ช่วงนี้เป็นช่วงวันแห่งความรัก ทั้งทางศาสนาพุทธ
(มาฆบูชา)และทางตะวันตก
(Valentine 's Day)
แม้แต่รัฐบาลยังจัดให้เริ่มต้น ปรองดอง ในห้วงเวลานี้
เลยอยากเปลี่ยนบรรยากาศเขียนเรื่องราวความรักของคนยุคก่อน
ซึ่งเป็น
ความรักที่บริสุทธิ์ฝังใจ มั่นคงไม่แปรเปลี่ยน ตราบนิรันดร์
ควรค่าแก่การศึกษา และนำไปเป็นแบบอย่างต่อไป
รักแท้ในเรื่องนี้ เกี่ยวกับเด็กสาวผู้หนึ่งนามว่า
"เจ้าจอมหม่อมราชวงค์ สดับ ลดาวัลย์"
(ต่อไปขออนุญาติเรียกสั้นๆว่า เจ้าจอมสดับ)
เจ้าจอมสดับ เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2433 เมื่อตอนอายุได้ 16 ปี ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าล้นเกล้า ร.5
เมื่อคราวพระองค์ท่านเสด็จไปทอดพระเนตรละครพระราชนิพนธ์
"เงาะป่า"
ด้วยความที่ เจ้าจอมสดับ เป็นต้นเสียงร้องในบทละครดังกล่าว และมีเสียงที่ไพเราะสดใส
จึงโปรดให้เข้าเฝ้า และประทานสิ่งของให้ชิ้นหนึ่ง ซึ่งต่อมามีคุณค่าทางใจต่อเด็กสาวอายุ 16
ตราบจนสิ้นอายุขัยเมื่ออายุได้ 93 ปี ของสิ่งนั้นคือ
"กำไลมาศ"
ซึ่งพระองค์ทรงผูกให้กับข้อมือ เจ้าจอมสดับ ด้วยพระองค์เอง
กำไลมาศ ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ (99.99%) น้ำหนัก 4 บาท
แต่สิ่งที่ทรงคุณค่า ไม่ใช่ราคาค่างวด แต่เป็น
บทกลอนที่ไพเราะสลักไว้อยู่ที่ตัวกำไลมาศ
กำไลมาศชาตินพคุณแท้ ไม่ปรวนแปรเป็นอื่นย่อมยืนสี
เหมือนใจตรงคงคำร่ำพาที จะร้ายดีขอให้เห็นเป็นเสี่ยงทาย
ตาปูทองสองดอกตอกสลัก ตรึงความรักรับไว้มิให้หาย
แม้นรักร่วมสวมใส่ไว้ติดกาย เมื่อใดวายสวาสดิ์วอดจึงถอดเอย
ตัวเรือนกำไลมาศมีลักษณะพิเศษคือ เมื่อมองด้านตรงจะเป็นรูปตัว
s ซึ่งหมายถึง
สดับ
หากพลิกกลับมาจะเป็นรูปตัว c ซึ่งหมายถึง พระปรมาภิไธยย่อ
"จุฬาลงกรณ์"
ความรักของเจ้าจอมสดับแม้จะเริ่มต้นด้วยความสุข เพราะเป็นเจ้าจอมที่ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงโปรดมาก
แต่ก็ใช่ว่าความรักจะราบรื่นตลอด กล่าวคือ
เมื่อครั้งที่เป็นเจ้าจอมได้ประมาณ 10 เดือน
ร.5 ต้องเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ 2450
ซึ่งแรกเดิมที พระองค์ท่านตรัสจะให้เจ้าจอมสดับร่วมเดินทางไปด้วย
แต่พอถึงคราวเดินทาง มีเหตุจำเป็นบางประการทำให้ เจ้าจอมสดับ มิอาจร่วมเดินทางไปด้วย
ชีวิตหญิงสาวที่อยู่ๆต้องมาห่างคนที่ตัวรักสุดหัวใจ ความคิดถึงนั้นสุดแสนจะทรมาน
แต่ก็คลายเศร้าโศกได้บ้าง เมื่อมีพระราชหัตถเลขา เป็นพระราชนิพนธ์บทกลอนถึง เจ้าจอมสดับ โดยตรง
จากเมือง ซานเรโม ประเทศอิตาลี ความว่า
กลิ่นกุหลาบซาบนาสาพาระลึก เมื่อยามดึกเคยชมดมกลิ่นหอม
น้ำอบปรุงจรุงรสต้องอดออม ถือถนอมบุปผากระสาจน
กลีบกุหลาบทาบกระดาษวาดรูปไว้ จะส่งให้โฉมตรูรู้เหตุผล
ชมดอกไม้แสนเบื่อเหลือจะทน คิดสุคนธ์เคยรื่นชื่นใจเอยฯ
เมื่อเจ้าจอมสดับได้รับจดหมาย ความที่เป็นเด็กสาวอายุยังน้อย
จึงแสดงกริยาดีใจ จนเป็นที่อิจฉาจากเจ้าจอมคนอื่นๆ ทำให้ เจ้าจอมสดับ
เต็มไปด้วยความโศกเศร้าถึงกับปรารภกับคนใกล้ตัวว่า
เหลียวไปพบแต่ศัตรู คุณจอมนั้นส่อเสียดว่าอย่างนั้น
คุณจอมนี้ว่าอย่างนี้ ตรองดูทีหรือข้าพเจ้าจะย่อยยับแค่ไหน
และด้วยความคิดที่ยังเด็ก ทนแรงเสียดทานเหล่านี้ไม่ได้
เจ้าจอมสดับ จึงเกิดอารมณ์ชั่ววูป
ดื่มน้ำยาล้างรูปหมายปลิดชีวิตตนเอง แต่แพทย์หลวงได้ช่วยไว้ทัน
เมื่อล้นเกล้า ร.5 เสด็จกลับมายังพระนคร ได้นำเครื่องเพชรจำนวนมากมาพระราชทานให้แก่ เจ้าจอม สดับ
รูป เจ้าจอมสดับ แต่งเครื่องแบบแบบชาวตะวันตก (สังเกตุกำไลมาศอยู่ที่ข้อมือขวา)
ความทุกข์โศกเศร้าครั้งใหญ่ที่สุดเกิดเมื่อ ล้นเกล้า ร.5 เสด็จสวรรคต
ครานั้น เจ้าจอมสดับ ได้ทำหน้าที่เป็น
ต้นเสียงนางร้องไห้ ถวายแด่ชายที่ตนรักและภักดีเป็นครั้งสุดท้าย
อันความจงรักภักดีของเจ้าจอมสดับ ยังปรากฏแก่คนทุกคน ด้วยการนำ ผ้าซับพระบาท มาผูกไว้ที่มวยผม
พร้อมกับกล่าวว่า
"ใจคิดจะสละได้ทุกอย่าง จะอวัยวะ หรือเลือดเนื้อ หรือชีวิต
ถ้าเสด็จกลับคืนมาได้ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นใจที่คิดแน่วแน่ตายแทนได้ไม่ใช่พูดเพราะๆ"
เมื่อพ่อหลวง ร. 5 เสด็จสวรรคตนั้น เจ้าจอมสดับ อายุเพียง 20 ปี
คนส่วนใหญ่คาดหมายกันว่า ไม่ช้า เจ้าจอมคงมีใหม่
แต่สิ่งที่เจ้าจอมทำคือ
ถวายเครื่องเพชรทั้งหมดที่ได้รับพระราชทานคืนกลับไปให้
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ซึ่งต่อมาได้มีการนำไปขาย และนำเงินที่ได้มาสมทบสร้างโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์
ส่วนตัวเจ้าจอมนั้น ครองตัวเป็นโสดเรื่อยมา จนเข้าวัยชรา
จึงได้ตัดสินใจศึกษาพระธรรมด้วยการออกบวชชี
ซึ่งมีปัญหาคือ เมื่อตัดสินใจจะบวชแล้ว
กำไลมาศนี้ จะต้องถอดหรือไม่
ซึ่งเมื่อสอบถามไปยังเจ้านายชั้นผู้ใหญ่แล้ว มีคำตอบว่า
"กำไลมาศ ไม่ถือเป็นเครื่องประดับ เพราะเป็นของเก่าได้รับพระราชทาน
อันเป็นนิมิตรที่ดียิ่ง ถ้าจะนับว่าเป็นตระกรุดก็ไม่ต่างกัน"
และด้วยเหตุนี้ กำไลมาศ จึงยังคงอยู่ในข้อมือ เจ้าจอมสดับ ตลอดมา
เมื่อเจ้าจอมสดับ ถึงแก่อนิจกรรม ทายาทได้ถวาย กำไลมาศ คืนให้กับ
สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ
ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เก็บไว้ที่พระที่นั่งวิมานเมฆจนทุกวันนี้
ภาคเสริม การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ของล้นเกล้า ร. 5
นอกจากเพื่อรักษาพระวรกายแบบ สปาบำบัด ที่เยอรมัน ยังต้องไปฝรั่งเศส
เพื่อเซ็นสัญญาแลกเปลี่ยนดินแดน จันทบุรี ตราด กับดินแดน เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ
และการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศทางยุโรป ส่งผลดีกับประเทศสยามเป็นอย่างมาก
หลังจากการประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ไทยได้รับการยอมรับจากชาติยุโรปมากขึ้น
ทำให้รักษาเอกราชได้จนถึงทุกวันนี้
ภาพเมื่อครั้งเสด็จกลับประเทศสยาม และ มีการจัดซุ้มพิธีต้อนรับ
ป.ล ความรักของคนสมัยก่อนลึกซึ้ง และ จริงจัง ต่างจากคนสมัยนี้ที่ยึดแต่ปัจจัยภายนอก
ป.ล 2 เสริมเรื่องราวเสด็จประพาสยุโรป เพื่อหวังจะแท็กห้องการเมือง
ป.ล 3 การเมืองมีอยู่ในทุกๆที่ ตราบที่ที่นั้นมีมนุษย์อยู่
ป.ล 4 ทองคำในร้านทองของไทย ปัจจุบันมีค่าความบริสุทธิ์ที่ประมาณ 96 %
ป.ล 5 ภาพและเนื้อหาบางส่วนได้จากเวป เรือนไทย .com เวปทางวิชาการที่ดีที่สุดในเวลานี้
แก้ไขเนื้อหาให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในส่วน ภาคเสริม
ตำนานรัก (1).......ตาปูทองสองดอก......ตอกสลัก cnck
แม้แต่รัฐบาลยังจัดให้เริ่มต้น ปรองดอง ในห้วงเวลานี้
เลยอยากเปลี่ยนบรรยากาศเขียนเรื่องราวความรักของคนยุคก่อน
ซึ่งเป็นความรักที่บริสุทธิ์ฝังใจ มั่นคงไม่แปรเปลี่ยน ตราบนิรันดร์
ควรค่าแก่การศึกษา และนำไปเป็นแบบอย่างต่อไป
รักแท้ในเรื่องนี้ เกี่ยวกับเด็กสาวผู้หนึ่งนามว่า "เจ้าจอมหม่อมราชวงค์ สดับ ลดาวัลย์"
(ต่อไปขออนุญาติเรียกสั้นๆว่า เจ้าจอมสดับ)
เจ้าจอมสดับ เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2433 เมื่อตอนอายุได้ 16 ปี ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าล้นเกล้า ร.5
เมื่อคราวพระองค์ท่านเสด็จไปทอดพระเนตรละครพระราชนิพนธ์ "เงาะป่า"
ด้วยความที่ เจ้าจอมสดับ เป็นต้นเสียงร้องในบทละครดังกล่าว และมีเสียงที่ไพเราะสดใส
จึงโปรดให้เข้าเฝ้า และประทานสิ่งของให้ชิ้นหนึ่ง ซึ่งต่อมามีคุณค่าทางใจต่อเด็กสาวอายุ 16
ตราบจนสิ้นอายุขัยเมื่ออายุได้ 93 ปี ของสิ่งนั้นคือ "กำไลมาศ"
ซึ่งพระองค์ทรงผูกให้กับข้อมือ เจ้าจอมสดับ ด้วยพระองค์เอง
กำไลมาศ ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ (99.99%) น้ำหนัก 4 บาท
แต่สิ่งที่ทรงคุณค่า ไม่ใช่ราคาค่างวด แต่เป็นบทกลอนที่ไพเราะสลักไว้อยู่ที่ตัวกำไลมาศ
กำไลมาศชาตินพคุณแท้ ไม่ปรวนแปรเป็นอื่นย่อมยืนสี
เหมือนใจตรงคงคำร่ำพาที จะร้ายดีขอให้เห็นเป็นเสี่ยงทาย
ตาปูทองสองดอกตอกสลัก ตรึงความรักรับไว้มิให้หาย
แม้นรักร่วมสวมใส่ไว้ติดกาย เมื่อใดวายสวาสดิ์วอดจึงถอดเอย
ตัวเรือนกำไลมาศมีลักษณะพิเศษคือ เมื่อมองด้านตรงจะเป็นรูปตัว s ซึ่งหมายถึง สดับ
หากพลิกกลับมาจะเป็นรูปตัว c ซึ่งหมายถึง พระปรมาภิไธยย่อ "จุฬาลงกรณ์"
ความรักของเจ้าจอมสดับแม้จะเริ่มต้นด้วยความสุข เพราะเป็นเจ้าจอมที่ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงโปรดมาก
แต่ก็ใช่ว่าความรักจะราบรื่นตลอด กล่าวคือ
เมื่อครั้งที่เป็นเจ้าจอมได้ประมาณ 10 เดือน ร.5 ต้องเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ 2450
ซึ่งแรกเดิมที พระองค์ท่านตรัสจะให้เจ้าจอมสดับร่วมเดินทางไปด้วย
แต่พอถึงคราวเดินทาง มีเหตุจำเป็นบางประการทำให้ เจ้าจอมสดับ มิอาจร่วมเดินทางไปด้วย
ชีวิตหญิงสาวที่อยู่ๆต้องมาห่างคนที่ตัวรักสุดหัวใจ ความคิดถึงนั้นสุดแสนจะทรมาน
แต่ก็คลายเศร้าโศกได้บ้าง เมื่อมีพระราชหัตถเลขา เป็นพระราชนิพนธ์บทกลอนถึง เจ้าจอมสดับ โดยตรง
จากเมือง ซานเรโม ประเทศอิตาลี ความว่า
กลิ่นกุหลาบซาบนาสาพาระลึก เมื่อยามดึกเคยชมดมกลิ่นหอม
น้ำอบปรุงจรุงรสต้องอดออม ถือถนอมบุปผากระสาจน
กลีบกุหลาบทาบกระดาษวาดรูปไว้ จะส่งให้โฉมตรูรู้เหตุผล
ชมดอกไม้แสนเบื่อเหลือจะทน คิดสุคนธ์เคยรื่นชื่นใจเอยฯ
เมื่อเจ้าจอมสดับได้รับจดหมาย ความที่เป็นเด็กสาวอายุยังน้อย
จึงแสดงกริยาดีใจ จนเป็นที่อิจฉาจากเจ้าจอมคนอื่นๆ ทำให้ เจ้าจอมสดับ
เต็มไปด้วยความโศกเศร้าถึงกับปรารภกับคนใกล้ตัวว่า
เหลียวไปพบแต่ศัตรู คุณจอมนั้นส่อเสียดว่าอย่างนั้น
คุณจอมนี้ว่าอย่างนี้ ตรองดูทีหรือข้าพเจ้าจะย่อยยับแค่ไหน
และด้วยความคิดที่ยังเด็ก ทนแรงเสียดทานเหล่านี้ไม่ได้
เจ้าจอมสดับ จึงเกิดอารมณ์ชั่ววูป ดื่มน้ำยาล้างรูปหมายปลิดชีวิตตนเอง แต่แพทย์หลวงได้ช่วยไว้ทัน
เมื่อล้นเกล้า ร.5 เสด็จกลับมายังพระนคร ได้นำเครื่องเพชรจำนวนมากมาพระราชทานให้แก่ เจ้าจอม สดับ
รูป เจ้าจอมสดับ แต่งเครื่องแบบแบบชาวตะวันตก (สังเกตุกำไลมาศอยู่ที่ข้อมือขวา)
ความทุกข์โศกเศร้าครั้งใหญ่ที่สุดเกิดเมื่อ ล้นเกล้า ร.5 เสด็จสวรรคต
ครานั้น เจ้าจอมสดับ ได้ทำหน้าที่เป็น ต้นเสียงนางร้องไห้ ถวายแด่ชายที่ตนรักและภักดีเป็นครั้งสุดท้าย
อันความจงรักภักดีของเจ้าจอมสดับ ยังปรากฏแก่คนทุกคน ด้วยการนำ ผ้าซับพระบาท มาผูกไว้ที่มวยผม
พร้อมกับกล่าวว่า "ใจคิดจะสละได้ทุกอย่าง จะอวัยวะ หรือเลือดเนื้อ หรือชีวิต
ถ้าเสด็จกลับคืนมาได้ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นใจที่คิดแน่วแน่ตายแทนได้ไม่ใช่พูดเพราะๆ"
เมื่อพ่อหลวง ร. 5 เสด็จสวรรคตนั้น เจ้าจอมสดับ อายุเพียง 20 ปี
คนส่วนใหญ่คาดหมายกันว่า ไม่ช้า เจ้าจอมคงมีใหม่
แต่สิ่งที่เจ้าจอมทำคือ ถวายเครื่องเพชรทั้งหมดที่ได้รับพระราชทานคืนกลับไปให้
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ซึ่งต่อมาได้มีการนำไปขาย และนำเงินที่ได้มาสมทบสร้างโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์
ส่วนตัวเจ้าจอมนั้น ครองตัวเป็นโสดเรื่อยมา จนเข้าวัยชรา จึงได้ตัดสินใจศึกษาพระธรรมด้วยการออกบวชชี
ซึ่งมีปัญหาคือ เมื่อตัดสินใจจะบวชแล้ว กำไลมาศนี้ จะต้องถอดหรือไม่
ซึ่งเมื่อสอบถามไปยังเจ้านายชั้นผู้ใหญ่แล้ว มีคำตอบว่า
"กำไลมาศ ไม่ถือเป็นเครื่องประดับ เพราะเป็นของเก่าได้รับพระราชทาน
อันเป็นนิมิตรที่ดียิ่ง ถ้าจะนับว่าเป็นตระกรุดก็ไม่ต่างกัน"
และด้วยเหตุนี้ กำไลมาศ จึงยังคงอยู่ในข้อมือ เจ้าจอมสดับ ตลอดมา
เมื่อเจ้าจอมสดับ ถึงแก่อนิจกรรม ทายาทได้ถวาย กำไลมาศ คืนให้กับ
สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ
ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เก็บไว้ที่พระที่นั่งวิมานเมฆจนทุกวันนี้
ภาคเสริม การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ของล้นเกล้า ร. 5
นอกจากเพื่อรักษาพระวรกายแบบ สปาบำบัด ที่เยอรมัน ยังต้องไปฝรั่งเศส
เพื่อเซ็นสัญญาแลกเปลี่ยนดินแดน จันทบุรี ตราด กับดินแดน เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ
และการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศทางยุโรป ส่งผลดีกับประเทศสยามเป็นอย่างมาก
หลังจากการประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ไทยได้รับการยอมรับจากชาติยุโรปมากขึ้น
ทำให้รักษาเอกราชได้จนถึงทุกวันนี้
ภาพเมื่อครั้งเสด็จกลับประเทศสยาม และ มีการจัดซุ้มพิธีต้อนรับ
ป.ล ความรักของคนสมัยก่อนลึกซึ้ง และ จริงจัง ต่างจากคนสมัยนี้ที่ยึดแต่ปัจจัยภายนอก
ป.ล 2 เสริมเรื่องราวเสด็จประพาสยุโรป เพื่อหวังจะแท็กห้องการเมือง
ป.ล 3 การเมืองมีอยู่ในทุกๆที่ ตราบที่ที่นั้นมีมนุษย์อยู่
ป.ล 4 ทองคำในร้านทองของไทย ปัจจุบันมีค่าความบริสุทธิ์ที่ประมาณ 96 %
ป.ล 5 ภาพและเนื้อหาบางส่วนได้จากเวป เรือนไทย .com เวปทางวิชาการที่ดีที่สุดในเวลานี้
แก้ไขเนื้อหาให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในส่วน ภาคเสริม