ห้วยน้ำกืน ฉันจะไม่ลืมเธอ

กระทู้สนทนา
โฮมสเตย์บ้านห้วยน้ำกืน ตั้งอยู่ที่ อำเถอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

การเดินทาง ระยะทจากตัวเมืองเชียงใหม่ 68 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง ตามทางหลวงหมายเลข 118 เชียงใหม่-เชียงราย ระหว่างกิโลเมตรที่ 54-55 แยกซ้ายมือเข้าบ้านขุนลาวไปยังบ้านห้วยน้ำกืน ระยะทางประมาณ 14 กม. เส้นทางไปยังบ้านห้วยน้ำกืนต้องใช้รถขับเครื่อนสี่ล้อเท่านั้นสามารถติดต่อรถนำเที่ยวได้จากชุมชน
หลายคนสนใจอยากจะหาที่พักผ่อน อยู่ท่ามกลางป่าธรรมชาติที่สมบูณร์ ผมแนะนำให้มาที่นี่เลยครับรับรองคุณจะพบแต่ความสุข ชุมชนที่ไม่วุ่นวายผู้คนน่ารักขนาดไหนเดียวผมจะพาไปชมครับ
ผมจะมาพูดถึงราคาที่พักให้ทุกคนเข้าใจก่อนนะครับ
โฮมสเตย์บ้านห้วยน้ำกืน
ที่พักท่านล่ะ 150 บาท ต่อ 1 คืน
ค่าอาหารมื้อละ100 บาท
ค่านำเที่ยวในชุมชนตกอยู่ที่ 200 บาท
รถรับส่งไป-กลับ อันนี้รับจากอุทยานแห่งชาติขุนแจซึ่งอยู่ติดถนนหลักทางผ่านจากเชียงใหม่ไปเชียงรายครับ ตกอยู่ที่ 800 บาท ครับ
ข้อมูลติดต่อ
นายจันทร์แดง สุลัยยะ ประธานกลุ่มครับผม เบอร์โทรติดต่อนะครับ 053-317-972และ 087-197-0979 สามารถติดต่อผ่านศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่งได้ด้วยนะครับ เบอร์โทรติดต่อ 087-190-1272 ครับ
ไปโฮมสเตย์บ้านห้วยน้ำกืนไปทำอะไรเดียวผมจะบอกข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้านให้คราวๆครับ

บ้านห้วยน้ำกืน ตั้งอยู่ที่ อำเภอเวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กกลางหุบเขา ที่ได้รับรสนับสนุนงานจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่งและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เป็นชุมชนเข้มแข็ง หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและสะอาดของโครงการหลวงถึงสองปีซ้อน บ้านห้วยน้ำกืนมีกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลาย มีทั้งธรรมชาติ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรวัฒนธรรม วิถีชีวิตอยู่ร่วมกับป่า การดูแลรักษาป่าต้นน้ำ มีบ้านพักโฮมสเตย์สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อน ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับบรรยากาศและความสดชื่นของธรรมชาติ

ผมจะพาไปดูว่าชุมชนบ้านห้วยน้ำกืนเขาทำอะไร
เขาประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ของคนห้วยน้ำกืนนั้นทำอะไรบ้าง
นี่คือภาพวันแรกที่ไปถึงครับตอนที่ผมไปช่วงปายเดือนธันวาคมซึ่งที่ชุมชนจะปลูกต้นนางพญาเสื้อโค้งใว้ตลอดสองข้างทางครับ เห็นแล้วสบายตามากครับผม เป็นต้นไม้ที่ผมชอบและรักเลยครับ คงไม่ใช้ผมคนเดียวที่หลงไหลในเสน่ของต้นไม้ชนิดนี้ แต่หลายๆคนคงรักเหมือนผมครับเพราะดอกสีสมพูที่สวยงามยากที่จะมองข้ามครับผม
หลังจากชมดอกซากุระเมืองไทยอย่างเต็มที่แล้วเราก็จะเห็นยอดอะไรบ้างอย่างที่มีสีเขียวอ่อนซึ่งใครที่ได้เห็นคงไม่แปลกใจที่จะถามครับเพราะ #จขกท เป็นคนใต้นะครับ5555 เราก็เลยส่งสัยว่ามันคืออะไรจากเส้นทางเข้าหมู่บ้านเราก็เห็นแต่ต้นไม้ มีพุ่ม ปลูกประดับคู่ก้บป่า แล้วเค้าทำอะไรกันทำไมถึงมาอยู่ในป่าลึกขนาดนี้เดียวผมจะไปหาคำตอบในหมู่บ้านห้วยน้ำกืนครับ

จากที่สอบถามชุมชนผมก็ได้คำตอบครับ
ต้นไม้ที่ปลูกตามป่าเขาที่นี่ที่เราเห็นนั้นก็คือต้นเมี่ยงครับ ต้นเมี่ยงก็คือต้นชาดีๆนี่เองแหละครับ แต่อยู่ที่ว่าเราจะเอามาทำอะไร ถ้าเอามาทำเมี่ยงก็จะเรียกเมี่ยง ถ้าเก็บยอกอ่อนก็เรียกชาครับ
เดียวผมจะพาไปดูว่าต้นเมี่ยงที่นี่เขานำมาทำอะไรบ้าง เขาจะแปรรูปชาจากต้นเมี่ยงให้เป็นชาได้กี่ชนิดกันครับ
สถานที่แรกที่ผมจะพาไปดูนั้นก็คือ
โรงผลิตชา ที่นี่จะมีโรงผลิตชาแปรรูปอยู่ใหญ่ๆในหมู่บ้านคือ
โรงผลิตชาโครงงการหลวง
โรงผลิตชาหยดน้ำค้าง
ถือได้ว่าทั้งสองที่ที่เอ่ยมาถึงนับว่าเป็นแหล่งผลิตที่สุดยอดของชาห้วยน้ำกืนครับ
ที่ห้วยน้ำกืนแห่งนี้สามาผลิตชาได้ถึงห้าด้วยกันครับ
เห็นชาห้าสีไปแล้วชักจะไม่ธรรมดาซะแล้วล่ะครับ ชาห้าสีที่นี่ประกอบไปด้วย ชาดำ ชาเขียว ชาขาว ชาเหลือง และชาแดงหรือเลือดมังกร ชาแดงที่ได้จากพืชชนิดนึ่งชื่อเลือดมังกรครับ เป็นสมุนไพรชื่อดังแห่งบ้านห้วยน้ำกืนที่มีสรรพคุณดีเยี่ยม ช่วยดำรุงโลหิต ควบคุมน้ำหนักลดน้ำตาลในเลือด และความดัน เห็นสรรพคุณอย่างนี้แล้วไม่มาลองคงไม่ได้แล้วครับ

นอกจากชาที่มีหลากหลายสีสันแล้วที่นี่ก็ยังมีผลผลิตจากใบชาอีกอย่างนั้นก็คือ..........
เมี่ยงนี่เองครับ

แหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้นอกจากไร่ชาแล้ว ที่นี้ก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจน่าหลงไหลอีกมากมายเลยครับ
ไม่ว่าจะเป็น
แปลงไม้ดอกซิมมิเดี่ยม

แปลงสัปรดสี

ไร่ชาหยดน้ำค้างจะมีร้านเครื่องดื่มใว้รองรับนักท่องเที่ยว มีวิวที่สวยมองงามเห็นหมู่บ้านห้วยน้ำกืนได้โดยรอบเลยครับ


อีกที่ที่ต้องห้ามพลาดของหมู่แห่งนี่คือโฮมสเตย์บ้านอิงดอย โฮมสเตย์หลังนี้พิเศษสุดๆไปเลยครับกลับวิวหมู่บ้านสลับกับภูเขาที่สวยสุดๆขึ้นชื่อที่พักหลักร้อยวิวหลักล้านเลยที่เดียวครับ
[img]https://
หรือจะพักโฮมสเตย์ท่ามกลางไร่ชาก็มีเหมือนกันนะครับ
โฮมสเตย์แต่ละหลังสวยไม่แพ้กันเลยครับ ที่หมู่บ้านมีโฮมสเตย์ใว้รองรับนักท่องเที่ยวทั้งหมด8หลังด้วยกันครับ แต่ละหลังจะปลูกดอกไม้และพืชผักสวนครัวใว้ประดับตกแต่งอย่างสวยงามถือได้ว่าเป็นชุมชนที่น่าอยู่เหมาะแก่การพักผ่อนครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่