ยงที่เก็บได้มานึ่งในไหเมี่ยงทำจากไม้มะเดื่อหรือไม้เนื้อแข็ง นึ่งให้สุก ใบจะเป็นสีเหลือง นำใบเมี่ยงที่นึ่งสุกแล้วนำไปหมักไว้ 2-3 คืน จากนั้นใส่โอ่งดองไว้ 15 – 30 วัน การดองในโอ่งจะวางใบเมี่ยงเป็นชั้นๆ ใส่เกลือ ราดน้ำ กดใบเมี่ยงลง แล้วเรียงชั้นต่อไปเรื่อยๆ ให้เต็ม พอทิ้งไว้ 3-4 วันจะยุบลง จึงใส่ใบเมียดลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้า มิฉะนั้นเมี่ยงจะมีกลิ่นเหม็น
ดอกซิบิเดียม เป็นดอกไม้ที่ออกดอกปีละครั้ง เกือบทุกบ้านที่ห้วยน้ำกืน ปลูกเพื่อส่งโครงการหลวงเช่นกัน
บ้าน ห้ ว ย น้ ำ กื น ครั่งล่าสุดที่ป้าไปมาเป็นครั้งที่สอง เมื่อต้นเดือนกพ. ที่ผ่านมานี่เอง ไปครั้งนี้ป้าได้บรรยากาศของความเขียวชอุ่มของขุนเขาที่แซมด้วยสีชมพูของดอกพญาเสือโคร่งประปราย ที่เหมือนจะบานเต็มที่เมื่อมค. พร้อมกะอากาศหนาวเย็นที่อุณภูมิประมาณ 7 องศา
มาครั้งแรกได้ไปนอนโฮมสเตย์บ้านอิงดอยของพี่อนันต์ ที่มีจุดชมวิวหมู่บ้าน ที่สวยสุดมองเห็นหมู่บ้านเล้กๆนี้ได้ทั้งหมดเลย
ครั้งที่สองไปนอนโฮมสเตย์ของพี่เอ๋ ที่อยู่ติดๆกะร้านกาแฟไร่หยดน้ำค้างที่ขายกาแฟสด หนึ่งเดียวที่บ้านห้วยน้ำกืน ซึ่งโฮมสเตย์ต้องจองผ่านประธานชุมชน เพื่อจัดสรรคนเข้าพักโฮมสเตย์แต่ละหลังที่เข้าร่วมโครงการอย่างเท่าเทียมกัน เป็นการกระจายรายได้ให้ได้อย่างทั่งถึง ราคาก็ไม่แพงเลยจากสิ่งที่เราได้รับ คือ ที่พัก อาหารพื้นบ้าน ที่เก็บพืชผักสวนครัวที่ปลูกกันเองมาทำ 2 มื้อ เช้าและเย็น 350/คน
อากาศเย็นที่เลของศาเดียว ทำให้นอนคลุมโปงในผ้าห่มที่อุ่นสบาย ที่เอามาให้หลายผืน ทำเอาป้าไม่อยากลุกออกมาจากที่นอนเลยในเช้าวันนั้น แต่เสียงไก่ขัน ที่ไม่ค่อยจะได้ยินในเมืองกรุง ทำเอาต้องขุดตัวเองจากที่นอน มานั่งมองแสงเช้าร่ำไรที่ระเบียงบ้าน
ต้องพยายามสลัดตัวขี้เกียจออกไป รีบแปรงฟัน ล้างหน้า เพื่อลงไปเดินเล่นในหมู่บ้านดีกว่า
เดินลงมาเห็นพ่ออุ้ยอายุเจ็ดสิบกว่ามานั่งจิบชาร้อนๆหน้าบ้าน อีกบ้านก็นั่งทำตอกที่เค้าเอาไปมัดใบเมี่ยง เอาไว้ขาย
หน้าบ้านเกือบทุกหลังในหมู่บ้านจะปลูกไม้ดอก บางบ้านก็ปลูกผักสวนครัว เป็นสวนประดับ ทำให้บรรยากาศดูดีมากๆ
ร้านค้าเล็กๆในหมู่บ้านที่เสมือนเซเว่น ที่ขายของเกือบทุกอย่างที่จำเป็นเปิดแต่เช้า
หากมาที่บ้านห้วยน้ำกืน แล้วไม่แวะมานั่งกินกาแฟ ในมุมสูงชมวิวที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง ที่ชื่อว่า ร้าน ไ ร่ ห ย ด น้ า ค้ า ง ถือว่าพลาดมาก เพราะทั้งความหอมและรสชาติกาแฟ ชา ที่ ทั้งปลูกเอง คั่ว เอง ช่างไม่สูสีกะร้านกาแฟบางแบรน ในราคาน่าคบหามาก โดยมีหนุ่มน้อยไฟแรงนาม เอ็ม ที่เป็นคนรุ่นใหม่ของหมู่บ้านที่กระตือรือล้นในการทิ้งชีวิตในเมืองเข้ามาพัฒนาหมู่บ้านเกิด ..
ป้าเกษเก็บความอิ่มเอิ่มใจ เก็บความสุข จากลาที่บ้านห้วยน้ำกืน โดยมีประโยคหลอกล่อของพี่จันทร์แดง ประธานกลุ่มชุมชนฯ บอกป้าเกษว่า อยากให้ป้ากลับมาอีกเป็นครั้งที่ 3 คราวนี้ ขอพาขึ้นไปสัมผัสธรรมชาติในอีกหนึ่งรูปแบบ คือ การเดินขึ้นดอยหมด แล้วไปนอนกลางเต๊นส์กันที่นั่นซักคืนแล้วค่อยกลับลงมานอนที่โฮมสเตย์ด้านล่าง อีกคืน ในช่วงปลายฝน ซึ่งจะเป็นช่วงที่เห็นดอกไม้ป่าออกดอกมากในช่วงนั้น
เป็นการหลอกล่อที่ทำเอาป้าตาโตขึ้นมาทีเดียว .. สัญญาว่า แล้วจะกลับไปค่ะ บ้ า น ห้ ว ย น้ ำ กืน
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมรีวิวของป้าจนถึงบรรทัดนี้ แล้วเจอกันใหม่กะบันทึกการเดินทางฉบับหน้าค่ะ บายๆ
[CR] สูงวัยลุยไปทั่ว . . ชิมชา กินเมี่ยง บ้ า น ห้ ว ย น้ำ กื น by ป้าเกษ inhouse
บันทีกการเดินทางของป้าฉบับนี้ เป็นการบันทึกเรื่องราวของหมู่บ้านเล็กๆหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ทางเหนือ ที่พึ่งจะมีชื่อตามโลกโซเซียล เมื่อไม่นาน แต่ก็ยังไม่อยู่ในกระแสของนักท่องเที่ยวรุนแรงมากนัก เมื่อก้าวเดินตามทางในหมู่บ้านยังเห็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน ที่ใช้ชีวิตอย่างปกติ เรียบง่าย พอเพียง ยิ้มแย้มยามเมื่อได้สบตา และเอ่ยปากทักทายคนแปลกหน้าอย่างป้าที่เดินท่อมๆถ่ายรูป ..
.
การเดินทางครั้งแรกของป้าที่ได้ไปสัมผัสหมู่บ้านเล็กๆแห่งนี้ เริ่มขึ้นเมื่อปลายเดือนพย. ปีที่แล้ว เมื่อไปในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ยังมีฝนประปราย ดังนั้นเส้นทางเข้าไปค่อนข้างลำบากพอสมควร ด้วยระยะทาง จากปากทางที่อุทยานแห่งชาติขุนแจ อ.เวียงป่าเป้า เชียงราย 14 กม. ที่ใช้เวลาเดินทางด้วยรถโฟรืวิลที่ต้องอาศัยผู้ขับที่ชำนาญในพื้นที่ เพราะเส้นทางในช่วงมีฝนที่จะเข้าหมู่บ้านนั้น ในบางช่วงจะเจอถนนที่ขรุขระ เต็มไปด้วยโคลนสีแดง มีโค้งและแคบ ต้องใช้เวลาเดินทาง 1 ชม.กว่าๆ ..
ดังนั้นถึงแม้จะมีรถส่วนตัวหากคิดจะเข้าไปในหมู่บ้านนี้ก็ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทางที่ดีใช้บริการของรถที่รับส่งในหมู่บ้านดีกว่าค่ะ เพื่อความปลอดภัย
บ้ า น ห้ ว ย น้ ำ กื น . . .
ชุมชนบ้านห้วยน้ำกืน เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กอยู่กลางหุบเขา ลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ อยู่ในความดูแลของเขตอุทยานแห่งชาติขุนแจ เป็นเขตอนุรักษ์ป่าไม้เกรดเอ ฤดูหนาวมีอากาศหนาวมาก ระยะห่างจากตัวอำเภอเวียงป่าเป้า ประมาณ 53 กิโลเมตรเป็นหมู่บ้านที่อยู่ไกลจากตัวอำเภอมากที่สุด
และทางชุมชนบ้านห้วยน้ำกืน ได้รับการสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เกษตร และวัฒนธรรม เพราะที่นี่ยังมีป่าไม้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ มีสัตว์ป่าหายากหลายชนิดไว้ให้ศึกษา พร้อมอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว โดยทำลานกางเต็นท์บนยอดดอยหมด
ชุมชนนี้มีรายได้จากการปลูกต้นชาพันธุ์อัญสัม และเก็บยอดใบชาที่สร้างรายได้ให้ทุกวัน แล้วแต่ว่า ใครจะขยันเเด็ดไปชั่งขายในแต่ละเช้า แล้วก็จะมีขั้นตอนการคัดแยกยอดใบชาเหล่านี้ โดยการเอาไปอบ ตากแห้ง แล้วนำมาแปรรูปเป็นรสชาติของชา 5 ชนิด ที่ให้รสชาติ สีสันที่แตกต่างกันไป
น้ำจากสมุนไพรเลือดมังกร สรรพคุณละลายไขมัน กินหลังอาหาร ดีนักแล
เมื่อยอดอ่อนๆเด็ดเอามาทำชา ใบแก่ๆเค้าก็ไม่ทิ้งนะ เค้าเอามาหมักทำเป็น เ มี่ ย ง . . .
เมี่ยง คือ ต้นชาพันธุ์อัสสัม การทำเมี่ยงจะเลือกเก็บใบที่มีความสม่ำเสมอ ไม่เก็บยอดอ่อนเหมือนการทำชา เก็บใบที่ไม่อ่อนมาก เมี่ยงที่เก็บได้มานึ่งในไหเมี่ยงทำจากไม้มะเดื่อหรือไม้เนื้อแข็ง นึ่งให้สุก ใบจะเป็นสีเหลือง นำใบเมี่ยงที่นึ่งสุกแล้วนำไปหมักไว้ 2-3 คืน จากนั้นใส่โอ่งดองไว้ 15 – 30 วัน การดองในโอ่งจะวางใบเมี่ยงเป็นชั้นๆ ใส่เกลือ ราดน้ำ กดใบเมี่ยงลง แล้วเรียงชั้นต่อไปเรื่อยๆ ให้เต็ม พอทิ้งไว้ 3-4 วันจะยุบลง จึงใส่ใบเมียดลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้า มิฉะนั้นเมี่ยงจะมีกลิ่นเหม็น
ดอกซิบิเดียม เป็นดอกไม้ที่ออกดอกปีละครั้ง เกือบทุกบ้านที่ห้วยน้ำกืน ปลูกเพื่อส่งโครงการหลวงเช่นกัน
บ้าน ห้ ว ย น้ ำ กื น ครั่งล่าสุดที่ป้าไปมาเป็นครั้งที่สอง เมื่อต้นเดือนกพ. ที่ผ่านมานี่เอง ไปครั้งนี้ป้าได้บรรยากาศของความเขียวชอุ่มของขุนเขาที่แซมด้วยสีชมพูของดอกพญาเสือโคร่งประปราย ที่เหมือนจะบานเต็มที่เมื่อมค. พร้อมกะอากาศหนาวเย็นที่อุณภูมิประมาณ 7 องศา
มาครั้งแรกได้ไปนอนโฮมสเตย์บ้านอิงดอยของพี่อนันต์ ที่มีจุดชมวิวหมู่บ้าน ที่สวยสุดมองเห็นหมู่บ้านเล้กๆนี้ได้ทั้งหมดเลย
ครั้งที่สองไปนอนโฮมสเตย์ของพี่เอ๋ ที่อยู่ติดๆกะร้านกาแฟไร่หยดน้ำค้างที่ขายกาแฟสด หนึ่งเดียวที่บ้านห้วยน้ำกืน ซึ่งโฮมสเตย์ต้องจองผ่านประธานชุมชน เพื่อจัดสรรคนเข้าพักโฮมสเตย์แต่ละหลังที่เข้าร่วมโครงการอย่างเท่าเทียมกัน เป็นการกระจายรายได้ให้ได้อย่างทั่งถึง ราคาก็ไม่แพงเลยจากสิ่งที่เราได้รับ คือ ที่พัก อาหารพื้นบ้าน ที่เก็บพืชผักสวนครัวที่ปลูกกันเองมาทำ 2 มื้อ เช้าและเย็น 350/คน
อากาศเย็นที่เลของศาเดียว ทำให้นอนคลุมโปงในผ้าห่มที่อุ่นสบาย ที่เอามาให้หลายผืน ทำเอาป้าไม่อยากลุกออกมาจากที่นอนเลยในเช้าวันนั้น แต่เสียงไก่ขัน ที่ไม่ค่อยจะได้ยินในเมืองกรุง ทำเอาต้องขุดตัวเองจากที่นอน มานั่งมองแสงเช้าร่ำไรที่ระเบียงบ้าน
ต้องพยายามสลัดตัวขี้เกียจออกไป รีบแปรงฟัน ล้างหน้า เพื่อลงไปเดินเล่นในหมู่บ้านดีกว่า
เดินลงมาเห็นพ่ออุ้ยอายุเจ็ดสิบกว่ามานั่งจิบชาร้อนๆหน้าบ้าน อีกบ้านก็นั่งทำตอกที่เค้าเอาไปมัดใบเมี่ยง เอาไว้ขาย
หน้าบ้านเกือบทุกหลังในหมู่บ้านจะปลูกไม้ดอก บางบ้านก็ปลูกผักสวนครัว เป็นสวนประดับ ทำให้บรรยากาศดูดีมากๆ
ร้านค้าเล็กๆในหมู่บ้านที่เสมือนเซเว่น ที่ขายของเกือบทุกอย่างที่จำเป็นเปิดแต่เช้า
หากมาที่บ้านห้วยน้ำกืน แล้วไม่แวะมานั่งกินกาแฟ ในมุมสูงชมวิวที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง ที่ชื่อว่า ร้าน ไ ร่ ห ย ด น้ า ค้ า ง ถือว่าพลาดมาก เพราะทั้งความหอมและรสชาติกาแฟ ชา ที่ ทั้งปลูกเอง คั่ว เอง ช่างไม่สูสีกะร้านกาแฟบางแบรน ในราคาน่าคบหามาก โดยมีหนุ่มน้อยไฟแรงนาม เอ็ม ที่เป็นคนรุ่นใหม่ของหมู่บ้านที่กระตือรือล้นในการทิ้งชีวิตในเมืองเข้ามาพัฒนาหมู่บ้านเกิด ..
ป้าเกษเก็บความอิ่มเอิ่มใจ เก็บความสุข จากลาที่บ้านห้วยน้ำกืน โดยมีประโยคหลอกล่อของพี่จันทร์แดง ประธานกลุ่มชุมชนฯ บอกป้าเกษว่า อยากให้ป้ากลับมาอีกเป็นครั้งที่ 3 คราวนี้ ขอพาขึ้นไปสัมผัสธรรมชาติในอีกหนึ่งรูปแบบ คือ การเดินขึ้นดอยหมด แล้วไปนอนกลางเต๊นส์กันที่นั่นซักคืนแล้วค่อยกลับลงมานอนที่โฮมสเตย์ด้านล่าง อีกคืน ในช่วงปลายฝน ซึ่งจะเป็นช่วงที่เห็นดอกไม้ป่าออกดอกมากในช่วงนั้น
เป็นการหลอกล่อที่ทำเอาป้าตาโตขึ้นมาทีเดียว .. สัญญาว่า แล้วจะกลับไปค่ะ บ้ า น ห้ ว ย น้ ำ กืน
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมรีวิวของป้าจนถึงบรรทัดนี้ แล้วเจอกันใหม่กะบันทึกการเดินทางฉบับหน้าค่ะ บายๆ